องุ่นไซมัสแคท มีสารพิษขนาดนี้ ประเทศไทยทำอะไรได้บ้าง
ภาคประชาชนเรียกร้องให้ประเทศไทยร่วมกันสร้างระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยเร่งด่วน (Rapid Alert System) เพราะสามารถแสดงข้อมูลการพบอันตรายในอาหาร มาตรการที่ใช้ในการจัดการ และติดตามการดำเนินการได้อย่างทันท่วงที โดยข้อมูลในระบบจะแสดงให้เห็นตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ประเทศต้นทาง ผู้นำเข้า ซัพพลายเออร์ ผู้จัดจำหน่ายรวมถึงผู้บริโภค โดยมีมาตรการสำคัญ เช่น การจัดการที่หน้าด่าน การปฏิเสธสินค้า การเรียกคืน การทำลายสินค้า เป็นต้น...
หลังจากเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ( Thai-PAN) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงผลทดสอบสารเคมีเกษตรในองุ่นไชน์มัสแคททั่วกรุงเทพและปริมณฑล พบว่าองุ่น 95.8% ที่สุ่มตรวจเจอสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน และตรวจพบสารพิษตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด ( อ่านผลวิเคราะห์และดูรายละเอียดฉบับเต็ม ในเอกสารผลวิเคราะห์ ที่
https://thaipan.org/wp-content/uploads/2024/10/live_friut_present.pdf?)
ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ได้จัดเวที ‘สัญญาณแห่งความหวัง’รายงานว่าผลจากการแบนการใช้ 3 สารเคมีสำคัญ คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และจำกัดการใช้ไกรโฟเซต ตั้งแต่ในปี 2563 ทำให้ปัจจุบันปริมาณการนำเข้าสารดังกล่าวลดลงชัดเจน การเจ็บป่วยของประชาชนจากสารเหล่านี้ก็ลดลงด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ผลสุ่มตรวจผลองุ่นไชน์มัสแคทในครั้งนี้ พบสารตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นวัตถุอันตราย 28 ชนิด และเป็นสารที่ยังไม่มีการประเมินผลกระทบอันตรายใดๆ ภายใต้กฎหมายไทย 22 ชนิด
แม้จะมีการจำกัด ห้ามนำเข้าสารพิษอันตรายบ้างแล้วแต่ประชาชนยังเสี่ยงอันตรายจากสารพิษที่ถูกนำเข้ามากับสินค้าและอาหารจำนวนมาก โดยที่ประเทศเรายังไม่มีความรู้และความพร้อมที่จะรับมือหากส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/spinoff/health/news-1681648
$€£¥ องุ่นไซมัสแคท มีสารพิษขนาดนี้ ประเทศไทยทำอะไรได้บ้าง...
ภาคประชาชนเรียกร้องให้ประเทศไทยร่วมกันสร้างระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยเร่งด่วน (Rapid Alert System) เพราะสามารถแสดงข้อมูลการพบอันตรายในอาหาร มาตรการที่ใช้ในการจัดการ และติดตามการดำเนินการได้อย่างทันท่วงที โดยข้อมูลในระบบจะแสดงให้เห็นตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ประเทศต้นทาง ผู้นำเข้า ซัพพลายเออร์ ผู้จัดจำหน่ายรวมถึงผู้บริโภค โดยมีมาตรการสำคัญ เช่น การจัดการที่หน้าด่าน การปฏิเสธสินค้า การเรียกคืน การทำลายสินค้า เป็นต้น...
หลังจากเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ( Thai-PAN) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แถลงผลทดสอบสารเคมีเกษตรในองุ่นไชน์มัสแคททั่วกรุงเทพและปริมณฑล พบว่าองุ่น 95.8% ที่สุ่มตรวจเจอสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน และตรวจพบสารพิษตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด ( อ่านผลวิเคราะห์และดูรายละเอียดฉบับเต็ม ในเอกสารผลวิเคราะห์ ที่ https://thaipan.org/wp-content/uploads/2024/10/live_friut_present.pdf?)
ก่อนหน้านี้ในช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ได้จัดเวที ‘สัญญาณแห่งความหวัง’รายงานว่าผลจากการแบนการใช้ 3 สารเคมีสำคัญ คือ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และจำกัดการใช้ไกรโฟเซต ตั้งแต่ในปี 2563 ทำให้ปัจจุบันปริมาณการนำเข้าสารดังกล่าวลดลงชัดเจน การเจ็บป่วยของประชาชนจากสารเหล่านี้ก็ลดลงด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ผลสุ่มตรวจผลองุ่นไชน์มัสแคทในครั้งนี้ พบสารตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด ในจำนวนนี้เป็นวัตถุอันตราย 28 ชนิด และเป็นสารที่ยังไม่มีการประเมินผลกระทบอันตรายใดๆ ภายใต้กฎหมายไทย 22 ชนิด
แม้จะมีการจำกัด ห้ามนำเข้าสารพิษอันตรายบ้างแล้วแต่ประชาชนยังเสี่ยงอันตรายจากสารพิษที่ถูกนำเข้ามากับสินค้าและอาหารจำนวนมาก โดยที่ประเทศเรายังไม่มีความรู้และความพร้อมที่จะรับมือหากส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชน...
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/spinoff/health/news-1681648