คณิศร ลุยหาเสียง ชู ธนาธร-พิธา นั่งที่ปรึกษา ยันไม่หนักใจ ทักษิณ ช่วยคู่แข่งหาเสียง
https://www.khaosod.co.th/politics/news_9498772
อุดรธานี คณิศร ลุยหาเสียงแบบเคาะประตูบ้าน ชูนโยบาย 8 เสาหลัก 5 งานด่วน ยกอุดรเมืองหลวงประชาธิปไตย ชู ธนาธร-พิธา นั่งที่ปรึกษา ยันไม่หนักใจ-ยินดีต้อนรับ ทักษิณ ช่วย คู่แข่ง หาเสียง
10 พ.ย. 67 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศึกเลือกตั้งชิง นายกอบจ.อุดรธานี ใกล้โค้งสุดท้าย แต่ละฝ่ายแข่งขันลงพื้นที่ พบปะแสดงวิสัยทัศน์กับพี่น้องประชาชน อย่างที่ศาลาหมู่บ้าน บ้านธาตุโพนทอง ต.หนองนาคำ อ.เมือง จ.อุดรธานี
นาย
คณิศร ขุริรัง ผู้สมัครชิง นายกอบจ.อุดรธานี พรรคประชาชน ยังคงเดินสายหาเสียงกับพี่น้องประชาชนแบบเคาะประตูบ้าน โดยวันนี้ นาย
คณิศร ยังชูนโยบายเพื่ออาสาเข้าไปเป็นนายกอบจ.อุดรธานี ถือบอกว่า เป็นคนอุดรธานีโดยกำเนิด เกิดที่นี่ เคยเป็นประธานสภาทนายความ รองนายกเทศบาลฯ รองนายกอบจ. พร้อมรับใช้พี่น้องประชาชน
พร้อมกันนี้ ยังชูนโยบาย 8 เสาหลัก หากได้รับการเลือกตั้งเป็น นายกอบจ.อุดรธานี มีที่ปรึกษามากความสามารถทั้ง นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล และนาย
ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน เข้ามาช่วยทำงาน
ขณะเดียวกันวันนี้ มีเซอร์ไพรส์ เพราะมีอาจารย์
ปิยบุตร แสงกนกกุล ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง เดินทางมาพบกับพี่น้องประชาชนด้วย โดยบอกว่า เคยเดินทางมา จ.อุดรธานี หลายครั้งแล้ว เพื่อหาเสียง จากนั้น ได้เข้าไป ส.ส. แต่โอกาสเป็น ส.ส.ได้เพียง 10 เดือน 28 วัน จากนั้นก็ถูกยุบพรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกลก็เกิดมาใหม่ ได้ ส.ส.พรรคก้าวไกล เขต 1 คนแรกใน จ.อุดรธานี
วันนี้เพื่อมาให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชน เลือก
คณิศร ไปเป็น นายกอบจ.อุดรธานี ไปเป็น นายกฯ รับรองไม่ผิดหวัง เพราะเคยผ่านประสบการณ์
ทั้ง ทนายความ รองนายกเทศบาลนครอุดรธานี รองนายก อบจ.อุดรธานี ส่วน นโยบายวางไว้แล้ว เลือก
คณิศรไปเป็น นายกอบจ.อุดรธานี ทำงานตามนโยบายได้ทันที
ด้านนาย
คณิศร เปิดเผยว่า เดินหาเสียงทุกวันกับพี่น้องประชาชน โดยตนเองเน้นนโยบายอบจ.อุดรธานีโปร่งใส พี่น้องประชาชนชาวอุดรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายให้กับอบจ.เป็นการร่วมคิดร่วมทำช่วยกันเพื่อนำความเจริญสู่ท้องถิ่น ชูนโยบาย 8 เสาหลัก และ 5 งานด่วน เช่น น้ำประปาใสดื่มน้ำตลอดปี รพ.สต.ก้าวหน้าอยู่ไหนก็ใกล้หมอ
เรื่องชุมชนปลอดภัยจากยาเสพติด และดูแลพี่น้องประชาชนที่ติดยาเสพติด เรื่องถนนปลอดหลุม ส่วนการหาเสียงเราพยายามเข้าถึงพี่น้องประชาชนให้ครบทุกกลุ่ม หวังจะได้รับโอกาสจากพี่น้องประชาชน เลือกให้ไปดำรงตำแหน่ง นายกอบจ.อุดรธานี สักครั้ง เสียงตอนนี้พี่น้องประชาชนตอบรับดีมาก
ส่วนกรณี นาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเดินทางมาช่วย นาย
ศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครชิงนายกอบจ.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย หาเสียง ในเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องดี สำหรับ ตนไม่มีปัญหา ยินดีต้อนรับ ไม่ว่าจะเป็นท่านใดที่เดินทางมาก ถือเป็นสิทธิเสรีภาพของทุกๆ คนที่มาเยือน จ.อุดรธานี
นาย
ทักษิณ มาก็เป็นเรื่องดีที่พี่น้องประชาชนจะได้รับฟังนโยบายของแต่ละพรรค ว่าจะทำให้กับพี่น้องประชาชนชาวจ.อุดรธานี อย่างไร ตนยืนยันชาวอุดรธานีพร้อมรับทุกท่าน ถือเป็นเมืองที่ประชาชนผู้รักประชาธิปไตย ยินดีต้อนรับทุกท่านเลยครับ
สำหรับกำหนดการ นาย
ทักษิณ เดินทางมาช่วย นาย
ศราวุธ วันที่ 13-14 พ.ย. 67 นี้ ส่วน นาย
พิธา บินด่วนจากอเมริกา ลงพื้นที่ช่วย นาย
คณิศร วันที่ 15-16 พ.ย. 67 ช่วงเวลาติดต่อกันเลยทีเดียว
สส.พรรคประชาชน ค้านร่าง กม.อุทยานฯ-สงวนสัตว์ป่า ที่ขาดการมีส่วนร่วม
https://prachatai.com/journal/2024/11/111341
'เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล' สส.พรรคประชาชน ค้านร่าง พรฎ. ที่จะออกตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ก่อน ครม.พิจารณา 12 พ.ย.นี้ ชี้กระทบ 4,265 หมู่บ้าน พื้นที่ 4.27 ล้านไร่ จี้รัฐทบทวน เหตุขาดการมีส่วนร่วม-จำกัดสิทธิถือครอง 20 ปี ไม่เกินครอบครัวละ 20 ไร่ ห้ามสืบทอดมรดก-โอนสิทธิ์ ด้านกรมอุทยานฯ เร่งออกกฎหมายให้ทันกำหนด 27 พ.ย. แม้แผนที่แนบท้ายยังไม่ครบ
10 พ.ย. 2567 นาย
เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า ตนขอให้รัฐบาลทบทวนการผลักดันร่างพระราชกฤษฎีกาที่จะออกตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่มีเนื้อหาเป็นกฎหมายแย่งยึดที่ดินของประชาชนอย่างชัดเจน หากกฎหมายฉบับนี้ผ่านจะกระทบต่อคน 4,265 หมู่บ้าน ประชากรกว่า 1 ล้านคน เนื้อที่รวมกัน 4.27 ล้านไร่
โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลชี้แจงว่ามีความจำเป็นจะต้องออกกฎหมายให้ทันภายในกำหนดระยะเวลา โดยจะบรรจุเป็นวาระเข้าประชุม ครม. ในวันอังคาร ที่ 12 พ.ย. นี้ ท่ามกลางการออกมาคัดค้านของชาวบ้าน องค์กรภาคประชาชน ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งระยะเวลาออกกฎหมายกำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 27 พ.ย. 2567 นี้
ร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับนี้ มีปัญหาทั้งกระบวนการจัดทำที่ขาดการมีส่วนร่วมของผู้ที่ได้รับผลกระทบ และเนื้อหาที่แย่งยึดที่ดินและจำกัดสิทธิของคนลงไปเป็นอย่างมาก กล่าวคือ
ประการแรก ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพราะในการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว กรมอุทยานฯ เพียงเปิดรับฟังความเห็นในระบบอินเตอร์เน็ตและจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meeting) หนึ่งครั้งเท่านั้น ทำให้ประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ ไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นประกอบ
ประการที่ 2. รัฐบาลเร่งรัดจะออกกฎหมายโดยไม่ทำให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด โดยกรมอุทยานฯ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ส่งให้คณะรัฐมนตรีนั้นมีโครงการและแผนที่แนบท้ายจำนวน 14 แห่ง จากทั้งหมด 224 แห่งนั้น ซึ่งหากรัฐบาลนำไปประกาศเป็นกฎหมาย จะขัดต่อบทบัญญัติใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 64
และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มาตรา 121 ซึ่งต่างบัญญัติไว้ว่าจะต้องจัดให้มีแผนที่แสดงแนวเขตโครงการที่จะดำเนินการแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย ดังนั้น การตราพระราชกฤษฎีกานี้จะต้องมีแผนที่แนวเขตโครงการแนบท้ายให้ครบทุกแห่ง หากไม่มีจะถือบังคับเป็นกฎหมายไม่ได้
ประการที่ 3. ตามร่าง พรฎ. กำหนดว่ามีกำหนดยี่สิบปี โดยที่ไม่ได้บัญญัติว่าจะมีการอนุญาตต่อได้หรือไม่ด้วยเงื่อนไขอะไร เป็นการบัญญัติกฎหมายที่มีกำหนดระยะเวลาให้สิทธิสิ้นสุดลง เท่ากับเป็นกฎหมายยึดที่ดิน หากยึดถือตามนี้หมายความว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ประชาชน 4,265 ชุมชน พื้นที่ 4.27 ล้านไร่ จะต้องส่งมอบคืนให้แก่กรมอุทยานฯ ทั้งหมด
ประการที่ 4. จำนวนเนื้อที่ในการอนุญาตจะได้ครอบครัวละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 40 ไร่ ส่วนที่เกินจะต้องส่งมอบให้แก่กรมอุทยานฯ เพื่อนำไปฟื้นฟูเป็นป่า เท่ากับเป็นการกำหนดกฎหมายเพื่อยึดคืนที่ดินซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งไม่สอดคล้องกับสภาพการใช้ประโยชน์ของแต่ละท้องถิ่น เช่น พื้นที่ไร่หมุนเวียน พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นหรือครัวเรือนใหญ่ ที่ครอบครองที่ดินทำกินมากกว่าที่กำหนดนี้
ประการที่ 5. ตาม พรฎ. ได้กำหนดคุณสมบัติและข้อห้ามหลายประการที่มีลักษณะไม่เป็นธรรม กล่าวคือ ต้องการมีสัญชาติไทย ต้องไม่มีที่ดินอื่นนอกเขตโครงการ ต้องไม่มีที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองอื่น ต้องไม่เคยกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีป่าไม้ทุกประเภทในเขตป่าอนุรักษ์
กรณีนี้จะทำให้คนจำนวนมากเสียสิทธิ เพราะบุคคลที่ยังไม่มีสัญชาตินั้น ส่วนมากเป็นมีคุณสมบัติที่จะได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย แต่กระบวนการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนของกรมการปกครองล่าช้าแต่บุคคลเหล่านี้อาจจะได้รับอนุมัติสัญชาติในภายหลังก็ได้
กรณีคนมีที่ดินอื่นนั้น มีชุมชนจำนวนมากที่เป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างพื้นที่ป่าอนุรักษ์กับพื้นที่ที่มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์ เขตป่าสงวน สปก. เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่ควรนำมากำหนดเป็นข้อห้ามให้เสียสิทธิ์
สำหรับกรณีที่กำหนดว่าต้องไม่เคยกระทำความผิดในเขตป่าอนุรักษ์ หรือฝ่าฝืนข้อหนึ่งข้อใดของพระราชกฤษฎีกานี้นั้น เป็นการเอาเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมากำหนดห้ามหรือเพิกถอนสิทธิ์ ควรห้ามเฉพาะเมื่อเป็นความผิดที่เกี่ยวกับที่ดินที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
ประการที่ 6. สิทธิที่ได้มาไม่สามารถสืบทอดทางมรดกได้ หากทายาทประสงค์จะได้สิทธิต่อจะต้องขออนุญาตต่ออธิบดีใหม่ ข้อห้ามนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 37 ที่บัญญัติว่าบุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก นอกจากนี้ยังขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ 2562 และมาตรา 121 แห่ง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่ไม่ได้บัญญัติเอาไว้ จึงเสนอให้ตัดบทบัญญัติที่ห้ามมิให้มีการสืบมรดกสิทธิออก
ประการที่ 7. การห้ามโอนหรือยินยอมให้บุคคลอื่นทำประโยชน์โดยเด็ดขาดนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากที่ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่มีจำกัด ในขณะที่คนในท้องถิ่นจำนวนมากมีอาชีพทำการเกษตรและไม่มีที่ดินทำกินหรือมีไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกทำลายป่า นอกจากนี้แม้รัฐจะห้ามแต่ในข้อเท็จจริงก็มีการเปลี่ยนมือหรือให้เช่าโดยที่รัฐไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งส่วนใหญ่มีเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็นเป็นใจและเรียกรับผลประโยชน์ด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหานายทุนกว้านซื้อที่ดิน จึงเสนอให้เปิดให้มีการโอนแก่กันหรือแบ่งกันใช้ได้ระหว่างคนในชุมชน โดยมีกฎระเบียบและกลไกรัฐคอยกำกับ พร้อมกำหนดเพดานการถือครองจะเหมาะสมกว่า
ประการที่ 8. การก่อสร้างอาคาร โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ต้องห้ามไม่ให้สูงไม่เกินสองชั้น และต้องใช้เพื่อการอยู่อาศัยหรือทำกินเท่าที่จำเป็นแก่การดำรงชีพเท่านั้น ซึ่งคำว่า “จำเป็นแก่การดำรงชีพ” ไม่มีความชัดเจนว่ามากน้อยเพียงใด และห้ามมิให้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น โรงงาน โรงแรม เท่ากับห้ามมิให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
ก่อนหน้านี้กรมอุทยานฯ ได้ทำคำชี้แจงต่อคณะรัฐมนตรี แต่ก็ไม่ได้อธิบายหรือโต้แย้งประเด็นเรื่องที่ถูกประชาชนคัดค้าน เช่น ขาดการมีส่วนร่วม สิทธิสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด 20 ปี จำกัดการถือครองเพียงครอบครัวและ 20 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 40 ไร่ ห้ามสร้างที่พักรองรับนักท่องเที่ยว ประกอบกับการเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างต้อเนื่องของภาคประชาชน ก็เท่ากับว่ารัฐบาลรู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่ร่างกฎหมายที่ออกมาแก้ไขปัญหา มีแต่จะสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังจะเดินหน้าประกาศ นั่นก็เท่ากับว่ารัฐบาลนี้ไม่ได้รู้ร้อนรู้หนาวกับปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ปชน.ไม่ส่งตัวแทนสมัครอบจ.เพชรบูรณ์ รับไม่มีบุคคลโดดเด่นพอท้าชิงอดีตนายก 6 สมัย
https://www.matichon.co.th/region/news_4891445
คณะทำงานฯ เพชรบูรณ์ เผยเหตุไม่ส่งตัวแทนพรรคประชาชน ลงชิงนายก อบจ.เพชรบูรณ์ ยอมรับไม่มีบุคคลที่โดดเด่นพอท้าชิงอดีตนายกอบจ.เพชรบูรณ์ 6 สมัย
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน นาย
อนุกูล อ่อนวงค์ กรรมการและคณะทำงานสรรหาผู้สมัครชิงสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารองค์กรท้องถิ่น พรรคประชาชน (ปชน.) จ.เพชรบูรณ์ กล่าวถึงสาเหตุที่ไม่มีตัวแทนพรรคประชาชนลงสมัครชิงนายก อบจ.เพชรบูรณ์ในครั้งนี้ว่า นอกจากเตรียมตัวไม่ทันแล้ว ยอมรับว่าไม่มีบุคคลที่โดดเด่นและมีคุณภาพเพียงพอ ที่จะนำเสนอต่อประชาชนชาวเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะต้องท้าชิงกับอดีตนายก อบจ. 6 สมัย
JJNY : 5in1 คณิศรลุยหาเสียง│ปชน.ค้านร่างกม.│ปชน.ไม่ส่งสมัครอบจ.เพชรบูรณ์│อดีตผู้ว่าธปท.ชำแหละ│ยูเครนใช้โดรนโจมตีรัสเซีย
https://www.khaosod.co.th/politics/news_9498772
อุดรธานี คณิศร ลุยหาเสียงแบบเคาะประตูบ้าน ชูนโยบาย 8 เสาหลัก 5 งานด่วน ยกอุดรเมืองหลวงประชาธิปไตย ชู ธนาธร-พิธา นั่งที่ปรึกษา ยันไม่หนักใจ-ยินดีต้อนรับ ทักษิณ ช่วย คู่แข่ง หาเสียง
10 พ.ย. 67 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศึกเลือกตั้งชิง นายกอบจ.อุดรธานี ใกล้โค้งสุดท้าย แต่ละฝ่ายแข่งขันลงพื้นที่ พบปะแสดงวิสัยทัศน์กับพี่น้องประชาชน อย่างที่ศาลาหมู่บ้าน บ้านธาตุโพนทอง ต.หนองนาคำ อ.เมือง จ.อุดรธานี
นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครชิง นายกอบจ.อุดรธานี พรรคประชาชน ยังคงเดินสายหาเสียงกับพี่น้องประชาชนแบบเคาะประตูบ้าน โดยวันนี้ นายคณิศร ยังชูนโยบายเพื่ออาสาเข้าไปเป็นนายกอบจ.อุดรธานี ถือบอกว่า เป็นคนอุดรธานีโดยกำเนิด เกิดที่นี่ เคยเป็นประธานสภาทนายความ รองนายกเทศบาลฯ รองนายกอบจ. พร้อมรับใช้พี่น้องประชาชน
พร้อมกันนี้ ยังชูนโยบาย 8 เสาหลัก หากได้รับการเลือกตั้งเป็น นายกอบจ.อุดรธานี มีที่ปรึกษามากความสามารถทั้ง นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ อดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล และนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน เข้ามาช่วยทำงาน
ขณะเดียวกันวันนี้ มีเซอร์ไพรส์ เพราะมีอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง เดินทางมาพบกับพี่น้องประชาชนด้วย โดยบอกว่า เคยเดินทางมา จ.อุดรธานี หลายครั้งแล้ว เพื่อหาเสียง จากนั้น ได้เข้าไป ส.ส. แต่โอกาสเป็น ส.ส.ได้เพียง 10 เดือน 28 วัน จากนั้นก็ถูกยุบพรรคอนาคตใหม่ พรรคก้าวไกลก็เกิดมาใหม่ ได้ ส.ส.พรรคก้าวไกล เขต 1 คนแรกใน จ.อุดรธานี
วันนี้เพื่อมาให้ความมั่นใจกับพี่น้องประชาชน เลือกคณิศร ไปเป็น นายกอบจ.อุดรธานี ไปเป็น นายกฯ รับรองไม่ผิดหวัง เพราะเคยผ่านประสบการณ์
ทั้ง ทนายความ รองนายกเทศบาลนครอุดรธานี รองนายก อบจ.อุดรธานี ส่วน นโยบายวางไว้แล้ว เลือกคณิศรไปเป็น นายกอบจ.อุดรธานี ทำงานตามนโยบายได้ทันที
ด้านนายคณิศร เปิดเผยว่า เดินหาเสียงทุกวันกับพี่น้องประชาชน โดยตนเองเน้นนโยบายอบจ.อุดรธานีโปร่งใส พี่น้องประชาชนชาวอุดรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายให้กับอบจ.เป็นการร่วมคิดร่วมทำช่วยกันเพื่อนำความเจริญสู่ท้องถิ่น ชูนโยบาย 8 เสาหลัก และ 5 งานด่วน เช่น น้ำประปาใสดื่มน้ำตลอดปี รพ.สต.ก้าวหน้าอยู่ไหนก็ใกล้หมอ
เรื่องชุมชนปลอดภัยจากยาเสพติด และดูแลพี่น้องประชาชนที่ติดยาเสพติด เรื่องถนนปลอดหลุม ส่วนการหาเสียงเราพยายามเข้าถึงพี่น้องประชาชนให้ครบทุกกลุ่ม หวังจะได้รับโอกาสจากพี่น้องประชาชน เลือกให้ไปดำรงตำแหน่ง นายกอบจ.อุดรธานี สักครั้ง เสียงตอนนี้พี่น้องประชาชนตอบรับดีมาก
ส่วนกรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ จะเดินทางมาช่วย นายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครชิงนายกอบจ.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย หาเสียง ในเรื่องนี้ถือว่าเป็นเรื่องดี สำหรับ ตนไม่มีปัญหา ยินดีต้อนรับ ไม่ว่าจะเป็นท่านใดที่เดินทางมาก ถือเป็นสิทธิเสรีภาพของทุกๆ คนที่มาเยือน จ.อุดรธานี
นายทักษิณ มาก็เป็นเรื่องดีที่พี่น้องประชาชนจะได้รับฟังนโยบายของแต่ละพรรค ว่าจะทำให้กับพี่น้องประชาชนชาวจ.อุดรธานี อย่างไร ตนยืนยันชาวอุดรธานีพร้อมรับทุกท่าน ถือเป็นเมืองที่ประชาชนผู้รักประชาธิปไตย ยินดีต้อนรับทุกท่านเลยครับ
สำหรับกำหนดการ นายทักษิณ เดินทางมาช่วย นายศราวุธ วันที่ 13-14 พ.ย. 67 นี้ ส่วน นายพิธา บินด่วนจากอเมริกา ลงพื้นที่ช่วย นายคณิศร วันที่ 15-16 พ.ย. 67 ช่วงเวลาติดต่อกันเลยทีเดียว
สส.พรรคประชาชน ค้านร่าง กม.อุทยานฯ-สงวนสัตว์ป่า ที่ขาดการมีส่วนร่วม
https://prachatai.com/journal/2024/11/111341
'เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล' สส.พรรคประชาชน ค้านร่าง พรฎ. ที่จะออกตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ก่อน ครม.พิจารณา 12 พ.ย.นี้ ชี้กระทบ 4,265 หมู่บ้าน พื้นที่ 4.27 ล้านไร่ จี้รัฐทบทวน เหตุขาดการมีส่วนร่วม-จำกัดสิทธิถือครอง 20 ปี ไม่เกินครอบครัวละ 20 ไร่ ห้ามสืบทอดมรดก-โอนสิทธิ์ ด้านกรมอุทยานฯ เร่งออกกฎหมายให้ทันกำหนด 27 พ.ย. แม้แผนที่แนบท้ายยังไม่ครบ
10 พ.ย. 2567 นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน เปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวว่า ตนขอให้รัฐบาลทบทวนการผลักดันร่างพระราชกฤษฎีกาที่จะออกตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่มีเนื้อหาเป็นกฎหมายแย่งยึดที่ดินของประชาชนอย่างชัดเจน หากกฎหมายฉบับนี้ผ่านจะกระทบต่อคน 4,265 หมู่บ้าน ประชากรกว่า 1 ล้านคน เนื้อที่รวมกัน 4.27 ล้านไร่
โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ รัฐบาลชี้แจงว่ามีความจำเป็นจะต้องออกกฎหมายให้ทันภายในกำหนดระยะเวลา โดยจะบรรจุเป็นวาระเข้าประชุม ครม. ในวันอังคาร ที่ 12 พ.ย. นี้ ท่ามกลางการออกมาคัดค้านของชาวบ้าน องค์กรภาคประชาชน ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ซึ่งระยะเวลาออกกฎหมายกำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 27 พ.ย. 2567 นี้
ร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับนี้ มีปัญหาทั้งกระบวนการจัดทำที่ขาดการมีส่วนร่วมของผู้ที่ได้รับผลกระทบ และเนื้อหาที่แย่งยึดที่ดินและจำกัดสิทธิของคนลงไปเป็นอย่างมาก กล่าวคือ
ประการแรก ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพราะในการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว กรมอุทยานฯ เพียงเปิดรับฟังความเห็นในระบบอินเตอร์เน็ตและจัดประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom Meeting) หนึ่งครั้งเท่านั้น ทำให้ประชาชนที่จะได้รับผลกระทบ ไม่มีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นประกอบ
ประการที่ 2. รัฐบาลเร่งรัดจะออกกฎหมายโดยไม่ทำให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด โดยกรมอุทยานฯ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ส่งให้คณะรัฐมนตรีนั้นมีโครงการและแผนที่แนบท้ายจำนวน 14 แห่ง จากทั้งหมด 224 แห่งนั้น ซึ่งหากรัฐบาลนำไปประกาศเป็นกฎหมาย จะขัดต่อบทบัญญัติใน พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มาตรา 64
และ พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มาตรา 121 ซึ่งต่างบัญญัติไว้ว่าจะต้องจัดให้มีแผนที่แสดงแนวเขตโครงการที่จะดำเนินการแนบท้ายพระราชกฤษฎีกาด้วย ดังนั้น การตราพระราชกฤษฎีกานี้จะต้องมีแผนที่แนวเขตโครงการแนบท้ายให้ครบทุกแห่ง หากไม่มีจะถือบังคับเป็นกฎหมายไม่ได้
ประการที่ 3. ตามร่าง พรฎ. กำหนดว่ามีกำหนดยี่สิบปี โดยที่ไม่ได้บัญญัติว่าจะมีการอนุญาตต่อได้หรือไม่ด้วยเงื่อนไขอะไร เป็นการบัญญัติกฎหมายที่มีกำหนดระยะเวลาให้สิทธิสิ้นสุดลง เท่ากับเป็นกฎหมายยึดที่ดิน หากยึดถือตามนี้หมายความว่าในอีก 20 ปีข้างหน้า ประชาชน 4,265 ชุมชน พื้นที่ 4.27 ล้านไร่ จะต้องส่งมอบคืนให้แก่กรมอุทยานฯ ทั้งหมด
ประการที่ 4. จำนวนเนื้อที่ในการอนุญาตจะได้ครอบครัวละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 40 ไร่ ส่วนที่เกินจะต้องส่งมอบให้แก่กรมอุทยานฯ เพื่อนำไปฟื้นฟูเป็นป่า เท่ากับเป็นการกำหนดกฎหมายเพื่อยึดคืนที่ดินซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งไม่สอดคล้องกับสภาพการใช้ประโยชน์ของแต่ละท้องถิ่น เช่น พื้นที่ไร่หมุนเวียน พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้นหรือครัวเรือนใหญ่ ที่ครอบครองที่ดินทำกินมากกว่าที่กำหนดนี้
ประการที่ 5. ตาม พรฎ. ได้กำหนดคุณสมบัติและข้อห้ามหลายประการที่มีลักษณะไม่เป็นธรรม กล่าวคือ ต้องการมีสัญชาติไทย ต้องไม่มีที่ดินอื่นนอกเขตโครงการ ต้องไม่มีที่ดินที่เป็นกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองอื่น ต้องไม่เคยกระทำความผิดเกี่ยวกับคดีป่าไม้ทุกประเภทในเขตป่าอนุรักษ์
กรณีนี้จะทำให้คนจำนวนมากเสียสิทธิ เพราะบุคคลที่ยังไม่มีสัญชาตินั้น ส่วนมากเป็นมีคุณสมบัติที่จะได้สัญชาติไทยตามกฎหมาย แต่กระบวนการจัดทำบัตรประจำตัวประชาชนของกรมการปกครองล่าช้าแต่บุคคลเหล่านี้อาจจะได้รับอนุมัติสัญชาติในภายหลังก็ได้
กรณีคนมีที่ดินอื่นนั้น มีชุมชนจำนวนมากที่เป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างพื้นที่ป่าอนุรักษ์กับพื้นที่ที่มีกรรมสิทธิ์ สิทธิครอบครอง หนังสืออนุญาตให้ทำประโยชน์ เขตป่าสงวน สปก. เป็นต้น ดังนั้น จึงไม่ควรนำมากำหนดเป็นข้อห้ามให้เสียสิทธิ์
สำหรับกรณีที่กำหนดว่าต้องไม่เคยกระทำความผิดในเขตป่าอนุรักษ์ หรือฝ่าฝืนข้อหนึ่งข้อใดของพระราชกฤษฎีกานี้นั้น เป็นการเอาเงื่อนไขอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องมากำหนดห้ามหรือเพิกถอนสิทธิ์ ควรห้ามเฉพาะเมื่อเป็นความผิดที่เกี่ยวกับที่ดินที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
ประการที่ 6. สิทธิที่ได้มาไม่สามารถสืบทอดทางมรดกได้ หากทายาทประสงค์จะได้สิทธิต่อจะต้องขออนุญาตต่ออธิบดีใหม่ ข้อห้ามนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 37 ที่บัญญัติว่าบุคคลย่อมมีสิทธิในทรัพย์สินและการสืบมรดก นอกจากนี้ยังขัดต่อบทบัญญัติในมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ 2562 และมาตรา 121 แห่ง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่ไม่ได้บัญญัติเอาไว้ จึงเสนอให้ตัดบทบัญญัติที่ห้ามมิให้มีการสืบมรดกสิทธิออก
ประการที่ 7. การห้ามโอนหรือยินยอมให้บุคคลอื่นทำประโยชน์โดยเด็ดขาดนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากที่ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่มีจำกัด ในขณะที่คนในท้องถิ่นจำนวนมากมีอาชีพทำการเกษตรและไม่มีที่ดินทำกินหรือมีไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาการบุกรุกทำลายป่า นอกจากนี้แม้รัฐจะห้ามแต่ในข้อเท็จจริงก็มีการเปลี่ยนมือหรือให้เช่าโดยที่รัฐไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งส่วนใหญ่มีเจ้าหน้าที่รัฐรู้เห็นเป็นใจและเรียกรับผลประโยชน์ด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหานายทุนกว้านซื้อที่ดิน จึงเสนอให้เปิดให้มีการโอนแก่กันหรือแบ่งกันใช้ได้ระหว่างคนในชุมชน โดยมีกฎระเบียบและกลไกรัฐคอยกำกับ พร้อมกำหนดเพดานการถือครองจะเหมาะสมกว่า
ประการที่ 8. การก่อสร้างอาคาร โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง ต้องห้ามไม่ให้สูงไม่เกินสองชั้น และต้องใช้เพื่อการอยู่อาศัยหรือทำกินเท่าที่จำเป็นแก่การดำรงชีพเท่านั้น ซึ่งคำว่า “จำเป็นแก่การดำรงชีพ” ไม่มีความชัดเจนว่ามากน้อยเพียงใด และห้ามมิให้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่น โรงงาน โรงแรม เท่ากับห้ามมิให้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
ก่อนหน้านี้กรมอุทยานฯ ได้ทำคำชี้แจงต่อคณะรัฐมนตรี แต่ก็ไม่ได้อธิบายหรือโต้แย้งประเด็นเรื่องที่ถูกประชาชนคัดค้าน เช่น ขาดการมีส่วนร่วม สิทธิสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด 20 ปี จำกัดการถือครองเพียงครอบครัวและ 20 ไร่ ครัวเรือนละไม่เกิน 40 ไร่ ห้ามสร้างที่พักรองรับนักท่องเที่ยว ประกอบกับการเคลื่อนไหวคัดค้านอย่างต้อเนื่องของภาคประชาชน ก็เท่ากับว่ารัฐบาลรู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่ร่างกฎหมายที่ออกมาแก้ไขปัญหา มีแต่จะสร้างปัญหาเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังจะเดินหน้าประกาศ นั่นก็เท่ากับว่ารัฐบาลนี้ไม่ได้รู้ร้อนรู้หนาวกับปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน
ปชน.ไม่ส่งตัวแทนสมัครอบจ.เพชรบูรณ์ รับไม่มีบุคคลโดดเด่นพอท้าชิงอดีตนายก 6 สมัย
https://www.matichon.co.th/region/news_4891445
คณะทำงานฯ เพชรบูรณ์ เผยเหตุไม่ส่งตัวแทนพรรคประชาชน ลงชิงนายก อบจ.เพชรบูรณ์ ยอมรับไม่มีบุคคลที่โดดเด่นพอท้าชิงอดีตนายกอบจ.เพชรบูรณ์ 6 สมัย
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน นายอนุกูล อ่อนวงค์ กรรมการและคณะทำงานสรรหาผู้สมัครชิงสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารองค์กรท้องถิ่น พรรคประชาชน (ปชน.) จ.เพชรบูรณ์ กล่าวถึงสาเหตุที่ไม่มีตัวแทนพรรคประชาชนลงสมัครชิงนายก อบจ.เพชรบูรณ์ในครั้งนี้ว่า นอกจากเตรียมตัวไม่ทันแล้ว ยอมรับว่าไม่มีบุคคลที่โดดเด่นและมีคุณภาพเพียงพอ ที่จะนำเสนอต่อประชาชนชาวเพชรบูรณ์ โดยเฉพาะต้องท้าชิงกับอดีตนายก อบจ. 6 สมัย