อากาศร้อน ระวัง! น็อก เพราะ “ฮีทสโตรก” หรือ “โรคลมแดด”
ทุกปีเมื่อฤดูร้อนมาเยือน เรามักจะเตือนกันเรื่องอันตรายจากอากาศร้อนที่ต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ “ฮีทสโตรก” หรือที่เรียกว่า “โรคลมแดด” ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายมาก เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความร้อน ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดและระบบสมอง
กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวัง!
1. เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
2. ผู้สูงอายุ
3. หญิงตั้งครรภ์
4. ผู้ที่มีโรคประจำตัว
5. ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน
6. ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
อาการของโรคลมแดดที่ต้องระวัง!
* ตัวร้อนจัด
* ผิวหนังแดงและแห้ง
* เหงื่อไม่ออก
* ปวดหัวหรือมึนงง
* คลื่นไส้หรืออาเจียน
การรักษาเบื้องต้น
· พักในที่ร่ม เย็น และมีอากาศถ่ายเท
· เช็ดตัวเพื่อช่วยลดอุณหภูมิ
· ประคบเย็นบริเวณรักแร้ ขาหนีบ และคอ
· ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเกลือแร่
· หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้
หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหมือนที่กล่าวไปข้างต้นหลังจากทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก แนะนำให้รีบทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที
อีกข้อสำคัญคือ ห้ามใช้ยาลดไข้เด็ดขาด เพราะจะทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ นอกจากนี้ควรงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น
“โรคลมแดด” (Heat stroke) เพราะอากาศที่ร้อนมากอันตรายต่อทุกคน อ่านข้อมูลเพิ่มเติม >>
https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1907
อากาศร้อน ระวัง! น็อก เพราะ “ฮีทสโตรก” หรือ “โรคลมแดด”
อากาศร้อน ระวัง! น็อก เพราะ “ฮีทสโตรก” หรือ “โรคลมแดด”
ทุกปีเมื่อฤดูร้อนมาเยือน เรามักจะเตือนกันเรื่องอันตรายจากอากาศร้อนที่ต้องระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะ “ฮีทสโตรก” หรือที่เรียกว่า “โรคลมแดด” ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายมาก เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ฮีทสโตรก หรือ โรคลมแดด เกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับความร้อน ทำให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นเกิน 40 องศาเซลเซียส ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือดและระบบสมอง
กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวัง!
1. เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี
2. ผู้สูงอายุ
3. หญิงตั้งครรภ์
4. ผู้ที่มีโรคประจำตัว
5. ผู้ที่ทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน
6. ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
อาการของโรคลมแดดที่ต้องระวัง!
* ตัวร้อนจัด
* ผิวหนังแดงและแห้ง
* เหงื่อไม่ออก
* ปวดหัวหรือมึนงง
* คลื่นไส้หรืออาเจียน
การรักษาเบื้องต้น
· พักในที่ร่ม เย็น และมีอากาศถ่ายเท
· เช็ดตัวเพื่อช่วยลดอุณหภูมิ
· ประคบเย็นบริเวณรักแร้ ขาหนีบ และคอ
· ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มเกลือแร่
· หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดไข้
หากคุณหรือคนใกล้ตัวมีอาการเหมือนที่กล่าวไปข้างต้นหลังจากทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรืออยู่ในที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก แนะนำให้รีบทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที
อีกข้อสำคัญคือ ห้ามใช้ยาลดไข้เด็ดขาด เพราะจะทำให้ร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ นอกจากนี้ควรงดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากขึ้น
“โรคลมแดด” (Heat stroke) เพราะอากาศที่ร้อนมากอันตรายต่อทุกคน อ่านข้อมูลเพิ่มเติม >> https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/1907