วันนี้ (17 ก.พ. 2568) นายกอุ๊งอิ๊ง ปัดตกร่างกฎหมายสำคัญ 3 ร่าง คือ
1. ร่าง พรบ.บำนาญถ้วนหน้า(สวัสดิการคนชรา)
2. ร่างสหภาพแรงงาน(แรงงานมีสิทธิในการจัดตั้งสหภาพ)
3. ร่างเก็บภาษีความมั่งคั่ง(เก็บภาษีคนรวย)
นายสมวงศ์ อุไรวัฒนา หนึ่งในผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท ให้ความเห็นว่า การที่นายกฯ ไม่ให้คำรับรองร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับบำนาญประชาชนทั้ง 3 ฉบับ เป็นสิ่งที่ไม่เหนือความคาดหมาย เพราะรัฐบาลไม่ได้มีเจตนารมณ์ในเรื่องสวัสดิการของประชาชนอยู่แล้ว รัฐบาลชุดนี้ไม่สนใจเรื่องของคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเฉพาะคนที่เขาคิดว่าไม่ได้สร้างผลผลิตให้กับประเทศ และมองว่าเป็นภาระงบประมาณ
“อย่าไปหวังกับรัฐบาลชุดนี้ทั้งชุด วิธีคิดเขามีวิธีเดียวคือกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างที่บอกว่าจะเพิ่มเบี้ยยังชีพเป็น 1,000 บาท ถามก่อนว่าจะได้เมื่อไหร่ ผู้สูงอายุควรนำมาเป็นบทเรียนว่า ควรเลือกรัฐบาลแบบนี้หรือไม่” สมวงศ์ กล่าว
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับรวมถึงร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. …. ที่เสนอโดย นายนิมิตร์ เทียนอุดม เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ มีหลักการสำคัญตรงกันคือ การกำหนดให้รัฐจ่ายเงินบำนาญพื้นฐานแบบรายเดือนให้บุคคลที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปแบบถ้วนหน้า ในอัตราเงินบำนาญต้องไม่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ที่มา:
https://www.thecoverage.info/news/content/8229
อุ๊งอิ๊ง ปัดตก 3 ร่างกฎหมายสำคัญ เป็นบทเรียนสำคัญเลือกตั้งครั้งต่อไป
1. ร่าง พรบ.บำนาญถ้วนหน้า(สวัสดิการคนชรา)
2. ร่างสหภาพแรงงาน(แรงงานมีสิทธิในการจัดตั้งสหภาพ)
3. ร่างเก็บภาษีความมั่งคั่ง(เก็บภาษีคนรวย)
นายสมวงศ์ อุไรวัฒนา หนึ่งในผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือนละ 600 บาท ให้ความเห็นว่า การที่นายกฯ ไม่ให้คำรับรองร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับบำนาญประชาชนทั้ง 3 ฉบับ เป็นสิ่งที่ไม่เหนือความคาดหมาย เพราะรัฐบาลไม่ได้มีเจตนารมณ์ในเรื่องสวัสดิการของประชาชนอยู่แล้ว รัฐบาลชุดนี้ไม่สนใจเรื่องของคุณภาพชีวิตประชาชน โดยเฉพาะคนที่เขาคิดว่าไม่ได้สร้างผลผลิตให้กับประเทศ และมองว่าเป็นภาระงบประมาณ
“อย่าไปหวังกับรัฐบาลชุดนี้ทั้งชุด วิธีคิดเขามีวิธีเดียวคือกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างที่บอกว่าจะเพิ่มเบี้ยยังชีพเป็น 1,000 บาท ถามก่อนว่าจะได้เมื่อไหร่ ผู้สูงอายุควรนำมาเป็นบทเรียนว่า ควรเลือกรัฐบาลแบบนี้หรือไม่” สมวงศ์ กล่าว
ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.ทั้ง 3 ฉบับรวมถึงร่าง พ.ร.บ.ผู้สูงอายุและบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ พ.ศ. …. ที่เสนอโดย นายนิมิตร์ เทียนอุดม เครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ มีหลักการสำคัญตรงกันคือ การกำหนดให้รัฐจ่ายเงินบำนาญพื้นฐานแบบรายเดือนให้บุคคลที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปแบบถ้วนหน้า ในอัตราเงินบำนาญต้องไม่ต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจนตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุได้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ที่มา:
https://www.thecoverage.info/news/content/8229