ใบดาบหรือมีดแบบญี่ปุ่น มีแนวชุบแข็งที่เรียกกันว่าฮามอน 刃文 ที่หมายถึงแนวชุบแข็งของใบมีดหรือใบดาบ เหล็กของใบดาบจะถูกทำให้แข็งบางส่วนและเหลือบางส่วนเป็นเหล็กเหนียวเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการยืดหยุ่นรับแรงสะเทือน ที่ว่ามาเป็นเรื่องหลักๆและความสวยงามของแนวชุบแข็งเป็นเรื่องรอง
หลังการปรับปรุงพัฒนาอยู่นานหลายปีหลายชั่วอายุคน ลายฮามอนบนดาบญี่ปุ่นได้ถูกสร้างให้มีความสวยงามล้ำลึก ยากที่จะหาได้จากของมีคมจากแหล่งอื่นของโลก มันก็มีทำกันอยู่บ้างนะครับ แต่ไม่เหมือนที่ญี่ปุ่น ลวดลายเหล่านั้นนอกจากงดงามแล้วยังซับซ้อนวิจิตรบรรจง บางครั้งพิศดารแปลกประหลาดราวกับว่ามิได้สร้างขึ้นมาโดยฝีมือของมนุษย์ ถึงเป็นมนุษย์ก็มิใช่มนุษย์ธรรมดาแบบที่พบกันได้ทั่วไป
เป็นสุดยอดงานฝีมือจากสุดยอดช่างฝีมือ
เรามิอาจสร้างสรรผลงานเยี่ยงนั้นได้ เราทำได้ในแบบของเรา แบบง่ายๆ พื้นๆ ทำกันที่บ้านเราด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในเมืองไทย
กลิ่นโคลน สาบแมว
ลายฮามอนหรือแนวชุบแข็งแบบญี่ปุ่น หลายท่านคงรู้จักดีหรือเคยทำแล้ว ท่านใดสนใจแต่ยังไม่เคยทำ
วันนี้ชวนกันมาดูการชุบแข็งใบมีดให้มีลายฮามอน ในแบบพื้นฐาน ง่ายๆสบายๆเผื่อใครอยากหัดทำเล่นที่บ้าน
โดยหลักการแล้วคือการพอกโคลนหรือทาโคลนที่ใบมีดในส่วนสันมีดหรือตำแหน่งที่เราไม่ต้องการให้มันแข็ง
โคลนนี้จะทำหน้าที่กันไฟไม่ให้เผาหรือให้ความร้อนในส่วนที่ปิดไว้ และป้องกันไม่ให้มันถูกน้ำหรือสารละลายในขั้นตอนลดอุณหภูมิ มันเลยไม่แข็ง
ส่วนที่อยู่นอกโคลนซึ่งเป็นส่วนของคมมีดและปลายมีด กินไฟได้ตามปรกติและกินน้ำได้ตามปรกติอีกเหมือนกัน เมื่อผ่านขั้นตอนการชุบแข็งไปแล้วส่วนนี้ก็จะแข็ง
ใบมีดที่ชุบแข็งให้มีลายฮามอนได้ไม่ยากนักต้องเป็นเหล็กที่มีธาตุคาร์บอนค่อนข้างสูง ถ้าจะให้ดีก็ต้อง 0.8 - 1.1 %
และมีส่วนผสมอย่างอื่นต่ำหรือแทบไม่มีเลย
เหล็กเบอร์ที่มักจะเอามาทำใบมีดแบบนี้ก็อย่างเช่น W1 , W2 , 1084 , 1095 ไม่งั้นก็ SK4 , SK5
หรือเบอร์ 1050 , S50C , CK50 ก็เอามาทำลายฮามอนได้ครับ
ถ้าหาเหล็กเบอร์ไม่ได้ก็ให้เอาเหล็กตะไบนะครับ ผมเองก็ใช้เหล็กตะไบ
ในส่วนของโคลนก็มีส่วนผสมตามนี้นะครับ โคลนนาหรือดินเหนียวนั่นแหละเป็นส่วนผสมหลัก
ดินปลวกจากรังปลวกร้าง อย่าเอารังปลวกใหม่ๆที่มีตัวมันอยู่นะครับ สงสารมันเอิ้ก เอิ้ก
ถ้าหาดินปลวกไม่ได้ก็ให้ใช้ทรายละเอียดมากๆแทนนะครับ
ขี้เถ้า คือขี้เถ้าก้นเตาทำกับข้าวนะครับ ไม่ต้องไปเก็บแถวเชิงตะกอนนะครับ
ผงหิน ก็เป็นหินที่ได้จากการตัดแต่งหินลับมีดธรรมชาติครับ จริงๆแล้วใช้ผงหินโป่งชนิดอ่อนก็พอเพียงและใช้ได้ดี ทำง่ายกว่าหินชนิดอื่น แต่ในถังโคลนถังหลักของผมมีทั้งหินโป่ง , หินมันปู , หินทรายแดง , หินโคลนเมืองใต้ , หินอามากูสะ , หินบินซุย , หินโอมูระ , หินนูมาตะ , หินไอสุ , หินนากายาม่า , หินอาโอโตะ มีกระทั่งผงหินโปร่งแสงอาคันซอส์ นี่ยังขาดผงหินทูริงเจียอีกอย่าง ก็ใส่เข้าไปตามประสาบ้าครับ จริงๆแล้วใส่แค่ผงหินโป่งก็พอเลย
ผสมให้เข้ากันแล้วกรองให้ดีเอาแต่เนื้อละเอียดๆ รอให้ข้นได้ที่ ไม่เหลวเกินไป ก็จะเอามาพอกใบมีดได้ครับ
ถ้าชุบแข็งได้แล้วก็ต้องไปหัดขัดหรือเรียกลายอีกทีนะครับ ผมเองทำไม่ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะขัดขาวเท่านั้นครับ ไม่ได้ขัดจนขึ้นฮามอน
ใบมีดที่ชุบแข็งด้วยวิธีการแบบนี้มันจะมีส่วนคมที่แข็งและส่วนสันที่เหนียวเป็นการเพิ่มคุณสมบัติรับแรงสะเทือนให้ใบมีด
จุดประสงค์หลักของการชุบแข็งด้วยวิธีนี้คือเพิ่มความทนทานให้ใบมีดส่วนความสวยงามที่ได้จากลายฮามอนเป็นเรื่องรองลงมา เพราะฉะนั้นขั้นตอนทางโลหะวิทยาที่เหมาะสมก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก
เราจะขัดเรียกลายหรือไม่ก็ตามใบมีดที่ชุบแข็งด้วยวิธีนี้ก็เป็นใบมีดที่แข็งแรงทนทานใช้งานได้ดี ถ้าลายชุบสวยงามและขัดได้สวยงามก็เป็นการเพิ่มคุณค่าของใบมีดและเป็นความภาคภูมิใจของเจ้าของมีดและช่างผู้สร้างมันขึ้นมา
ความจริงที่ซ่อนอยู่
ความจริงตามธรรมชาติหรือธรรมชาติของความจริงมันย่อมเป็นอย่างนั้น คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เปลี่ยนแปรและดับไป ตามทางของมันไม่ว่าจะมีใครรู้หรือไม่รู้ จะมีตาคู่ไหนเห็นหรือไม่เห็น ถ้ามันมีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น มันจะตั้งอยู่ที่นั่นเสมอ
มีดดีๆเล่มนึงก็เหมือนกัน มันถูกสร้างบนพื้นฐานทางความจริงที่ว่าอยากให้มันดี ดีแบบไหนล่ะ ก็ให้มันใช้ดีๆนั่นแหละครับเป็นเรื่องหลักๆส่วนให้มันดูดีๆบางทีก็เป็นเรื่องรองๆลงไป ช่างทำมีดน่าจะเกือบทุกคนก็อยากสร้างมีดที่มันใช้ดีๆ และดูดีๆ หรือใช้แล้วดูแล้วเกิดความรู้สึกดีๆกับคนที่ได้ใช้มัน
ปัจจัยหรือองค์ประกอบพื้นฐานของมีดดีๆมันควรจะเริ่มจากแบบ หรือการคิดคำนวณออกแบบให้ดีซะก่อน มีดที่ออกแบบไม่ค่อยดี มันจะเป็นมีดที่ดีได้ยาก ถ้าเราคิดแบบมีดดีๆได้เล่มนึงแล้ว ขั้นต่อไปก็ต้องหาว่าจะจัดวางอะไรลงไปในขอบเขตของมัน
ส่วนที่สำคัญมากๆของมีดก็คือใบมีด คมมีดอาจเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของคนใช้มีด แต่มันต้องวางรากฐานมาจากใบมีดโดยรวมซะก่อน คือจัดสร้างใบมีดยังไงให้มันคมสูงสุดตามขีดจำกัดของแต่ละงานที่มันได้รับมอบหมายให้ทำ และคมได้นาน ลับทีนึงเฉือนได้หลายครั้ง เพิ่มความมั่นใจในการทำงานในแต่ละช่วงวันหรือระยะเวลาที่ยาวนานกว่านั้น
เหล็กต้องดี การตั้งคมต้องเฉียบขาด และการให้ความร้อนที่ปราณีต เราจึงจะได้ใบมีดดีๆที่หลุดออกมาจากเตา เอาไปทำมีดดีๆในขั้นตอนต่อไป
เริ่มจากการทำนอมอลไลซ์หรืออบคลายตัวจาการถูกกระทำต่างๆนาๆในสมัยที่มันยังเป็นตะไบอยู่ อบอ่อนเพื่อให้ตกแต่งได้โดยสะดวก อบคลายตัวหรือนอมอลไลซ์อีกครั้งปรับสภาพเหล็กให้พร้อมจะทำการชุบแข็ง
เผาชุบที่อุณหภูมิราวๆ 800 - 820 องศาเซลเซียส ประมาณ 8 นาที คือผมให้เวลาในการไต่ระดับอุณหภูมิของมัน 2 นาที และช่วงเวลากินไฟประมาณ 5-6 นาที ก่อนเอาลงจุ่มในน้ำมันอุ่น
อบคืนไฟหรือเทมเปอริ่งนับได้สามครั้งคือปิ้งกันแตกหลังจากเย็นตัวครั้งหนึ่ง ปิ้งจนได้สีอ็อกไซด์เป็นสีเหลืองทั่วทั้งใบอีกครั้งหนึ่ง และครั้งสุดท้าย อบที่อุณหภูมิ 180 - 190 องศา เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง
ใบมีดที่ทำจากเหล็กตะไบของผมส่วนมากแล้วชุบแข็งด้วยวิธีนี้ แต่มีเหล็กบางชิ้นหรือตะไบบางอันก็ไม่เหมาะกับการชุบแข็งแบบนี้เราก็ต้องเลี่ยงไปใช้วิธีอื่น บางเล่มก็เห็นชัดเจนกว่านี้บางเล่มก็เห็นลางๆ บางเล่มก็มองไม่เห็น แตกต่างกันไปตามเนื้อหาของเหล็กที่ใช้ทำตะไบ และการแต่งผิวเป็นส่วนประกอบ
แต่มันต้องมีครับผม ส่วนมากแล้วมันมีอยู่ ถึงจะเห็นง่ายเห็นยากหรือมองไม่เห็นเลยแต่มันมีครับ มันซ่อนอยู่
ก็เหมือนอีกหลายๆสิ่งหลายๆอย่างในชีวิตเรา ที่บางทีมองไม่เห็นหรือจับต้องไม่ได้ แต่เราก็รู้ว่ามันมีอยู่จริง มันอยู่ตรงนั้น มันซ่อนอยู่ รอเวลาให้คนที่ตามหาได้สัมผัสมันผ่านกระบวนการรับรู้ตามธรรมชาติและที่เหนือธรรมชาติไปกว่านั้น
ความรักมีจริงไหม ถ้าคุณเคยรักใครก็คงไม่ต้องถาม ความงามล่ะ ความเป็นตัวของตัวเองนั่นละคือความงาม สายลม แสงแดด กาลเวลา หรือแม้แต่ความแก่ชราและความตายมันมีอยู่จริงทั้งนั้น บางสิ่งบางอย่างถ้าเราอยากเห็นจงหลับตาแล้วก็เปิดหัวใจ
สมมุติก็จริงตามสมมุติ วิมุติเองก็เช่นกัน มีความจริงรองรับตามเหตุปัจจัย หาอะไรก็ได้อย่างนั้น บางสิ่งเราได้มันโดยไม่ต้องหา แค่มองให้เห็น
เท่านั้น เท่านั้น เท่านั้นเอง
กลิ่นโคลนสาบแมว ชุบแข็งใบมีดให้มีฮามอนแบบญี่ปุ่น
หลังการปรับปรุงพัฒนาอยู่นานหลายปีหลายชั่วอายุคน ลายฮามอนบนดาบญี่ปุ่นได้ถูกสร้างให้มีความสวยงามล้ำลึก ยากที่จะหาได้จากของมีคมจากแหล่งอื่นของโลก มันก็มีทำกันอยู่บ้างนะครับ แต่ไม่เหมือนที่ญี่ปุ่น ลวดลายเหล่านั้นนอกจากงดงามแล้วยังซับซ้อนวิจิตรบรรจง บางครั้งพิศดารแปลกประหลาดราวกับว่ามิได้สร้างขึ้นมาโดยฝีมือของมนุษย์ ถึงเป็นมนุษย์ก็มิใช่มนุษย์ธรรมดาแบบที่พบกันได้ทั่วไป
เป็นสุดยอดงานฝีมือจากสุดยอดช่างฝีมือ
เรามิอาจสร้างสรรผลงานเยี่ยงนั้นได้ เราทำได้ในแบบของเรา แบบง่ายๆ พื้นๆ ทำกันที่บ้านเราด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่หาได้ในเมืองไทย
กลิ่นโคลน สาบแมว
ลายฮามอนหรือแนวชุบแข็งแบบญี่ปุ่น หลายท่านคงรู้จักดีหรือเคยทำแล้ว ท่านใดสนใจแต่ยังไม่เคยทำ
วันนี้ชวนกันมาดูการชุบแข็งใบมีดให้มีลายฮามอน ในแบบพื้นฐาน ง่ายๆสบายๆเผื่อใครอยากหัดทำเล่นที่บ้าน
โดยหลักการแล้วคือการพอกโคลนหรือทาโคลนที่ใบมีดในส่วนสันมีดหรือตำแหน่งที่เราไม่ต้องการให้มันแข็ง
โคลนนี้จะทำหน้าที่กันไฟไม่ให้เผาหรือให้ความร้อนในส่วนที่ปิดไว้ และป้องกันไม่ให้มันถูกน้ำหรือสารละลายในขั้นตอนลดอุณหภูมิ มันเลยไม่แข็ง
ส่วนที่อยู่นอกโคลนซึ่งเป็นส่วนของคมมีดและปลายมีด กินไฟได้ตามปรกติและกินน้ำได้ตามปรกติอีกเหมือนกัน เมื่อผ่านขั้นตอนการชุบแข็งไปแล้วส่วนนี้ก็จะแข็ง
ใบมีดที่ชุบแข็งให้มีลายฮามอนได้ไม่ยากนักต้องเป็นเหล็กที่มีธาตุคาร์บอนค่อนข้างสูง ถ้าจะให้ดีก็ต้อง 0.8 - 1.1 %
และมีส่วนผสมอย่างอื่นต่ำหรือแทบไม่มีเลย
เหล็กเบอร์ที่มักจะเอามาทำใบมีดแบบนี้ก็อย่างเช่น W1 , W2 , 1084 , 1095 ไม่งั้นก็ SK4 , SK5
หรือเบอร์ 1050 , S50C , CK50 ก็เอามาทำลายฮามอนได้ครับ
ถ้าหาเหล็กเบอร์ไม่ได้ก็ให้เอาเหล็กตะไบนะครับ ผมเองก็ใช้เหล็กตะไบ
ในส่วนของโคลนก็มีส่วนผสมตามนี้นะครับ โคลนนาหรือดินเหนียวนั่นแหละเป็นส่วนผสมหลัก
ดินปลวกจากรังปลวกร้าง อย่าเอารังปลวกใหม่ๆที่มีตัวมันอยู่นะครับ สงสารมันเอิ้ก เอิ้ก
ถ้าหาดินปลวกไม่ได้ก็ให้ใช้ทรายละเอียดมากๆแทนนะครับ
ขี้เถ้า คือขี้เถ้าก้นเตาทำกับข้าวนะครับ ไม่ต้องไปเก็บแถวเชิงตะกอนนะครับ
ผงหิน ก็เป็นหินที่ได้จากการตัดแต่งหินลับมีดธรรมชาติครับ จริงๆแล้วใช้ผงหินโป่งชนิดอ่อนก็พอเพียงและใช้ได้ดี ทำง่ายกว่าหินชนิดอื่น แต่ในถังโคลนถังหลักของผมมีทั้งหินโป่ง , หินมันปู , หินทรายแดง , หินโคลนเมืองใต้ , หินอามากูสะ , หินบินซุย , หินโอมูระ , หินนูมาตะ , หินไอสุ , หินนากายาม่า , หินอาโอโตะ มีกระทั่งผงหินโปร่งแสงอาคันซอส์ นี่ยังขาดผงหินทูริงเจียอีกอย่าง ก็ใส่เข้าไปตามประสาบ้าครับ จริงๆแล้วใส่แค่ผงหินโป่งก็พอเลย
ผสมให้เข้ากันแล้วกรองให้ดีเอาแต่เนื้อละเอียดๆ รอให้ข้นได้ที่ ไม่เหลวเกินไป ก็จะเอามาพอกใบมีดได้ครับ
ถ้าชุบแข็งได้แล้วก็ต้องไปหัดขัดหรือเรียกลายอีกทีนะครับ ผมเองทำไม่ได้ ส่วนใหญ่แล้วจะขัดขาวเท่านั้นครับ ไม่ได้ขัดจนขึ้นฮามอน
ใบมีดที่ชุบแข็งด้วยวิธีการแบบนี้มันจะมีส่วนคมที่แข็งและส่วนสันที่เหนียวเป็นการเพิ่มคุณสมบัติรับแรงสะเทือนให้ใบมีด
จุดประสงค์หลักของการชุบแข็งด้วยวิธีนี้คือเพิ่มความทนทานให้ใบมีดส่วนความสวยงามที่ได้จากลายฮามอนเป็นเรื่องรองลงมา เพราะฉะนั้นขั้นตอนทางโลหะวิทยาที่เหมาะสมก็เป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก
เราจะขัดเรียกลายหรือไม่ก็ตามใบมีดที่ชุบแข็งด้วยวิธีนี้ก็เป็นใบมีดที่แข็งแรงทนทานใช้งานได้ดี ถ้าลายชุบสวยงามและขัดได้สวยงามก็เป็นการเพิ่มคุณค่าของใบมีดและเป็นความภาคภูมิใจของเจ้าของมีดและช่างผู้สร้างมันขึ้นมา
ความจริงที่ซ่อนอยู่
ความจริงตามธรรมชาติหรือธรรมชาติของความจริงมันย่อมเป็นอย่างนั้น คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เปลี่ยนแปรและดับไป ตามทางของมันไม่ว่าจะมีใครรู้หรือไม่รู้ จะมีตาคู่ไหนเห็นหรือไม่เห็น ถ้ามันมีเหตุปัจจัยให้เกิดขึ้น มันจะตั้งอยู่ที่นั่นเสมอ
มีดดีๆเล่มนึงก็เหมือนกัน มันถูกสร้างบนพื้นฐานทางความจริงที่ว่าอยากให้มันดี ดีแบบไหนล่ะ ก็ให้มันใช้ดีๆนั่นแหละครับเป็นเรื่องหลักๆส่วนให้มันดูดีๆบางทีก็เป็นเรื่องรองๆลงไป ช่างทำมีดน่าจะเกือบทุกคนก็อยากสร้างมีดที่มันใช้ดีๆ และดูดีๆ หรือใช้แล้วดูแล้วเกิดความรู้สึกดีๆกับคนที่ได้ใช้มัน
ปัจจัยหรือองค์ประกอบพื้นฐานของมีดดีๆมันควรจะเริ่มจากแบบ หรือการคิดคำนวณออกแบบให้ดีซะก่อน มีดที่ออกแบบไม่ค่อยดี มันจะเป็นมีดที่ดีได้ยาก ถ้าเราคิดแบบมีดดีๆได้เล่มนึงแล้ว ขั้นต่อไปก็ต้องหาว่าจะจัดวางอะไรลงไปในขอบเขตของมัน
ส่วนที่สำคัญมากๆของมีดก็คือใบมีด คมมีดอาจเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของคนใช้มีด แต่มันต้องวางรากฐานมาจากใบมีดโดยรวมซะก่อน คือจัดสร้างใบมีดยังไงให้มันคมสูงสุดตามขีดจำกัดของแต่ละงานที่มันได้รับมอบหมายให้ทำ และคมได้นาน ลับทีนึงเฉือนได้หลายครั้ง เพิ่มความมั่นใจในการทำงานในแต่ละช่วงวันหรือระยะเวลาที่ยาวนานกว่านั้น
เหล็กต้องดี การตั้งคมต้องเฉียบขาด และการให้ความร้อนที่ปราณีต เราจึงจะได้ใบมีดดีๆที่หลุดออกมาจากเตา เอาไปทำมีดดีๆในขั้นตอนต่อไป
เริ่มจากการทำนอมอลไลซ์หรืออบคลายตัวจาการถูกกระทำต่างๆนาๆในสมัยที่มันยังเป็นตะไบอยู่ อบอ่อนเพื่อให้ตกแต่งได้โดยสะดวก อบคลายตัวหรือนอมอลไลซ์อีกครั้งปรับสภาพเหล็กให้พร้อมจะทำการชุบแข็ง
เผาชุบที่อุณหภูมิราวๆ 800 - 820 องศาเซลเซียส ประมาณ 8 นาที คือผมให้เวลาในการไต่ระดับอุณหภูมิของมัน 2 นาที และช่วงเวลากินไฟประมาณ 5-6 นาที ก่อนเอาลงจุ่มในน้ำมันอุ่น
อบคืนไฟหรือเทมเปอริ่งนับได้สามครั้งคือปิ้งกันแตกหลังจากเย็นตัวครั้งหนึ่ง ปิ้งจนได้สีอ็อกไซด์เป็นสีเหลืองทั่วทั้งใบอีกครั้งหนึ่ง และครั้งสุดท้าย อบที่อุณหภูมิ 180 - 190 องศา เป็นเวลาครึ่งชั่วโมง
ใบมีดที่ทำจากเหล็กตะไบของผมส่วนมากแล้วชุบแข็งด้วยวิธีนี้ แต่มีเหล็กบางชิ้นหรือตะไบบางอันก็ไม่เหมาะกับการชุบแข็งแบบนี้เราก็ต้องเลี่ยงไปใช้วิธีอื่น บางเล่มก็เห็นชัดเจนกว่านี้บางเล่มก็เห็นลางๆ บางเล่มก็มองไม่เห็น แตกต่างกันไปตามเนื้อหาของเหล็กที่ใช้ทำตะไบ และการแต่งผิวเป็นส่วนประกอบ
แต่มันต้องมีครับผม ส่วนมากแล้วมันมีอยู่ ถึงจะเห็นง่ายเห็นยากหรือมองไม่เห็นเลยแต่มันมีครับ มันซ่อนอยู่
ก็เหมือนอีกหลายๆสิ่งหลายๆอย่างในชีวิตเรา ที่บางทีมองไม่เห็นหรือจับต้องไม่ได้ แต่เราก็รู้ว่ามันมีอยู่จริง มันอยู่ตรงนั้น มันซ่อนอยู่ รอเวลาให้คนที่ตามหาได้สัมผัสมันผ่านกระบวนการรับรู้ตามธรรมชาติและที่เหนือธรรมชาติไปกว่านั้น
ความรักมีจริงไหม ถ้าคุณเคยรักใครก็คงไม่ต้องถาม ความงามล่ะ ความเป็นตัวของตัวเองนั่นละคือความงาม สายลม แสงแดด กาลเวลา หรือแม้แต่ความแก่ชราและความตายมันมีอยู่จริงทั้งนั้น บางสิ่งบางอย่างถ้าเราอยากเห็นจงหลับตาแล้วก็เปิดหัวใจ
สมมุติก็จริงตามสมมุติ วิมุติเองก็เช่นกัน มีความจริงรองรับตามเหตุปัจจัย หาอะไรก็ได้อย่างนั้น บางสิ่งเราได้มันโดยไม่ต้องหา แค่มองให้เห็น
เท่านั้น เท่านั้น เท่านั้นเอง