"อหิวาตกโรค” อันตรายอย่างไร?... รู้ไว้ก่อนป้องกันได้
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ อหิวาตกโรค เป็นภาวะฉุกเฉินสำคัญ หลังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทั่วโลก โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ซึ่งติดต่อผ่านอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน หากติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำในปริมาณมาก ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว จนอาจนำไปสู่ภาวะช็อก หมดสติ และในกรณีรุนแรงอาจเสียชีวิตได้
สาเหตุและความอันตรายของอหิวาตกโรค
อหิวาตกโรค เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ในลำไส้เล็ก โดยเชื้อนี้มักปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาด หากติดเชื้อผู้ป่วยอาจถ่ายอุจจาระเป็นน้ำโดยไม่มีอาการปวดท้อง ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว อาการที่พบได้คือ กระหายน้ำ, อ่อนเพลีย, ปัสสาวะน้อย, ชีพจรเต้นเร็ว ในรายที่อาการรุนแรง อาจเกิดภาวะช็อก หมดสติหรือเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
การรักษาอหิวาตกโรค
หากสงสัยว่าติดเชื้อ ควรพบแพทย์ทันที การรักษาเบื้องต้นคือการให้สารละลายเกลือแร่ (ORS) เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ในกรณีรุนแรงอาจต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดหรือยาปฏิชีวนะตามคำแนะนำของแพทย์
วิธีป้องกันอหิวาตกโรค
* รับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสดใหม่
* หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแมลงวันตอม
* ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังใช้ห้องน้ำ
* ใช้ห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ
* จัดการแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อมให้สะอาด
การปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยอย่างเคร่งครัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันอหิวาตกโรค และช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
"อหิวาตกโรค” อันตรายอย่างไร?... รู้ไว้ก่อนป้องกันได้
"อหิวาตกโรค” อันตรายอย่างไร?... รู้ไว้ก่อนป้องกันได้
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศให้ อหิวาตกโรค เป็นภาวะฉุกเฉินสำคัญ หลังพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทั่วโลก โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ซึ่งติดต่อผ่านอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อน หากติดเชื้อ ผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำในปริมาณมาก ส่งผลให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว จนอาจนำไปสู่ภาวะช็อก หมดสติ และในกรณีรุนแรงอาจเสียชีวิตได้
สาเหตุและความอันตรายของอหิวาตกโรค
อหิวาตกโรค เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Vibrio cholerae ในลำไส้เล็ก โดยเชื้อนี้มักปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำที่ไม่สะอาด หากติดเชื้อผู้ป่วยอาจถ่ายอุจจาระเป็นน้ำโดยไม่มีอาการปวดท้อง ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว อาการที่พบได้คือ กระหายน้ำ, อ่อนเพลีย, ปัสสาวะน้อย, ชีพจรเต้นเร็ว ในรายที่อาการรุนแรง อาจเกิดภาวะช็อก หมดสติหรือเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
การรักษาอหิวาตกโรค
หากสงสัยว่าติดเชื้อ ควรพบแพทย์ทันที การรักษาเบื้องต้นคือการให้สารละลายเกลือแร่ (ORS) เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ในกรณีรุนแรงอาจต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดหรือยาปฏิชีวนะตามคำแนะนำของแพทย์
วิธีป้องกันอหิวาตกโรค
* รับประทานอาหารที่ปรุงสุกและสดใหม่
* หลีกเลี่ยงอาหารที่มีแมลงวันตอม
* ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังใช้ห้องน้ำ
* ใช้ห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ
* จัดการแหล่งน้ำและสิ่งแวดล้อมให้สะอาด
การปฏิบัติตามหลักสุขอนามัยอย่างเคร่งครัดเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันอหิวาตกโรค และช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการแพร่ระบาดของโรคในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ