edge quench การชุบแข็งเฉพาะแนวคม
การชุบแข็งใบมีด มันมีเรื่องสลับซับซ้อนแยกรายละเอียดต่างกันออกไปได้หลายแบบนะครับ การทำเอจก์เคว้นช์ก็เป็นการชุบแข็งวิธีนึง คือการชุบแข็งใบมีดให้แข็งเฉพาะแนวคม ไม่ได้แข็งทั้งใบ การชุบแข็งใบมีดให้มีค่าความแข็งไม่เท่ากันหรือต่างกันในใบมีดแต่ละส่วน เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า differential hardening
ซึ่งมันก็มีหลายวิธีมากๆครับผม วันนี้จะแนะนำการชุบแข็งเฉพาะส่วนคมมีดหรือการชุบแนวคม แบบมีดคมตรงเล่มนี้ วิธีทำก็ไม่ยากเท่าไหร่ครับผม แต่ให้ความตื่นเต้นสูง เอิ้ก เอิ้ก โดยเผาใบมีดให้ร้อนแดงได้ที่ เหล็กเปลี่ยนสภาพเป็นออสเตนไนต์ตลอดทั้งใบ แต่นำมาลดอุณหภูมิเฉพาะด้านหน้า
ให้เหล็กแข็งตัวหรือเปลี่ยนสภาพเป็นมาเทนไซต์เฉพาะส่วนที่จุ่มลงในสารลดอุณหภูมิ ซึ่งจะเป็นน้ำหรือน้ำมันก็ได้ครับ
มันจะแข็งหรือเปลี่ยนสภาพเป็นเหล็กแข็งเท่าที่จุ่มอยู่ในสารชุบ ซึ่งจะมองเห็นได้ชัดเจนบนใบมีด
ถ้ามองตามแนวชุบส่วนโคนใบแนวแข็งจะหนาหรือกว้างประมาณ 7-8 มิลล์ และกว้างขึ้นจนราวๆ 12 มิลล์ที่ส่วนปลาย มันก็จะมีความแข็งอยู่เท่าๆนี้ครับ เคยมีหลายท่านสอบถามผมว่ามันจะพอเหรอ คือมีดที่แข็งแค่นี้ลับไปก็จะหมด มันจะใช้ได้นานเท่าไหร่ ผมรับรองว่าให้ใช้ทุกวันลับทุกวันถ้าลับถูกวิธีมันอยู่ได้ถึงสองปี มีดคู่มือของผมใช้มาเล่มนึงก็สี่ห้าปียังหายไป 1-2 มิลล์ครับ เพราะฉะนั้นมันกว้างพอที่อยู่เป็นเพื่อนเราไปตลอด
อีกอย่างคือถ้าลับจนหมดแนวสีขาวถึงใบมีดจะยังพอมีความแข็งหลงเหลือแต่ความถูกต้องด้านกายภาพของมีดหรือจิโอมิตี้ องศาคม องศาด้ามก็จะเปลี่ยนไปแล้ว คือใช้จนถึงวันเวลาอันควร ถ้าใบมีดใบนั้นได้รับการอบชุบมาอย่างดี ถึงใช้ได้เพียงครึ่งใบจะสร้างความประทับใจให้เราได้มากกว่าใบมีดที่ชุบแข็งมาตลอดทั้งใบแต่ให้ความร้อนไม่ปราณีตพอ
มีเหล็กอยู่กลุ่มนึงที่นิยมชุบแข็งแบบนี้ แต่เท่าที่ศึกษามาก็พบว่ามีการทำในเหล็กทุกกลุ่มแม้แต่ในกลุ่มของเหล็กผงอัดหรือ PM ก็มีการชุบแข็งแบบนี้ด้วยเช่นกัน สแตนเลสทั่วๆไปหรือทูลสตีลอย่าง D2 ก็มีวิธีชุบแบบฟริกชั่นฟรอจก์ หรือแบบไดมอนด์เบลดส์ การชุบแข็งแนวคมแบบอินดักชั่นในอุตสาหกรรมสิ่งมีคม ก็เป็นการทำเอจก์เคว้นช์แบบหนึ่งเหมือนกัน
แม้แต่ในดาบญี่ปุ่น การพอกโคลนทำฮามอนก็เป็นดิฟเฟอเรนเชียลฮาร์ดเดนนิ่งชนิดนึง แม้แต่ในสถาบัน ABS หรืออเมริกันเบลดสมิธโซไซตี้ สมาชิกที่ได้รับการรับรองต้องชุบแข็งใบมีดด้วยวิธีนี้เป็นทุกคน เพราะถ้าทำเอจก์เคว้นช์ไม่เป็นก็สอบ JS ไม่ผ่านแน่นอน
เหล็กที่นิยมเอามาชุบแข็งด้วยวิธีนี้และขัดแต่งเพิ่มความสวยงามมักจะเป็นสูตรเหล็กที่ใกล้เคียงเหล็กคาร์บอนบริสุทธิ์หรือคาร์บอนล้วนๆ เพลนคาร์บอน อย่าง S50C , SK4 , SK5 , 1065 , 1084 , 1095 , W1 ถ้าเป็นเหล็กสูตรอื่นที่เพิ่มส่วนผสมเข้าไป มันก็ทำได้นะครับ แต่บางทีเส้นชุบแข็งมันอาจจะไม่ชัด อย่างเหล็กบางตัวมีโครเมียมช่วยในการชุบแข็ง ส่วนที่โผล่พ้นแนวน้ำมันขึ้นมาก็ยังเปลี่ยนสภาพเป็นเหล็กแข็งได้อีกถึงจะไม่แข็งสมบูรณ์อย่างส่วนที่อยู่ในน้ำก็ยังแข็ง
ใบมีดแบบนี้หรือวิธีให้ความร้อนแบบนี้ใช้งานได้ดีโดยเฉพาะกับใบมีดขนาดใหญ่หรือมีดใช้งานหนัก มีดที่ชุบแข็งเฉพาะแนวคมจะให้ใบมีดที่แข็งแกร่งกว่าแต่นุ่มนวลกับมือมากกว่าคือมีส่วนซึมซับแรงสะเทือนที่เกิดจากหน้าใบมีดกระทบเป้าหมาย มันจะไม่สั่นเข้ามาในมือมากนักหากเทียบกับใบมีดที่ชุบแข็งทั้งใบ และให้ความสวยงามน่าหลงไหลเวลามอง
ลองดูนะครับท่านที่ทำมีดเองแต่ยังไม่เคยลองวิธีนี้หรือท่านนักนิยมมีดที่ยังไม่เคยใช้ไม่เคยมี ได้ทำซักครั้งหรือใช้งานซักครั้ง มีไว้ซักเล่มสองเล่มจะติดใจ เข้าใจได้ว่าทำไมช่างทำมีดชั้นนำเป็นที่รู้จักดีมีชื่อเสียงถึงนิยมทำมีดด้วยวิธีนี้ทั้งนั้น
ใบมีดที่ชุบแข็งเฉพาะแนวคม edge quench
การชุบแข็งใบมีด มันมีเรื่องสลับซับซ้อนแยกรายละเอียดต่างกันออกไปได้หลายแบบนะครับ การทำเอจก์เคว้นช์ก็เป็นการชุบแข็งวิธีนึง คือการชุบแข็งใบมีดให้แข็งเฉพาะแนวคม ไม่ได้แข็งทั้งใบ การชุบแข็งใบมีดให้มีค่าความแข็งไม่เท่ากันหรือต่างกันในใบมีดแต่ละส่วน เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า differential hardening
ซึ่งมันก็มีหลายวิธีมากๆครับผม วันนี้จะแนะนำการชุบแข็งเฉพาะส่วนคมมีดหรือการชุบแนวคม แบบมีดคมตรงเล่มนี้ วิธีทำก็ไม่ยากเท่าไหร่ครับผม แต่ให้ความตื่นเต้นสูง เอิ้ก เอิ้ก โดยเผาใบมีดให้ร้อนแดงได้ที่ เหล็กเปลี่ยนสภาพเป็นออสเตนไนต์ตลอดทั้งใบ แต่นำมาลดอุณหภูมิเฉพาะด้านหน้า
ให้เหล็กแข็งตัวหรือเปลี่ยนสภาพเป็นมาเทนไซต์เฉพาะส่วนที่จุ่มลงในสารลดอุณหภูมิ ซึ่งจะเป็นน้ำหรือน้ำมันก็ได้ครับ
มันจะแข็งหรือเปลี่ยนสภาพเป็นเหล็กแข็งเท่าที่จุ่มอยู่ในสารชุบ ซึ่งจะมองเห็นได้ชัดเจนบนใบมีด
ถ้ามองตามแนวชุบส่วนโคนใบแนวแข็งจะหนาหรือกว้างประมาณ 7-8 มิลล์ และกว้างขึ้นจนราวๆ 12 มิลล์ที่ส่วนปลาย มันก็จะมีความแข็งอยู่เท่าๆนี้ครับ เคยมีหลายท่านสอบถามผมว่ามันจะพอเหรอ คือมีดที่แข็งแค่นี้ลับไปก็จะหมด มันจะใช้ได้นานเท่าไหร่ ผมรับรองว่าให้ใช้ทุกวันลับทุกวันถ้าลับถูกวิธีมันอยู่ได้ถึงสองปี มีดคู่มือของผมใช้มาเล่มนึงก็สี่ห้าปียังหายไป 1-2 มิลล์ครับ เพราะฉะนั้นมันกว้างพอที่อยู่เป็นเพื่อนเราไปตลอด
อีกอย่างคือถ้าลับจนหมดแนวสีขาวถึงใบมีดจะยังพอมีความแข็งหลงเหลือแต่ความถูกต้องด้านกายภาพของมีดหรือจิโอมิตี้ องศาคม องศาด้ามก็จะเปลี่ยนไปแล้ว คือใช้จนถึงวันเวลาอันควร ถ้าใบมีดใบนั้นได้รับการอบชุบมาอย่างดี ถึงใช้ได้เพียงครึ่งใบจะสร้างความประทับใจให้เราได้มากกว่าใบมีดที่ชุบแข็งมาตลอดทั้งใบแต่ให้ความร้อนไม่ปราณีตพอ
มีเหล็กอยู่กลุ่มนึงที่นิยมชุบแข็งแบบนี้ แต่เท่าที่ศึกษามาก็พบว่ามีการทำในเหล็กทุกกลุ่มแม้แต่ในกลุ่มของเหล็กผงอัดหรือ PM ก็มีการชุบแข็งแบบนี้ด้วยเช่นกัน สแตนเลสทั่วๆไปหรือทูลสตีลอย่าง D2 ก็มีวิธีชุบแบบฟริกชั่นฟรอจก์ หรือแบบไดมอนด์เบลดส์ การชุบแข็งแนวคมแบบอินดักชั่นในอุตสาหกรรมสิ่งมีคม ก็เป็นการทำเอจก์เคว้นช์แบบหนึ่งเหมือนกัน
แม้แต่ในดาบญี่ปุ่น การพอกโคลนทำฮามอนก็เป็นดิฟเฟอเรนเชียลฮาร์ดเดนนิ่งชนิดนึง แม้แต่ในสถาบัน ABS หรืออเมริกันเบลดสมิธโซไซตี้ สมาชิกที่ได้รับการรับรองต้องชุบแข็งใบมีดด้วยวิธีนี้เป็นทุกคน เพราะถ้าทำเอจก์เคว้นช์ไม่เป็นก็สอบ JS ไม่ผ่านแน่นอน
เหล็กที่นิยมเอามาชุบแข็งด้วยวิธีนี้และขัดแต่งเพิ่มความสวยงามมักจะเป็นสูตรเหล็กที่ใกล้เคียงเหล็กคาร์บอนบริสุทธิ์หรือคาร์บอนล้วนๆ เพลนคาร์บอน อย่าง S50C , SK4 , SK5 , 1065 , 1084 , 1095 , W1 ถ้าเป็นเหล็กสูตรอื่นที่เพิ่มส่วนผสมเข้าไป มันก็ทำได้นะครับ แต่บางทีเส้นชุบแข็งมันอาจจะไม่ชัด อย่างเหล็กบางตัวมีโครเมียมช่วยในการชุบแข็ง ส่วนที่โผล่พ้นแนวน้ำมันขึ้นมาก็ยังเปลี่ยนสภาพเป็นเหล็กแข็งได้อีกถึงจะไม่แข็งสมบูรณ์อย่างส่วนที่อยู่ในน้ำก็ยังแข็ง
ใบมีดแบบนี้หรือวิธีให้ความร้อนแบบนี้ใช้งานได้ดีโดยเฉพาะกับใบมีดขนาดใหญ่หรือมีดใช้งานหนัก มีดที่ชุบแข็งเฉพาะแนวคมจะให้ใบมีดที่แข็งแกร่งกว่าแต่นุ่มนวลกับมือมากกว่าคือมีส่วนซึมซับแรงสะเทือนที่เกิดจากหน้าใบมีดกระทบเป้าหมาย มันจะไม่สั่นเข้ามาในมือมากนักหากเทียบกับใบมีดที่ชุบแข็งทั้งใบ และให้ความสวยงามน่าหลงไหลเวลามอง
ลองดูนะครับท่านที่ทำมีดเองแต่ยังไม่เคยลองวิธีนี้หรือท่านนักนิยมมีดที่ยังไม่เคยใช้ไม่เคยมี ได้ทำซักครั้งหรือใช้งานซักครั้ง มีไว้ซักเล่มสองเล่มจะติดใจ เข้าใจได้ว่าทำไมช่างทำมีดชั้นนำเป็นที่รู้จักดีมีชื่อเสียงถึงนิยมทำมีดด้วยวิธีนี้ทั้งนั้น