"โรคอหิวาตกโรค" ภาวะฉุกเฉินครั้งใหญ่ องค์การอนามัยโลกพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทั่วโลก ขณะที่ประเทศไทย ระบาดเป็นระยะในบางพื้นที่แต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต ชี้ต้องป้องกัน ปรับปรุงระบบน้ำและระบบสุขอนามัยให้สะอาด รวมทั้งฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันการระบาด
แพทย์หญิงวรินทิพย์ มหาพสุธานนท์ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า อหิวาตกโรคเป็นโรคติดเชื้อในลำไส้ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ซึ่งเชื้อชนิดนี้ สามารถผลิตสารพิษที่เรียกว่า Cholera toxin กระตุ้นให้ลำไส้หลั่งน้ำและเกลือแร่ออกมาในปริมาณมาก ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงและมีภาวะขาดน้ำ สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านทางการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ มักพบในพื้นที่ที่ขาดสุขอนามัยหรือมีปัญหาด้านการจัดการน้ำ
สาเหตุและปัจจัยโรคอหิวาตกโรคเกิดจากการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ Vibrio cholerae เช่น น้ำดื่มที่ไม่สะอาด, อาหารที่ไม่ได้ปรุงสุกใหม่, อาหารทะเลที่ปนเปื้อน เช่น อาหารทะเลดิบหรือปรุงไม่สุกจากแหล่งน้ำปนเปื้อน, มีสุขอนามัยที่ไม่ดี, สัมผัสกับอุจจาระที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ระบบสุขาภิบาลแย่
เช่น มีการขับถ่ายกลางแจ้ง และแหล่งน้ำที่ปนเปื้อน สาเหตุเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรคได้ อีกทั้งยังพบปัจจัยเสี่ยงเพิ่มโอกาสการติดเชื้ออีก เช่น อยู่ในพื้นที่ระบาดของโรค รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่อาจปนเปื้อนในพื้นที่เสี่ยง รวมถึงกลุ่มคนที่ภูมิคุ้มกันต่ำอย่าง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว
อาการของอหิวาตกโรค มีตั้งแต่ไม่มีอาการเลยไปจนถึงอาการรุนแรง เช่น อาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ถ่ายเหลว อุจจาระลักษณะเป็นน้ำข้าว อาจมีอาเจียนร่วมด้วย ทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ และอาจเกิดอาการช็อกได้ในบางรายที่รุนแรง
นอกจากนี้ ผู้ติดเชื้อบางส่วนที่แสดงอาการน้อยหรือไม่แสดงอาการก็สามารถแพร่เชื้อต่อได้ การรักษาหลักของโรคอหิวาตกโรคคือการป้องกันภาวะขาดน้ำ การทดแทนของเหลวและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการท้องเสียและอาเจียน รวมถึงการกำจัดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย การให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เพื่อทดแทนของเหลวและเกลือแร่ที่สูญเสีย การใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดระยะเวลาการป่วย
ปลัด สธ. สั่งตั้งศูนย์ฉุกเฉินฯ รับมือ "อหิวาตตกโรค" ระบาด
แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ล้างมือให้สะอาด ทั้งก่อนการรับประทานอาหารและหลังออกจากห้องน้ำ
ดื่มน้ำสะอาดที่ผ่านการต้มหรือระบบกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพ
ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำแข็งที่ไม่ได้ผลิตจากน้ำสะอาด
กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด
กำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยให้ถูกต้องมิดชิด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน
หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารและน้ำข้างทางในพื้นที่เสี่ยง และควรพกน้ำดื่มบรรจุขวด
หากมีอาการท้องเสียควรดื่มน้ำมาก ๆ และดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
ฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคในกลุ่มคนที่ต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
สิ่งสำคัญคือการดูแลสุขอนามัยเป็นหลัก การจัดการแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง เหมาะสม เนื่องจากโรคอหิวาตกโรคแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน หากมีอาการถ่ายเหลวเฉียบพลันและมีอาการอาเจียนร่วมด้วย ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้โรคอหิวาตกโรคเป็นภาวะฉุกเฉินครั้งใหญ่ หลังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทั่วโลก มีความจำเป็นต้องดำเนินการหยุดการแพร่ระบาดทันที ซึ่งสถานการณ์อหิวาตกโรคในประเทศไทย พบการระบาดของโรคเป็นระยะในบางพื้นที่ แต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต โดยการป้องกันที่สำคัญคือการปรับปรุงระบบน้ำและระบบสุขอนามัยให้สะอาดรวมถึงการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันการระบาด
Cr.
https://www.thansettakij.com/health/wellbeing/616164
WHO ประกาศภาวะฉุกเฉินครั้งใหญ่ พบผู้ป่วย “อหิวาตกโรค" เพิ่มขึ้นทั่วโลก
แพทย์หญิงวรินทิพย์ มหาพสุธานนท์ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ โรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า อหิวาตกโรคเป็นโรคติดเชื้อในลำไส้ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ซึ่งเชื้อชนิดนี้ สามารถผลิตสารพิษที่เรียกว่า Cholera toxin กระตุ้นให้ลำไส้หลั่งน้ำและเกลือแร่ออกมาในปริมาณมาก ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงและมีภาวะขาดน้ำ สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วผ่านทางการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ มักพบในพื้นที่ที่ขาดสุขอนามัยหรือมีปัญหาด้านการจัดการน้ำ
สาเหตุและปัจจัยโรคอหิวาตกโรคเกิดจากการบริโภคน้ำหรืออาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ Vibrio cholerae เช่น น้ำดื่มที่ไม่สะอาด, อาหารที่ไม่ได้ปรุงสุกใหม่, อาหารทะเลที่ปนเปื้อน เช่น อาหารทะเลดิบหรือปรุงไม่สุกจากแหล่งน้ำปนเปื้อน, มีสุขอนามัยที่ไม่ดี, สัมผัสกับอุจจาระที่ปนเปื้อนเชื้อ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ระบบสุขาภิบาลแย่
เช่น มีการขับถ่ายกลางแจ้ง และแหล่งน้ำที่ปนเปื้อน สาเหตุเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคอหิวาตกโรคได้ อีกทั้งยังพบปัจจัยเสี่ยงเพิ่มโอกาสการติดเชื้ออีก เช่น อยู่ในพื้นที่ระบาดของโรค รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่อาจปนเปื้อนในพื้นที่เสี่ยง รวมถึงกลุ่มคนที่ภูมิคุ้มกันต่ำอย่าง เด็กเล็ก ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว
อาการของอหิวาตกโรค มีตั้งแต่ไม่มีอาการเลยไปจนถึงอาการรุนแรง เช่น อาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ถ่ายเหลว อุจจาระลักษณะเป็นน้ำข้าว อาจมีอาเจียนร่วมด้วย ทำให้ร่างกายขาดน้ำอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ และอาจเกิดอาการช็อกได้ในบางรายที่รุนแรง
นอกจากนี้ ผู้ติดเชื้อบางส่วนที่แสดงอาการน้อยหรือไม่แสดงอาการก็สามารถแพร่เชื้อต่อได้ การรักษาหลักของโรคอหิวาตกโรคคือการป้องกันภาวะขาดน้ำ การทดแทนของเหลวและเกลือแร่ที่สูญเสียไปจากการท้องเสียและอาเจียน รวมถึงการกำจัดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย การให้สารละลายน้ำตาลเกลือแร่ เพื่อทดแทนของเหลวและเกลือแร่ที่สูญเสีย การใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดระยะเวลาการป่วย
ปลัด สธ. สั่งตั้งศูนย์ฉุกเฉินฯ รับมือ "อหิวาตตกโรค" ระบาด
แนวทางการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
ล้างมือให้สะอาด ทั้งก่อนการรับประทานอาหารและหลังออกจากห้องน้ำ
ดื่มน้ำสะอาดที่ผ่านการต้มหรือระบบกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพ
ควรหลีกเลี่ยงการใช้น้ำแข็งที่ไม่ได้ผลิตจากน้ำสะอาด
กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ สะอาด
กำจัดสิ่งปฏิกูลมูลฝอยให้ถูกต้องมิดชิด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน
หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารและน้ำข้างทางในพื้นที่เสี่ยง และควรพกน้ำดื่มบรรจุขวด
หากมีอาการท้องเสียควรดื่มน้ำมาก ๆ และดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
ฉีดวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคในกลุ่มคนที่ต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค
สิ่งสำคัญคือการดูแลสุขอนามัยเป็นหลัก การจัดการแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง เหมาะสม เนื่องจากโรคอหิวาตกโรคแพร่กระจายได้ง่ายผ่านการบริโภคอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน หากมีอาการถ่ายเหลวเฉียบพลันและมีอาการอาเจียนร่วมด้วย ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็ว เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายของโรคและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้โรคอหิวาตกโรคเป็นภาวะฉุกเฉินครั้งใหญ่ หลังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทั่วโลก มีความจำเป็นต้องดำเนินการหยุดการแพร่ระบาดทันที ซึ่งสถานการณ์อหิวาตกโรคในประเทศไทย พบการระบาดของโรคเป็นระยะในบางพื้นที่ แต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต โดยการป้องกันที่สำคัญคือการปรับปรุงระบบน้ำและระบบสุขอนามัยให้สะอาดรวมถึงการฉีดวัคซีน เพื่อป้องกันการระบาด
Cr. https://www.thansettakij.com/health/wellbeing/616164