ในช่วงฤดูร้อน นอกจากจะเจอกับอากาศที่แสนจะร้อนแล้ว ยังต้องเจอกับโรคที่มักมากับแดดร้อนๆ อีกด้วย
อย่างที่เราทราบกันว่า แดดร้อนๆ เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุกับโรคทางเดินอาหาร
วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้
โรคอันตราย..ที่มากับอากาศร้อน
อากาศร้อนมีผลเสียอะไรที่ควรระวังไว้บ้าง
1.ทำให้อาหารเสียเร็ว
อากาศร้อนเป็นเหมือนรีสอร์ทชั้นดีให้กับเชื้อเเบคทีเรียในการแพร่พันธุ์และเจริญเติบโต แบคทีเรียต่าง ๆ
ในอาหารจะเติบโตเร็วมาก ทำให้อาหารเน่าบูดได้ง่ายแม้จะเก็บไว้ในตู้เย็นก็ตาม
2.ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
อากาศร้อนขึ้นทุกปี ทำให้เกิดคลื่นความร้อน ภัยแล้ง และน้ำท่วม ทำร้ายพืชผลทางการเกษตรที่ต้องการอุณหภูมิเยือกแข็ง
3.ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยง
อากาศร้อนไม่เพียงแต่จะส่งผลกับคนเท่านั้น มันยังส่งผลไปถึงสัตว์เลี้ยงของเราอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าเมื่อถึงหน้าร้อนแล้วจำเป็นต้องพาสัตว์เลี้ยงไปรับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
นอกจากวัคซีนยังไม่พอ ยังต้องเฝ้าระวังสัตว์เลี้ยงเกิดอาการฮีทสโตรก (โรคลมแดด) อีกด้วย
3.มีผลกระทบต่อเงินในกระเป๋า
เมื่ออากาศร้อนขึ้นทำให้ต้องเปิดแอร์ให้เย็นมากขึ้น ทำให้ค่าไฟพุ่งทะยานสูงขึ้น
และนอกจากนี้การเปิดเครื่องปรับอากาศทั้งวันที่ทำให้เรารู้สึกเย็นสบายนั้น
กำลังทำให้โลกของเราร้อนขึ้น เพราะในเครื่องปรับอากาศมีสารเคมีที่ชื่อว่า HFC
เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลต่อชั้นบรรยากาศของโลกโดยตรง
4.ส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์
อากาศร้อนจัดสามารถทำให้ต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังของเราอุดตันได้
เมื่อต่อมเหงื่ออุดตันจะทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายเหงื่อออกได้ตามปกติ
อาจทำให้เกิดผื่นขึ้นตามตัว หรือนำมาซึ่งโรคอันตรายอื่น ๆ
โรคอันตรายต่าง ๆ ที่มากับอากาศร้อน มีอะไรบ้าง
1.โรคอาหารเป็นพิษ
ในช่วงนี้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดเติบโตได้ดี อาจทำให้อาหารบูดเสียได้ง่ายกว่าปกติ
โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน
ที่มากับอาหารที่ไม่สะอาด อาหารที่ทําไว้ล่วงหน้านาน ๆ และไม่ได้รับการอุ่นร้อนก่อนรับประทาน
อาการที่สําคัญของ โรคอาหารเป็นพิษ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ
ลำไส้อักเสบ และอาจมีไข้ ปวดศีรษะร่วมด้วย ในรายที่มีอาการถ่ายอุจจาระมาก ผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อกหมดสติได้
การดูแลเบื้องต้น ควรให้จิบผงละลายเกลือแร่ บ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
วิธีป้องกัน "กินสุก ร้อน สะอาด" หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะอาหารทะเลที่ใช้วิธีการลวก
ได้แก่ หอยลวก ปลาหมึกลวก กุ้งลวก กินอาหารขณะที่ยังร้อน อาหารที่เก็บไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง
ต้องนำมาอุ่นก่อนรับประทานทุกครั้งอาหารกล่องควรแยกกับและข้าวออกจากกัน หากมีรูป รส กลิ่น สีผิดปกติไม่ควรทาน
เลือกกินอาหาร น้ำดื่ม และน้ำแข็งที่สะอาด เลือกซื้อวัตถุดิบที่สด สะอาด ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานร่วมกัน
ก่อนหยิบจับอาหารควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง
2.โรคบิด (Dysentery)
โรคบิดจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ก็คือ มีตัวก่อบิด และไม่มีตัวก่อบิด ซึ่งโรคบิดที่มีตัวก่อบิดจะเกิดจากเชื้ออะบีนา
และเมื่อเชื้ออะมีบาเข้าไปสู่กระแสเลือด หรือแพร่ไปยังอวัยวะภายในต่างๆ ก็อาจทำให้เนื้อเยื่อในอวัยวะต่างๆถูกทำลาย
หรือก่อให้เกิดฝีที่อวัยวะต่าง ๆ และอาจเกิดอาการติดเชื้อ หรืออาการอื่น ๆ ที่รุนแรงขึ้น
ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีก็อาจทำให้อันตรายถึงชีวิตได้
อาการที่มีตัวก่อบิด ปวดท้องเวลาถ่าย ถ่ายปนมูกปนเลือด อาจมีฝีในตับ ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง
อาการที่ไม่มีตัวก่อบิด ไข้สูง ถ่ายเป็นมูกปนเลือด ปวดท้อง อาเจียน เบื่ออาหาร
3.โรคอุจจาระร่วง
เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ สารพิษและสารเคมี
พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี ขณะที่สภาพอากาศร้อน เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคส่งผลให้อาหารที่เตรียมไว้ปูดง่าย
เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอุจจาระร่วงได้เช่นกัน
อาการสําคัญ คือ มีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ อย่างน้อย 3 ครั้ง หรือถ่ายปนมูกปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง
ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง อาจอาเจียนหรือมีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักหายได้เอง
แต่หากมีอาการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไปพร้อมกับการถ่ายมาก อาจทำให้ช็อก หมดสติ และภาวะขาดสารอาหารในช่วงหลัง
ส่งผลให้ผู้ป่วยโดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เกิดโรคแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
วิธีป้องกัน งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง กินอาหารย่อยง่าย
คนที่ท้องร่วงรุนแรง หรือมีอาการปวดเกร็งท้องร่วมกับถ่ายปนมูกเลือด ต้องรีบพบแพทย์
ล้างมือให้สะอาด ทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนกินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
กินอาหารที่สุกถูกสุขลักษณะ เนื่องจากเชื้อโรคจะถูกทำลายด้วยความร้อนในอุณหภูมิที่สูง 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ดื่มน้ำ น้ำแข็ง ที่สะอาด ไม่ควรกินอาหารที่มีรูปรส กลิ่น สี ที่เปลี่ยนไป
4.โรคอหิวาตกโรค
โรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุเกิดจากการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่
เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารทะเล อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ รับประทาน หรือดื่มน้ำที่มีการใช้ภาชนะหรือมือไม่สะอาด
อาการที่สําคัญ ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำซาวข้าวคราวละมาก ๆ โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน
สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด และการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว
สำหรับเชื้อโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง (อหิวาตกโรค) ชนิด El Tor biotype ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการเลยก็ได้
ในรายรุนแรงน้อยอาจพบแต่อาการถ่ายเป็นน้ำ พบได้บ่อยในเด็ก
ในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิต ในเวลา 2-3 ชั่วโมง
และอัตราป่วยตายสูงมากกว่าร้อยละ 50 แต่หากได้รับการรักษาถูกต้องและทันท่วงที
อัตราป่วยเสียชีวิตจะลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 1
วิธีป้องกัน รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างให้สะอาดทุกครั้งก่อนใช้
หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่ปรุงไว้นาน อาหารที่มีแมลงวันตอม
ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนรับกินอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
ถ่ายลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ไม่เทอุจจาระ ปัสสาวะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง
ระวังไม่ให้น้ำเข้าปาก เมื่อลงเล่นหรืออาบน้ำในลำคลอง
5.ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย
ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย พบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน เกิดจากการรับประทานอาหาร
และดื่มน้ำที่ปนเปื้อน เชื้อไทฟอยด์จากอุจจาระหรือปัสสาวะของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะโรคไทฟอยด์
อาการสําคัญ คือ มีไข้สูงลอยมากกว่า 1 สัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนอาจมีไข้สูงได้ถึง 40.5 องศาเซลเซียส
และมีอาการร่วม คือ ปวดศีรษะ บางรายอาจมีอาการท้องอืดหรือท้องเสีย หรือมีอาการผื่นขึ้นตามหน้าอกและลำตัว
หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีอาการเพ้อเพราะพิษไข้ หรืออ่อนเพลีย รวมถึงอาจมีความรุนแรง ทำให้เกิดอาการโคมาได้
วิธีป้องกัน ควรดื่มน้ำสะอาด หากไม่แน่ใจควรดื่มน้ำสุก และกินอาหารที่สะอาด มีภาชนะปกปิดและไม่มีแมลงวันตอม
ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นพาหะโรค ไข้ไทฟอยด์ควรหลีกเลี่ยงการประกอบอาหารให้ผู้อื่นรับประทาน
เนื่องจากอาจทําให้เกิดการระบาดของโรคได้ ถ่ายอุจจาระในที่ถูกสุขลักษณะ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ 1-3 ปี จะช่วยป้องกันโรคได้มาก เด็กอาจเริ่มฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ
6.โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ
โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด
เช่น สุนัข แมว โค กระบือ หนู กระรอก กระต่าย ลิง ค้างคาว ในประเทศไทยมักพบในสุนัข แมว
และพบบ้างในโคกระบือ โดยเชื้อจะเข้าทางบาดแผลที่ถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีบาดแผล
รอยถลอก หรือรอยขีดข่วนบาดแผล หรือเลียถูกบริเวณเยื่อบุตา หรือปาก
วิธีป้องกัน นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 2 เดือน เข็มที่สองฉีดหลังจากเข็มแรก 3-4 สัปดาห์ และฉีดซ้ำทุกปี
หากถูกสุนัขกัด ข่วน หรือเลีย ให้รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่อย่างเบามือนานอย่างน้อย 10 นาที
เพื่อกำจัดเชื้อออกไปให้มากที่สุด ใส่ยาฆ่าเชื้อที่บาดแผล และไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ควรฉีดให้ครบชุดและตรงตามแพทย์นัด
กักตัวสัตว์ไว้เพื่อสังเกตอาการ 10 วัน หากตายให้รีบแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่
ระวังบุตรหลาน ไม่ให้เล่นคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
โรคหน้าร้อน ป้องกันได้ 
การรักษาสุขอนามัยของตัวเองตามนี้เลย
- ทานอาหารร้อน ปรุงสุกใหม่ ๆ เลี่ยงอาหารค้างคืน อาหารที่เสียง่าย
- ใช้ช้อนกลาง
- ล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
- ดื่มน้ำสะอาด ไม่ดื่มน้ำดิบหรือน้ำคลอง โดยควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
- ระวังเรื่องความสะอาดของน้ำแข็ง
- ลดเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทุกประเภท เพราะยิ่งอากาศร้อนมาก การดูดซึมแอลกอฮอล์จะสูง
ร่างกายจะสามารถซึมผ่านแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็ว ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนปวดศีรษะ
ความดันโลหิตสูงขึ้น ปัสสาวะบ่อย ขาดน้ำ และน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ขับถ่ายในห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
หากมีอาการใดๆ ที่ผิดสังเกต ก็ควรรีบพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที
เพราะโรคติดเชื้อหลายโรค ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว


โรคอันตราย..ที่มากับอากาศร้อน
อย่างที่เราทราบกันว่า แดดร้อนๆ เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุกับโรคทางเดินอาหาร
วันนี้พี่หมอฝั่งธน..จะมาให้ความรู้
อากาศร้อนมีผลเสียอะไรที่ควรระวังไว้บ้าง
1.ทำให้อาหารเสียเร็ว
อากาศร้อนเป็นเหมือนรีสอร์ทชั้นดีให้กับเชื้อเเบคทีเรียในการแพร่พันธุ์และเจริญเติบโต แบคทีเรียต่าง ๆ
ในอาหารจะเติบโตเร็วมาก ทำให้อาหารเน่าบูดได้ง่ายแม้จะเก็บไว้ในตู้เย็นก็ตาม
2.ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม
อากาศร้อนขึ้นทุกปี ทำให้เกิดคลื่นความร้อน ภัยแล้ง และน้ำท่วม ทำร้ายพืชผลทางการเกษตรที่ต้องการอุณหภูมิเยือกแข็ง
3.ส่งผลกระทบต่อสัตว์เลี้ยง
อากาศร้อนไม่เพียงแต่จะส่งผลกับคนเท่านั้น มันยังส่งผลไปถึงสัตว์เลี้ยงของเราอีกด้วย
จะเห็นได้ว่าเมื่อถึงหน้าร้อนแล้วจำเป็นต้องพาสัตว์เลี้ยงไปรับวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
นอกจากวัคซีนยังไม่พอ ยังต้องเฝ้าระวังสัตว์เลี้ยงเกิดอาการฮีทสโตรก (โรคลมแดด) อีกด้วย
3.มีผลกระทบต่อเงินในกระเป๋า
เมื่ออากาศร้อนขึ้นทำให้ต้องเปิดแอร์ให้เย็นมากขึ้น ทำให้ค่าไฟพุ่งทะยานสูงขึ้น
และนอกจากนี้การเปิดเครื่องปรับอากาศทั้งวันที่ทำให้เรารู้สึกเย็นสบายนั้น
กำลังทำให้โลกของเราร้อนขึ้น เพราะในเครื่องปรับอากาศมีสารเคมีที่ชื่อว่า HFC
เป็นก๊าซเรือนกระจกที่ส่งผลต่อชั้นบรรยากาศของโลกโดยตรง
4.ส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์
อากาศร้อนจัดสามารถทำให้ต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังของเราอุดตันได้
เมื่อต่อมเหงื่ออุดตันจะทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายเหงื่อออกได้ตามปกติ
อาจทำให้เกิดผื่นขึ้นตามตัว หรือนำมาซึ่งโรคอันตรายอื่น ๆ
1.โรคอาหารเป็นพิษ
ในช่วงนี้อุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น ทำให้เชื้อโรคหลายชนิดเติบโตได้ดี อาจทำให้อาหารบูดเสียได้ง่ายกว่าปกติ
โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน
ที่มากับอาหารที่ไม่สะอาด อาหารที่ทําไว้ล่วงหน้านาน ๆ และไม่ได้รับการอุ่นร้อนก่อนรับประทาน
อาการที่สําคัญของ โรคอาหารเป็นพิษ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ
ลำไส้อักเสบ และอาจมีไข้ ปวดศีรษะร่วมด้วย ในรายที่มีอาการถ่ายอุจจาระมาก ผู้ป่วยอาจมีภาวะช็อกหมดสติได้
การดูแลเบื้องต้น ควรให้จิบผงละลายเกลือแร่ บ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
วิธีป้องกัน "กินสุก ร้อน สะอาด" หลีกเลี่ยงอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะอาหารทะเลที่ใช้วิธีการลวก
ได้แก่ หอยลวก ปลาหมึกลวก กุ้งลวก กินอาหารขณะที่ยังร้อน อาหารที่เก็บไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง
ต้องนำมาอุ่นก่อนรับประทานทุกครั้งอาหารกล่องควรแยกกับและข้าวออกจากกัน หากมีรูป รส กลิ่น สีผิดปกติไม่ควรทาน
เลือกกินอาหาร น้ำดื่ม และน้ำแข็งที่สะอาด เลือกซื้อวัตถุดิบที่สด สะอาด ใช้ช้อนกลางเมื่อรับประทานร่วมกัน
ก่อนหยิบจับอาหารควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง
2.โรคบิด (Dysentery)
โรคบิดจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ก็คือ มีตัวก่อบิด และไม่มีตัวก่อบิด ซึ่งโรคบิดที่มีตัวก่อบิดจะเกิดจากเชื้ออะบีนา
และเมื่อเชื้ออะมีบาเข้าไปสู่กระแสเลือด หรือแพร่ไปยังอวัยวะภายในต่างๆ ก็อาจทำให้เนื้อเยื่อในอวัยวะต่างๆถูกทำลาย
หรือก่อให้เกิดฝีที่อวัยวะต่าง ๆ และอาจเกิดอาการติดเชื้อ หรืออาการอื่น ๆ ที่รุนแรงขึ้น
ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีก็อาจทำให้อันตรายถึงชีวิตได้
อาการที่มีตัวก่อบิด ปวดท้องเวลาถ่าย ถ่ายปนมูกปนเลือด อาจมีฝีในตับ ถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง
อาการที่ไม่มีตัวก่อบิด ไข้สูง ถ่ายเป็นมูกปนเลือด ปวดท้อง อาเจียน เบื่ออาหาร
3.โรคอุจจาระร่วง
เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส พยาธิ สารพิษและสารเคมี
พบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี ขณะที่สภาพอากาศร้อน เป็นปัจจัยเอื้อต่อการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคส่งผลให้อาหารที่เตรียมไว้ปูดง่าย
เป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอุจจาระร่วงได้เช่นกัน
อาการสําคัญ คือ มีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ อย่างน้อย 3 ครั้ง หรือถ่ายปนมูกปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง
ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง อาจอาเจียนหรือมีภาวะขาดน้ำร่วมด้วย ส่วนใหญ่มักหายได้เอง
แต่หากมีอาการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ไปพร้อมกับการถ่ายมาก อาจทำให้ช็อก หมดสติ และภาวะขาดสารอาหารในช่วงหลัง
ส่งผลให้ผู้ป่วยโดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ เกิดโรคแทรกซ้อนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
วิธีป้องกัน งดอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง กินอาหารย่อยง่าย
คนที่ท้องร่วงรุนแรง หรือมีอาการปวดเกร็งท้องร่วมกับถ่ายปนมูกเลือด ต้องรีบพบแพทย์
ล้างมือให้สะอาด ทุกครั้งก่อนปรุงอาหาร ก่อนกินอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
กินอาหารที่สุกถูกสุขลักษณะ เนื่องจากเชื้อโรคจะถูกทำลายด้วยความร้อนในอุณหภูมิที่สูง 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ดื่มน้ำ น้ำแข็ง ที่สะอาด ไม่ควรกินอาหารที่มีรูปรส กลิ่น สี ที่เปลี่ยนไป
4.โรคอหิวาตกโรค
โรคติดต่อที่เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุเกิดจากการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่
เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารทะเล อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ รับประทาน หรือดื่มน้ำที่มีการใช้ภาชนะหรือมือไม่สะอาด
อาการที่สําคัญ ถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำซาวข้าวคราวละมาก ๆ โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งมีคลื่นไส้ อาเจียน
สูญเสียน้ำอย่างรวดเร็วจนเกิดภาวะเป็นกรดในเลือด และการไหลเวียนโลหิตล้มเหลว
สำหรับเชื้อโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง (อหิวาตกโรค) ชนิด El Tor biotype ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการเลยก็ได้
ในรายรุนแรงน้อยอาจพบแต่อาการถ่ายเป็นน้ำ พบได้บ่อยในเด็ก
ในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาผู้ป่วยอาจเสียชีวิต ในเวลา 2-3 ชั่วโมง
และอัตราป่วยตายสูงมากกว่าร้อยละ 50 แต่หากได้รับการรักษาถูกต้องและทันท่วงที
อัตราป่วยเสียชีวิตจะลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 1
วิธีป้องกัน รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างให้สะอาดทุกครั้งก่อนใช้
หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่ปรุงไว้นาน อาหารที่มีแมลงวันตอม
ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนรับกินอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
ถ่ายลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ ไม่เทอุจจาระ ปัสสาวะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง
ระวังไม่ให้น้ำเข้าปาก เมื่อลงเล่นหรืออาบน้ำในลำคลอง
5.ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย
ไทฟอยด์ หรือ ไข้รากสาดน้อย พบได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงฤดูร้อน เกิดจากการรับประทานอาหาร
และดื่มน้ำที่ปนเปื้อน เชื้อไทฟอยด์จากอุจจาระหรือปัสสาวะของผู้ป่วย หรือผู้ที่เป็นพาหะโรคไทฟอยด์
อาการสําคัญ คือ มีไข้สูงลอยมากกว่า 1 สัปดาห์ โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนอาจมีไข้สูงได้ถึง 40.5 องศาเซลเซียส
และมีอาการร่วม คือ ปวดศีรษะ บางรายอาจมีอาการท้องอืดหรือท้องเสีย หรือมีอาการผื่นขึ้นตามหน้าอกและลำตัว
หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีอาการเพ้อเพราะพิษไข้ หรืออ่อนเพลีย รวมถึงอาจมีความรุนแรง ทำให้เกิดอาการโคมาได้
วิธีป้องกัน ควรดื่มน้ำสะอาด หากไม่แน่ใจควรดื่มน้ำสุก และกินอาหารที่สะอาด มีภาชนะปกปิดและไม่มีแมลงวันตอม
ผู้ป่วยและผู้ที่เป็นพาหะโรค ไข้ไทฟอยด์ควรหลีกเลี่ยงการประกอบอาหารให้ผู้อื่นรับประทาน
เนื่องจากอาจทําให้เกิดการระบาดของโรคได้ ถ่ายอุจจาระในที่ถูกสุขลักษณะ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไทฟอยด์ 1-3 ปี จะช่วยป้องกันโรคได้มาก เด็กอาจเริ่มฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่อายุ 2 ขวบ
6.โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ
โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ เกิดจากเชื้อไวรัสเรบีส์ พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด
เช่น สุนัข แมว โค กระบือ หนู กระรอก กระต่าย ลิง ค้างคาว ในประเทศไทยมักพบในสุนัข แมว
และพบบ้างในโคกระบือ โดยเชื้อจะเข้าทางบาดแผลที่ถูกกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีบาดแผล
รอยถลอก หรือรอยขีดข่วนบาดแผล หรือเลียถูกบริเวณเยื่อบุตา หรือปาก
วิธีป้องกัน นำสัตว์เลี้ยงไปฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 2 เดือน เข็มที่สองฉีดหลังจากเข็มแรก 3-4 สัปดาห์ และฉีดซ้ำทุกปี
หากถูกสุนัขกัด ข่วน หรือเลีย ให้รีบล้างแผลด้วยน้ำและสบู่อย่างเบามือนานอย่างน้อย 10 นาที
เพื่อกำจัดเชื้อออกไปให้มากที่สุด ใส่ยาฆ่าเชื้อที่บาดแผล และไปพบแพทย์เพื่อฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ควรฉีดให้ครบชุดและตรงตามแพทย์นัด
กักตัวสัตว์ไว้เพื่อสังเกตอาการ 10 วัน หากตายให้รีบแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่
ระวังบุตรหลาน ไม่ให้เล่นคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน
การรักษาสุขอนามัยของตัวเองตามนี้เลย
- ทานอาหารร้อน ปรุงสุกใหม่ ๆ เลี่ยงอาหารค้างคืน อาหารที่เสียง่าย
- ใช้ช้อนกลาง
- ล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
- ดื่มน้ำสะอาด ไม่ดื่มน้ำดิบหรือน้ำคลอง โดยควรดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว
- ระวังเรื่องความสะอาดของน้ำแข็ง
- ลดเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์ทุกประเภท เพราะยิ่งอากาศร้อนมาก การดูดซึมแอลกอฮอล์จะสูง
ร่างกายจะสามารถซึมผ่านแอลกอฮอล์เข้าสู่กระแสเลือดได้รวดเร็ว ทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน จนปวดศีรษะ
ความดันโลหิตสูงขึ้น ปัสสาวะบ่อย ขาดน้ำ และน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำ
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- ขับถ่ายในห้องส้วมที่ถูกสุขลักษณะ
หากมีอาการใดๆ ที่ผิดสังเกต ก็ควรรีบพบแพทย์ เพื่อให้ได้รับการตรวจและรักษาอย่างทันท่วงที
เพราะโรคติดเชื้อหลายโรค ก็สามารถทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็ว