ถ้าพูดถึง คำว่า って ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นจะได้เรียนอยู่แล้ว พอเรียนจบคอร์สภาษาญี่ปุ่นขั้นต้น เช่น มินนะ สี่เล่ม หรือคือเมื่อจบระดับ N4 พอมาขึ้นหลักสูตรที่เป็นภาษาญี่ปุ่นขั้นกลาง หรือ ระดับ N3 ก็จะได้รู้จักกับ って ซึ่งถ้าอยู่หลังเสียง ん ก็จะเป็น んて นะ ไม่มี んって (ยกเว้นในการพิมพ์มังงะบางเรื่อง ก็เห็นใช้ んって อยู่บ้าง แต่มันไม่ใช่ภาษามาตรฐาน)
เช่น ในบทสนทนา คนแรกสรุปเรื่องนัดว่า ไปเจอกันที่ 大窪 (โอคุโบะ) อีกคนไม่รู้จักชื่อสถานที่นี้ เลยถามย้ำกลับว่า 「おおくぼ」って、どこですか。
ซึ่งในที่นี้ มันคือ 「おおくぼ」というのは(というところは)どこですか。
อีกตัวอย่างหนึ่ง 「山田さんは来ますか。」「今回は来ないって」"คุณยะมะดะจะมาไหม?" "เห็นว่า (เขาบอกไว้ว่า) ครั้งนี้จะไม่มานะ"
ในกรณีนี้ って คือ と言っていました。หรือ だそうです。นั่นเอง
และอีกหลายกรณี ที่ในภาษาพูด พูดคำว่า と ที่อยู่หน้ากริยา 言う ด้วยคำว่า って
何と言った? ==> 何て言った? ==> 何て?
いいと言ったでしょ。 ==> いいって。
อะไรทำนองนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจะได้เรียนในห้องเรียน และอยู่ในการสอบวัดระดับด้วย
แต่ คำ/สำนวนต่อไปนี้ พวกเราจะไม่ได้เรียน แต่ถ้าอ่านมังงะ ดูอะนิเมะ ดูซีรีส์ โดยฟังเสียงต้นฉบับ ก็จะได้ยินบ่อย ๆ
安くたって、使わないもんは買わない。 --- i-adj 安い มีรูป 安くた ด้วยเหรอ?
いくら読んだって、わからない。 --- กริยา 読む มีรูปตะ คือ 読んだ ก็จริง แต่ประโยคนี้แปลว่าอะไรล่ะ?
雨が降ったって、行きます。 --- เหมือนข้างบน กริยา 降る มีรูปตะ เป็น 降った ก็จริงแต่ประโยคนี้จะแปลว่าอะไรล่ะ?
何だっていい。
いつだっていい。
ฯลฯ
ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมาข้างบน มันเป็นภาษาญี่ปุ่นแบบ "ภาษาพูด" ครับ ให้เปลี่ยน たって เป็น ても และเปลี่ยน だって เป็น でも ดู จะกลายเป็นไวยากรณ์ที่เรารู้จักดีในทันทีเลย
安くても、使わないもんは買わない。 --- มันคือ รูป て ของ i-adj ที่เอามาต่อด้วยคำช่วย も ให้เป็นสำนวนที่แปลว่า ต่อให้....ก็ตาม ประโยคนี้ คนที่เรียนมาย่อมแปลได้ ว่า ต่อให้ (ของสิ่งนั้น) ราคาถูกก็ตาม แต่ของที่ไม่ใช้ยังไงก็ไม่ซื้อ (ถูกยังไงก็ไม่ซื้อ)
いくら読んでも、わからない。 --- แปลได้แล้วเนอะ
雨が降っても、行きます。 --- แปลได้แล้วเนอะ
何でもいい。อะไรก็ได้
いつでもいい。เมื่อไรก็ได้
ประมาณนี้ครับ ผมงงเหมือนกันว่าทำไมเรื่องนี้ไม่เอาเข้าไปในการสอบวัดระดับ และไม่สอนให้คนต่างชาติ มัวแต่ให้คนต่างชาติเรียนไวยากรณ์และรูปประโยคแบบ "มาตรฐาน" เท่านั้นอยู่ได้ แต่นอกเหนือจากนั้นต้องไปขวนขวายเรียนรู้กันเอาเอง (แต่ผมโชคดี ไปเจอหนังสือที่สอนเกี่ยวกับ "ภาษาพูด" ที่ใช้จริง ก็เลยไม่งงกับสำนวนที่อยู่นอกห้องเรียนพวกนี้สักเท่าไหร่)
คุยไปเรื่อยกับภาษาญี่ปุ่น#3 ภาษาญี่ปุ่นที่คนต่างชาติจะไม่เคยได้เรียนในห้องเรียน (1) たって กับ だって
เช่น ในบทสนทนา คนแรกสรุปเรื่องนัดว่า ไปเจอกันที่ 大窪 (โอคุโบะ) อีกคนไม่รู้จักชื่อสถานที่นี้ เลยถามย้ำกลับว่า 「おおくぼ」って、どこですか。
ซึ่งในที่นี้ มันคือ 「おおくぼ」というのは(というところは)どこですか。
อีกตัวอย่างหนึ่ง 「山田さんは来ますか。」「今回は来ないって」"คุณยะมะดะจะมาไหม?" "เห็นว่า (เขาบอกไว้ว่า) ครั้งนี้จะไม่มานะ"
ในกรณีนี้ って คือ と言っていました。หรือ だそうです。นั่นเอง
และอีกหลายกรณี ที่ในภาษาพูด พูดคำว่า と ที่อยู่หน้ากริยา 言う ด้วยคำว่า って
何と言った? ==> 何て言った? ==> 何て?
いいと言ったでしょ。 ==> いいって。
อะไรทำนองนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนต่างชาติที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจะได้เรียนในห้องเรียน และอยู่ในการสอบวัดระดับด้วย
แต่ คำ/สำนวนต่อไปนี้ พวกเราจะไม่ได้เรียน แต่ถ้าอ่านมังงะ ดูอะนิเมะ ดูซีรีส์ โดยฟังเสียงต้นฉบับ ก็จะได้ยินบ่อย ๆ
安くたって、使わないもんは買わない。 --- i-adj 安い มีรูป 安くた ด้วยเหรอ?
いくら読んだって、わからない。 --- กริยา 読む มีรูปตะ คือ 読んだ ก็จริง แต่ประโยคนี้แปลว่าอะไรล่ะ?
雨が降ったって、行きます。 --- เหมือนข้างบน กริยา 降る มีรูปตะ เป็น 降った ก็จริงแต่ประโยคนี้จะแปลว่าอะไรล่ะ?
何だっていい。
いつだっていい。
ฯลฯ
ทั้งหมดที่ยกตัวอย่างมาข้างบน มันเป็นภาษาญี่ปุ่นแบบ "ภาษาพูด" ครับ ให้เปลี่ยน たって เป็น ても และเปลี่ยน だって เป็น でも ดู จะกลายเป็นไวยากรณ์ที่เรารู้จักดีในทันทีเลย
安くても、使わないもんは買わない。 --- มันคือ รูป て ของ i-adj ที่เอามาต่อด้วยคำช่วย も ให้เป็นสำนวนที่แปลว่า ต่อให้....ก็ตาม ประโยคนี้ คนที่เรียนมาย่อมแปลได้ ว่า ต่อให้ (ของสิ่งนั้น) ราคาถูกก็ตาม แต่ของที่ไม่ใช้ยังไงก็ไม่ซื้อ (ถูกยังไงก็ไม่ซื้อ)
いくら読んでも、わからない。 --- แปลได้แล้วเนอะ
雨が降っても、行きます。 --- แปลได้แล้วเนอะ
何でもいい。อะไรก็ได้
いつでもいい。เมื่อไรก็ได้
ประมาณนี้ครับ ผมงงเหมือนกันว่าทำไมเรื่องนี้ไม่เอาเข้าไปในการสอบวัดระดับ และไม่สอนให้คนต่างชาติ มัวแต่ให้คนต่างชาติเรียนไวยากรณ์และรูปประโยคแบบ "มาตรฐาน" เท่านั้นอยู่ได้ แต่นอกเหนือจากนั้นต้องไปขวนขวายเรียนรู้กันเอาเอง (แต่ผมโชคดี ไปเจอหนังสือที่สอนเกี่ยวกับ "ภาษาพูด" ที่ใช้จริง ก็เลยไม่งงกับสำนวนที่อยู่นอกห้องเรียนพวกนี้สักเท่าไหร่)