‘เพื่อไทย มั่นใจหลักฐานมัด ‘บิ๊กตู่’ พ้นเก้าอี้นายกฯ ชี้ คำวินิจฉัยศาล ไม่กระทบเงื่อนไขยุบสภา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3562605
‘เพื่อไทย มั่นใจหลักฐานมัด ‘บิ๊กตู่’ พ้นเก้าอี้นายกฯ ชี้ คำวินิจฉัยศาลไม่กระทบเงื่อนไขยุบสภา เผย ไม่ให้ความสำคัญส่งคนฟังคำวินิจฉัย
เมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่รัฐสภา นพ.
ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปีของ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 30 กันยายนว่า เป็นผลจากการที่ศาลวิเคราะห์หลักฐานทั้งหมดแล้วเห็นว่า มีความครบถ้วนเพียงพอ ไม่ต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมอีก ถือว่าสิ้นข้อสงสัยแล้ว จึงให้ทิ้งเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยออกมาเพื่อให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปทำคำวินิจฉัยส่วนตน เป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนจะมาแถลงคำวินิจฉัยในวันที่ 30 กันยายนนี้ พรรค พท. มั่นใจว่า พยานหลักฐานต่างๆ ที่ยื่นไปทั้งหมดมีหลักฐานเพียงพอว่า พล.อ.
ประยุทธ์ต้องสิ้นสภาพการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 สิงหาคม 2565
เมื่อถามว่า หาก พล.อ.
ประยุทธ์ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจริง ใครจะทำหน้าที่รักษาราชการนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พล.อ.
ประยุทธ์ หรือ พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นพ.
ชลน่านกล่าวต่อว่า ยังเป็นข้อถกเถียงทางกฎหมายอยู่ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 168 ระบุว่า หากนายกรัฐมนตรีพ้นตำแหน่ง ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมถึงนายกรัฐมนตรีอยู่รักษาราชการต่อ จนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ ยกเว้น 4 กรณีที่ ครม.ไม่สามารถทำหน้าที่รักษาการต่อได้คือ
1. ความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 เกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน
2. ความผิดในลักษณะต้องห้ามของตัวนายกรัฐมนตรี
นพ.
ชลน่านกล่าวว่า 3.ความผิดเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต
และ 4.การฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง
ซึ่งความผิดกรณีวาระดำรงตำแหน่ง 8 ปีของนายกรัฐมนตรียังเป็นข้อถกเถียงทางกฎหมายที่ยังมีความเห็นแตกต่างว่าจะเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้น 4 ข้อที่ห้าม พล.อ.
ประยุทธ์ทำหน้าที่รักษาราชการนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคิดว่า ไม่มีผลต่อการพิจารณายุบสภา เพราะมีเหตุผลอื่นที่เป็นองค์ประกอบหลักมากกว่า อาทิ การเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปค การวางตัวบุคคลเตรียมพร้อมการเลือกตั้ง และเสียงเรียกร้องของประชาชนให้ยุบสภาจะดังแค่ไหน ที่รัฐบาลต้องเอามาประกอบตัดสินใจเรื่องการยุบสภา
เมื่อถามว่า วันที่ 30 กันยายน พรรค พท.จะมีตัวแทนไปฟังคำวินิจฉัยหรือไม่ นพ.
ชลน่านกล่าวต่อว่า
“เราไม่ได้ให้ความสำคัญว่าจะส่งใครไปฟังคำวินิจฉัย แต่ปกติการไปฟังคำวินิจฉัยก็ต้องมีทั้งผู้ร้องและผู้ถูกร้องไปยังคำวินิจฉัย ซึ่งเรามีหน้าที่แค่ทำคำวินิจฉัยเท่านั้น ส่วนคนร้องคือนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา”
ก้าวไกล คุย ‘ตัวแทนข้าราชการเกษียณ’ ปรับความเข้าใจ ปมตัดบำนาญ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3561755
เลิกบาดหมาง! “ก้าวไกล” คุย “ตัวแทนข้าราชการเกษียณ” ปรับความเข้าใจปมตัดบำนาญ ด้าน “ประธานศูนย์ฯ” ลั่น จะรักกันและมีความผูกพันที่ดีต่อกัน เสนอ 4 ข้อ กำหนดด้านดูแลสุขภาพเป็นนโยบายพรรค
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 14 กันยายน ที่รัฐสภา นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) แถลงภายหลังการประชุมร่วมกับเครือข่ายข้าราชการบำนาญว่า พรรค ก.ก. ไม่มีนโยบายที่จะตัดเงินบำนาญของข้าราชการบำนาญ ซึ่งเราได้พูดถึงเรื่องนี้ในการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2566 ว่างบประมาณมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างอาวุธ หรือโครงการต่างๆ ที่ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชน รวมถึงได้อธิบายให้ข้าราชการบำนาญฟังถึงไขมันที่อยู่ในระบบราชการต่างๆ และเราเห็นตรงกันว่าสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งรายได้ของประเทศจะผันผวน และลดลงเรื่อยๆ ตอนนี้จำเป็นที่จะต้องต่อสู้กับสังคมสูงวัยไม่ว่าจะเป็นอาชีพใดก็ตาม สิ่งที่จะต้องทำอย่างเร่งด่วนคือ รัฐสวัสดิการ ที่ดูแลคนชราและเด็กแรกเกิด รวมถึงเรื่องการศึกษา โดยเราได้ทำความเข้าใจตรงกันว่าสิ่งที่ตนได้อภิปรายไปนั้นไม่ได้พาดพิงข้าราชการบำนาญ หรือดูถูกข้าราชการแต่อย่างใด
นาย
พิธากล่าวว่า ประเด็นต่อมาที่ได้พูดคุยกันคือ เรื่องของสภาพเศรษฐกิจ เราเห็นตรงกันว่าการศึกษาเหมือนกระดุมเม็ดแรกที่จะใช้พัฒนาประเทศต่อไป เราจำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต และมีการกระจายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้ประเทศไทยมีรายได้ที่มากขึ้น สู้กับรายจ่ายที่ขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราไม่จำเป็นต้องกู้ยืมในอนาคตในการบริหารประเทศ
ด้าน นาย
ศรศักดิ์ อ้วนล้วน ประธานศูนย์พิทักษ์สิทธิและสวัสดิการข้าราชการบำนาญแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอบคุณนาย
พิธาที่ได้ทำความเข้าใจกับตัวแทนข้าราชการบำนาญทั่วประเทศ โดยเรามีเรื่องที่ได้ทำความเข้าใจกันว่าจะไม่บาดหมางกัน เราจะรักกันและมีความผูกพันที่ดีต่อกัน ทั้งนี้ อยากให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความยากลำบากของข้าราชการบำนาญในสถานการณ์โรคระบาดร้ายแรง เสถียรภาพทางการเมืองไม่มั่นคง เศรษฐกิจประเทศตกต่ำ สินค้ามีราคาแพง ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ฉะนั้น การจัดสวัสดิการการเงินบำนาญ สิทธิการรักษาพยาบาล ตลอดจนสวัสดิการที่จำเป็นต้องการความมั่นคงยั่งยืนให้ข้าราชการประมาณทุกคนได้อยู่รอดภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบากในปัจจุบัน
นาย
ศรศักดิ์กล่าวต่อว่า มีข้อเสนอต่อทุกฝ่ายคือ
1. การจัดสรรงบประมาณประจำปีต้องคุ้มครองสิทธิ ผลประโยชน์ของข้าราชการบำนาญภายใต้กฎหมาย การตัดงบประมาณสำหรับเงินบำนาญก็ไม่มีทั้งในรัฐบาลนี้และรัฐบาลที่จะมีในอนาคต
2. ข้าราชการบำนาญทุกคน ทุกสังกัดจะต้องได้รับการดูแลอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี
3. ข้าราชการบำนาญมีความจำเป็นเรื่องการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสูงสุดของการดำรงชีวิตภายหลังเกษียณอายุ ฉะนั้น การสนับสนุนส่งเสริมและป้องกันสุขภาพควรจะต้องกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาลหรือพรรคการเมือง
และ 4. ควรเปิดโอกาสให้ข้าราชการบำนาญมีความพร้อม มีประสบการณ์ และพร้อมที่จะทำงานรับใช้บ้านเมืองในบทบาทหน้าที่ที่หลากหลายเป็นที่ปรึกษาหรือคลังสมองของทุกสาขาอาชีพ
สภาถกวุ่น! ปชป.ผนึกฝ่ายค้าน บี้ถอนร่างกม.กัญชา สุดท้ายกมธ.ภูมิใจไทย ยอมถอย
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7266075
กม.กัญชาค้างสภาฯ หลังถกวุ่น ปชป.ผนึกฝ่ายค้าน สู้สำเร็จ กมธ.ฝั่งภูมิใจไทย กล่อมที่ประชุมเดินหน้าต่อ ผวาเกิดยุบสภาก่อนจนกฎหมายตก แต่ไม่สำเร็จต้องถอนร่างออก
เมื่อเวลา 15.45 น. วันที่ 14 ก.ย. 2565 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนาย
สุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาฯคนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ. … ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้ว ในวาระ 2
โดยนาย
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ขอหารือก่อนเข้าสู่การพิจารณา ว่า ร่างเดิมมี 45 มาตรา แต่เพิ่มขึ้นใหม่ 69 มาตรา และตัดทอนเกือบทุกมาตรา จึงเห็นว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะนำร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไปปรับปรุงหรือทบทวนอีกครั้ง เนื่องจากที่รับร่างฉบับนี้มา ซึ่งเป็นร่างของพรรคภูมิใจไทย ไม่ใช่ร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) อาจไม่ได้รับความเห็นจากส่วนราชการต่างๆ หรือรับการตรวจจากคณะกรรมการกฤษฎีกา
นาย
สาทิตย์ กล่าวต่อว่า เมื่อปรับปรุงแก้ไขทั้งร่างจากที่เสนอเข้ามา โดยแก้เกือบทุกมาตรา ก็อาจจะไม่รอบคอบได้ และจากการพิจารณาในเนื้อของกฎหมาย มีลักษณะที่ไม่ได้เป็นการควบคุมหรือใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ จึงมีการเรียกร้องให้เอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติดอีก หรือการให้ประชาชนสามารถปลูกได้โดยเสรีเพียงแต่จดแจ้งเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ทางการแพทย์ แต่เป็นเรื่องนันทนาการ จึงอยากให้กมธ.รับฟังความเห็นและความห่วงใยของสังคม จะเกิดประโยชน์และรอบคอบที่สุด
ด้านนาย
สุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ตนเห็นด้วยให้กมธ.ถอนร่างออกไปทบทวนใหม่ เพราะแก้ไขในตัวร่างเยอะมาก จนเป็นที่น่าวิตกว่าควรจะรอบคอบกว่านี้หรือไม่ และเห็นว่าการแก้ไขเลยไปจากหลักการมาก ต้องยอมรับว่ากฎหมายฉบับนี้คือทำให้กัญชาเสรี จึงทำให้เกิดความวิตกกังวลแบบสุดโต่ง ส่วนที่บอกว่าจะส่งเสริมรายได้เกษตรกรก็ยิ่งห่างไกลยิ่งไปอีก
ขณะที่นาย
ศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะประธานกมธ. ชี้แจงยืนยันว่า กมธ.พิจารณาร่างกฎหมายดีที่สุด และได้กำหนดมาตรการป้องกันไว้แล้ว ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ขอให้ถอนร่างกฎหมายออกไปก่อน เนื่องจากหละหลวมนั้น ขอเรียนว่ากมธ.ไม่ได้หละหลวมแม้แต่น้อย เรารับฟังเสียงจากทุกภาคส่วน จึงเป็นร่างกฎหมายที่สมบูรณ์ที่สุดและมีการอุดช่องโหว่ เป็นกฎหมายที่ดีจึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องถอนร่างออกไป จะบอกว่าให้กลับไปแก้ไข ตนก็ไม่รู้ว่าจะแก้อะไรเช่นกัน
นพ.
วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า วันนี้ส.ส.พรรคก้าวไกลเตรียมตัวมาอภิปรายเต็มที่ แต่บรรยากาศในห้องประชุมเหมือนมีมวลสารอะไรบางอย่าง ไม่แน่ใจว่าเกิดการเล่นการเมืองหรือไม่ ถ้าจะชักเข้าชักออกร่างเช่นนี้ ในระหว่างนี้ตนก็ขอเสนอให้นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ปิดสุญญากาศก่อน ด้วยการยกเลิกประกาศของกระทรวงฯ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ประกาศปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด
จากนั้นนาย
สุชาติ ทำหน้าที่ประธานการประชุม สั่งให้ที่ประชุมเดินหน้า เนื่องจากนาย
ศุภชัย ในฐานะประธานกมธ. ยืนยันไม่ถอนร่างกฎหมาย ทำให้นาย
สาทิตย์เสนอญัตติว่า ขอให้ที่ประชุมลงมติถอนร่างออกไป ขณะเดียวกันนาย
ภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย ก็ได้เสนอญัตติขอให้ที่ประชุมเดินหน้าพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีส.ส.ลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ทั้งสนับสนุนให้เดินหน้าต่อและสนับสนุนให้ถอนร่าง โดยนาย
ชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย ในฐานะกมธ. กล่าวว่า ถ้านำร่างกฎหมายฉบับนี้ไปทบทวน เพื่อนำกลับมาพิจารณาใหม่ในการประชุมสภาฯ สมัยหน้า เชื่อว่าแม้กฎหมายฉบับนี้จะได้รับความเห็นชอบ แต่จะถูกยุบสภาไปก่อนแน่ กฎหมายก็ตกไปอยู่ดี จะนำกลับเข้ามาใหม่อย่างไรก็ล่ม ทุกคนก็ทราบกันอยู่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง ไม่ต้องกลัวว่าพรรคใดจะได้คะแนนเสียง เพราะทุกคนทำงานร่วมกัน ไม่ใช่เรื่องของพรรคใดแต่เป็นเรื่องของประเทศ ขอให้เดินหน้าต่อ อะไรที่ไม่ดีก็ค่อยๆ แก้ไป
ขณะที่นาย
ศุภชัย ต่อรองที่ประชุมว่า ขอให้นาย
สาทิตย์ถอนญัตติที่จะให้ถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปก่อน เพื่อให้ร่างกฎหมายได้พิจารณาเพียง 1 มาตรา จากนั้นก็ให้ค้างไว้ เพื่อนำกลับไปแก้ไขเนื้อหาที่สมาชิกแนะนำและเป็นห่วง แล้วค่อยนำกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้งในต้นเดือนพ.ย. สมัยประชุมหน้า
นาย
สาทิตย์ จึงสอบถามว่า หากให้ตนถอนญัตติออกไป เพื่อให้ร่างกฎหมายฉบับนี้คาอยู่ในสภาฯ ไว้ก่อน โดยให้ผ่านชื่อร่าง แต่คาไว้ที่คำปรารภจะสามารถดำเนินได้หรือไม่ เพราะเมื่อร่างกฎหมายเข้าสู่สภาแล้วจะนำกลับไปทบทวนได้หรือไม่ ซึ่งนาย
ภราดรกล่าวยืนยันว่าทำได้ ไม่มีปัญหา แต่นาย
สุทิน แย้งว่าตามข้อบังคับการประชุมไม่อนุญาตให้ทำได้ เพราะเมื่อกฎหมายเข้าสู่สภาแล้ว ไม่สามารถนำกลับไปทบทวนใหม่ได้ ยืนยันจะต้องเดินหน้าญัตติ เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณาถอนร่างพ.ร.บ.กัญชาหรือไม่
กระทั่งเวลา 17.40 น. ที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่มีมติให้ถอนร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ออกจากระเบียบวาระการประชุมสภาฯ ด้วยคะแนน 198 ต่อ 136 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
JJNY : 5in1 ‘พท.’มั่นใจ พ้นนายกฯ│ก้าวไกลคุย‘ตัวแทนขรก.เกษียณ’│สภาถกวุ่น!│โรงแรมบ่นอุบ ค่าไฟพุ่ง│ทูตรัศม์บอกไม่อยากเชื่อ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3562605
‘เพื่อไทย มั่นใจหลักฐานมัด ‘บิ๊กตู่’ พ้นเก้าอี้นายกฯ ชี้ คำวินิจฉัยศาลไม่กระทบเงื่อนไขยุบสภา เผย ไม่ให้ความสำคัญส่งคนฟังคำวินิจฉัย
เมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่รัฐสภา นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญนัดฟังคำวินิจฉัยการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี 8 ปีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 30 กันยายนว่า เป็นผลจากการที่ศาลวิเคราะห์หลักฐานทั้งหมดแล้วเห็นว่า มีความครบถ้วนเพียงพอ ไม่ต้องหาหลักฐานเพิ่มเติมอีก ถือว่าสิ้นข้อสงสัยแล้ว จึงให้ทิ้งเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน ก่อนที่จะมีคำวินิจฉัยออกมาเพื่อให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไปทำคำวินิจฉัยส่วนตน เป็นลายลักษณ์อักษร ก่อนจะมาแถลงคำวินิจฉัยในวันที่ 30 กันยายนนี้ พรรค พท. มั่นใจว่า พยานหลักฐานต่างๆ ที่ยื่นไปทั้งหมดมีหลักฐานเพียงพอว่า พล.อ.ประยุทธ์ต้องสิ้นสภาพการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 24 สิงหาคม 2565
เมื่อถามว่า หาก พล.อ.ประยุทธ์ต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจริง ใครจะทำหน้าที่รักษาราชการนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ หรือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นพ.ชลน่านกล่าวต่อว่า ยังเป็นข้อถกเถียงทางกฎหมายอยู่ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 168 ระบุว่า หากนายกรัฐมนตรีพ้นตำแหน่ง ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รวมถึงนายกรัฐมนตรีอยู่รักษาราชการต่อ จนกว่าจะมี ครม.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ ยกเว้น 4 กรณีที่ ครม.ไม่สามารถทำหน้าที่รักษาการต่อได้คือ
1. ความผิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 เกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน
2. ความผิดในลักษณะต้องห้ามของตัวนายกรัฐมนตรี
นพ.ชลน่านกล่าวว่า 3.ความผิดเกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต
และ 4.การฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมร้ายแรง
ซึ่งความผิดกรณีวาระดำรงตำแหน่ง 8 ปีของนายกรัฐมนตรียังเป็นข้อถกเถียงทางกฎหมายที่ยังมีความเห็นแตกต่างว่าจะเข้าเงื่อนไขข้อยกเว้น 4 ข้อที่ห้าม พล.อ.ประยุทธ์ทำหน้าที่รักษาราชการนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญคิดว่า ไม่มีผลต่อการพิจารณายุบสภา เพราะมีเหตุผลอื่นที่เป็นองค์ประกอบหลักมากกว่า อาทิ การเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเอเปค การวางตัวบุคคลเตรียมพร้อมการเลือกตั้ง และเสียงเรียกร้องของประชาชนให้ยุบสภาจะดังแค่ไหน ที่รัฐบาลต้องเอามาประกอบตัดสินใจเรื่องการยุบสภา
เมื่อถามว่า วันที่ 30 กันยายน พรรค พท.จะมีตัวแทนไปฟังคำวินิจฉัยหรือไม่ นพ.ชลน่านกล่าวต่อว่า “เราไม่ได้ให้ความสำคัญว่าจะส่งใครไปฟังคำวินิจฉัย แต่ปกติการไปฟังคำวินิจฉัยก็ต้องมีทั้งผู้ร้องและผู้ถูกร้องไปยังคำวินิจฉัย ซึ่งเรามีหน้าที่แค่ทำคำวินิจฉัยเท่านั้น ส่วนคนร้องคือนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา”
ก้าวไกล คุย ‘ตัวแทนข้าราชการเกษียณ’ ปรับความเข้าใจ ปมตัดบำนาญ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3561755
เลิกบาดหมาง! “ก้าวไกล” คุย “ตัวแทนข้าราชการเกษียณ” ปรับความเข้าใจปมตัดบำนาญ ด้าน “ประธานศูนย์ฯ” ลั่น จะรักกันและมีความผูกพันที่ดีต่อกัน เสนอ 4 ข้อ กำหนดด้านดูแลสุขภาพเป็นนโยบายพรรค
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 14 กันยายน ที่รัฐสภา นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) แถลงภายหลังการประชุมร่วมกับเครือข่ายข้าราชการบำนาญว่า พรรค ก.ก. ไม่มีนโยบายที่จะตัดเงินบำนาญของข้าราชการบำนาญ ซึ่งเราได้พูดถึงเรื่องนี้ในการอภิปรายร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2566 ว่างบประมาณมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างอาวุธ หรือโครงการต่างๆ ที่ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชน รวมถึงได้อธิบายให้ข้าราชการบำนาญฟังถึงไขมันที่อยู่ในระบบราชการต่างๆ และเราเห็นตรงกันว่าสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งรายได้ของประเทศจะผันผวน และลดลงเรื่อยๆ ตอนนี้จำเป็นที่จะต้องต่อสู้กับสังคมสูงวัยไม่ว่าจะเป็นอาชีพใดก็ตาม สิ่งที่จะต้องทำอย่างเร่งด่วนคือ รัฐสวัสดิการ ที่ดูแลคนชราและเด็กแรกเกิด รวมถึงเรื่องการศึกษา โดยเราได้ทำความเข้าใจตรงกันว่าสิ่งที่ตนได้อภิปรายไปนั้นไม่ได้พาดพิงข้าราชการบำนาญ หรือดูถูกข้าราชการแต่อย่างใด
นายพิธากล่าวว่า ประเด็นต่อมาที่ได้พูดคุยกันคือ เรื่องของสภาพเศรษฐกิจ เราเห็นตรงกันว่าการศึกษาเหมือนกระดุมเม็ดแรกที่จะใช้พัฒนาประเทศต่อไป เราจำเป็นต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโต และมีการกระจายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้ประเทศไทยมีรายได้ที่มากขึ้น สู้กับรายจ่ายที่ขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้เราไม่จำเป็นต้องกู้ยืมในอนาคตในการบริหารประเทศ
ด้าน นายศรศักดิ์ อ้วนล้วน ประธานศูนย์พิทักษ์สิทธิและสวัสดิการข้าราชการบำนาญแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอบคุณนายพิธาที่ได้ทำความเข้าใจกับตัวแทนข้าราชการบำนาญทั่วประเทศ โดยเรามีเรื่องที่ได้ทำความเข้าใจกันว่าจะไม่บาดหมางกัน เราจะรักกันและมีความผูกพันที่ดีต่อกัน ทั้งนี้ อยากให้ทุกภาคส่วนได้ตระหนักถึงความยากลำบากของข้าราชการบำนาญในสถานการณ์โรคระบาดร้ายแรง เสถียรภาพทางการเมืองไม่มั่นคง เศรษฐกิจประเทศตกต่ำ สินค้ามีราคาแพง ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ฉะนั้น การจัดสวัสดิการการเงินบำนาญ สิทธิการรักษาพยาบาล ตลอดจนสวัสดิการที่จำเป็นต้องการความมั่นคงยั่งยืนให้ข้าราชการประมาณทุกคนได้อยู่รอดภายใต้สถานการณ์ที่ยากลำบากในปัจจุบัน
นายศรศักดิ์กล่าวต่อว่า มีข้อเสนอต่อทุกฝ่ายคือ
1. การจัดสรรงบประมาณประจำปีต้องคุ้มครองสิทธิ ผลประโยชน์ของข้าราชการบำนาญภายใต้กฎหมาย การตัดงบประมาณสำหรับเงินบำนาญก็ไม่มีทั้งในรัฐบาลนี้และรัฐบาลที่จะมีในอนาคต
2. ข้าราชการบำนาญทุกคน ทุกสังกัดจะต้องได้รับการดูแลอย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี
3. ข้าราชการบำนาญมีความจำเป็นเรื่องการดูแลสุขภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสูงสุดของการดำรงชีวิตภายหลังเกษียณอายุ ฉะนั้น การสนับสนุนส่งเสริมและป้องกันสุขภาพควรจะต้องกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาลหรือพรรคการเมือง
และ 4. ควรเปิดโอกาสให้ข้าราชการบำนาญมีความพร้อม มีประสบการณ์ และพร้อมที่จะทำงานรับใช้บ้านเมืองในบทบาทหน้าที่ที่หลากหลายเป็นที่ปรึกษาหรือคลังสมองของทุกสาขาอาชีพ
สภาถกวุ่น! ปชป.ผนึกฝ่ายค้าน บี้ถอนร่างกม.กัญชา สุดท้ายกมธ.ภูมิใจไทย ยอมถอย
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7266075
กม.กัญชาค้างสภาฯ หลังถกวุ่น ปชป.ผนึกฝ่ายค้าน สู้สำเร็จ กมธ.ฝั่งภูมิใจไทย กล่อมที่ประชุมเดินหน้าต่อ ผวาเกิดยุบสภาก่อนจนกฎหมายตก แต่ไม่สำเร็จต้องถอนร่างออก
เมื่อเวลา 15.45 น. วันที่ 14 ก.ย. 2565 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาฯคนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม พิจารณาร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง พ.ศ. … ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญฯ พิจารณาเสร็จแล้ว ในวาระ 2
โดยนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ขอหารือก่อนเข้าสู่การพิจารณา ว่า ร่างเดิมมี 45 มาตรา แต่เพิ่มขึ้นใหม่ 69 มาตรา และตัดทอนเกือบทุกมาตรา จึงเห็นว่าจะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะนำร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ไปปรับปรุงหรือทบทวนอีกครั้ง เนื่องจากที่รับร่างฉบับนี้มา ซึ่งเป็นร่างของพรรคภูมิใจไทย ไม่ใช่ร่างของคณะรัฐมนตรี (ครม.) อาจไม่ได้รับความเห็นจากส่วนราชการต่างๆ หรือรับการตรวจจากคณะกรรมการกฤษฎีกา
นายสาทิตย์ กล่าวต่อว่า เมื่อปรับปรุงแก้ไขทั้งร่างจากที่เสนอเข้ามา โดยแก้เกือบทุกมาตรา ก็อาจจะไม่รอบคอบได้ และจากการพิจารณาในเนื้อของกฎหมาย มีลักษณะที่ไม่ได้เป็นการควบคุมหรือใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ จึงมีการเรียกร้องให้เอากัญชากลับไปเป็นยาเสพติดอีก หรือการให้ประชาชนสามารถปลูกได้โดยเสรีเพียงแต่จดแจ้งเท่านั้น ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ทางการแพทย์ แต่เป็นเรื่องนันทนาการ จึงอยากให้กมธ.รับฟังความเห็นและความห่วงใยของสังคม จะเกิดประโยชน์และรอบคอบที่สุด
ด้านนายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม พรรคเพื่อไทย อภิปรายว่า ตนเห็นด้วยให้กมธ.ถอนร่างออกไปทบทวนใหม่ เพราะแก้ไขในตัวร่างเยอะมาก จนเป็นที่น่าวิตกว่าควรจะรอบคอบกว่านี้หรือไม่ และเห็นว่าการแก้ไขเลยไปจากหลักการมาก ต้องยอมรับว่ากฎหมายฉบับนี้คือทำให้กัญชาเสรี จึงทำให้เกิดความวิตกกังวลแบบสุดโต่ง ส่วนที่บอกว่าจะส่งเสริมรายได้เกษตรกรก็ยิ่งห่างไกลยิ่งไปอีก
ขณะที่นายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย ในฐานะประธานกมธ. ชี้แจงยืนยันว่า กมธ.พิจารณาร่างกฎหมายดีที่สุด และได้กำหนดมาตรการป้องกันไว้แล้ว ส่วนที่พรรคประชาธิปัตย์ขอให้ถอนร่างกฎหมายออกไปก่อน เนื่องจากหละหลวมนั้น ขอเรียนว่ากมธ.ไม่ได้หละหลวมแม้แต่น้อย เรารับฟังเสียงจากทุกภาคส่วน จึงเป็นร่างกฎหมายที่สมบูรณ์ที่สุดและมีการอุดช่องโหว่ เป็นกฎหมายที่ดีจึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องถอนร่างออกไป จะบอกว่าให้กลับไปแก้ไข ตนก็ไม่รู้ว่าจะแก้อะไรเช่นกัน
นพ.วาโย อัศวรุ่งเรือง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า วันนี้ส.ส.พรรคก้าวไกลเตรียมตัวมาอภิปรายเต็มที่ แต่บรรยากาศในห้องประชุมเหมือนมีมวลสารอะไรบางอย่าง ไม่แน่ใจว่าเกิดการเล่นการเมืองหรือไม่ ถ้าจะชักเข้าชักออกร่างเช่นนี้ ในระหว่างนี้ตนก็ขอเสนอให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ปิดสุญญากาศก่อน ด้วยการยกเลิกประกาศของกระทรวงฯ เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. ที่ผ่านมา ที่ประกาศปลดล็อกกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด
จากนั้นนายสุชาติ ทำหน้าที่ประธานการประชุม สั่งให้ที่ประชุมเดินหน้า เนื่องจากนายศุภชัย ในฐานะประธานกมธ. ยืนยันไม่ถอนร่างกฎหมาย ทำให้นายสาทิตย์เสนอญัตติว่า ขอให้ที่ประชุมลงมติถอนร่างออกไป ขณะเดียวกันนายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคภูมิใจไทย ก็ได้เสนอญัตติขอให้ที่ประชุมเดินหน้าพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีส.ส.ลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ทั้งสนับสนุนให้เดินหน้าต่อและสนับสนุนให้ถอนร่าง โดยนายชาดา ไทยเศรษฐ์ ส.ส.อุทัยธานี พรรคภูมิใจไทย ในฐานะกมธ. กล่าวว่า ถ้านำร่างกฎหมายฉบับนี้ไปทบทวน เพื่อนำกลับมาพิจารณาใหม่ในการประชุมสภาฯ สมัยหน้า เชื่อว่าแม้กฎหมายฉบับนี้จะได้รับความเห็นชอบ แต่จะถูกยุบสภาไปก่อนแน่ กฎหมายก็ตกไปอยู่ดี จะนำกลับเข้ามาใหม่อย่างไรก็ล่ม ทุกคนก็ทราบกันอยู่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการเมือง ไม่ต้องกลัวว่าพรรคใดจะได้คะแนนเสียง เพราะทุกคนทำงานร่วมกัน ไม่ใช่เรื่องของพรรคใดแต่เป็นเรื่องของประเทศ ขอให้เดินหน้าต่อ อะไรที่ไม่ดีก็ค่อยๆ แก้ไป
ขณะที่นายศุภชัย ต่อรองที่ประชุมว่า ขอให้นายสาทิตย์ถอนญัตติที่จะให้ถอนร่างกฎหมายฉบับนี้ออกไปก่อน เพื่อให้ร่างกฎหมายได้พิจารณาเพียง 1 มาตรา จากนั้นก็ให้ค้างไว้ เพื่อนำกลับไปแก้ไขเนื้อหาที่สมาชิกแนะนำและเป็นห่วง แล้วค่อยนำกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้งในต้นเดือนพ.ย. สมัยประชุมหน้า
นายสาทิตย์ จึงสอบถามว่า หากให้ตนถอนญัตติออกไป เพื่อให้ร่างกฎหมายฉบับนี้คาอยู่ในสภาฯ ไว้ก่อน โดยให้ผ่านชื่อร่าง แต่คาไว้ที่คำปรารภจะสามารถดำเนินได้หรือไม่ เพราะเมื่อร่างกฎหมายเข้าสู่สภาแล้วจะนำกลับไปทบทวนได้หรือไม่ ซึ่งนายภราดรกล่าวยืนยันว่าทำได้ ไม่มีปัญหา แต่นายสุทิน แย้งว่าตามข้อบังคับการประชุมไม่อนุญาตให้ทำได้ เพราะเมื่อกฎหมายเข้าสู่สภาแล้ว ไม่สามารถนำกลับไปทบทวนใหม่ได้ ยืนยันจะต้องเดินหน้าญัตติ เพื่อให้ที่ประชุมได้พิจารณาถอนร่างพ.ร.บ.กัญชาหรือไม่
กระทั่งเวลา 17.40 น. ที่ประชุมเสียงส่วนใหญ่มีมติให้ถอนร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ออกจากระเบียบวาระการประชุมสภาฯ ด้วยคะแนน 198 ต่อ 136 งดออกเสียง 12 ไม่ลงคะแนน 1 เสียง