ธรรมทั้งปวง อนัตตา...อย่างไร

.^ยกมาบางส่วน:

.....ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรมพึงต้องกำหนดพิจารณาถึงเหตุปัจจัยธรรมทั้งปวง  เป็น อนิจฺจํ  ทุกฺขํ  อนตฺตา  ให้ดี  มิฉะนั้นจะกลายเป็นอุจเฉททิฏฐิ  หรือ  อนัตตสัญญาตกขอบไป  และ
จงสำเหนียกพระพุทธดำรัสของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ได้ประทานหลักในการพิจารณาสภาวะอันเป็นของธรรมใด  ที่เป็น  อนิจฺจํ  ทุกฺขํ  และ  อนตฺตา ว่า
“ยทนิจฺจํ   ตํ   ทุกฺขํ   ยํ   ทุกฺขํ   ตทนตฺตา.
(พระไตรปิฎกบาลีฉบับสยามรัฐ  เล่มที่ ๑๗,  สังยุตตนิกาย  ขันธวารวรรค,  ข้อ ๙๑, หน้า๕๖. )
แปลความว่า   
“ สิ่งใดที่ไม่เที่ยง  สิ่งนั้นเป็นทุกข์  สิ่งใดเป็นทุกข์  สิ่งนั้นเป็นอนัตตา.”
อนึ่ง  สำหรับผู้สนใจศึกษาสัมมาปฏิบัติ   พึงพิจารณาอรรถกถาอธิบายของพระอรรถกถาจารย์ว่า  อนิจจฺจตา  ทุกฺขตา  อนตฺตตา  นั้นเป็นเหมือนโซ่  ๓  ห่วงคล้องติดกัน คือ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันหมด  เมื่อเห็นลักษณะหนึ่ง  ก็เป็นอันเห็นอีก  ๒ ลักษณะที่เหลือ  เพราะฉะนั้นลักษณะ  ๓  นี้จึงชื่อว่า  “ไตรลักษณ์”  คือ เป็นลักษณะทั้ง ๓  ที่ไม่แยกเป็นอิสระจากกัน   ดังมีอรรถาธิบายว่า
“อนตฺตสญฺญา  สณฺฐาตีติ  อสารกโต  อวสวตฺตนโต   ปรโต  ริตฺตโต  สุญฺญโต  จ  “สพฺเพ ธมฺมา  อนตฺตาติ  เอวํ  ปวตฺตา  อนตฺตานุปสฺสนาสงขาตา  อนตฺตสญฺญา   จิตฺเต  สณฺฐาติ,  อติทฬฺหํ   ปติฏฐาติ.  อนิจฺจลกฺขเณ   หิ  ทิฏเฐ อนตฺตลกขณํ   ทิฏฐเมว    โหติ.   ตีสุ  หิ   ลกฺขเณสุ  เอกสฺมึ  ทิฏเฐ   อิตรทฺวยํ  ทิฏฐเมว  โหติ.  เตน  วุตฺตํ  “อนิจฺจสญฺญิโน  หิ  เมฆิย   อนตฺตสญฺญา  สณฺฐาตีติ  อนตฺตลกฺขเณ   ทิฏเฐ  อสฺมีติ  อุปฺปชฺชนกมาโน  สุปฺปชโหว   โหตีติ  อาห  “อนตฺต สญฺญี  อสูมิมานสมุคฺฆาตํ   ปาปุณาตีติ.”
(พระธรรมปาลเถระ,  อรรถกถาขุททกนิกาย  อุทาน : โรงพิมพ์วิญญาณ, พ.ศ.๒๕๓๓, หน้า ๒๕๑.)

แปลความว่า
 “คำว่า   “อนัตตสัญญาย่อมดำรงอยู่”  ความว่า  อนัตตสัญญา  กล่าวคือ   อนัตตานุปัสสนาที่เป็นไปอย่างนี้ว่า   “ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา” เพราะไม่มีแก่นสาร  เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะเป็นอื่น  เพราะว่าง  และเพราะสูญ  ย่อมดำรงอยู่  คือย่อมตั้งมั่นคงยิ่งในจิต.  จริงอยู่   เมื่อเห็นอนิจจลักษณะ   ก็เป็นอันเห็นอนัตตลักษณะเหมือนกัน.   ก็บรรดาลักษณะทั้ง ๓   เมื่อเห็นลักษณะ  ๑  ก็เป็นอันเห็นลักษณะ  ๒  อย่างนอกนี้เหมือนกัน.   

เหตุนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
“ดูก่อนเมฆิยะ  ก็อนัตตสัญญาย่อมดำรงอยู่แก่ผู้ได้อนิจจสัญญา  เมื่อเห็นอนัตตลักษณะ มานะที่เกิดขึ้นว่า  “เรามี” ก็ชื่อว่า ละได้ด้วยนั่นเอง   เหตุนั้นพระองค์จึงตรัสว่า “ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นอนัตตา   ย่อมถึงการถอนอัสมิมานะเสียได้.” 
เพราะฉะนั้น ตามที่มีผู้หลงเข้าใจผิดว่า ธรรมที่เที่ยง  เป็นสุข  คือ พระนิพพานธาตุโดยปรมัตถ์ซึ่งเป็นวิสังขาร หรือ อสังขตธรรม  ก็เป็นอนัตตาได้นั้นไม่ถูกต้อง   เพราะขัดกับสภาวะที่เป็นจริงของธรรมชาติสองฝ่าย  คือ  สังขาร  (สังขตธรรม)  กับวิสังขาร  (อสังขตธรรม)  
.....
ที่มา>>>
 http://www.prakan2.com/km/?name=research&file=readresearch&id=86
.

>>>ตามที่มีผู้หลงเข้าใจผิดว่า ธรรมที่เที่ยง  เป็นสุข  คือ พระนิพพานธาตุโดยปรมัตถ์ซึ่งเป็นวิสังขาร หรือ อสังขตธรรม  ก็เป็นอนัตตาได้นั้นไม่ถูกต้อง   เพราะขัดกับสภาวะที่เป็นจริงของธรรมชาติสองฝ่าย  คือ  สังขาร  (สังขตธรรม)  กับวิสังขาร  (อสังขตธรรม)  
.

ในที่นี้...ไม่ทราบว่ามีใครไม่เห็นด้วย เพราะอะไร ?
 แล้วอย่างไร ?

.
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 77
ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนของใคร (ธรรมบัญญัติทั้งหลายทั้งปวง).
ซึ่งจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะความจางคลาย เพราะความดับ เพราะความสละทิ้ง เพราะความสลัดคืน ซึ่งความเคยชิน... (อนุสัย)
เพราะไม่ได้ยึดถือด้วยอุปาทานขันธ์เหล่านั้น.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่