ในโลกนี้มันมีอะไรให้ลุ้น ให้ตื่นเต้น ให้เสี่ยง ตลอดเวลาจริงๆ
อย่ามาแบบโควิทนะไม่เอา..
(11 ธ.ค.67) ทางการรัฐควีนส์แลนด์เปิดเผยว่า หลอดบรรจุไวรัสชนิดร้ายแรงจำนวน 323 หลอดได้หายไปจากห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาของหน่วยงานด้านสาธารณสุข ส่งผลให้รัฐบาลออสเตรเลียสั่งการให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขของรัฐควีนส์แลนด์ดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์นี้ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นการละเมิดมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพครั้งใหญ่ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2564 แต่ได้รับการยืนยันเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 โดยเจ้าหน้าที่เชื่อว่าหลอดบรรจุไวรัสอาจหายไปหลังจากตู้แช่ไวรัสเกิดความเสียหาย
รายงานระบุว่า รัฐบาลรัฐควีนส์แลนด์ได้เริ่มการสอบสวนอย่างเป็นทางการ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าหลอดบรรจุไวรัสที่หายไปนั้น ถูกขโมยหรือถูกทำลายแล้ว นอกจากนี้ ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงหรืออันตรายต่อประชาชน
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ชี้ว่า ไวรัสที่อันตรายเหล่านี้จะตายอย่างรวดเร็วเมื่อนอกตู้แช่และไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อ โดยทางการยืนยันว่าแม้ตัวอย่างไวรัสเหล่านี้อาจถูกนำไปใช้ในการผลิตอาวุธชีวภาพได้ แต่ต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญสูง โดยไวรัสที่หายไปประกอบด้วย
ไวรัสเฮนดรา (Hendra virus) เป็นไวรัสที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน พบเฉพาะในออสเตรเลียและมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 57% ไวรัสนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 หลังเกิดการระบาดในม้าแข่ง 21 ตัวและมนุษย์ 2 คน ที่เมืองเฮนดรา ชานเมืองบริสเบน องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าไวรัสชนิดนี้มีต้นกำเนิดจากค้างคาวผลไม้
ไวรัสฮันตา (Hantavirus) เป็นไวรัสที่แพร่จากสัตว์สู่คน มีต้นกำเนิดจากหนูและแพร่ผ่านมูล ปัสสาวะ และน้ำลายของหนู เมื่อติดเชื้อจะทำให้เกิดโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสฮันตา อาการทั่วไปได้แก่ ไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้องเสีย และของเหลวในปอด ศูนย์ป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) ระบุว่าไวรัสชนิดนี้มีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 38%
ลิสซาไวรัส (Lyssavirus) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้า ติดต่อได้ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ประมาณ 59,000 คนทั่วโลก
https://www.facebook.com/share/p/15JVomsELG/
ออสเตรเลียตามหาด่วน ไวรัส 323 หลอด หายจากแล็บ หวั่นถูกใช้ทำอาวุธชีวภาพ
อย่ามาแบบโควิทนะไม่เอา..
(11 ธ.ค.67) ทางการรัฐควีนส์แลนด์เปิดเผยว่า หลอดบรรจุไวรัสชนิดร้ายแรงจำนวน 323 หลอดได้หายไปจากห้องปฏิบัติการไวรัสวิทยาของหน่วยงานด้านสาธารณสุข ส่งผลให้รัฐบาลออสเตรเลียสั่งการให้หน่วยงานด้านสาธารณสุขของรัฐควีนส์แลนด์ดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์นี้ ซึ่งถูกระบุว่าเป็นการละเมิดมาตรการความปลอดภัยทางชีวภาพครั้งใหญ่ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2564 แต่ได้รับการยืนยันเมื่อเดือนสิงหาคม 2566 โดยเจ้าหน้าที่เชื่อว่าหลอดบรรจุไวรัสอาจหายไปหลังจากตู้แช่ไวรัสเกิดความเสียหาย
รายงานระบุว่า รัฐบาลรัฐควีนส์แลนด์ได้เริ่มการสอบสวนอย่างเป็นทางการ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าหลอดบรรจุไวรัสที่หายไปนั้น ถูกขโมยหรือถูกทำลายแล้ว นอกจากนี้ ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่ามีความเสี่ยงหรืออันตรายต่อประชาชน
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ชี้ว่า ไวรัสที่อันตรายเหล่านี้จะตายอย่างรวดเร็วเมื่อนอกตู้แช่และไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อ โดยทางการยืนยันว่าแม้ตัวอย่างไวรัสเหล่านี้อาจถูกนำไปใช้ในการผลิตอาวุธชีวภาพได้ แต่ต้องอาศัยผู้ที่มีความเชี่ยวชาญสูง โดยไวรัสที่หายไปประกอบด้วย
ไวรัสเฮนดรา (Hendra virus) เป็นไวรัสที่สามารถติดต่อจากสัตว์สู่คน พบเฉพาะในออสเตรเลียและมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 57% ไวรัสนี้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 หลังเกิดการระบาดในม้าแข่ง 21 ตัวและมนุษย์ 2 คน ที่เมืองเฮนดรา ชานเมืองบริสเบน องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่าไวรัสชนิดนี้มีต้นกำเนิดจากค้างคาวผลไม้
ไวรัสฮันตา (Hantavirus) เป็นไวรัสที่แพร่จากสัตว์สู่คน มีต้นกำเนิดจากหนูและแพร่ผ่านมูล ปัสสาวะ และน้ำลายของหนู เมื่อติดเชื้อจะทำให้เกิดโรคปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสฮันตา อาการทั่วไปได้แก่ ไข้ หนาวสั่น คลื่นไส้ ท้องเสีย และของเหลวในปอด ศูนย์ป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) ระบุว่าไวรัสชนิดนี้มีอัตราการเสียชีวิตประมาณ 38%
ลิสซาไวรัส (Lyssavirus) เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดโรคพิษสุนัขบ้า ติดต่อได้ทั้งคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยในแต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อไวรัสชนิดนี้ประมาณ 59,000 คนทั่วโลก
https://www.facebook.com/share/p/15JVomsELG/