สรุปกรณี สส.พรรคเพื่อไทยเสนอร่าง พ.ร.บ.เพื่อสกัดการรัฐประหาร ก่อนจะขอถอนร่างด้วยตัวเอง
https://thematter.co/brief/235638/235638
ที่ผ่านมาเว็บไซต์รัฐสภาฯ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ ‘
ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม’ หรือ ‘
ร่าง พ.ร.บ.สกัดการรัฐประหาร’ ซึ่งกำหนดรับฟังความเห็นตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2567
ถึง 1 มกราคม 2568
ผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวคือ
ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ที่แม้เมื่อวานนี้ (10 ธันวาคม 2567)
ประยุทธ์จะระบุว่า จะขอถอนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อนำกลับไปปรับปรุงแก้ไขใหม่ แต่เหตุการณ์นี้ยังคงถูกจับตามอง
หลักการสำคัญของร่าง พ.ร.บ.นี้ คือให้นายกฯ เป็นประธานสภากระทรวงกลาโหม แทนรัฐมนตรีว่าการ (รมว.) กระทรวงกลาโหม และห้ามนำกำลังทหาร ทำการยึดอำนาจหรือรัฐประหาร อีกทั้งในการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ต้องเสนอให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดย ครม.มีอำนาจที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย กับรายชื่อนายทหารที่เสนอมา และสั่งให้ทบทวนการเสนอรายชื่อใหม่ได้
ไม่นานหลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็น หลายคนก็สงสัยว่าร่าง พ.ร.บ.นี้เป็นความพยายามของพรรคเพื่อไทย เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจทางการเมืองหรือไม่ เนื่องจากเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.นี้ อาจจำกัดอำนาจของกระทรวงกลาโหม พร้อมให้ ครม.เป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับกองทัพหลายประการ จนบางฝ่ายมองว่า อาจกลายเป็นการ ‘
แทรกแซงกองทัพ’ ในที่สุด
นอกจากนี้ หลายฝ่ายก็ออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นี้ โดย
อนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ส่วนภายในพรรคเพื่อไทยเอง ก็มีหลายคนที่ไม่เห็นด้วย
ขณะที่
ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้ระบุว่าร่าง พ.ร.บ.นี้ ไม่ใช่มติของพรรคเพื่อไทย และต้องได้รับการรับรองจากที่ประชุมพรรคฯ ที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (12 ธันวาคม) ก่อนจะถูกเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาฯ
หลังจากมีกระแสคัดค้านของต่อเนื่อง เมื่อวานนี้ (10 ธันวาคม) ประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ ได้กล่าวว่าจะขอถอนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ในการประชุมพรรคเพื่อไทยในวันพรุ่งนี้ เพื่อนำกลับไปปรับปรุงแก้ไขใหม่ โดยกล่าวว่า “
เรามีเจตนาอยากให้พรรคการเมืองได้มีบทบาทในการร่วมสกัดรัฐประหาร แต่เมื่อพรรคการเมืองไม่เห็นด้วย ก็ต้องนำมาทบทวนใหม่”
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การเปิดรับฟังความคิดเห็นยังคงดำเนินต่อไป และหลายคนยังคงตั้งคำถามว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ถือเป็นการแทรกแซงกองทัพหรือไม่
อ้างอิงจาก
parliament.go.th
thansettakij.com
bangkokbiznews.com
3 เดือนรัฐบาล “อิ๊งค์” ทำได้จริง?
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_814616/
นอกจากการส่ง “สัญญาณถอย” อย่างรวดเร็วของคนเพื่อไทย ในจังหวะนี้ กับการไปแตะ “อำนาจ”ของ “กองทัพ” ปมการเสนอ พรบ.ระเบียบกระทรวงกลาโหม ที่เสนอโดย ส.ส.เพื่อไทย
ทั้ง ส.ส.หัวเขียง “
ประยุทธ” และ “
นพ.เชิดชัย” ที่ทำเอาทุกฝ่ายว้าวุ่นโดยเฉพาะปีก “
อนุรักษนิยม”รวมถึง ผู้คนในพรรคร่วมรัฐบาลเก่าสมัย “
ลุงตู่” ที่ขยับออกมาคัดค้านทั้ง “
อ.วิษณุ” หรือพรรคร่วมอย่างภูมิใจไทยที่ “
เสี่ยหนู-อนุทิน” ออกหน้าชัดเจนเช่นเดียวกับ “
พรรครวมไทยสร้างชาติ” (รทสช.) ผู้คนยังจับตาไปที่ “
อีเว้นท์ใหญ่”การแถลงผลงานรัฐบาลอิ๊งค์ ในรอบ 90 วันหรือ 3 เดือน ในวันพรุ่งนี้ (12ธ.ค.)ที่ว่ากันว่าเป็นจะมีการจัดใหญ่ไฟกะพริบแบบที่มีการเตรียมให้คนร่วมงานเกือบ500คนมีทั้ง บรรดารัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผบ.เหล่าทัพ หัวหน้ารัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรมหาชน และสื่อมวลชนเข้าร่วม
โดยการแถลงผลงานจะเป็นช่วง 3 เดือน ตั้งแต่ “
นายกอิ๊งค์” รับตำแหน่งในปี 2567รวมถึงกรอบการทำงานของรัฐบาลและโครงการที่เป็น “
เรือธง” ของรัฐบาลที่จะทำและดำเนินการต่อในปี 2568 ทั้ง การเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่น รวมถึงเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเร่งแก้ปัญหาอาชญากรรม แก้ปัญหายาเสพติด และนโยบายการแจกเงินดิจิทัล เฟส 2-3 จำนวน 10,000 บาท
การปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบการลดราคาพลังงาน และสาธารณูปโภค โดย “
นายกฯอิ๊งค์”ที่คงไม่ไปตอบกระทู้ที่สภาวันพรุ่งนี้ และบอกว่าหลังปีใหม่ จะลงไปดูน้ำท่วมภาคใต้ ยังได้มีการโพสต์ทวิตX เป็นโปสเตอร์ระบุว่า 2568 โอกาสไทย ทำได้จริง 2025 Empowering Thais: A Real Possibilityจากผลงานที่เป็นรูปธรรม สู่อนาคตที่ทำได้จริง วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคมนี้ เวลา 10.00 น. ถ่ายทอดสดที่ช่อง NBT2HD และ Facebook Live: Live NBT2HD
กระนั้นแม้โดยรวม “รัฐบาลอิ๊งค์” ที่เข้ามาเพียง3 เดือน หลังรับไม้ต่อจาก “
รัฐบาลเศรษฐา”ตอนแรกจะถูกมองว่ายังไม่มีผลงานเป็นชิ้นอัน แต่ก็มีให้ข้อมูลออกมาจากรัฐบาล ว่ารัฐบาลอิ๊งค์ที่เริ่มประชุม ครม.ทางการครั้งแรก17ก.ย.67 หลังการแถลงนโยบาย รวมมีการประชุมมาแล้ว 12 ครั้งเป็นการประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่1ครั้ง มีการผลักดันโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมามากมายไปแล้ว 3แสนล้านบาท ทั้งแจกเงินหมื่นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการทั้ง การขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีแวต) ให้จัดเก็บในอัตรา 7% ต่อไปอีก 1 ปีอนุมัติงบกลาง ยกระดับ 30 บาท รักษาทุกโรค มาตรการพักชำระหนี้ ให้กับลูกหนี้รายย่อย ลดค่าไฟ อุดหนุนงบใช้รถไฟฟ้า หรือ มาตรการ EV3 อนุมัติร่าง พรบ.การขนส่งทางราง พ.ศ. …
นอกจากนี้รัฐบาล ยังมีการอนุมัติโครงการเร่งด่วนเชียงใหม่เชียงราย ฟื้นฟูน้ำท่วม ,รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ,เพิ่มเงินเดือนพนักงานราชการ ตั้งกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 พิจารณาการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 400 บาท ทั่วประเทศให้ทันวันที่ 1 มกราคม 2568 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน ,แจกเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาท
รวมถึง เมกะโปรเจกต์ มอเตอร์เวย์ หมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานครตอนทางยกระดับบางขุนเทียน – บางบัวทอง ของกรมทางหลวงกระทรวงคมนาคม (M9)รวมระยะทาง 35 กม.วงเงินลงทุน 47,521 ล้านบาท,-ร่าง พรบ.กองทุนการออมแห่งชาติ(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เปิดทางให้ดำเนินนโยบาย “
หวยเกษียณ” ผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ และร่าง พรบ.บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม
เรียกว่าการแถลงผลงานพรุ่งนี้ถูกระบุว่าจะมีการ “
ปล่อยของ” ออกมาแบบชุดใหญ่ไฟกะพริบทั้งที่ทำแล้วทำอยู่กำลังทำและมีแพลนจะทำ จำนวนมาก กระนั้นเมื่อไปดู โผลสวนดุสิตที่สำรวจผลงานรัฐบาลที่ประชาชนอยากได้ พบว่าสิ่งที่ประชาชนอยากได้มากที่สุด ร้อยละ 59.95 คือมาตรการแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ร้อยละ 58.03
คือ มาตรการช่วยสนับสนุนค่าน้ำ ค่าไฟค่าพลังงานต่าง ๆ และร้อยละ 53.17 คือ มาตรการลดค่าครองชีพ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนในปี 2568 ส่วนปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องแก้ก่อนปีใหม่ ร้อยละ 66.48 ระบุ ปัญหาค่าครองชีพ ร้อยละ 57.51 ปัญหายาเสพติด และร้อยละ 56.46 ปัญหาน้ำท่วม และภัยแล้ง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_814616/
สมาคมกุ้งไทยของบรัฐ 2 พันล้าน สางปัญหาทั้งระบบ พร้อมชงเป็นวาระแห่งชาติ
https://www.khaosod.co.th/economics/news_9544050
สมาคมกุ้งของบ 2 พันล้านบาท แก้ปัญหาอุตสาหกรรมทั้งระบบ ชงเป็นวาระแห่งชาติ
นาย
เอกพจน์ ยอดพินิจ นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์กุ้งไทย ปี 2567 ผลผลิตกุ้งเลี้ยงประมาณ 270,000 ตัน ลดลง 4%จากปี 2566 ที่มีผลิตได้ 280,000 ตัน เนื่องจากปัญหาโรคระบาด สภาพอากาศแปรปรวน กระทบคุณภาพลูกกุ้ง ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนชะลอการลงกุ้ง ส่วนผลผลิตกุ้งทั่วโลกคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.04 ล้านตัน ลดลง 4% โดยผลผลิตจากประเทศผู้ผลิตหลักทั้งจีน เอกวาดอร์ อินเดีย เวียดนาม ลดลงทุกประเทศ
ส่วนการส่งออกกุ้งเดือน ม.ค. – ต.ค. 2567 อยู่ที่ปริมาณ 109,048 ตัน ลดลง 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณ 109,663 ตัน มูลค่า 33,954 ล้านบาท ลดลง 6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่า 36,284 ล้านบาท
“
จากการกลับมาฟื้นตัวของการท่องเที่ยว โดยเฉพาะปีนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติ กลับมาเที่ยวไทยจำนวนมากส่งผลให้การบริโภคกุ้งในประเทศเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 30% โดยกุ้งขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ก็ราคาปรับตัวดีขึ้นเป็น 170 บาทต่อกิโลกรัมจากปีก่อนราคาอยู่ที่ 160 บาทต่อกิโลกรัม”
นาย
เอกพจน์ กล่าวว่า ปีนี้คาดว่าไทยส่งออกกุ้งได้ ประมาณ 120,000 -130,000 ตัน ใกล้เคียงกับปี 2566 มูลค่ารวมน่าจะแตะ 40,000 ล้านบาท และปี 2568 คาดว่าปริมาณการส่งออก และมูลค่าจะทรงตัวพอๆ กับปีนี้ หากยังแก้ปัญหาโรคระบาดยังไม่ได้ โดยตลาดสำคัญ ประกอบด้วย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้และไต้หวัน และปัจจัยเสี่ยงการส่งออกของไทยคือผู้ผลิตที่สำคัญอย่างเอกวาดอร์ ที่เป็นผู้ผลิตใหญ่สุดของโลก ที่ผลิตได้ประมาณ 1.3-1.4 ล้านตัน หากเขาผลิตได้มากก็จะแย่งตลาดส่งออกไทย
สำหรับการแก้ปัญหาอุตสาหกรรมกุ้ง สมาคมต้องการให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณวงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาเรื่องโรคกุ้งภายในสามปี เพื่อหยุดความเสียหายประมาณ 600,000 ล้านบาท ตลอดสิบปีที่ผ่านมา เพื่อเอา 50,000 ล้านบาทต่อปีกลับมา
“
ความเสียหายที่อุตสาหกรรมเผชิญมาตลอดสิบกว่าปี จากปัญหาโรคระบาด EMS หรือโรคตายด่วน ตั้งแต่ปี 2554 ตั้งแต่ไทยยังสามารถผลิตกุ้งได้ประมาณ 6.4 แสนตัน แต่ปัจจุบันผลผลิตเหลือ 2.7 แสนตัน ที่ผ่านมาเกษตรกรพยายามทุ่มเททุกอย่างเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง แต่ไม่สามารถก้าวผ่านปัญหาโรคระบาดได้ สมาคมได้ร่วมกับ19 องค์กรเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ให้ยกระดับเรื่องการแก้ปัญหากุ้งทะเลเป็นวาระแห่งชาติ โดยขอ 2,000 ล้านบาท เพื่อการวิจัยพัฒนาให้สามารถฟันฝ่าวิกฤตโรคระบาด หากรัฐบาลช่วยเหลือผลผลิตกุ้งจะกลับมาเป็น 4 แสนตันในปี 2568”
นาย
เอกพจน์ กล่าวว่า สิ่งที่เกษตรกรเรียกร้อง และรัฐบาลต้องช่วยเหลือเพราะวันนี้เกินกำลังของพวกเราแล้วคือ การแก้ปัญหาเรื่องโรคให้ได้ โดยรัฐต้องมีมาตรการในการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม เพื่อแก้ปัญหาโรคให้ได้ภายใน 3 ปี ซึ่งหากรัฐบาลทำเรื่องนี้สำเร็จ เกษตรกรจะสามารถบรรลุเป้าหมายผลผลิต 400,000 ตัน ซึ่งเป็นผลผลิตคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรหลักสำคัญที่ทำรายได้กลับคืนมาให้กับประเทศได้อีกครั้งอย่างแน่นอน.
สงครามในซูดานทวีความรุนแรง สังเวย 127 ชีวิต
https://tna.mcot.net/world-1459299
คาร์ทูม 11 ธ.ค.- สงครามกลางเมืองในซูดาน ประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังทวีความรุนแรง เมื่อการโจมตีจากกองกำลัง 2 ฝ่ายที่เป็นอริกันได้คร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 127 คนในเวลาเพียง 2 วัน
JJNY : 5in1 สรุปกรณีพ.ร.บ.สกัดการรัฐประหาร│3 ด. รบ.ทำได้จริง?│ส.กุ้งไทยของบรัฐ│สงครามซูดานทวีรุนแรง│อิหร่านชี้ล้มซีเรีย
https://thematter.co/brief/235638/235638
ที่ผ่านมาเว็บไซต์รัฐสภาฯ ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อ ‘ร่าง พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม’ หรือ ‘ร่าง พ.ร.บ.สกัดการรัฐประหาร’ ซึ่งกำหนดรับฟังความเห็นตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2567
ถึง 1 มกราคม 2568
ผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวคือ ประยุทธ์ ศิริพานิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ที่แม้เมื่อวานนี้ (10 ธันวาคม 2567) ประยุทธ์จะระบุว่า จะขอถอนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เพื่อนำกลับไปปรับปรุงแก้ไขใหม่ แต่เหตุการณ์นี้ยังคงถูกจับตามอง
หลักการสำคัญของร่าง พ.ร.บ.นี้ คือให้นายกฯ เป็นประธานสภากระทรวงกลาโหม แทนรัฐมนตรีว่าการ (รมว.) กระทรวงกลาโหม และห้ามนำกำลังทหาร ทำการยึดอำนาจหรือรัฐประหาร อีกทั้งในการแต่งตั้งนายทหารชั้นนายพล ต้องเสนอให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดย ครม.มีอำนาจที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย กับรายชื่อนายทหารที่เสนอมา และสั่งให้ทบทวนการเสนอรายชื่อใหม่ได้
ไม่นานหลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็น หลายคนก็สงสัยว่าร่าง พ.ร.บ.นี้เป็นความพยายามของพรรคเพื่อไทย เพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจทางการเมืองหรือไม่ เนื่องจากเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.นี้ อาจจำกัดอำนาจของกระทรวงกลาโหม พร้อมให้ ครม.เป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับกองทัพหลายประการ จนบางฝ่ายมองว่า อาจกลายเป็นการ ‘แทรกแซงกองทัพ’ ในที่สุด
นอกจากนี้ หลายฝ่ายก็ออกมาคัดค้านร่าง พ.ร.บ.นี้ โดยอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ส่วนภายในพรรคเพื่อไทยเอง ก็มีหลายคนที่ไม่เห็นด้วย
ขณะที่ ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ได้ระบุว่าร่าง พ.ร.บ.นี้ ไม่ใช่มติของพรรคเพื่อไทย และต้องได้รับการรับรองจากที่ประชุมพรรคฯ ที่จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ (12 ธันวาคม) ก่อนจะถูกเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาฯ
หลังจากมีกระแสคัดค้านของต่อเนื่อง เมื่อวานนี้ (10 ธันวาคม) ประยุทธ์ ศิริพาณิชย์ ได้กล่าวว่าจะขอถอนร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ในการประชุมพรรคเพื่อไทยในวันพรุ่งนี้ เพื่อนำกลับไปปรับปรุงแก้ไขใหม่ โดยกล่าวว่า “เรามีเจตนาอยากให้พรรคการเมืองได้มีบทบาทในการร่วมสกัดรัฐประหาร แต่เมื่อพรรคการเมืองไม่เห็นด้วย ก็ต้องนำมาทบทวนใหม่”
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การเปิดรับฟังความคิดเห็นยังคงดำเนินต่อไป และหลายคนยังคงตั้งคำถามว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ถือเป็นการแทรกแซงกองทัพหรือไม่
อ้างอิงจาก
parliament.go.th
thansettakij.com
bangkokbiznews.com
3 เดือนรัฐบาล “อิ๊งค์” ทำได้จริง?
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_814616/
ทั้ง ส.ส.หัวเขียง “ประยุทธ” และ “นพ.เชิดชัย” ที่ทำเอาทุกฝ่ายว้าวุ่นโดยเฉพาะปีก “อนุรักษนิยม”รวมถึง ผู้คนในพรรคร่วมรัฐบาลเก่าสมัย “ลุงตู่” ที่ขยับออกมาคัดค้านทั้ง “อ.วิษณุ” หรือพรรคร่วมอย่างภูมิใจไทยที่ “เสี่ยหนู-อนุทิน” ออกหน้าชัดเจนเช่นเดียวกับ “พรรครวมไทยสร้างชาติ” (รทสช.) ผู้คนยังจับตาไปที่ “อีเว้นท์ใหญ่”การแถลงผลงานรัฐบาลอิ๊งค์ ในรอบ 90 วันหรือ 3 เดือน ในวันพรุ่งนี้ (12ธ.ค.)ที่ว่ากันว่าเป็นจะมีการจัดใหญ่ไฟกะพริบแบบที่มีการเตรียมให้คนร่วมงานเกือบ500คนมีทั้ง บรรดารัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัด ผบ.เหล่าทัพ หัวหน้ารัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรมหาชน และสื่อมวลชนเข้าร่วม
โดยการแถลงผลงานจะเป็นช่วง 3 เดือน ตั้งแต่ “นายกอิ๊งค์” รับตำแหน่งในปี 2567รวมถึงกรอบการทำงานของรัฐบาลและโครงการที่เป็น “เรือธง” ของรัฐบาลที่จะทำและดำเนินการต่อในปี 2568 ทั้ง การเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างความเชื่อมั่น รวมถึงเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเร่งแก้ปัญหาอาชญากรรม แก้ปัญหายาเสพติด และนโยบายการแจกเงินดิจิทัล เฟส 2-3 จำนวน 10,000 บาท
การปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบการลดราคาพลังงาน และสาธารณูปโภค โดย “นายกฯอิ๊งค์”ที่คงไม่ไปตอบกระทู้ที่สภาวันพรุ่งนี้ และบอกว่าหลังปีใหม่ จะลงไปดูน้ำท่วมภาคใต้ ยังได้มีการโพสต์ทวิตX เป็นโปสเตอร์ระบุว่า 2568 โอกาสไทย ทำได้จริง 2025 Empowering Thais: A Real Possibilityจากผลงานที่เป็นรูปธรรม สู่อนาคตที่ทำได้จริง วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคมนี้ เวลา 10.00 น. ถ่ายทอดสดที่ช่อง NBT2HD และ Facebook Live: Live NBT2HD
กระนั้นแม้โดยรวม “รัฐบาลอิ๊งค์” ที่เข้ามาเพียง3 เดือน หลังรับไม้ต่อจาก “รัฐบาลเศรษฐา”ตอนแรกจะถูกมองว่ายังไม่มีผลงานเป็นชิ้นอัน แต่ก็มีให้ข้อมูลออกมาจากรัฐบาล ว่ารัฐบาลอิ๊งค์ที่เริ่มประชุม ครม.ทางการครั้งแรก17ก.ย.67 หลังการแถลงนโยบาย รวมมีการประชุมมาแล้ว 12 ครั้งเป็นการประชุม ครม.สัญจรที่จังหวัดเชียงใหม่1ครั้ง มีการผลักดันโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมามากมายไปแล้ว 3แสนล้านบาท ทั้งแจกเงินหมื่นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการทั้ง การขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภาษีแวต) ให้จัดเก็บในอัตรา 7% ต่อไปอีก 1 ปีอนุมัติงบกลาง ยกระดับ 30 บาท รักษาทุกโรค มาตรการพักชำระหนี้ ให้กับลูกหนี้รายย่อย ลดค่าไฟ อุดหนุนงบใช้รถไฟฟ้า หรือ มาตรการ EV3 อนุมัติร่าง พรบ.การขนส่งทางราง พ.ศ. …
นอกจากนี้รัฐบาล ยังมีการอนุมัติโครงการเร่งด่วนเชียงใหม่เชียงราย ฟื้นฟูน้ำท่วม ,รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ,เพิ่มเงินเดือนพนักงานราชการ ตั้งกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 พิจารณาการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ วันละ 400 บาท ทั่วประเทศให้ทันวันที่ 1 มกราคม 2568 เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน ,แจกเงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาท
รวมถึง เมกะโปรเจกต์ มอเตอร์เวย์ หมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานครตอนทางยกระดับบางขุนเทียน – บางบัวทอง ของกรมทางหลวงกระทรวงคมนาคม (M9)รวมระยะทาง 35 กม.วงเงินลงทุน 47,521 ล้านบาท,-ร่าง พรบ.กองทุนการออมแห่งชาติ(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เปิดทางให้ดำเนินนโยบาย “หวยเกษียณ” ผ่านกองทุนการออมแห่งชาติ และร่าง พรบ.บริหารจัดการระบบตั๋วร่วม
เรียกว่าการแถลงผลงานพรุ่งนี้ถูกระบุว่าจะมีการ “ปล่อยของ” ออกมาแบบชุดใหญ่ไฟกะพริบทั้งที่ทำแล้วทำอยู่กำลังทำและมีแพลนจะทำ จำนวนมาก กระนั้นเมื่อไปดู โผลสวนดุสิตที่สำรวจผลงานรัฐบาลที่ประชาชนอยากได้ พบว่าสิ่งที่ประชาชนอยากได้มากที่สุด ร้อยละ 59.95 คือมาตรการแจกเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว ร้อยละ 58.03
คือ มาตรการช่วยสนับสนุนค่าน้ำ ค่าไฟค่าพลังงานต่าง ๆ และร้อยละ 53.17 คือ มาตรการลดค่าครองชีพ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนในปี 2568 ส่วนปัญหาเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องแก้ก่อนปีใหม่ ร้อยละ 66.48 ระบุ ปัญหาค่าครองชีพ ร้อยละ 57.51 ปัญหายาเสพติด และร้อยละ 56.46 ปัญหาน้ำท่วม และภัยแล้ง
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_814616/
สมาคมกุ้งไทยของบรัฐ 2 พันล้าน สางปัญหาทั้งระบบ พร้อมชงเป็นวาระแห่งชาติ
https://www.khaosod.co.th/economics/news_9544050
สมาคมกุ้งของบ 2 พันล้านบาท แก้ปัญหาอุตสาหกรรมทั้งระบบ ชงเป็นวาระแห่งชาติ
นายเอกพจน์ ยอดพินิจ นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์กุ้งไทย ปี 2567 ผลผลิตกุ้งเลี้ยงประมาณ 270,000 ตัน ลดลง 4%จากปี 2566 ที่มีผลิตได้ 280,000 ตัน เนื่องจากปัญหาโรคระบาด สภาพอากาศแปรปรวน กระทบคุณภาพลูกกุ้ง ส่งผลให้เกษตรกรบางส่วนชะลอการลงกุ้ง ส่วนผลผลิตกุ้งทั่วโลกคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 5.04 ล้านตัน ลดลง 4% โดยผลผลิตจากประเทศผู้ผลิตหลักทั้งจีน เอกวาดอร์ อินเดีย เวียดนาม ลดลงทุกประเทศ
ส่วนการส่งออกกุ้งเดือน ม.ค. – ต.ค. 2567 อยู่ที่ปริมาณ 109,048 ตัน ลดลง 1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณ 109,663 ตัน มูลค่า 33,954 ล้านบาท ลดลง 6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีมูลค่า 36,284 ล้านบาท
“จากการกลับมาฟื้นตัวของการท่องเที่ยว โดยเฉพาะปีนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติ กลับมาเที่ยวไทยจำนวนมากส่งผลให้การบริโภคกุ้งในประเทศเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อนหน้าประมาณ 30% โดยกุ้งขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ก็ราคาปรับตัวดีขึ้นเป็น 170 บาทต่อกิโลกรัมจากปีก่อนราคาอยู่ที่ 160 บาทต่อกิโลกรัม”
นายเอกพจน์ กล่าวว่า ปีนี้คาดว่าไทยส่งออกกุ้งได้ ประมาณ 120,000 -130,000 ตัน ใกล้เคียงกับปี 2566 มูลค่ารวมน่าจะแตะ 40,000 ล้านบาท และปี 2568 คาดว่าปริมาณการส่งออก และมูลค่าจะทรงตัวพอๆ กับปีนี้ หากยังแก้ปัญหาโรคระบาดยังไม่ได้ โดยตลาดสำคัญ ประกอบด้วย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้และไต้หวัน และปัจจัยเสี่ยงการส่งออกของไทยคือผู้ผลิตที่สำคัญอย่างเอกวาดอร์ ที่เป็นผู้ผลิตใหญ่สุดของโลก ที่ผลิตได้ประมาณ 1.3-1.4 ล้านตัน หากเขาผลิตได้มากก็จะแย่งตลาดส่งออกไทย
สำหรับการแก้ปัญหาอุตสาหกรรมกุ้ง สมาคมต้องการให้รัฐบาลจัดสรรงบประมาณวงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อแก้ปัญหาเรื่องโรคกุ้งภายในสามปี เพื่อหยุดความเสียหายประมาณ 600,000 ล้านบาท ตลอดสิบปีที่ผ่านมา เพื่อเอา 50,000 ล้านบาทต่อปีกลับมา
“ความเสียหายที่อุตสาหกรรมเผชิญมาตลอดสิบกว่าปี จากปัญหาโรคระบาด EMS หรือโรคตายด่วน ตั้งแต่ปี 2554 ตั้งแต่ไทยยังสามารถผลิตกุ้งได้ประมาณ 6.4 แสนตัน แต่ปัจจุบันผลผลิตเหลือ 2.7 แสนตัน ที่ผ่านมาเกษตรกรพยายามทุ่มเททุกอย่างเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง แต่ไม่สามารถก้าวผ่านปัญหาโรคระบาดได้ สมาคมได้ร่วมกับ19 องค์กรเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ให้ยกระดับเรื่องการแก้ปัญหากุ้งทะเลเป็นวาระแห่งชาติ โดยขอ 2,000 ล้านบาท เพื่อการวิจัยพัฒนาให้สามารถฟันฝ่าวิกฤตโรคระบาด หากรัฐบาลช่วยเหลือผลผลิตกุ้งจะกลับมาเป็น 4 แสนตันในปี 2568”
นายเอกพจน์ กล่าวว่า สิ่งที่เกษตรกรเรียกร้อง และรัฐบาลต้องช่วยเหลือเพราะวันนี้เกินกำลังของพวกเราแล้วคือ การแก้ปัญหาเรื่องโรคให้ได้ โดยรัฐต้องมีมาตรการในการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม เพื่อแก้ปัญหาโรคให้ได้ภายใน 3 ปี ซึ่งหากรัฐบาลทำเรื่องนี้สำเร็จ เกษตรกรจะสามารถบรรลุเป้าหมายผลผลิต 400,000 ตัน ซึ่งเป็นผลผลิตคุณภาพสูง เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค และเป็นอุตสาหกรรมการเกษตรหลักสำคัญที่ทำรายได้กลับคืนมาให้กับประเทศได้อีกครั้งอย่างแน่นอน.
สงครามในซูดานทวีความรุนแรง สังเวย 127 ชีวิต
https://tna.mcot.net/world-1459299
คาร์ทูม 11 ธ.ค.- สงครามกลางเมืองในซูดาน ประเทศในแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังทวีความรุนแรง เมื่อการโจมตีจากกองกำลัง 2 ฝ่ายที่เป็นอริกันได้คร่าชีวิตผู้คนอย่างน้อย 127 คนในเวลาเพียง 2 วัน