มีดที่ชุบแข็งบางส่วนหรือดิฟเฟอเรนเชียลฮาร์ดเดนนิ่ง นิยมทำกันทั่วๆไปทุกแหล่งทุกประเทศ มีการชุบแข็งแบบนี้ทั้งสิ้น ในบ้านเรา ในญี่ปุ่น ในอเมริกา แม้แต่โรงเรียนของสมาคมช่างตีเหล็กอเมริกันก็มีการเรียนการสอนวิธีให้ความร้อนแบบนี้เป็นหลักสูตรบังคับ
edge quench การชุบแข็งเฉพาะแนวคม
การชุบแข็งใบมีด มันมีเรื่องสลับซับซ้อนแยกรายละเอียดต่างกันออกไปได้หลายแบบนะครับ การทำเอจก์เคว้นช์ก็เป็นการชุบแข็งวิธีนึง คือการชุบแข็งใบมีดให้แข็งเฉพาะแนวคม ไม่ได้แข็งทั้งใบ การชุบแข็งใบมีดให้มีค่าความแข็งไม่เท่ากันหรือต่างกันในใบมีดแต่ละส่วน เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า differential hardening
ของญี่ปุ่นดูแล้วจะได้รับของยกย่องหรือเป็นที่สนใจในชิ้นงานประเภทนี้ ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆก็คือดาบญี่ปุ่น ดาบแท้ๆแบบนิฮองโตะเกือบทั้งหมดทำด้วยวิธีนี้ คือชุบแข็งเฉพาะแนวคม ส่วนที่เป็นแนวแข็งเรียกกันว่าฮามอน นอกจากสวยงาม แข็งแกร่งแล้วส่วนนี้ยังกำหนดอายุโดยรวมของใบมีดหรือใบดาบ
การทำฮามอนบนใบมีดในยุคสมัยนี้มีได้ทั่วๆไปนะครับ ไม่ใช่เฉพาะญี่ปุ่น ในประเทศเราก็มี ผมเองทันยุคที่บ้านเราตื่นตัวหรือให้ความสนใจศึกษาการทำฮามอนบนใบมีด นั่นเป็นเรื่องราวเมื่อประมาณยี่สิบปีที่แล้ว ทุกวันนี้ก็ทำกันได้ทั่วไป
ใบมีดที่มีฮามอนหรือลายฮามอน บางทีถ้าขัดผิวขาวมันอาจจะมองไม่ค่อยเห็นนะครับ ต้องมีการขัดละเอียดหรือขัดเรียกลาย ซึ่งใช้เวลา ต้นทุน แรงงานอีกมหาศาล มันมีวิธีที่ง่ายกว่านั้นในการตรวจสอบว่าฮามอนหรือแนวชุบแข็งบนใบมีดของเรามีแค่ไหนหรืออยู่ในลักษณะไหน
วันนี้จะแนะนำวิธีการดูฮามอนอย่างง่ายๆสบายๆลงแรงน้อยที่สุด
วัสดุอุปกรณ์ก็มีใบมีดที่แนวชุบแข็งหรือฮามอน , ขวดพลาสติกใหญ่ๆ ลึกๆหรือสูงๆ , น้ำส้มสายชู จะเป็นแท้ เทียม กลั่นหรือหมักก็ได้ครับ , กระดาษทรายเบอร์ 100 สีแดง 1 แผ่น สีดำ 1 แผ่น , ซีแคล็มป์หรือปากกาจับงสนที่จับใบมีดให้อยู่นิ่งๆได้
วิธีทำก็คือ ขัดใบมีดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 100 สีแดงครับ ขั้นแรกก็ขัดๆถูๆวนๆไปให้ทั่วแหละ จนใบมีดเรียบขาว อ้อ ขั้นตอนนี้กรุณาถูหน้ามีดเอาคมออกซะก่อนนะครับ ไม่งั้นล่ะเรียกหาภรรยาแสนรักเอาง่ายๆ พอขัดใบมีดได้ขาวดีแล้วก็ต้องจัดลายหรือเส้นขัดให้ตรง
หนีบใบมีดให้อยู่นิ่งๆแน่นหนามั่นคง เอากระดาษทรายพันไม้หรือเหล็กแบนๆแล้วขัดให้ไปในทางเดียวกัน จะขัดขวางแนวใบมีดก็ได้ครับ หรือจะขัดตามยาวแบบแฮนด์รับคือดึงออกมาจากโคนใบมีดเข้ามาหาปลายใบมีด ขัดให้เส้นขนแมวหรือเส้นกระดาษทรายตรง เมื่อตรงดีแล้วขัดซ้ำด้วยเบอร์ 100 สีดำอีกทีก็เป็นการแต่งผิวที่ใช้งานได้ ทำขั้นต่อไปได้
ตัดขวดพลาสติกที่คอขวดเอาแค่ให้ใบมีดเข้าไปได้ เทน้ำส้มสายชูลงไปครึ่งขวด แล้วเอาน้ำเติมให้เต็มๆ
ล้างใบมีดให้สะอาดหมดคราบมัน จุ่มลงไปในขวดที่เทน้ำส้มเอาไว้ พยายามให้ใบมีดตรงๆหรือแขวนตรงๆอย่าให้เอียงหรือแนบกับขวดข้างใดข้างหนึ่ง แช่ทิ้งไว้ข้ามคืน
วันรุ่งขึ้นเตรียมน้ำกับผงซักฟอก แปรงสีฟันใช้แล้ว ผ้าเช็ดใบมีด น้ำมันเคลือบ
วิธีล้าง คือดึงใบมีดขึ้นมาแล้วเอาน้ำค่อยๆเทล้างน้ำส้มออก หลังจากนั้นเอาแปรงแตะผงซักฟอกมากๆแล้วขัดถูไปในแนวตามยาวของใบมีด ตอนนี้ถ้าทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี เราจะเห็นคราบดำหรือผงดำๆปนกับน้ำออกมา แปรงแล้วแปรงอีกจนสะอาดครับ เราจะเห็นแนวคมหรือเหล็กส่วนที่แข็ง ตัดกับส่วนที่เป็นเหล็กเหนียวได้ชัดเจน
ล้างให้สะอาด รีบเช็ดให้แห้ง ในขั้นตอนการเช็ดนี่ต้องทำด้วยความรวดเร็วนะครับ เพราะใบมีดจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีแดงหรือเหลืองในขั้นตอนนี้ครับ เช็ดให้แห้ง ลูบด้วยน้ำมันพืชหรือน้ำมันโซล่าเล็กน้อย แขวนผึ่งเอาไว้ซักครู่ มันจะเลิกทำปฏิกิริยากับอากาศ
เท่านี้เราก็จะได้ใบมีดที่เห็นลายฮามอนชัดเจนแบบง่ายๆ อ้อ ขอเตือนไว้อีกอย่างเรื่องการแช่ใบมีดอย่าแช่ทิ้งไว้สองวันสามวันนะครับ ใบมีดจะผุได้ ซึ่งส่วนที่เป็นเหล็กแข็งจะเป็นส่วนที่ผุก่อน และถ้าใบมีดเป็นลามิเน็ทจะแช่ดูรอยผสมเหล็กก็ได้ครับผม แต่อย่าแช่นาน กรดจะเข้าไปกัดชั้นรอยต่อหรือคาซึมิของใบมีดทำให้เกิดการผุกร่อนตามมาภายหลังได้
การกัดกรดเพื่อดูแนวชุบแข็งของใบมีด
edge quench การชุบแข็งเฉพาะแนวคม
การชุบแข็งใบมีด มันมีเรื่องสลับซับซ้อนแยกรายละเอียดต่างกันออกไปได้หลายแบบนะครับ การทำเอจก์เคว้นช์ก็เป็นการชุบแข็งวิธีนึง คือการชุบแข็งใบมีดให้แข็งเฉพาะแนวคม ไม่ได้แข็งทั้งใบ การชุบแข็งใบมีดให้มีค่าความแข็งไม่เท่ากันหรือต่างกันในใบมีดแต่ละส่วน เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า differential hardening
ของญี่ปุ่นดูแล้วจะได้รับของยกย่องหรือเป็นที่สนใจในชิ้นงานประเภทนี้ ยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆก็คือดาบญี่ปุ่น ดาบแท้ๆแบบนิฮองโตะเกือบทั้งหมดทำด้วยวิธีนี้ คือชุบแข็งเฉพาะแนวคม ส่วนที่เป็นแนวแข็งเรียกกันว่าฮามอน นอกจากสวยงาม แข็งแกร่งแล้วส่วนนี้ยังกำหนดอายุโดยรวมของใบมีดหรือใบดาบ
การทำฮามอนบนใบมีดในยุคสมัยนี้มีได้ทั่วๆไปนะครับ ไม่ใช่เฉพาะญี่ปุ่น ในประเทศเราก็มี ผมเองทันยุคที่บ้านเราตื่นตัวหรือให้ความสนใจศึกษาการทำฮามอนบนใบมีด นั่นเป็นเรื่องราวเมื่อประมาณยี่สิบปีที่แล้ว ทุกวันนี้ก็ทำกันได้ทั่วไป
ใบมีดที่มีฮามอนหรือลายฮามอน บางทีถ้าขัดผิวขาวมันอาจจะมองไม่ค่อยเห็นนะครับ ต้องมีการขัดละเอียดหรือขัดเรียกลาย ซึ่งใช้เวลา ต้นทุน แรงงานอีกมหาศาล มันมีวิธีที่ง่ายกว่านั้นในการตรวจสอบว่าฮามอนหรือแนวชุบแข็งบนใบมีดของเรามีแค่ไหนหรืออยู่ในลักษณะไหน
วันนี้จะแนะนำวิธีการดูฮามอนอย่างง่ายๆสบายๆลงแรงน้อยที่สุด
วัสดุอุปกรณ์ก็มีใบมีดที่แนวชุบแข็งหรือฮามอน , ขวดพลาสติกใหญ่ๆ ลึกๆหรือสูงๆ , น้ำส้มสายชู จะเป็นแท้ เทียม กลั่นหรือหมักก็ได้ครับ , กระดาษทรายเบอร์ 100 สีแดง 1 แผ่น สีดำ 1 แผ่น , ซีแคล็มป์หรือปากกาจับงสนที่จับใบมีดให้อยู่นิ่งๆได้
วิธีทำก็คือ ขัดใบมีดด้วยกระดาษทรายเบอร์ 100 สีแดงครับ ขั้นแรกก็ขัดๆถูๆวนๆไปให้ทั่วแหละ จนใบมีดเรียบขาว อ้อ ขั้นตอนนี้กรุณาถูหน้ามีดเอาคมออกซะก่อนนะครับ ไม่งั้นล่ะเรียกหาภรรยาแสนรักเอาง่ายๆ พอขัดใบมีดได้ขาวดีแล้วก็ต้องจัดลายหรือเส้นขัดให้ตรง
หนีบใบมีดให้อยู่นิ่งๆแน่นหนามั่นคง เอากระดาษทรายพันไม้หรือเหล็กแบนๆแล้วขัดให้ไปในทางเดียวกัน จะขัดขวางแนวใบมีดก็ได้ครับ หรือจะขัดตามยาวแบบแฮนด์รับคือดึงออกมาจากโคนใบมีดเข้ามาหาปลายใบมีด ขัดให้เส้นขนแมวหรือเส้นกระดาษทรายตรง เมื่อตรงดีแล้วขัดซ้ำด้วยเบอร์ 100 สีดำอีกทีก็เป็นการแต่งผิวที่ใช้งานได้ ทำขั้นต่อไปได้
ตัดขวดพลาสติกที่คอขวดเอาแค่ให้ใบมีดเข้าไปได้ เทน้ำส้มสายชูลงไปครึ่งขวด แล้วเอาน้ำเติมให้เต็มๆ
ล้างใบมีดให้สะอาดหมดคราบมัน จุ่มลงไปในขวดที่เทน้ำส้มเอาไว้ พยายามให้ใบมีดตรงๆหรือแขวนตรงๆอย่าให้เอียงหรือแนบกับขวดข้างใดข้างหนึ่ง แช่ทิ้งไว้ข้ามคืน
วันรุ่งขึ้นเตรียมน้ำกับผงซักฟอก แปรงสีฟันใช้แล้ว ผ้าเช็ดใบมีด น้ำมันเคลือบ
วิธีล้าง คือดึงใบมีดขึ้นมาแล้วเอาน้ำค่อยๆเทล้างน้ำส้มออก หลังจากนั้นเอาแปรงแตะผงซักฟอกมากๆแล้วขัดถูไปในแนวตามยาวของใบมีด ตอนนี้ถ้าทุกอย่างเป็นไปได้ด้วยดี เราจะเห็นคราบดำหรือผงดำๆปนกับน้ำออกมา แปรงแล้วแปรงอีกจนสะอาดครับ เราจะเห็นแนวคมหรือเหล็กส่วนที่แข็ง ตัดกับส่วนที่เป็นเหล็กเหนียวได้ชัดเจน
ล้างให้สะอาด รีบเช็ดให้แห้ง ในขั้นตอนการเช็ดนี่ต้องทำด้วยความรวดเร็วนะครับ เพราะใบมีดจะเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีแดงหรือเหลืองในขั้นตอนนี้ครับ เช็ดให้แห้ง ลูบด้วยน้ำมันพืชหรือน้ำมันโซล่าเล็กน้อย แขวนผึ่งเอาไว้ซักครู่ มันจะเลิกทำปฏิกิริยากับอากาศ
เท่านี้เราก็จะได้ใบมีดที่เห็นลายฮามอนชัดเจนแบบง่ายๆ อ้อ ขอเตือนไว้อีกอย่างเรื่องการแช่ใบมีดอย่าแช่ทิ้งไว้สองวันสามวันนะครับ ใบมีดจะผุได้ ซึ่งส่วนที่เป็นเหล็กแข็งจะเป็นส่วนที่ผุก่อน และถ้าใบมีดเป็นลามิเน็ทจะแช่ดูรอยผสมเหล็กก็ได้ครับผม แต่อย่าแช่นาน กรดจะเข้าไปกัดชั้นรอยต่อหรือคาซึมิของใบมีดทำให้เกิดการผุกร่อนตามมาภายหลังได้