เจาะลึกเชื้อ 3 ชนิดที่สูญหายในออสเตรเลีย

กระทู้สนทนา
ที่มา https://www.blockdit.com/posts/6759ad1344379c0019a0d32e

ช่วงนี้ข่าวเชื้อโรคแปลกๆเยอะจริงๆ ยังไม่ทันไร ล่าสุดสำนักข่าวฟ็อกซ์นิวส์ รายงานเมื่อวันอังคาร (10 ธ.ค.67) ว่า รัฐบาลได้สั่งให้ Queensland Health ซึ่งเป็นหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย รายงานว่า ขวดบรรจุไวรัสติดเชื้อหลายชนิดจำนวน 323 ขวด หายไปจากห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยสาธารณสุขในรัฐควีนส์แลนด์เมื่อปี 2564 และมีการเปิดเผยเมื่อเดือน ส.ค. 2566 ตามข้อมูลของสำนักข่าว ABC

ในจำนวน 323 ขวด ที่มีข่าวนั้น ชื่อ 3 ชื่อที่หลุดออกมาได้รับความสนใจจากคนทั้งโลก ด้วยเสียงลือเสียงเล่าอ้างถึงความอันตรายของมัน ชื่อนั้นก็คือ Hendra Virus,
Lyssavirus และ Hantavirus

ว่าแต่ เชื้อไวรัส 3 ชนิดนี้คืออะไร ทำอะไรได้บ้าง และมีอะไรจริงบ้างในสิ่งที่เรารับรู้เกี่ยวกับเชื้อ 3 ตัวนี้



ตัวแรกคือ Hendra Virus อยู่ในสกุล Henipaviruses วงศ์ Paramyxoviridae
มีจีโนม RNA ลักษณะเป็นสายเดี่ยว(single-stranded,negative-sense RNA Virus)
มีขนาดตั้งแต่ 40 - 600 นาโนเมตร

Hendra Virus มีพาหะนำโรคหลักคือม้า แพร่เชื้อได้โดยการสัมผัสโดยตรงกับม้า มีระยะฟักตัวประมาณ 4 - 18 วัน อาการของไวรัสดังกล่าวมีตั้งแต่อาการเพียงเล็กน้อยไปจนถึงมีอาการมาก ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตรวมทั้งมีไข้สูง ปวดศีรษะ เจ็บคอ วิงเวียน ซึมและสับสนหรืออาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 40 และพบว่าในคนที่มีการติดเชื้อไวรัสบางรายไม่แสดงอาการ

Hendra Virus ฝากผลงานไว้น้อยกว่าญาติๆกันอย่าง เชื้อไวรัสนิปาห์ที่ถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศมาเลเซียตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ถึงเดือนพฤษภาคมพ.ศ. 2542 หลังจากนั้นก็มีการระบาดอีกหลายครั้งในประเทศอินเดีย ที่เมืองซิริกูลิในเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 สิริรวมผู้เสียชีวิตจากการระบาดทั้ง 2 ครั้งรวม 151 ราย

ปัจจุบันยังไม่มีการรักษา มีเพียงบางรายงานที่บอกว่ายา Ribavirin อาจลดอัตราการตายจากไวรัสนิปาห์ได้ จึงทำได้เพียงมาตราการป้องกันการแพร่ระบาด คือหากมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเสียชีวิต โดยเฉพาะม้าและหมู ที่ต้องสงสัยว่าอาจเกิดจากเฮนดราและนิปาห์ไวรัส ห้ามสัมผัสกับซากสัตว์หรือมูลสัตว์โดยตรง เผาทำลายซากม้าและหมูที่ติดเชื้อ ห้ามขนย้ายสัตว์ออกจากบริเวณที่มีการระบาดของโรค และแยกแยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อ หากปรากฏการแพร่เชื้อจากคนสู่คนไม่



2. Lyssavirus

Lyssavirus เป็นชื่อเรียกสกุลของไวรัส จัดอยู่ในวงศ์ Rhabdovindae ของลำดับ
Mononegavirales ไวรัสในกลุ่มนี้ที่เราคุ้นเคยคือ Rabie virus หรือเชื้อพิษสุนัขบ้านั่นเอง

Lyssavirus มีพาหะนำโรคเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่พบได้บ่อยคือ ค้างคาว สุนัข แมว แรคคุน สกั้ง ลิง แพร่เชื้อจากการกัดหรือการข่วน การกัดหรือการข่วนสามารถที่จะฉีดไวรัสเหล่านี้ ผ่านทางน้ำลายของสัตว์ เข้าไปในร่างกายของคนได้

ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ เจ็บกระเสาะกระแสะ มีการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึกรอบๆบริเวณที่ถูกกัดหรือข่วน ตีนตระหนกง่าย  ไม่ถูกกับอากาศสดชื่นและน้ำ อ่อนเพลีย เพ้อคลัง ซักกระตก และ เข้าโคม่า โดยปกติ การเสียชีวิตจะเกิดขึ้นหลังจากที่เกิดอาการเหล่านี้แล้วหลายวันและไม่ได้รับการรักษา

หากถูกสัตว์ที่เป็นพาหะของ Lyssavirus ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำแผลอย่างถูกต้อง รับยาและวัคซีน รวมถึงอิมมิวโนโกลบิวลิน (rabies immunoglobulin) ตามขนาดและระยะเวลาที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

3. Hantavirus

เชื้อไวรัสฮานตา(Hantaviruses) อยู่ในวงศ์ Bunyaviridae มักพบมากและกลายเป็นปัญหาสาธารณสุขในจีน โดยมีรายงานโรคปีละประมาณ 40,000 - 100,000 ราย มีรายงานโรคในเกาหลีปีละประมาณ 1,000 ราย โรคจะเกิดมากน้อยตามฤดูกาล โดยพบมากที่สุดในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิต่อต้น ฤดูหนาว นอจากนี้ใน พ.ศ. 2536 ยังพบการระบาดในบริเวณรัฐนิวเม็กซิโกและรัฐอริโซนา ในคนพื้นเมืองของอเมริกา

ส่วนในไทย ปี พ.ศ. 2528 เคยมีรายงานการพบแอนติบอดีต่อ Hanta - like virus ในผู้ป่วย ที่จังหวัดกาญจนบุรีและกรุงเทพ และผู้ป่วย 1 รายในกรุงเทพฯ มีผลยืนยันการวินิจฉัยโดยวิธี ELISA ว่าติดเชื้อ Hanta - like virus

ไวรัสฮานตาก่อโรคได้ 2 ลักษณะคือ ก่อโรคในระบบโลหิตและระบบทางเดินหายใจ
ซึ่งทำให้มีอาการ ไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย และเบื่ออาหารตามด้วยอาการปวดท้องหรือปวดเอวมาก คลื่นไส้ อาเจียนและหน้าแดง ตาแดงและมี จุดเลือดออกในชั้นผิวหนัง โดยแบ่งเป็น 5 ระยะ คือ

•ระยะไข้
•ระยะความดันโลหิตตํ่า
•ระยะปัสสาวะน้อย
•ระยะปัสสาวะมาก
•ระยะฟื้นไข้

โดยไข้มักจะเป็นอยู่นาน 3 - 7 วัน หลังจากนั้นอาจยังคงมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เลือดออกมาก และปัสสาวะจะน้อยลง ในระยะที่ความดันโลหิตต่ำอาจอยู่นานหลายชั่วโมงจนถึงหลายวัน ทำให้ตัวเย็นความดันตกฉับพลันอาจถึงเกิดภาวะช็อก และทำให้เสียชีวิตได้

พาหะนำโรคของไวรัสดังกล่าวคือกลุ่มสัตว์ฟันแทะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนู โดยการสูดเอาละอองจากสิ่งขับถ่าย ได้แก่ ปัสสาวะ อุจจาระ และนํ้าลายของสัตว์ ทำให้เชื้อมักพบที่ปอด ระยะฟักตัวาจสั้นเพียงไม่กี่วันหรือนานได้ถึง 2 เดือน ส่วนใหญ่ประมาณ 2 - 4 สัปดาห์

การรักษาทำได้โดยการดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการระมัดระวังในระยะช็อกและไตวาย ป้องกันการให้สารนํ้ามากเกินไป การให้ยา Ribavirin มีหลักฐานจำนวนหนึ่งว่าสามารถรักษาโรคติดเชื้อดังกล่าวได้



การป้องกันการติดเชื้อดังกล่าวทำได้โดยป้องกันหรือขจัดสัตว์ฟันแทะ มิให้เข้าไปในบ้านเรือนหรืออาคาร  เก็บอาหารไว้ในที่ที่สัตว์ฟันแทะเข้าไปกินไม่ได้ ฆ่าเชื้อบริเวณที่มีสัตว์ฟันแทะ โดยการพ่นนํ้ายาฆ่าเชื้อโรค  ควบคุมสัตว์ฟันแทะและเฝ้าระวังการติดเชื้อโรคไวรัสฮานตาในสัตว์ฟันแทะในป่าหากตรวจพบความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อโรคในสัตว์และในผู้ป่วย ให้ขจัดกวาดล้างสัตว์ฟันแทะต่างๆ รวมทั้งการฆ่าเชื้ออย่างทั่วถึงด้วย

ทิโมธี นิโคลส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประกาศเมื่อวันจันทร์ (9 ธ.ค.67) ว่า ด้วยการละเมิดความปลอดภัยทางชีวภาพที่ร้ายแรง กระทรวงสาธารณสุขควีนส์แลนด์ จำเป็นต้องสืบสวนหาสาเหตุที่เกิดขึ้น และวิธีป้องกันไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้อีก และว่าการสืบสวนมาตรา 9 จะช่วยให้มั่นใจว่าไม่มีสิ่งใดถูกละเลยในสถานการณ์นี้ พร้อมตรวจสอบนโยบาย และขั้นตอนการดำเนินงานในปัจจุบันของแล็บดังกล่าว และย้ำว่า การสืบสวนจะพิจารณาการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และพฤติกรรมของพนักงานด้วย

นิโคลส์ เสริมอีกว่า กระทรวงสาธารณสุขควีนส์แลนด์ได้ใช้มาตรการเชิงรุก รวมถึงการฝึกอบรมพนักงานใหม่เกี่ยวกับระเบียบที่จำเป็น และดำเนินการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่ามีการจัดเก็บวัสดุอย่างถูกต้อง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่