จากหนังสือ "ดูธรรมกายแท้ของพระพุทธเจ้า เข้าใจอนัตตาให้ตรงตามจริง"
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
19
หลักธรรมและคําอธิบายที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่พูดกันอยู่นี้
จะเข้าใจได้ชัด เมื่อรู้ความหมายของ “
เนยยัตถะ" พร้อมทั้ง “
นีตัตถะ” ซึ่งมาคู่กัน
ดังนั้นจึงเอาเรื่อง “
เนยยัตถะ” และ “
นีตัตถะ” มาทําความเข้าใจกันก่อน
คำความที่บอกความหมายไว้ชัดแล้ว
กับ คำความทีต้องชี้นัยไขความ
มีพุทธพจน์ตรัสไว้ (อง.ทุก. ๒๐/๒๗๐/๒๖) ว่าดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จําพวกนี้ กล่าวสู่ตถาคต คือ
คนผู้แสดงสุดตันตะที่เป็นเนยยัตถะ ว่าเป็นสุตตันตะที่ เป็นนิตัตถะ ๑
คนผู้แสดงสุตตันตะที่เป็นนิตัตถะ ว่าเป็น สุตตันตะที่เป็นเนยยัตถะ ๑
ภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จําพวก นี้แล กล่าวตู่ตถาคต
ภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จําพวกนี้ ไม่กล่าวสู่ตถาคต คือ
คนผู้แสดงสุดตันตะที่เป็นเนยยัตถะ ว่าเป็นสุตตันตะที่เป็น เนยยัตถะ ๑
คนผู้แสดงสุตตันตะที่เป็นที่ตัตถะ ว่าเป็น สุตตันตะที่เป็นนิตัตถะ ๑
ภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จําพวกนี้แล ไม่กล่าวตู่ตถาคต
สุตตันตะ คือคําตรัสสอน หรือข้อความที่ทรงแสดงธรรม
พูดในวงกว้างออกไป ก็คือ ข้อความ ถ้อยคํา หรือคําพูด
คํา ๒ คําที่ต้องทําความเข้าใจ คือ
๑. “
เนยยัตถะ” = มีอรรถอันพึงนําไป หมายถึงข้อความ หรือคําพูด
ที่ยังต้องบอกนัย ยังต้องไขความ ยังต้องชี้แสดง ความหมาย
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า มีความหมายในขอบเขตเงื่อนไข
20
๒. “
นีตัตถะ” = มีอรรถที่นําไปแล้ว หมายถึงข้อความ หรือคําพูด
ที่บอกนัย ที่ไขความ หรือชี้แสดงความหมายไว้ชัดอยู่แล้ว
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า มีความหมายแจ้งแล้ว
ยกตัวอย่างในภาษาไทยให้เข้าใจได้ง่าย เช่นคําว่า “
ทุกคน” ใน ๒ กรณีต่อไปนี้
กรณีที่ ๑: เขาได้ฟังมาว่า “
ทุกคน เกิดมาแล้ว ต้องตาย”
กรณีที่ ๒: ที่โรงงานอุตสาหกรรมนี้ ตอนบ่ายมีการประชุมคนงานทั้งหมด เนื่องจากมีงานเร่งด่วน แต่เครื่องจักรเสีย ซึ่งจะรีบซ่อมให้เสร็จในวันนี้
หัวหน้าสั่งว่า "พรุ่งนี้ ให้
ทุกคน มาถึงโรงงาน ๑ ชั่วโมงก่อนเวลาทํางานตามปกติ”
คําว่า “
ทุกคน” ในกรณีที่ ๑ เป็น
นีตัตถะ
มีความหมาย แสดงชัดแล้วว่าหมายถึง ทุกคนที่เป็นคน ตรงเต็มตาม ความหมายจริงๆ คือคนทุกคนในโลก ต้องตายทั้งนั้น
แต่คําว่า “
ทุกคน” ในกรณีที่ ๒ เป็น
เนยยัตถะ
มีความหมายที่ต้องบอกนัยไขความ คือ ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นคน หรือมนุษย์ทุกคนในโลก
แต่หมายถึง ทุกคนที่เป็นคนงานของ โรงงานอุตสาหกรรมนั้น หรือในขอบเขตความประสงค์ของผู้พูดคือหัวหน้า
รวมความว่า เมื่อเล่าเรียนธรรมหรืออ่านฟังอะไรๆ ต้องรู้จักแยกแยะเข้าใจเท่าทันถ้อยคําข้อความตามความหมาย
ที่เป็น
เนยยัตถะ และเป็น
นิตัตถะ อย่างที่พูดมานี้
ท่านยกตัวอย่างว่า
21
ภิกษุรูปหนึ่ง พบพุทธพจน์ที่ว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเอกบุคคล (เช่น อ.เอก. ๒๐/๑๕๑/๒๙)
ก็พูดว่า “เห็นไหม พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง เป็นหลักฐานยืนยันว่าบุคคล/อัตตามีจริง"
นี่คือภิกษุนั้นหลงผิด เอา
เนยยัตถะ เป็น
นีตัตถะ
ที่จริง บุคคลเป็นคําตรัสตามโลกโวหาร มิใช่หมายความว่ามีจริงโดยปรมัตถ์
เรื่องของหลักธรรม “
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” (ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา)
ก็พึงเข้าใจความหมายตามหลัก
เนยยัตถะ และ
นีตัตถะ นี้
แล้วก็จะบอกได้โดยไม่สับสนว่า “
สพฺเพ ธมฺมา" (ธรรมทั้งปวง)
ที่เป็นอนัตตานั้น คือแค่ไหน
ธรรมทั้งปวง (สพเพ ธมฺมา) นั้น
คือแค่ไหนเป็นอนัตตา
ทีนี้ก็มาดูว่า ธรรมทั้งปวง ใน “
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา”
ที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ซึ่งเป็น
เนยยัตถะ ก็มี เป็น
นีตัตถะ ก็มี
เริ่มด้วย
นีตัตถะ ซึ่งเป็นหลักแท้ที่แจ้งชัดเต็มความหมายก่อน
ก) “
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ที่เป็น
นีตัตถะ
“
สัพเพ ธัมมา อนตฺตา” ที่เป็น
นีตัตถะ ก็คือที่ตรัสในหลักธรรมนิยาม ๓
ซึ่งเรานิยมเรียกตามคําในสมัยอรรถกถา ว่า “ไตรลักษณ์” (ติลกฺขณ)
หลักนี้ตรัสตามความจริงแห่งธรรมดาของธรรมชาติ ตามที่มันเป็นของมัน
โดยมีความหมาย เต็มแท้ ไม่มีขอบเขตเงื่อนไข
ขอให้ดูพุทธพจน์ (อุปปาทสูตร, องฺ.ติก. ๒๐/๕๒๖/๓๖๘ ธรรมนิยามสูตร ก็เรียก) ว่า
22
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา
ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ..
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา
ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ..
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา
ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ..
แปลว่า:
๑. ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ กีตาม
ธาตุ (หลัก) นั้น กีดํารงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ว่า
สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง..
๒. ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ ก็ตาม
ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ดํารงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ว่า
สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้..
๓. ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ ก็ตาม
ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ดํารงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ว่า
ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นอัตตา..
นอกจากตรัสเป็นหลักใหญ่ครอบคลุมไว้ในคราวนี้แล้ว
ก็ได้ตรัสแสดงไตรลักษณ์นี้ไว้แบบเป็นกลางๆ ไม่มีขอบเขต เงื่อนไข ในโอกาสต่างๆ มากมาย จนเรียกว่าเป็นพหุลานุสาสนี
และพระสาวกทั้งหลายก็ยกขึ้นกล่าวอ้างอิงในที่ทั่วไป
23
ในกรณีที่ตรัสหรือยกขึ้นมากล่าวอ้างอิงทั่วไปโดยไม่มีขอบเขตเงื่อนไข ก็จะมีคําอธิบายบอกความหมายของ “ธรรม ทั้งปวง”
ใน “
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” แบบ
นีตัตถะ คือครอบคลุม ธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น รวมทั้งนิพพาน
ดังจะยกคําอธิบายไข ความของอรรถกถามากมายหลายแห่งมาให้ดูเป็นตัวอย่าง
* สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ สพฺเพ เตภูมกสงฺขารา อนิจฺจา.
สพเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สัพฺเพ จตุภูมกธมฺมา อนตฺตา. (สํ.อ. ๒/๓๔๖)
แปล: พุทธพจน์ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง หมายความว่า สังขารในภูมิ ๓ (กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ) ทั้งปวง ไม่เที่ยง
พุทธพจน์ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา หมายความว่า ธรรมในภูมิ ๔ (กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตรภูมิ
คือมรรค ผล นิพพาน) ทั้งปวง เป็นอนัตตา
* สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ นิพฺพานํ อนฺโตกริตฺวา วุตฺตํ (นิท.อ. ๒/๘)
แปล: ข้อความว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” นั้น พระพุทธองค์ตรัสรวมทั้งนิพพานด้วย
* สพฺเพ ธมฺมาติ นิพฺพานมฺปิ อนฺโตกริตฺวา วุตฺตา อนตฺตา อวสวตฺตนฏฺเฐน (นิท.อ. ๑/๒๑๙, ปฏิสํ.อ. ๑/๖๘)
แปล: ข้อความว่า “ธรรมทั้งปวง ตรัสไว้รวมแม้ทั้งนิพพานด้วย ชื่อว่าเป็นอนัตตา โดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอํานาจ
24
* นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ (ปฏิสํ.อ. ๒/๒๕๖๐)
แปล: ธรรม คือนิพพาน สูญ(ว่าง)จากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา
* สงฺขตาสงฺขตา ปน สพฺเพ ธมฺมา อตฺตสงขาตสุส ปุคคลสฺส อภาวโต อตฺตสุญฺญาติ. (ปฏิส.อ. ๒/๒๕๖๐)
แปล: ก็ธรรมทั้งหลาย แม้ทั้งปวง ทั้งสังขตะ (สังขาร) และอสังขตะ (นิพพาน) ล้วนสูญ(ว่าง)จากอัตตา เพราะไม่มีบุคคล กล่าวคือ อัตตา
* นิพฺพานํ อคฺคปรมตฺถวเสน สอุปาทิเสสอนุปาทิเสสวเสน จ ทฺวิธา กตฺวา วุตฺตํ.
ตานิ เทฺว อตฺตตฺตนิยสฺุญฺญโต สงฺขารสุญญโต จ สภาคานิ. (ปฏิสํ.อ. ๒/๒๘๖)
แปล: นิพพานตรัสแยกเป็น ๒ เป็นอัครสูญ กับปรมัตถสูญ และเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน กับอนุปาทิเสสนิพพาน
นิพพานทั้ง ๒ ประเภทเหล่านั้น เสมอภาคกัน โดยเป็นภาวะที่ว่างจากอัตตา และสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา และโดยเป็นภาวะที่ว่างจากสังขาร
ที่ยกมาดูกันนี้ เป็นตัวอย่างซึ่งแสดงหลักใหญ่กลางๆ อันมีความหมายครอบคลุม ไม่มีขอบเขตข้อแม้ข้อจํากัด ปราศจากเงื่อนไข
จากนั้นก็มาดู
เนยยัตถะ อันแสดงความหมายอย่างมี ข้อแม้ข้อจํากัด
ในขอบเขตของเงื่อนไข อันจะต้องบอกนัยไขความให้ด้วย
25
ข) “
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ที่เป็น
เนยยัตถะ
ในพระธรรมบท มีคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงการปฏิบัติ ธรรมของผู้เจริญวิปัสสนา
ซึ่งในอรรถกถาใช้คำเรียกว่าเป็น วิปัสสนาวิธี โดยผู้ปฏิบัติดํารงอยู่ในวิปัสสนาอันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์
ในเถรคาถา ก็เล่าว่า ครั้งหนึ่ง พระมหาสาวกอัญญา โกณฑัญญะ นึกถึงพวกมนุษย์ปุถุชน ที่เอาความคิดความดําริผิดๆ
ขุ่นมัววุ่นวาย มาย่ํายีทําร้ายจิตใจตัวเอง
ถ้าได้พิจารณามองเห็น ความจริงที่เป็นไปตามไตรลักษณ์ดังที่ตรัสไว้ในพระคาถาชุดนี้ ก็จะสงบคลายหายรุ่มร้อน
และชุ่มฉ่ําสบายเย็นใจ เหมือนมหาเมฆหลั่ง ฝนใหญ่ลงมาดับร้อนในคิมหันตฤดู
พระคาถาชุดนี้มีจํานวน ๓ มีความดังนี้ (ขุ.ธ. ๒๕/๓๐/๕๒, ขุ.เถร. ๒๖/๓๘๓/๓๖๖)
* สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทธิยา
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทธิยา
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทธิยา
แปล : เมื่อใดบุคคลมองเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งวิสุทธิ
เมื่อใดบุคคลมองเห็นด้วยปัญญาว่า
สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งวิสุทธิ
เมื่อใดบุคคลมองเห็นด้วยปัญญาว่า
ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งวิสุทธิ
26
คําอธิบายของพระคาถาชุดนี้ มีทั้งในอรรถกถาแห่งธรรมบท และในอรรถกถาแห่งเถรคาถา
สําหรับ ๒ คาถาแรกที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ คําว่า "
สังขารทั้งปวง” ท่านว่าได้แก่เบญจขันธ์
ซึ่งเป็น ความหมายสามัญอย่างที่ท่านแสดงกันทั่วไปตามปกติ ก็ผ่านไป
ทีนี้มาถึงคาถาที่ ๓ ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
คำว่า “
ธรรมทั้งปวง” ท่านว่า
ทรงประสงค์เอา
เบญจขันธ์เท่านั้น
คือมีความหมายอยู่ในขอบเขตเท่ากับ “
สังขารทั้งปวง” ใน ๒ คาถา ก่อน
ซึ่งให้สังเกตได้ว่าไม่เป็นความหมายสามัญตามปกติ ทั้งได้ความตรงกัน
ทั้งในอรรถกถาแห่งธรรมบท และในอรรถกถา แห่งเถรคาถา
แต่บอกรายละเอียดต่างกันบ้าง
ดูที่อรรถกถาแห่งธรรมบทก่อน (ธ.อ.๗/๖๒) ดังนี้
ตตฺถ สพฺเพ ธมฺมาติ ปญฺจกฺขนฺธาเอว อธิปฺเปตา
แปล: คําว่า “ธรรมทั้งปวง” ในคาถานั้น ทรงประสงค์เอาขันธ์ ๕ เท่านั้น
ที่ท่านว่า “ทรงประสงค์เอาขันธ์ ๕ เท่านั้น” ชวนให้ถาม หรือสงสัยว่า
ที่ทรงประสงค์เอาแค่นั้นน่ะ แล้วที่นั่นมีอยู่จริง ทั้งหมดเท่าไร
และเพราะเหตุใดจึงทรงประสงค์เอาเท่านั้น (ไม่เอาทั้งหมด)
ก็ไปดูในอรรถกถาแห่งเถรคาถา ซึ่งเหมือนกับว่าท่านจะกันสงสัย
จึงได้อธิบายความไว้ตลอดสาย (เถร.อ. ๒/๒๘๓) ดังนี้
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพฺเพปิ จตุภูมิกา ธมมา อนตฺตา.
อิธ ปน เตภูมิกธมฺมาว คเหตพฺพา.
สัพเพ ธัมมา อนัตตา - ทั้งปวง เฉพาะขันธ์ ๕ .. ก็มี / ทั้งปวง รวมนิพพาน .. ก็มี
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
19
หลักธรรมและคําอธิบายที่เกี่ยวข้องในเรื่องที่พูดกันอยู่นี้
จะเข้าใจได้ชัด เมื่อรู้ความหมายของ “เนยยัตถะ" พร้อมทั้ง “นีตัตถะ” ซึ่งมาคู่กัน
ดังนั้นจึงเอาเรื่อง “เนยยัตถะ” และ “นีตัตถะ” มาทําความเข้าใจกันก่อน
คำความที่บอกความหมายไว้ชัดแล้ว
กับ คำความทีต้องชี้นัยไขความ
มีพุทธพจน์ตรัสไว้ (อง.ทุก. ๒๐/๒๗๐/๒๖) ว่าดังนี้
ภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จําพวกนี้ กล่าวสู่ตถาคต คือ
คนผู้แสดงสุดตันตะที่เป็นเนยยัตถะ ว่าเป็นสุตตันตะที่ เป็นนิตัตถะ ๑
คนผู้แสดงสุตตันตะที่เป็นนิตัตถะ ว่าเป็น สุตตันตะที่เป็นเนยยัตถะ ๑
ภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จําพวก นี้แล กล่าวตู่ตถาคต
ภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จําพวกนี้ ไม่กล่าวสู่ตถาคต คือ
คนผู้แสดงสุดตันตะที่เป็นเนยยัตถะ ว่าเป็นสุตตันตะที่เป็น เนยยัตถะ ๑
คนผู้แสดงสุตตันตะที่เป็นที่ตัตถะ ว่าเป็น สุตตันตะที่เป็นนิตัตถะ ๑
ภิกษุทั้งหลาย คน ๒ จําพวกนี้แล ไม่กล่าวตู่ตถาคต
สุตตันตะ คือคําตรัสสอน หรือข้อความที่ทรงแสดงธรรม
พูดในวงกว้างออกไป ก็คือ ข้อความ ถ้อยคํา หรือคําพูด
คํา ๒ คําที่ต้องทําความเข้าใจ คือ
๑. “เนยยัตถะ” = มีอรรถอันพึงนําไป หมายถึงข้อความ หรือคําพูด
ที่ยังต้องบอกนัย ยังต้องไขความ ยังต้องชี้แสดง ความหมาย
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า มีความหมายในขอบเขตเงื่อนไข
20
๒. “นีตัตถะ” = มีอรรถที่นําไปแล้ว หมายถึงข้อความ หรือคําพูด
ที่บอกนัย ที่ไขความ หรือชี้แสดงความหมายไว้ชัดอยู่แล้ว
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า มีความหมายแจ้งแล้ว
ยกตัวอย่างในภาษาไทยให้เข้าใจได้ง่าย เช่นคําว่า “ทุกคน” ใน ๒ กรณีต่อไปนี้
กรณีที่ ๑: เขาได้ฟังมาว่า “ทุกคน เกิดมาแล้ว ต้องตาย”
กรณีที่ ๒: ที่โรงงานอุตสาหกรรมนี้ ตอนบ่ายมีการประชุมคนงานทั้งหมด เนื่องจากมีงานเร่งด่วน แต่เครื่องจักรเสีย ซึ่งจะรีบซ่อมให้เสร็จในวันนี้
หัวหน้าสั่งว่า "พรุ่งนี้ ให้ ทุกคน มาถึงโรงงาน ๑ ชั่วโมงก่อนเวลาทํางานตามปกติ”
คําว่า “ทุกคน” ในกรณีที่ ๑ เป็น นีตัตถะ
มีความหมาย แสดงชัดแล้วว่าหมายถึง ทุกคนที่เป็นคน ตรงเต็มตาม ความหมายจริงๆ คือคนทุกคนในโลก ต้องตายทั้งนั้น
แต่คําว่า “ทุกคน” ในกรณีที่ ๒ เป็น เนยยัตถะ
มีความหมายที่ต้องบอกนัยไขความ คือ ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นคน หรือมนุษย์ทุกคนในโลก
แต่หมายถึง ทุกคนที่เป็นคนงานของ โรงงานอุตสาหกรรมนั้น หรือในขอบเขตความประสงค์ของผู้พูดคือหัวหน้า
รวมความว่า เมื่อเล่าเรียนธรรมหรืออ่านฟังอะไรๆ ต้องรู้จักแยกแยะเข้าใจเท่าทันถ้อยคําข้อความตามความหมาย
ที่เป็นเนยยัตถะ และเป็นนิตัตถะ อย่างที่พูดมานี้
ท่านยกตัวอย่างว่า
21
ภิกษุรูปหนึ่ง พบพุทธพจน์ที่ว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเอกบุคคล (เช่น อ.เอก. ๒๐/๑๕๑/๒๙)
ก็พูดว่า “เห็นไหม พระพุทธเจ้าตรัสไว้เอง เป็นหลักฐานยืนยันว่าบุคคล/อัตตามีจริง"
นี่คือภิกษุนั้นหลงผิด เอาเนยยัตถะ เป็นนีตัตถะ
ที่จริง บุคคลเป็นคําตรัสตามโลกโวหาร มิใช่หมายความว่ามีจริงโดยปรมัตถ์
เรื่องของหลักธรรม “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” (ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา)
ก็พึงเข้าใจความหมายตามหลักเนยยัตถะ และนีตัตถะ นี้
แล้วก็จะบอกได้โดยไม่สับสนว่า “สพฺเพ ธมฺมา" (ธรรมทั้งปวง)
ที่เป็นอนัตตานั้น คือแค่ไหน
ธรรมทั้งปวง (สพเพ ธมฺมา) นั้น
คือแค่ไหนเป็นอนัตตา
ทีนี้ก็มาดูว่า ธรรมทั้งปวง ใน “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา”
ที่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ซึ่งเป็น เนยยัตถะ ก็มี เป็น นีตัตถะ ก็มี
เริ่มด้วย นีตัตถะ ซึ่งเป็นหลักแท้ที่แจ้งชัดเต็มความหมายก่อน
ก) “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ที่เป็น นีตัตถะ
“สัพเพ ธัมมา อนตฺตา” ที่เป็น นีตัตถะ ก็คือที่ตรัสในหลักธรรมนิยาม ๓
ซึ่งเรานิยมเรียกตามคําในสมัยอรรถกถา ว่า “ไตรลักษณ์” (ติลกฺขณ)
หลักนี้ตรัสตามความจริงแห่งธรรมดาของธรรมชาติ ตามที่มันเป็นของมัน
โดยมีความหมาย เต็มแท้ ไม่มีขอบเขตเงื่อนไข
ขอให้ดูพุทธพจน์ (อุปปาทสูตร, องฺ.ติก. ๒๐/๕๒๖/๓๖๘ ธรรมนิยามสูตร ก็เรียก) ว่า
22
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา
ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ..
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา
ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ..
อุปฺปาทา วา ภิกฺขเว ตถาคตานํ อนุปฺปาทา วา
ตถาคตานํ ฐิตาว สา ธาตุ ธมฺมฏฺฐิตตา ธมฺมนิยามตา
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ..
แปลว่า:
๑. ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ กีตาม
ธาตุ (หลัก) นั้น กีดํารงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ว่า
สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง..
๒. ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ ก็ตาม
ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ดํารงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ว่า
สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้..
๓. ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตทั้งหลาย จะอุบัติหรือไม่ ก็ตาม
ธาตุ (หลัก) นั้น ก็ดํารงอยู่ เป็นธรรมฐิติ เป็นธรรมนิยาม ว่า
ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นอัตตา..
นอกจากตรัสเป็นหลักใหญ่ครอบคลุมไว้ในคราวนี้แล้ว
ก็ได้ตรัสแสดงไตรลักษณ์นี้ไว้แบบเป็นกลางๆ ไม่มีขอบเขต เงื่อนไข ในโอกาสต่างๆ มากมาย จนเรียกว่าเป็นพหุลานุสาสนี
และพระสาวกทั้งหลายก็ยกขึ้นกล่าวอ้างอิงในที่ทั่วไป
23
ในกรณีที่ตรัสหรือยกขึ้นมากล่าวอ้างอิงทั่วไปโดยไม่มีขอบเขตเงื่อนไข ก็จะมีคําอธิบายบอกความหมายของ “ธรรม ทั้งปวง”
ใน “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” แบบนีตัตถะ คือครอบคลุม ธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น รวมทั้งนิพพาน
ดังจะยกคําอธิบายไข ความของอรรถกถามากมายหลายแห่งมาให้ดูเป็นตัวอย่าง
* สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ สพฺเพ เตภูมกสงฺขารา อนิจฺจา.
สพเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สัพฺเพ จตุภูมกธมฺมา อนตฺตา. (สํ.อ. ๒/๓๔๖)
แปล: พุทธพจน์ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง หมายความว่า สังขารในภูมิ ๓ (กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ) ทั้งปวง ไม่เที่ยง
พุทธพจน์ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา หมายความว่า ธรรมในภูมิ ๔ (กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และโลกุตรภูมิ
คือมรรค ผล นิพพาน) ทั้งปวง เป็นอนัตตา
* สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ นิพฺพานํ อนฺโตกริตฺวา วุตฺตํ (นิท.อ. ๒/๘)
แปล: ข้อความว่า “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” นั้น พระพุทธองค์ตรัสรวมทั้งนิพพานด้วย
* สพฺเพ ธมฺมาติ นิพฺพานมฺปิ อนฺโตกริตฺวา วุตฺตา อนตฺตา อวสวตฺตนฏฺเฐน (นิท.อ. ๑/๒๑๙, ปฏิสํ.อ. ๑/๖๘)
แปล: ข้อความว่า “ธรรมทั้งปวง ตรัสไว้รวมแม้ทั้งนิพพานด้วย ชื่อว่าเป็นอนัตตา โดยความหมายว่าไม่เป็นไปในอํานาจ
24
* นิพฺพานธมฺโม อตฺตสฺเสว อภาวโต อตฺตสุญฺโญ (ปฏิสํ.อ. ๒/๒๕๖๐)
แปล: ธรรม คือนิพพาน สูญ(ว่าง)จากอัตตา เพราะไม่มีอัตตา
* สงฺขตาสงฺขตา ปน สพฺเพ ธมฺมา อตฺตสงขาตสุส ปุคคลสฺส อภาวโต อตฺตสุญฺญาติ. (ปฏิส.อ. ๒/๒๕๖๐)
แปล: ก็ธรรมทั้งหลาย แม้ทั้งปวง ทั้งสังขตะ (สังขาร) และอสังขตะ (นิพพาน) ล้วนสูญ(ว่าง)จากอัตตา เพราะไม่มีบุคคล กล่าวคือ อัตตา
* นิพฺพานํ อคฺคปรมตฺถวเสน สอุปาทิเสสอนุปาทิเสสวเสน จ ทฺวิธา กตฺวา วุตฺตํ.
ตานิ เทฺว อตฺตตฺตนิยสฺุญฺญโต สงฺขารสุญญโต จ สภาคานิ. (ปฏิสํ.อ. ๒/๒๘๖)
แปล: นิพพานตรัสแยกเป็น ๒ เป็นอัครสูญ กับปรมัตถสูญ และเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน กับอนุปาทิเสสนิพพาน
นิพพานทั้ง ๒ ประเภทเหล่านั้น เสมอภาคกัน โดยเป็นภาวะที่ว่างจากอัตตา และสิ่งที่เนื่องด้วยอัตตา และโดยเป็นภาวะที่ว่างจากสังขาร
ที่ยกมาดูกันนี้ เป็นตัวอย่างซึ่งแสดงหลักใหญ่กลางๆ อันมีความหมายครอบคลุม ไม่มีขอบเขตข้อแม้ข้อจํากัด ปราศจากเงื่อนไข
จากนั้นก็มาดู เนยยัตถะ อันแสดงความหมายอย่างมี ข้อแม้ข้อจํากัด
ในขอบเขตของเงื่อนไข อันจะต้องบอกนัยไขความให้ด้วย
25
ข) “สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” ที่เป็น เนยยัตถะ
ในพระธรรมบท มีคาถาที่พระพุทธเจ้าตรัสแสดงการปฏิบัติ ธรรมของผู้เจริญวิปัสสนา
ซึ่งในอรรถกถาใช้คำเรียกว่าเป็น วิปัสสนาวิธี โดยผู้ปฏิบัติดํารงอยู่ในวิปัสสนาอันมีไตรลักษณ์เป็นอารมณ์
ในเถรคาถา ก็เล่าว่า ครั้งหนึ่ง พระมหาสาวกอัญญา โกณฑัญญะ นึกถึงพวกมนุษย์ปุถุชน ที่เอาความคิดความดําริผิดๆ
ขุ่นมัววุ่นวาย มาย่ํายีทําร้ายจิตใจตัวเอง
ถ้าได้พิจารณามองเห็น ความจริงที่เป็นไปตามไตรลักษณ์ดังที่ตรัสไว้ในพระคาถาชุดนี้ ก็จะสงบคลายหายรุ่มร้อน
และชุ่มฉ่ําสบายเย็นใจ เหมือนมหาเมฆหลั่ง ฝนใหญ่ลงมาดับร้อนในคิมหันตฤดู
พระคาถาชุดนี้มีจํานวน ๓ มีความดังนี้ (ขุ.ธ. ๒๕/๓๐/๕๒, ขุ.เถร. ๒๖/๓๘๓/๓๖๖)
* สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทธิยา
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทธิยา
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทธิยา
แปล : เมื่อใดบุคคลมองเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งวิสุทธิ
เมื่อใดบุคคลมองเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์
เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งวิสุทธิ
เมื่อใดบุคคลมองเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
เมื่อนั้นย่อมหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งวิสุทธิ
26
คําอธิบายของพระคาถาชุดนี้ มีทั้งในอรรถกถาแห่งธรรมบท และในอรรถกถาแห่งเถรคาถา
สําหรับ ๒ คาถาแรกที่ว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง
สังขารทั้งปวง เป็นทุกข์ คําว่า "สังขารทั้งปวง” ท่านว่าได้แก่เบญจขันธ์
ซึ่งเป็น ความหมายสามัญอย่างที่ท่านแสดงกันทั่วไปตามปกติ ก็ผ่านไป
ทีนี้มาถึงคาถาที่ ๓ ว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
คำว่า “ธรรมทั้งปวง” ท่านว่าทรงประสงค์เอาเบญจขันธ์เท่านั้น
คือมีความหมายอยู่ในขอบเขตเท่ากับ “สังขารทั้งปวง” ใน ๒ คาถา ก่อน
ซึ่งให้สังเกตได้ว่าไม่เป็นความหมายสามัญตามปกติ ทั้งได้ความตรงกัน
ทั้งในอรรถกถาแห่งธรรมบท และในอรรถกถา แห่งเถรคาถา
แต่บอกรายละเอียดต่างกันบ้าง
ดูที่อรรถกถาแห่งธรรมบทก่อน (ธ.อ.๗/๖๒) ดังนี้
ตตฺถ สพฺเพ ธมฺมาติ ปญฺจกฺขนฺธาเอว อธิปฺเปตา
แปล: คําว่า “ธรรมทั้งปวง” ในคาถานั้น ทรงประสงค์เอาขันธ์ ๕ เท่านั้น
ที่ท่านว่า “ทรงประสงค์เอาขันธ์ ๕ เท่านั้น” ชวนให้ถาม หรือสงสัยว่า
ที่ทรงประสงค์เอาแค่นั้นน่ะ แล้วที่นั่นมีอยู่จริง ทั้งหมดเท่าไร
และเพราะเหตุใดจึงทรงประสงค์เอาเท่านั้น (ไม่เอาทั้งหมด)
ก็ไปดูในอรรถกถาแห่งเถรคาถา ซึ่งเหมือนกับว่าท่านจะกันสงสัย
จึงได้อธิบายความไว้ตลอดสาย (เถร.อ. ๒/๒๘๓) ดังนี้
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ สพฺเพปิ จตุภูมิกา ธมมา อนตฺตา.
อิธ ปน เตภูมิกธมฺมาว คเหตพฺพา.