โลนด์ดีดีชี้ เศรษฐกิจฝืด หนี้ท่วม แห่ขายฝาก-จำนองบ้าน เพนต์เฮาส์ ยันที่นา เสริมสภาพคล่อง
https://www.matichon.co.th/economy/news_5056265
โลนด์ดีดีชี้ เศรษฐกิจฝืด หนี้ท่วม แห่ขายฝาก-จำนองบ้าน เพนต์เฮาส์ ยันที่นา เสริมสภาพคล่อง
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ นาย
วรวุฒิ กิตติอุดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โลนด์ ดีดี จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันด้วยสภาพเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง หนี้เงินกู้นอกระบบ ประกอบกับสถาบันการเงินเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อ ส่งผลให้ประชาชนและธุรกิจขาดเงินทุน ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ทำให้การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจ
โดยเฉพาะ กลุ่มธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่ทำธุรกิจไม่ถึง 3 ปีที่มีข้อจำกัดการขอสินเชื่อจากแบงก์ ขณะเดียวกันมีกลุ่มนักลงทุนที่แข็งแกร่งทางการเงินมองหาผลตอบแทนในการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมั่นคงและความเสี่ยงต่ำ ทำให้ตลาดขายฝาก-จำนองบ้าน เติบโตขึ้นมาก
บริษัทจึงเห็นโอกาสดำเนินธูรกิจเป็นตัวกลางช่วยให้เจ้าของทรัพย์สินเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินทุนได้ ผ่านการขายฝากและจำนองที่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็น โฉนดที่ดิน บ้าน คอนโด โรงแรม โรงงาน อพาร์ทเมนต์ อาคารพาณิชย์ โกดัง และที่นา ที่เจ้าของต้องการเงินทุนหมุนเวียน หรือสภาพคล่อง ที่มองหาแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย และมีอัตราดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด
โดยจะให้บริการเป็นวันสต็อปเซอร์วิส มีจุดเด่นอนุมัติใน 2-3 วัน ไม่มีการเช็กเครดิตบูโร ไม่เช็กประวัติการเดินบัญชี ดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 0.75% ต่อเดือน หรือ 9% ต่อปี สูงสุดไม่เกิน 12% ต่อปี มีระยะเวลาขายฝากปีต่อปี สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
นาย
วรวุฒิกล่าวว่า ปัจจุบันมีนักลงทุนที่แสดงความสนใจ 150 ราย มีทั้งบุคคลทั่วไปและที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มีความพร้อมปล่อยอยู่ที่ 5 ล้านบาทไปจนถึง 150 ล้านบาท ส่วนใหญ่เน้นทรัพย์ในกรุงเทพฯ และตามจังหวัดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย อุบลราชธานี เป็นต้น
โดยเป้าหมายในปี 2568 วางเป้ามูลค่าวงเงินไว้ที่ 2,000 ล้านบาท มีรายได้ 100 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนที่อยู่ที่ 1,700 ล้านบาท และมีรายได้ 60 กว่าล้านบาท โดนรายได้จะมาจากค่าดำเนินการ 5% และจากการลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่ทรัพย์ที่เข้ามาจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ราคา 3-5 ล้านบาท ล่าสุดมีทรัพย์ขนาดใหญ่เข้ามา เช่น โรงงาน 800 ล้านบาท เพนเฮ้าส์ขนาด 1,500 ตารางเมตร ราคา 300 ล้านบาท ที่นักธุรกิจนำมาฝากขายและจำนอง เพื่อต้องการเงิน 150 ล้านบาท นำไปเสริมสภาพคล่องธุรกิจ
“
แต่ละวันมีลูกค้าติดต่อเราเยอะมาก เป็น 100 รายต่อวัน แต่เราก็ต้องดูว่ามีทรัพย์อะไรที่เหมาะสม ซึ่งลูกค้าที่มาหาเราส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มเจนวายและเจนแซด ที่ต้องการเงินไปหมุนในระยะสั้น หากเป็นการขายฝากจะได้ 50% ของมูลค่าการประเมินทรัพย์สิน หากเป็นการจำนองจะได้ 30% ของมูลค่าการประเมินทรัพย์สินเช่น ส่วนที่ปล่อยให้หลุดไปเลยมีน้อยมากประมาณ 5%” นาย
วรวุฒิกล่าว
ร่างควบคุมแอลกอฮอล์วุ่น ถกต่อสัปดาห์หน้า “ปกรณ์วุฒิ” ซัดลักลั่น มัดมือชก
https://www.thairath.co.th/news/politic/2842798
ถกร่างควบคุมแอลกอฮอล์ยังวุ่น หลังเนื้อหามาตรา 10 รวมอีก 5 มาตราไว้ในมาตราเดียว “ปกรณ์วุฒิ” ซัดลักลั่น มัดมือชก “พิเชษฐ์” จึงสั่งปิดประชุม ให้ กมธ. นำไปปรับก่อนมาถกใหม่สัปดาห์หน้า
วันที่ 19 ก.พ. 68 เมื่อเวลา 12.30 น. ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยมีเนื้อหา 38 มาตรา
แต่เมื่อที่ประชุมพิจารณาถึงมาตรา 10 นาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน อยากให้หาข้อสรุปในการลงมติ เนื่องจากร่างใหม่กำหนดให้ยกเลิกความใน ม.10 ทั้งมาตรา และเพิ่มการยกเลิกมาตรา 11, 12, 13, 14, 15 ซึ่งเพิ่มมาถึง 5 มาตรา รวมอยู่ในมาตรา 10 มาตราเดียว จึงคิดว่ากรรมาธิการทำงานโดยการมัดมือชกสภาฯ ทั้งๆ ที่ร่างหลักแก้แค่ 3 วงเล็บ จึงมองว่าไม่เป็นธรรมสักเท่าไหร่ และยังเป็นการลักลั่นแปลกๆ หากจะเดินหน้าด้วยรายงานแบบนี้ คิดว่าไม่ถูกต้อง จึงเสนอให้ไปแก้ไขรายงานก่อน แล้วให้ลงมติเป็นรายมาตรา
จากนั้นนาย
อดิสร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวอภิปรายเห็นด้วย เพราะจะสะดวกในการพิจารณา เพราะการลงมติแบบ 3 ช่า ไม่เคยเจอในสภา พร้อมเสนอให้พักการประชุมไปหารือ
ต่อมานาย
จุลพงษ์ อยู่เกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวว่า หากดูเนื้อหา วงเล็บเปิดอยู่มาตรา 10 แต่เครื่องหมายวงเล็บปิดไปอยู่ท้ายมาตรา 15 ที่ผ่านไปถึง 3 หน้า มันหมายความว่าอย่างไร จึงขอให้ไปแก้ไขทั้งหมด
นาย
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 จึงกล่าวกับกรรมาธิการว่าจะกลับไปแก้ไขแล้วนำกลับมาพิจารณาหรือไม่ ทางกรรมาธิการจึงกล่าวที่ใช้มาตรา 10-15 เพราะต้องการใช้เพียงมาตราเดียว แต่พอกลับมาสภาฯ ก็จะพิจารณาเนื้อหาทีละมาตรา ในมาตรา 10 อยู่แล้ว และโหวตแต่ละมาตราอยู่แล้ว
นาย
ณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวอภิปรายแสดงความคิดเห็นว่า ร่างนี้เป็นของคณะรัฐมนตรี ไม่ใช่ร่างของสภาฯ เมื่อดูเนื้อหาแล้ว จึงขอทราบว่ามีเจตจำนงแบบนี้จริงหรือไม่ เพราะความจริงต้องส่งร่างคืนไปที่ รมว.สาธารณสุข และนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ อีกทั้ง มาตรา 10 ให้ไปยกเลิก 3 วงเล็บ แต่กลับใส่เพิ่มไปอีก 5 มาตรา ซึ่งถือว่าไม่ใช่ธรรมเนียมธรรมดาที่ปฏิบัติแน่นอน แล้วจะแยกลงมติอย่างไร เหมือนไม่เคารพผู้ที่สงวนความเห็นไว้ หากจะพักการประชุม ต้องแก้ไขให้ถูกต้องด้วย
ทำให้นาย
วิสาร เตชะธีราวัฒน์ ประธานกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวชี้แจงว่า ความจริงต้องการเรียงเป็นรายมาตราอยู่แล้ว จึงขอให้ประธานในที่ประชุมพักการประชุมสัก 10 นาที ยืนยันว่า ไม่ใช่การมัดมือชก
ด้านนายแพทย์
ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวอภิปรายขอให้ไปเรียงลำดับรายมาตรา ก็จะสามารถอภิปรายเป็นรายมาตรา และง่ายต่อการพิจารณา เพราะร่างที่แก้มา อาจไปตัดสิทธิ์เพื่อนสมาชิกในการแปรญัตติ อะไรที่ปรับได้ เช่น รูปแบบการเขียน ไม่ใช่เนื้อหา แล้วมาพิจารณาสัปดาห์หน้าก็ควรจะทำ
นาย
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 กล่าวว่าจากข้อคิดเห็นจากสมาชิกหลายฝ่าย ตนคิดว่ากรรมาธิการจะต้องไปปรับ เนื่องจากกระบวนการของสภาทำไว้ถูกต้องรอทุกคนอยู่แล้ว แต่ ม.10 มันไปไม่ได้ จำเป็นต้องนำไปแก้ไข และจากมาตรา 10-30 กว่า ให้ดูไปพร้อมๆ กัน วันนี้เอากลับไปประชุม แล้วก็กลับเอาเข้ามาพิจารณาอีกครั้งในสภาสัปดาห์หน้า พร้อมกล่าวปิดประชุมในเวลา 16.08 น.
นักวิชาการธรรมศาสตร์ชี้ตีตก พ.ร.บ.บำนาญเป็นการเมือง
https://www.dailynews.co.th/news/4415165/
นักวิชาการธรรมศาสตร์ ตั้งคำถามถึงความจริงใจของรัฐบาลต่อการสร้าง “บำนาญ-สวัสดิการผู้สูงอายุ” หลัง "ร่าง พ.ร.บ.บำนาญประชาชน" ถูกตีตกอย่างน้อย 3 ฉบับ ยืนยันจากผลการศึกษา-ข้อมูลวิชาการ ชี้ชัดว่าประเทศไทยพร้อมเดินหน้าสร้างความยั่งยืน มีแหล่งที่มางบประมาณ-แนวทางบริหารจัดการ ขาดแค่เจตจำนงทางการเมืองสนับสนุน
จากประเด็นที่มีการนำเสนอสถานะของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการมีบำนาญประชาชนอย่างน้อย 3 ฉบับ จากทั้งหมด 4 ฉบับ
ได้แก่
1. ร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติและสวัสดิการผู้สูงอายุ พ.ศ. …. เสนอโดย คุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธ์
2. ร่าง พ.ร.บ.บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าฯ เสนอโดย นาย
เซีย จำปาทอง
และ 3. ร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. …. เสนอโดย นาย
ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์
มีสถานะที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้รับรอง ในขณะที่ 4. ร่าง พ.ร.บ. ผู้สูงอายุและบำนาญแห่งชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. … ล่าสุดที่เสนอโดยเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งขึ้นสถานะเป็นร่าง พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการเงิน และกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีโอกาสถูกตีตกด้วยเช่นกัน
ผศ. ดร.
ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) หนึ่งในนักวิชาการที่ขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพและการสร้างความคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ เปิดเผยว่า ประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดคำถามจากสังคมไปถึงรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายถึงเจตจำนงทางการเมืองว่า รัฐบาลอยากเห็นการคุ้มครองทางสังคมเกิดขึ้นจริงกับประชาชนหรือไม่ หรือรัฐบาลกำลังเกรงว่าหากมีการเดินหน้าขับเคลื่อนเรื่องบำนาญผู้สูงอายุ จากร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการมีบำนาญของประชาชน แล้วจะไปกระทบกับผลประโยชน์ทางการเมืองใดๆ หรือไม่ จึงไม่ดำเนินการผลักดันและขับเคลื่อนสวัสดิการให้กับประชาชน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทั้งภาคประชาชน ภาคการเมือง และภาควิชาการ รวมถึงองค์กรต่างๆ ที่เป็นมันสมองของประเทศ ต่างเห็นร่วมกันว่าประเทศไทยควรมีสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุได้แล้ว พร้อมทั้งมีการศึกษาวิจัยอย่างรอบด้าน ทั้งยังระบุถึงแหล่งที่มาของงบประมาณ และมีแนวทางการบริหารจัดการที่ทำให้เกิดขึ้นได้จริง เพียงแต่ยังไม่เกิดการขับเคลื่อนอย่างจริงจังจากระดับนโยบาย
“
แม้ว่าจะมีความพยายามผลักดันจากทุกภาคส่วนให้เกิดการคุ้มครองความยากจนแก่ประชาชนในรูปของการมีกฎหมาย ซึ่งเป็นฐานรากความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชนไทยในระยะยาว แต่การผลักดันดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาล ที่อาจมุ่งให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำนโยบายประชานิยมระยะสั้นมากกว่า โดยเฉพาะการแจกเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากโครงการต่างๆ ทั้งที่นักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์ออกมาเสนอหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า ไม่คุ้มค่า เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ระยะสั้น และช่วยประชาชนประคองชีวิตในระยะสั้นๆ เท่านั้น แต่รัฐบาลควรหันมาใส่ใจกับการทำนโยบายที่ช่วยวางรากฐานให้กับอนาคตของประเทศมากกว่า” นักวิชาการธรรมศาสตร์ กล่าว
ผศ. ดร.
ทีปกร กล่าวว่า การขับเคลื่อนเรื่องสวัสดิการประเด็นหลักต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายที่จะสนใจ ใส่ใจ หรือมีเจตจำนงทางการเมืองในการผลักดันให้เกิดขึ้นจริง เพราะเรื่องสวัสดิการสังคมจะเกี่ยวข้องกับการจัดการในหลายด้าน ทั้งการปฏิรูปภาษี การบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นของประเทศ ทั้งหมดล้วนมีเรื่องของผลประโยชน์ทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง ซึ่งหากไปแตะต้องหรือปรับเปลี่ยน ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะกระทบกับผู้ที่ได้รับผลประโยชน์เดิม และเป็นประเด็นที่รัฐบาลอาจต้องตัดสินใจเลือกความสำคัญ
ผศ. ดร.
ทีปกร กล่าวอีกว่า เป้าหมายพื้นฐานของสวัสดิการสังคมเป็นไปเพื่อคุ้มครองความยากจน ซึ่งจากการคำนวณของภาควิชาการพบว่า ระดับการคุ้มครองความยากจนของครัวเรือนที่ยากจนที่สุด เพื่อให้พ้นจากความยากจนได้ในผู้สูงอายุ เมื่อเทียบกับเส้นแบ่งความยากจนที่กำหนดเอาไว้ที่ 3,000 บาท รัฐบาลควรจัดสวัสดิการให้ไม่น้อยกว่าคนละ 2,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจะเพียงพอในเบื้องต้นสำหรับการดำรงชีวิต โดยในส่วนรูปแบบการบริหารจัดการ รวมถึงแหล่งที่มาของงบประมาณ ก็มีรายงานผลการศึกษามารองรับแล้ว ทั้งในส่วนของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม รวมถึงยังมีรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่มีข้อมูลและการศึกษาแนวทางการปฏิรูปภาษี เพื่อหาแหล่งเงินงบประมาณสำหรับการจัดทำสวัสดิการผู้สูงอายุเอาไว้ด้วย ซึ่งเป็นข้อมูลที่รัฐบาลสามารถนำไปใช้สร้างนโยบายเพื่อประโยชน์ของประชาชนได้
JJNY : 5in1 ศก.ฝืด หนี้ท่วม│ร่างควบคุมแอลกอฮอล์วุ่น│ชี้ตีตกพ.ร.บ.บำนาญเป็นการเมือง│โซเชียลจวก│เวียดนามเพิ่มเป้าจีดีพี
https://www.matichon.co.th/economy/news_5056265
โลนด์ดีดีชี้ เศรษฐกิจฝืด หนี้ท่วม แห่ขายฝาก-จำนองบ้าน เพนต์เฮาส์ ยันที่นา เสริมสภาพคล่อง
เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ นายวรวุฒิ กิตติอุดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โลนด์ ดีดี จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันด้วยสภาพเศรษฐกิจ ปัญหาหนี้ครัวเรือนสูง หนี้เงินกู้นอกระบบ ประกอบกับสถาบันการเงินเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อ ส่งผลให้ประชาชนและธุรกิจขาดเงินทุน ขาดสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ทำให้การเข้าถึงแหล่งเงินทุนเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับธุรกิจ
โดยเฉพาะ กลุ่มธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ที่ทำธุรกิจไม่ถึง 3 ปีที่มีข้อจำกัดการขอสินเชื่อจากแบงก์ ขณะเดียวกันมีกลุ่มนักลงทุนที่แข็งแกร่งทางการเงินมองหาผลตอบแทนในการลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนมั่นคงและความเสี่ยงต่ำ ทำให้ตลาดขายฝาก-จำนองบ้าน เติบโตขึ้นมาก
บริษัทจึงเห็นโอกาสดำเนินธูรกิจเป็นตัวกลางช่วยให้เจ้าของทรัพย์สินเปลี่ยนสินทรัพย์เป็นเงินทุนได้ ผ่านการขายฝากและจำนองที่ถูกต้องตามกฎหมายไม่ว่าจะเป็น โฉนดที่ดิน บ้าน คอนโด โรงแรม โรงงาน อพาร์ทเมนต์ อาคารพาณิชย์ โกดัง และที่นา ที่เจ้าของต้องการเงินทุนหมุนเวียน หรือสภาพคล่อง ที่มองหาแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย และมีอัตราดอกเบี้ยตามที่กฎหมายกำหนด
โดยจะให้บริการเป็นวันสต็อปเซอร์วิส มีจุดเด่นอนุมัติใน 2-3 วัน ไม่มีการเช็กเครดิตบูโร ไม่เช็กประวัติการเดินบัญชี ดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 0.75% ต่อเดือน หรือ 9% ต่อปี สูงสุดไม่เกิน 12% ต่อปี มีระยะเวลาขายฝากปีต่อปี สูงสุดไม่เกิน 10 ปี
นายวรวุฒิกล่าวว่า ปัจจุบันมีนักลงทุนที่แสดงความสนใจ 150 ราย มีทั้งบุคคลทั่วไปและที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ มีความพร้อมปล่อยอยู่ที่ 5 ล้านบาทไปจนถึง 150 ล้านบาท ส่วนใหญ่เน้นทรัพย์ในกรุงเทพฯ และตามจังหวัดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย อุบลราชธานี เป็นต้น
โดยเป้าหมายในปี 2568 วางเป้ามูลค่าวงเงินไว้ที่ 2,000 ล้านบาท มีรายได้ 100 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนที่อยู่ที่ 1,700 ล้านบาท และมีรายได้ 60 กว่าล้านบาท โดนรายได้จะมาจากค่าดำเนินการ 5% และจากการลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่ทรัพย์ที่เข้ามาจะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ราคา 3-5 ล้านบาท ล่าสุดมีทรัพย์ขนาดใหญ่เข้ามา เช่น โรงงาน 800 ล้านบาท เพนเฮ้าส์ขนาด 1,500 ตารางเมตร ราคา 300 ล้านบาท ที่นักธุรกิจนำมาฝากขายและจำนอง เพื่อต้องการเงิน 150 ล้านบาท นำไปเสริมสภาพคล่องธุรกิจ
“แต่ละวันมีลูกค้าติดต่อเราเยอะมาก เป็น 100 รายต่อวัน แต่เราก็ต้องดูว่ามีทรัพย์อะไรที่เหมาะสม ซึ่งลูกค้าที่มาหาเราส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องหนี้ครัวเรือน โดยเฉพาะกลุ่มเจนวายและเจนแซด ที่ต้องการเงินไปหมุนในระยะสั้น หากเป็นการขายฝากจะได้ 50% ของมูลค่าการประเมินทรัพย์สิน หากเป็นการจำนองจะได้ 30% ของมูลค่าการประเมินทรัพย์สินเช่น ส่วนที่ปล่อยให้หลุดไปเลยมีน้อยมากประมาณ 5%” นายวรวุฒิกล่าว
ร่างควบคุมแอลกอฮอล์วุ่น ถกต่อสัปดาห์หน้า “ปกรณ์วุฒิ” ซัดลักลั่น มัดมือชก
https://www.thairath.co.th/news/politic/2842798
ถกร่างควบคุมแอลกอฮอล์ยังวุ่น หลังเนื้อหามาตรา 10 รวมอีก 5 มาตราไว้ในมาตราเดียว “ปกรณ์วุฒิ” ซัดลักลั่น มัดมือชก “พิเชษฐ์” จึงสั่งปิดประชุม ให้ กมธ. นำไปปรับก่อนมาถกใหม่สัปดาห์หน้า
วันที่ 19 ก.พ. 68 เมื่อเวลา 12.30 น. ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ โดยมีเนื้อหา 38 มาตรา
แต่เมื่อที่ประชุมพิจารณาถึงมาตรา 10 นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน อยากให้หาข้อสรุปในการลงมติ เนื่องจากร่างใหม่กำหนดให้ยกเลิกความใน ม.10 ทั้งมาตรา และเพิ่มการยกเลิกมาตรา 11, 12, 13, 14, 15 ซึ่งเพิ่มมาถึง 5 มาตรา รวมอยู่ในมาตรา 10 มาตราเดียว จึงคิดว่ากรรมาธิการทำงานโดยการมัดมือชกสภาฯ ทั้งๆ ที่ร่างหลักแก้แค่ 3 วงเล็บ จึงมองว่าไม่เป็นธรรมสักเท่าไหร่ และยังเป็นการลักลั่นแปลกๆ หากจะเดินหน้าด้วยรายงานแบบนี้ คิดว่าไม่ถูกต้อง จึงเสนอให้ไปแก้ไขรายงานก่อน แล้วให้ลงมติเป็นรายมาตรา
จากนั้นนายอดิสร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวอภิปรายเห็นด้วย เพราะจะสะดวกในการพิจารณา เพราะการลงมติแบบ 3 ช่า ไม่เคยเจอในสภา พร้อมเสนอให้พักการประชุมไปหารือ
ต่อมานายจุลพงษ์ อยู่เกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวว่า หากดูเนื้อหา วงเล็บเปิดอยู่มาตรา 10 แต่เครื่องหมายวงเล็บปิดไปอยู่ท้ายมาตรา 15 ที่ผ่านไปถึง 3 หน้า มันหมายความว่าอย่างไร จึงขอให้ไปแก้ไขทั้งหมด
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 จึงกล่าวกับกรรมาธิการว่าจะกลับไปแก้ไขแล้วนำกลับมาพิจารณาหรือไม่ ทางกรรมาธิการจึงกล่าวที่ใช้มาตรา 10-15 เพราะต้องการใช้เพียงมาตราเดียว แต่พอกลับมาสภาฯ ก็จะพิจารณาเนื้อหาทีละมาตรา ในมาตรา 10 อยู่แล้ว และโหวตแต่ละมาตราอยู่แล้ว
นายณัฐวุฒิ บัวประทุม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวอภิปรายแสดงความคิดเห็นว่า ร่างนี้เป็นของคณะรัฐมนตรี ไม่ใช่ร่างของสภาฯ เมื่อดูเนื้อหาแล้ว จึงขอทราบว่ามีเจตจำนงแบบนี้จริงหรือไม่ เพราะความจริงต้องส่งร่างคืนไปที่ รมว.สาธารณสุข และนายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ อีกทั้ง มาตรา 10 ให้ไปยกเลิก 3 วงเล็บ แต่กลับใส่เพิ่มไปอีก 5 มาตรา ซึ่งถือว่าไม่ใช่ธรรมเนียมธรรมดาที่ปฏิบัติแน่นอน แล้วจะแยกลงมติอย่างไร เหมือนไม่เคารพผู้ที่สงวนความเห็นไว้ หากจะพักการประชุม ต้องแก้ไขให้ถูกต้องด้วย
ทำให้นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ ประธานกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กล่าวชี้แจงว่า ความจริงต้องการเรียงเป็นรายมาตราอยู่แล้ว จึงขอให้ประธานในที่ประชุมพักการประชุมสัก 10 นาที ยืนยันว่า ไม่ใช่การมัดมือชก
ด้านนายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว สส.น่าน พรรคเพื่อไทย กล่าวอภิปรายขอให้ไปเรียงลำดับรายมาตรา ก็จะสามารถอภิปรายเป็นรายมาตรา และง่ายต่อการพิจารณา เพราะร่างที่แก้มา อาจไปตัดสิทธิ์เพื่อนสมาชิกในการแปรญัตติ อะไรที่ปรับได้ เช่น รูปแบบการเขียน ไม่ใช่เนื้อหา แล้วมาพิจารณาสัปดาห์หน้าก็ควรจะทำ
นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 กล่าวว่าจากข้อคิดเห็นจากสมาชิกหลายฝ่าย ตนคิดว่ากรรมาธิการจะต้องไปปรับ เนื่องจากกระบวนการของสภาทำไว้ถูกต้องรอทุกคนอยู่แล้ว แต่ ม.10 มันไปไม่ได้ จำเป็นต้องนำไปแก้ไข และจากมาตรา 10-30 กว่า ให้ดูไปพร้อมๆ กัน วันนี้เอากลับไปประชุม แล้วก็กลับเอาเข้ามาพิจารณาอีกครั้งในสภาสัปดาห์หน้า พร้อมกล่าวปิดประชุมในเวลา 16.08 น.
นักวิชาการธรรมศาสตร์ชี้ตีตก พ.ร.บ.บำนาญเป็นการเมือง
https://www.dailynews.co.th/news/4415165/
นักวิชาการธรรมศาสตร์ ตั้งคำถามถึงความจริงใจของรัฐบาลต่อการสร้าง “บำนาญ-สวัสดิการผู้สูงอายุ” หลัง "ร่าง พ.ร.บ.บำนาญประชาชน" ถูกตีตกอย่างน้อย 3 ฉบับ ยืนยันจากผลการศึกษา-ข้อมูลวิชาการ ชี้ชัดว่าประเทศไทยพร้อมเดินหน้าสร้างความยั่งยืน มีแหล่งที่มางบประมาณ-แนวทางบริหารจัดการ ขาดแค่เจตจำนงทางการเมืองสนับสนุน
จากประเด็นที่มีการนำเสนอสถานะของร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการมีบำนาญประชาชนอย่างน้อย 3 ฉบับ จากทั้งหมด 4 ฉบับ
ได้แก่
1. ร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติและสวัสดิการผู้สูงอายุ พ.ศ. …. เสนอโดย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์
2. ร่าง พ.ร.บ.บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้าฯ เสนอโดย นายเซีย จำปาทอง
และ 3. ร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. …. เสนอโดย นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์
มีสถานะที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้รับรอง ในขณะที่ 4. ร่าง พ.ร.บ. ผู้สูงอายุและบำนาญแห่งชาติ (ฉบับที่…) พ.ศ. … ล่าสุดที่เสนอโดยเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งขึ้นสถานะเป็นร่าง พ.ร.บ. ที่เกี่ยวกับการเงิน และกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่ามีโอกาสถูกตีตกด้วยเช่นกัน
ผศ. ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) หนึ่งในนักวิชาการที่ขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืนของระบบหลักประกันสุขภาพและการสร้างความคุ้มครองทางสังคมสำหรับผู้สูงอายุ เปิดเผยว่า ประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดคำถามจากสังคมไปถึงรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายถึงเจตจำนงทางการเมืองว่า รัฐบาลอยากเห็นการคุ้มครองทางสังคมเกิดขึ้นจริงกับประชาชนหรือไม่ หรือรัฐบาลกำลังเกรงว่าหากมีการเดินหน้าขับเคลื่อนเรื่องบำนาญผู้สูงอายุ จากร่าง พ.ร.บ. ว่าด้วยการมีบำนาญของประชาชน แล้วจะไปกระทบกับผลประโยชน์ทางการเมืองใดๆ หรือไม่ จึงไม่ดำเนินการผลักดันและขับเคลื่อนสวัสดิการให้กับประชาชน
ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทั้งภาคประชาชน ภาคการเมือง และภาควิชาการ รวมถึงองค์กรต่างๆ ที่เป็นมันสมองของประเทศ ต่างเห็นร่วมกันว่าประเทศไทยควรมีสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุได้แล้ว พร้อมทั้งมีการศึกษาวิจัยอย่างรอบด้าน ทั้งยังระบุถึงแหล่งที่มาของงบประมาณ และมีแนวทางการบริหารจัดการที่ทำให้เกิดขึ้นได้จริง เพียงแต่ยังไม่เกิดการขับเคลื่อนอย่างจริงจังจากระดับนโยบาย
“แม้ว่าจะมีความพยายามผลักดันจากทุกภาคส่วนให้เกิดการคุ้มครองความยากจนแก่ประชาชนในรูปของการมีกฎหมาย ซึ่งเป็นฐานรากความมั่นคงในการดำรงชีวิตของประชาชนไทยในระยะยาว แต่การผลักดันดังกล่าวไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาล ที่อาจมุ่งให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำนโยบายประชานิยมระยะสั้นมากกว่า โดยเฉพาะการแจกเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจากโครงการต่างๆ ทั้งที่นักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์ออกมาเสนอหลายต่อหลายครั้งแล้วว่า ไม่คุ้มค่า เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้แค่ระยะสั้น และช่วยประชาชนประคองชีวิตในระยะสั้นๆ เท่านั้น แต่รัฐบาลควรหันมาใส่ใจกับการทำนโยบายที่ช่วยวางรากฐานให้กับอนาคตของประเทศมากกว่า” นักวิชาการธรรมศาสตร์ กล่าว
ผศ. ดร.ทีปกร กล่าวว่า การขับเคลื่อนเรื่องสวัสดิการประเด็นหลักต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายที่จะสนใจ ใส่ใจ หรือมีเจตจำนงทางการเมืองในการผลักดันให้เกิดขึ้นจริง เพราะเรื่องสวัสดิการสังคมจะเกี่ยวข้องกับการจัดการในหลายด้าน ทั้งการปฏิรูปภาษี การบริหารจัดการงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นของประเทศ ทั้งหมดล้วนมีเรื่องของผลประโยชน์ทางการเมืองมาเกี่ยวข้อง ซึ่งหากไปแตะต้องหรือปรับเปลี่ยน ก็เลี่ยงไม่ได้ที่จะกระทบกับผู้ที่ได้รับผลประโยชน์เดิม และเป็นประเด็นที่รัฐบาลอาจต้องตัดสินใจเลือกความสำคัญ
ผศ. ดร.ทีปกร กล่าวอีกว่า เป้าหมายพื้นฐานของสวัสดิการสังคมเป็นไปเพื่อคุ้มครองความยากจน ซึ่งจากการคำนวณของภาควิชาการพบว่า ระดับการคุ้มครองความยากจนของครัวเรือนที่ยากจนที่สุด เพื่อให้พ้นจากความยากจนได้ในผู้สูงอายุ เมื่อเทียบกับเส้นแบ่งความยากจนที่กำหนดเอาไว้ที่ 3,000 บาท รัฐบาลควรจัดสวัสดิการให้ไม่น้อยกว่าคนละ 2,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจะเพียงพอในเบื้องต้นสำหรับการดำรงชีวิต โดยในส่วนรูปแบบการบริหารจัดการ รวมถึงแหล่งที่มาของงบประมาณ ก็มีรายงานผลการศึกษามารองรับแล้ว ทั้งในส่วนของคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคม รวมถึงยังมีรายงานของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่มีข้อมูลและการศึกษาแนวทางการปฏิรูปภาษี เพื่อหาแหล่งเงินงบประมาณสำหรับการจัดทำสวัสดิการผู้สูงอายุเอาไว้ด้วย ซึ่งเป็นข้อมูลที่รัฐบาลสามารถนำไปใช้สร้างนโยบายเพื่อประโยชน์ของประชาชนได้