เครดิตแหล่งข่าว/เจ้าของบทความโดย
https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/335
หากเราใช้เครื่องปรุงเหล่านี้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ตับทำงานหนักและเสี่ยงต่อความเสียหายได้มากกว่าการดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นมารู้จักกับเครื่องปรุง 3 ชนิดที่ควรหลีกเลี่ยง หรือบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อปกป้องสุขภาพตับของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น
3 เครื่องปรุงที่ควรระวัง
1. ซีอิ๊ว
เป็นเครื่องปรุงอาหารที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีรสชาติที่เข้มข้นและอร่อย แต่การบริโภคซีอิ๊วมากเกินไปสามารถส่งผลต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อตับของเรา เพราะซีอิ๊วมาจากกระบวนการหมักถั่วเหลือง ซึ่งในกระบวนการนี้มีการสร้างสารแอมโมเนียมไนไตรท์ขึ้นมา สารนี้ถือว่าเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง
ตับเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับสารแอมโมเนียมไนไตรท์ ตับจะพยายามกำจัดออกไป แต่หากมีการบริโภคซีอิ๊วในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ตับต้องทำงานหนักในการกำจัดสารพิษ ส่งผลให้กระบวนการทำงานของเซลล์ตับอาจหยุดชะงัก และเมื่อเกิดขึ้นเป็นเวลานานตับอาจถูกทำลายและกลายเป็นพังผืด ซึ่งเป็นอันตรายต่อการทำงานของตับในระยะยาว
2. น้ำมันปรุงอาหารที่เสื่อมคุณภาพ หรือใช้ทอดซ้ำหลายครั้ง
น้ำมันปรุงอาหารที่ถูกเก็บไว้นานหรือเก็บไม่ถูกวิธี อาจเสื่อมสภาพและมีกลิ่น ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าไม่ควรใช้ต่อไป เพราะน้ำมันที่เสื่อมสภาพสามารถเกิดสารอะฟลาทอกซิน ซึ่งเป็นพิษที่เป็นอันตรายต่อตับ แม้ในปริมาณน้อยกว่า 1 มก.
นอกจากนี้การใช้น้ำมันทอดซ้ำหลายครั้ง แม้ว่าจะช่วยประหยัดัค่าใช้จ่าย แต่ก็สามารถก่อให้เกิดสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อตับ เช่น อะโครลีน อะคริลาไมด์ และเตตระไฮโดรไพแรน สารเหล่านี้มีฤทธิ์ทำลายเซลล์ตับและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ
3. ใช้เครื่องปรุงหรือเกลือเข้มข้นจำนวนมาก
เครื่องปรุงอาการเป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มรสชาติของอาหาร แต่การใช้เครื่องปรุงในปริมาณที่มากเกินไป โดยเฉพาะเครื่องเทศบางชนิดที่มีสาร Safrole ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง หากเกิดการสะสมสารนี้ในตับสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อตับได้ หากใช้ในระยะยาว
ในส่วนของเกลือ การบริโภคโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อตับและอาจนำไปสู่โรคตับได้ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ควรจำกัดการบริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพตับและระบบหัวใจและหลอดเลือด
3 เครื่องปรุง หากใช้มากไป ไม่ดีต่อตับ
https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/335
หากเราใช้เครื่องปรุงเหล่านี้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้ตับทำงานหนักและเสี่ยงต่อความเสียหายได้มากกว่าการดื่มแอลกอฮอล์ ดังนั้นมารู้จักกับเครื่องปรุง 3 ชนิดที่ควรหลีกเลี่ยง หรือบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อปกป้องสุขภาพตับของตัวเองให้ดียิ่งขึ้น
3 เครื่องปรุงที่ควรระวัง
1. ซีอิ๊ว
เป็นเครื่องปรุงอาหารที่ได้รับความนิยม เนื่องจากมีรสชาติที่เข้มข้นและอร่อย แต่การบริโภคซีอิ๊วมากเกินไปสามารถส่งผลต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อตับของเรา เพราะซีอิ๊วมาจากกระบวนการหมักถั่วเหลือง ซึ่งในกระบวนการนี้มีการสร้างสารแอมโมเนียมไนไตรท์ขึ้นมา สารนี้ถือว่าเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง
ตับเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่างกาย ดังนั้นเมื่อร่างกายได้รับสารแอมโมเนียมไนไตรท์ ตับจะพยายามกำจัดออกไป แต่หากมีการบริโภคซีอิ๊วในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ตับต้องทำงานหนักในการกำจัดสารพิษ ส่งผลให้กระบวนการทำงานของเซลล์ตับอาจหยุดชะงัก และเมื่อเกิดขึ้นเป็นเวลานานตับอาจถูกทำลายและกลายเป็นพังผืด ซึ่งเป็นอันตรายต่อการทำงานของตับในระยะยาว
2. น้ำมันปรุงอาหารที่เสื่อมคุณภาพ หรือใช้ทอดซ้ำหลายครั้ง
น้ำมันปรุงอาหารที่ถูกเก็บไว้นานหรือเก็บไม่ถูกวิธี อาจเสื่อมสภาพและมีกลิ่น ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าไม่ควรใช้ต่อไป เพราะน้ำมันที่เสื่อมสภาพสามารถเกิดสารอะฟลาทอกซิน ซึ่งเป็นพิษที่เป็นอันตรายต่อตับ แม้ในปริมาณน้อยกว่า 1 มก.
นอกจากนี้การใช้น้ำมันทอดซ้ำหลายครั้ง แม้ว่าจะช่วยประหยัดัค่าใช้จ่าย แต่ก็สามารถก่อให้เกิดสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อตับ เช่น อะโครลีน อะคริลาไมด์ และเตตระไฮโดรไพแรน สารเหล่านี้มีฤทธิ์ทำลายเซลล์ตับและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับ
3. ใช้เครื่องปรุงหรือเกลือเข้มข้นจำนวนมาก
เครื่องปรุงอาการเป็นสิ่งจำเป็นในการเพิ่มรสชาติของอาหาร แต่การใช้เครื่องปรุงในปริมาณที่มากเกินไป โดยเฉพาะเครื่องเทศบางชนิดที่มีสาร Safrole ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง หากเกิดการสะสมสารนี้ในตับสามารถทำให้เกิดความเสียหายต่อตับได้ หากใช้ในระยะยาว
ในส่วนของเกลือ การบริโภคโซเดียมในปริมาณที่มากเกินไปอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งเป็นอันตรายต่อตับและอาจนำไปสู่โรคตับได้ ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ควรจำกัดการบริโภคเกลือไม่เกิน 5 กรัมต่อวัน เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพตับและระบบหัวใจและหลอดเลือด