เปิดค่าใช้จ่ายครัวเรือนไทยเดือน ม.ค. พุ่ง 17,321 บาท/เดือน
https://ch3plus.com/news/category/277596
เปิดค่าใช้จ่ายครัวเรือนไทยยังสูงต่อเนื่อง หลังราคาสินค้าหลายรายการปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะหมูแพง และน้ำมัน
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเดือนมกราคมที่ผ่านมา พบว่า มีรายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า คือ ธันวาคม 2564 จาก 17,127 บาท มาอยู่ที่ 17,321 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 194 บาท สาเหตุมาจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าเนื้อสัตว์ เพิ่มจาก 1,517 บาท ในเดือนธันวาคม 64 มาอยู่ที่ 1,718 บาทต่อครัวเรือน หรือ เพิ่มขึ้น 201 บาท ขณะที่ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะ ก็เพิ่มมาอยู่ที่ 4,057 บาท หรือ เพิ่มขึ้น 79 บาท / ค่าเช่าบ้าน ค่าก๊าซหุงต้ม เพิ่มมาอยู่ที่ 3,910 บาท เพิ่มขึ้น 29 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าว สะท้อนว่า ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนไทย ยังอยู่ในภาวะที่เพิ่มสูง และสุ่มเสี่ยงที่จะชักหน้าไม่ถึงหลัง เนื่องจากราคาสินค้า โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ยังเพิ่มสูงขึ้น
และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้เงินเฟ้อเดือนมกราคม เดือนแรกของปี สูงขึ้น 3.23 % สูงสุดในรอบ 8 เดือน และสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน หลักๆ มาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น 19.22% อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ บอกว่า เป็นเงินเฟ้อแบบอ่อน และยังไม่จำเป็นที่รัฐ ต้องออกนโยบายสกัดเงินเฟ้อ ขณะที่คาดการณ์เงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์จะยังสูง ขณะที่ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี เตือนไทยเตรียมรับมือ เงินเฟ้อเร่งตัว แตะ 4% ในไตรมาสแรกปีนี้
อั้นไม่อยู่! รถบรรทุกส่งสัญญาณ ปรับขึ้นค่าขนส่ง รวดเดียว 20%
https://ch3plus.com/news/category/277597
นาย
อภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เย็นวันนี้ จะประชุมสมาชิกฯ เพื่อชี้ขาดมาตรการเคลื่อนไหว หลังไม่ได้รับการแก้ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันแพง แม้จะมีการเรียกร้องมาแล้วหลายครั้ง
โดยในครั้งนี้ ยืนยันว่า การชุมนุมในวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้ จะระดมรถบรรทุก ปิดล้อมกระทรวงพลังงาน เพื่อขับไล่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ออกจากตำแหน่ง ส่วนจะชุมนุมแบบปักหลักค้างคืนหรือไม่ ขอประเมินสถานการณ์อีกครั้ง โดยยืนยันการเคลื่อนไหว ไม่มีการเมืองมาเกี่ยวข้องแน่นอน
ส่วนการขึ้นค่าขนส่ง จริงๆไม่อยากปรับขึ้น เพราะจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าให้แพงขึ้นไปอีก แต่ในเมื่อรัฐบาลไม่สามารถดูแลราคาน้ำมันได้ ผู้ประกอบการก็แบกรับต้นทุนไม่ไหวเช่นกัน จึงมีความเป็นไปได้ จะปรับขึ้นค่าขนส่ง รวดเดียว 20%
ส่วนกรณีที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะเข้าหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอให้ปรับวงเงินในโครงการคนละครึ่งจาก 1,200 บาท เป็น 1,500 บาทนั้น ล่าสุดทีมข่าวสอบถามไปยังประธานสภาหอการค้าฯ นาย
สนั่น อังอุบลกุล ได้รับคำตอบว่า การหารือถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังติดภารกิจเร่งด่วน
ฝ่ายค้าน รุมจวก ซัดส.ส.รัฐบาล มุ้งแตก คุยกันเองไม่รู้เรื่อง ทำสภาล่มรอบที่ 16
https://www.matichon.co.th/politics/news_3167535
“ฝ่ายค้าน” รุมจวก “รัฐบาล” หลังสภาฯ ล่ม ด้าน “จิรายุ” โอดล่มครั้งที่ 16 แล้ว ซัดส.ส.รัฐบาลมุ้งแตก เสนอเพิ่มวันประชุม 11 ก.พ. ขณะที่ “ณัฐชา” เสียดายไปไม่ถึงรายงานบำนาญแห่งชาติ 3 พันบาท วอนส.ส.ทุกพรรคช่วยผลักดันก่อนปิดสมัยประชุม
เมื่อเวลา 14.55 น. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา นาย
จิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) แถลงภายหลังองค์ประชุมสภาฯ ล่ม ว่า เมื่อสักครู่ได้มีการเสนอนับองค์ประชุมแบบขานชื่อของส.ส.ฝั่งรัฐบาล เห็นได้ชัดว่า การนับองค์ประชุมแบบขานชื่อส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่มีความจำเป็น เช่น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณรายจ่าย การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายสำคัญ จะเห็นได้ชัดเจนว่า รัฐบาลพยายามดึงและถ่วงเวลา ทำให้วันนี้ที่รัฐบาลทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติล่มเป็นครั้งที่ 16 จึงขอเรียกร้องไปยังผู้ที่ทำหน้าที่ประธานรัฐสภาว่าในสัปดาห์หน้าที่มีการนัดประชุมวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์นั้น ขอให้นัดวันประชุมเพิ่มคือวันที่ 11 กุมภาพันธ์ด้วย และขอเรียกร้องไปยังแกนนำรัฐบาลว่าการประชุมสภาฯ นั้นท่านไม่ต้องไปโทษคนอื่น เพราะหน้าที่การรักษาองค์ประชุมเป็นของส.ส.ฝั่งรัฐบาล ฉะนั้นขอให้ประชาชนจับตาว่าวันนี้ส.ส.รัฐบาลเรียกว่ามุ้งแตก เพราะพูดกันเองยังไม่รู้เรื่อง เนื่องจากมีสมาชิกพรรคตนเองเสนอนับ และสมาชิกพรรคเดียวกันเสนอถอน วันนี้ส.ส.รัฐบาลเสียงแตกอย่างชัดเจน
นาย
จิรายุ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ขอให้ประชาชนช่วยกันจับตามการออกกฎหมายของส.ส.รัฐบาลควรใช้เวลาของสภาฯ ให้เต็มที่ ซึ่งฝ่ายค้านช่วยเป็นองค์ประชุมและลงมติให้หลายครั้ง แต่พอสภาฯ ล่มก็ชี้หน้าด่าฝ่ายค้านอย่างเดียว แบบนี้ในทางการเมืองเรียกว่าไม่ใช่สุภาพบุรุษด้านการเมือง อีกทั้งในที่ประชุมสภาฯ วันนี้ก็มีมุขฮาขึ้นมาอีก 1 มุขคือ มุขอย่ายอมแพ้ ซึ่งส่งไปถึงประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ว่าการดำเนินการบริหารการประชุมในเสี้ยวของการตัดสินใจหากองค์ประชุมไม่ครบดูแล้วมันขาดหรือเกินมากเกินไป ก็ควรจะปิดประชุมเพื่อแก้ไขปัญหา เพราะหากมีการนับองค์ประชุมบางคนก็ขึ้นเครื่องบินกลับบ้านไปไกลแล้ว กลับมาอย่างไรก็ไม่ทัน
จากนั้นเวลา 15.05 น. นาย
ณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การสวัสดิสังคม สภาผู้แทนราษฎร แถลงว่า ระเบียบวาระการประชุมที่กำลังจะเข้าพิจารณาลำดับถัดไปก่อนที่องค์ประชุมสภาฯ ล่มนั้น เป็นเรื่องที่กมธ.พิจารณาเสร็จแล้วคือ รายงานบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ หรือบำนาญ 3,000 บาท ซึ่งพิจารณาเรื่องนี้กันมาถึง 3 ปี เราขับเคลื่อนผลักดันเรื่องบำนาญควบคู่ไปกับภาคประชาชน เรื่องบำนาญนั้นมีการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) 5 ฉบับ แต่ถูกนายกรัฐมนตรีตีตกหมดแล้ว เหลือเพียงของกมธ.
ทั้งนี้ไทม์ไลน์ที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าสภาฯ จะเป็นอย่างไร ตนในฐานะส.ส.ฝ่ายค้านเคารพมติพรรคฝ่ายค้าน แต่เหตุการณ์นี้ส.ส.รัฐบาลที่มาประชุมประมาณ 100 กว่าคน ทั้งที่บอกว่า เป็นรัฐบาลเสียงข้างมากก็ต้องให้ประชาชนติดตามต่อไปว่าเรื่องที่สำคัญที่สุด ที่ผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้ามา ไม่ว่าจะจากพรรคการเมืองใดก็ตาม วันนี้เรื่องที่สำคัญที่สุดของครอบครัวท่านคือบำนาญพื้นฐานประชาชน แต่ผู้แทนที่ท่านเลือกไม่มาปฏิบัติหน้าที่ และไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องบำนาญที่จะเข้าสู่ประชาชน ปู่ย่าตายายที่ยังคงได้แค่ 600-800 บาทในสิ้นเดือนที่ผ่านมา และกำลังจะได้ในสิ้นเดือนข้างหน้า แต่ผู้แทนของท่านไม่คิดจะทำอะไรเลยในสภาฯ
“
วันนี้ผมเสียใจที่สมาชิกสภาฯ อ้างตนว่าเป็นตัวแทนของประชาชนมองข้ามและละเลยประเด็นเหล่านี้ไป วันนี้ภาคประชาชนมารอตั้งแต่เช้า ซึ่งร่างนี้เมื่อเข้าสู่ที่ประชุมสภาฯ หลังจากที่กมธ.พิจารณาเสร็จแล้วก็จะส่งไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อตอบให้ชัดว่าจะทำให้หรือไม่ทำให้ และถ้าทำให้จะได้ 3,000 บาทหรือได้เท่าไหร่ ประชาชนจะได้ทราบทั่วกันว่ารัฐบาลนี้และสภาฯชุดนี้เห็นด้วยหรือไม่กับบำนาญพื้นฐานประชาชน หากดูไทม์ไลน์การประชุมสภาฯ ที่จะปิดสมัยประชุมในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ซึ่งวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ก็จะมีการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ
ฉะนั้นวาระเรื่องที่กมธ.พิจารณาเสร็จแล้วก็จะเข้าสู่ระเบียบวาระอีกครั้งในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และสภาฯ จะปิดสมัยประชุมยาวไปจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ระหว่างนั้นไม่ทราบว่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้นบ้าง จะเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองจนถึงขั้นยุบสภาหรือไม่ หากยุบสภาหมายความว่าจะต้องไปเริ่มต้นใหม่ ในสภาฯ ชุดที่ 26 สิ่งที่เราทำร่วมกันมาทั้งประชาชนและกมธ.ตลอดระยะเวลา 3 ปีจะไม่ปรากฎสู่สภาฯ จึงขอวิงวอนเพื่อนส.ส.ไม่ว่าจะฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ขอให้เป็นฝ่ายเดียวคือฝ่ายนิติบัญญัติที่จะออกกฎหมายนี้เพื่อประชาชนในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์” นาย
ณัฐชา กล่าว
JJNY : 4in1 ค่าใช้จ่ายครัวเรือนม.ค.พุ่ง│รถบรรทุกส่งสัญญาณขึ้นค่าขนส่ง20%│รุมจวกส.ส.รบ.ทำสภาล่ม│งามไส้!ทลายห้องเย็นซุกหมู
https://ch3plus.com/news/category/277596
เปิดค่าใช้จ่ายครัวเรือนไทยยังสูงต่อเนื่อง หลังราคาสินค้าหลายรายการปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะหมูแพง และน้ำมัน
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยข้อมูลค่าใช้จ่ายของครัวเรือนเดือนมกราคมที่ผ่านมา พบว่า มีรายจ่ายรวมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า คือ ธันวาคม 2564 จาก 17,127 บาท มาอยู่ที่ 17,321 บาทต่อครัวเรือน เพิ่มขึ้น 194 บาท สาเหตุมาจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าเนื้อสัตว์ เพิ่มจาก 1,517 บาท ในเดือนธันวาคม 64 มาอยู่ที่ 1,718 บาทต่อครัวเรือน หรือ เพิ่มขึ้น 201 บาท ขณะที่ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าโดยสารสาธารณะ ก็เพิ่มมาอยู่ที่ 4,057 บาท หรือ เพิ่มขึ้น 79 บาท / ค่าเช่าบ้าน ค่าก๊าซหุงต้ม เพิ่มมาอยู่ที่ 3,910 บาท เพิ่มขึ้น 29 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายดังกล่าว สะท้อนว่า ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนไทย ยังอยู่ในภาวะที่เพิ่มสูง และสุ่มเสี่ยงที่จะชักหน้าไม่ถึงหลัง เนื่องจากราคาสินค้า โดยเฉพาะราคาน้ำมัน ยังเพิ่มสูงขึ้น
และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้เงินเฟ้อเดือนมกราคม เดือนแรกของปี สูงขึ้น 3.23 % สูงสุดในรอบ 8 เดือน และสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน หลักๆ มาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น 19.22% อย่างไรก็ดี กระทรวงพาณิชย์ บอกว่า เป็นเงินเฟ้อแบบอ่อน และยังไม่จำเป็นที่รัฐ ต้องออกนโยบายสกัดเงินเฟ้อ ขณะที่คาดการณ์เงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์จะยังสูง ขณะที่ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี เตือนไทยเตรียมรับมือ เงินเฟ้อเร่งตัว แตะ 4% ในไตรมาสแรกปีนี้
อั้นไม่อยู่! รถบรรทุกส่งสัญญาณ ปรับขึ้นค่าขนส่ง รวดเดียว 20%
https://ch3plus.com/news/category/277597
นายอภิชาติ ไพรรุ่งเรือง ประธานสหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เย็นวันนี้ จะประชุมสมาชิกฯ เพื่อชี้ขาดมาตรการเคลื่อนไหว หลังไม่ได้รับการแก้ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันแพง แม้จะมีการเรียกร้องมาแล้วหลายครั้ง
โดยในครั้งนี้ ยืนยันว่า การชุมนุมในวันที่ 8 กุมภาพันธ์นี้ จะระดมรถบรรทุก ปิดล้อมกระทรวงพลังงาน เพื่อขับไล่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ออกจากตำแหน่ง ส่วนจะชุมนุมแบบปักหลักค้างคืนหรือไม่ ขอประเมินสถานการณ์อีกครั้ง โดยยืนยันการเคลื่อนไหว ไม่มีการเมืองมาเกี่ยวข้องแน่นอน
ส่วนการขึ้นค่าขนส่ง จริงๆไม่อยากปรับขึ้น เพราะจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าให้แพงขึ้นไปอีก แต่ในเมื่อรัฐบาลไม่สามารถดูแลราคาน้ำมันได้ ผู้ประกอบการก็แบกรับต้นทุนไม่ไหวเช่นกัน จึงมีความเป็นไปได้ จะปรับขึ้นค่าขนส่ง รวดเดียว 20%
ส่วนกรณีที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย จะเข้าหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เพื่อเสนอให้ปรับวงเงินในโครงการคนละครึ่งจาก 1,200 บาท เป็น 1,500 บาทนั้น ล่าสุดทีมข่าวสอบถามไปยังประธานสภาหอการค้าฯ นายสนั่น อังอุบลกุล ได้รับคำตอบว่า การหารือถูกเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด เนื่องจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังติดภารกิจเร่งด่วน
ฝ่ายค้าน รุมจวก ซัดส.ส.รัฐบาล มุ้งแตก คุยกันเองไม่รู้เรื่อง ทำสภาล่มรอบที่ 16
https://www.matichon.co.th/politics/news_3167535
“ฝ่ายค้าน” รุมจวก “รัฐบาล” หลังสภาฯ ล่ม ด้าน “จิรายุ” โอดล่มครั้งที่ 16 แล้ว ซัดส.ส.รัฐบาลมุ้งแตก เสนอเพิ่มวันประชุม 11 ก.พ. ขณะที่ “ณัฐชา” เสียดายไปไม่ถึงรายงานบำนาญแห่งชาติ 3 พันบาท วอนส.ส.ทุกพรรคช่วยผลักดันก่อนปิดสมัยประชุม
เมื่อเวลา 14.55 น. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) แถลงภายหลังองค์ประชุมสภาฯ ล่ม ว่า เมื่อสักครู่ได้มีการเสนอนับองค์ประชุมแบบขานชื่อของส.ส.ฝั่งรัฐบาล เห็นได้ชัดว่า การนับองค์ประชุมแบบขานชื่อส่วนใหญ่จะใช้ในกรณีที่มีความจำเป็น เช่น เรื่องที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณรายจ่าย การแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายสำคัญ จะเห็นได้ชัดเจนว่า รัฐบาลพยายามดึงและถ่วงเวลา ทำให้วันนี้ที่รัฐบาลทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติล่มเป็นครั้งที่ 16 จึงขอเรียกร้องไปยังผู้ที่ทำหน้าที่ประธานรัฐสภาว่าในสัปดาห์หน้าที่มีการนัดประชุมวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์นั้น ขอให้นัดวันประชุมเพิ่มคือวันที่ 11 กุมภาพันธ์ด้วย และขอเรียกร้องไปยังแกนนำรัฐบาลว่าการประชุมสภาฯ นั้นท่านไม่ต้องไปโทษคนอื่น เพราะหน้าที่การรักษาองค์ประชุมเป็นของส.ส.ฝั่งรัฐบาล ฉะนั้นขอให้ประชาชนจับตาว่าวันนี้ส.ส.รัฐบาลเรียกว่ามุ้งแตก เพราะพูดกันเองยังไม่รู้เรื่อง เนื่องจากมีสมาชิกพรรคตนเองเสนอนับ และสมาชิกพรรคเดียวกันเสนอถอน วันนี้ส.ส.รัฐบาลเสียงแตกอย่างชัดเจน
นายจิรายุ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ขอให้ประชาชนช่วยกันจับตามการออกกฎหมายของส.ส.รัฐบาลควรใช้เวลาของสภาฯ ให้เต็มที่ ซึ่งฝ่ายค้านช่วยเป็นองค์ประชุมและลงมติให้หลายครั้ง แต่พอสภาฯ ล่มก็ชี้หน้าด่าฝ่ายค้านอย่างเดียว แบบนี้ในทางการเมืองเรียกว่าไม่ใช่สุภาพบุรุษด้านการเมือง อีกทั้งในที่ประชุมสภาฯ วันนี้ก็มีมุขฮาขึ้นมาอีก 1 มุขคือ มุขอย่ายอมแพ้ ซึ่งส่งไปถึงประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ ว่าการดำเนินการบริหารการประชุมในเสี้ยวของการตัดสินใจหากองค์ประชุมไม่ครบดูแล้วมันขาดหรือเกินมากเกินไป ก็ควรจะปิดประชุมเพื่อแก้ไขปัญหา เพราะหากมีการนับองค์ประชุมบางคนก็ขึ้นเครื่องบินกลับบ้านไปไกลแล้ว กลับมาอย่างไรก็ไม่ทัน
จากนั้นเวลา 15.05 น. นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การสวัสดิสังคม สภาผู้แทนราษฎร แถลงว่า ระเบียบวาระการประชุมที่กำลังจะเข้าพิจารณาลำดับถัดไปก่อนที่องค์ประชุมสภาฯ ล่มนั้น เป็นเรื่องที่กมธ.พิจารณาเสร็จแล้วคือ รายงานบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ หรือบำนาญ 3,000 บาท ซึ่งพิจารณาเรื่องนี้กันมาถึง 3 ปี เราขับเคลื่อนผลักดันเรื่องบำนาญควบคู่ไปกับภาคประชาชน เรื่องบำนาญนั้นมีการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) 5 ฉบับ แต่ถูกนายกรัฐมนตรีตีตกหมดแล้ว เหลือเพียงของกมธ.
ทั้งนี้ไทม์ไลน์ที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าสภาฯ จะเป็นอย่างไร ตนในฐานะส.ส.ฝ่ายค้านเคารพมติพรรคฝ่ายค้าน แต่เหตุการณ์นี้ส.ส.รัฐบาลที่มาประชุมประมาณ 100 กว่าคน ทั้งที่บอกว่า เป็นรัฐบาลเสียงข้างมากก็ต้องให้ประชาชนติดตามต่อไปว่าเรื่องที่สำคัญที่สุด ที่ผู้แทนที่ประชาชนเลือกเข้ามา ไม่ว่าจะจากพรรคการเมืองใดก็ตาม วันนี้เรื่องที่สำคัญที่สุดของครอบครัวท่านคือบำนาญพื้นฐานประชาชน แต่ผู้แทนที่ท่านเลือกไม่มาปฏิบัติหน้าที่ และไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องบำนาญที่จะเข้าสู่ประชาชน ปู่ย่าตายายที่ยังคงได้แค่ 600-800 บาทในสิ้นเดือนที่ผ่านมา และกำลังจะได้ในสิ้นเดือนข้างหน้า แต่ผู้แทนของท่านไม่คิดจะทำอะไรเลยในสภาฯ
“วันนี้ผมเสียใจที่สมาชิกสภาฯ อ้างตนว่าเป็นตัวแทนของประชาชนมองข้ามและละเลยประเด็นเหล่านี้ไป วันนี้ภาคประชาชนมารอตั้งแต่เช้า ซึ่งร่างนี้เมื่อเข้าสู่ที่ประชุมสภาฯ หลังจากที่กมธ.พิจารณาเสร็จแล้วก็จะส่งไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อตอบให้ชัดว่าจะทำให้หรือไม่ทำให้ และถ้าทำให้จะได้ 3,000 บาทหรือได้เท่าไหร่ ประชาชนจะได้ทราบทั่วกันว่ารัฐบาลนี้และสภาฯชุดนี้เห็นด้วยหรือไม่กับบำนาญพื้นฐานประชาชน หากดูไทม์ไลน์การประชุมสภาฯ ที่จะปิดสมัยประชุมในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ซึ่งวันที่ 17-18 กุมภาพันธ์ก็จะมีการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติ
ฉะนั้นวาระเรื่องที่กมธ.พิจารณาเสร็จแล้วก็จะเข้าสู่ระเบียบวาระอีกครั้งในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และสภาฯ จะปิดสมัยประชุมยาวไปจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ระหว่างนั้นไม่ทราบว่าจะเกิดเหตุอะไรขึ้นบ้าง จะเกิดอุบัติเหตุทางการเมืองจนถึงขั้นยุบสภาหรือไม่ หากยุบสภาหมายความว่าจะต้องไปเริ่มต้นใหม่ ในสภาฯ ชุดที่ 26 สิ่งที่เราทำร่วมกันมาทั้งประชาชนและกมธ.ตลอดระยะเวลา 3 ปีจะไม่ปรากฎสู่สภาฯ จึงขอวิงวอนเพื่อนส.ส.ไม่ว่าจะฝ่ายค้านหรือรัฐบาล ขอให้เป็นฝ่ายเดียวคือฝ่ายนิติบัญญัติที่จะออกกฎหมายนี้เพื่อประชาชนในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์” นายณัฐชา กล่าว