องุ่นไชน์มัสแคทพบ "คลอร์ไพริฟอส" บางตัวอย่าง 50 พิษตกค้าง

สำหรับท่านที่พึ่งกดเข้ามาอ่าน อย่าลืมอ่าน คห.14 ครับ

ผมจะบอกว่า อย่าอ่านแต่ พาดหัวข่าวครับ ผมใส่ลิงค์ไว้ให้ข้างล่าง นะครับ ถ้ามีเวลาแนะนำเข้าไปฟัง นะครับ
ซึ่งข่าวบางครั้งก็ลงให้ดูน่าตกใจ แต่ข้อเท็จจริงท่านต้องเข้าไปฟังครับ บางเรื่องน่าเป็นห่วงและผิดกฎหมายจริง แต่บางประเด็นผมไม่ค่อยเห็นด้วย
เวลานำข้อมูลมาออกสื่อ ทำให้ดูน่ากลัวไปหมด ครับ


Cr.ข่าวจาก Thai PBS
แปะเนื้อข่าวให้นะครับ
ช็อก! "องุ่นไชน์มัสแคท" นำเข้าจากจีน พบสารคลอร์ไพริฟอส วัตถุอันตรายประเภทที่ 4 พบ 23 จาก 24 ตัวอย่างที่สุ่มตรวจจากห้าง ร้านค้า ตลาด รถเร่ บางตัวอย่างตกค้าง 50 ชนิดชี้เป็นเหตุผลอยู่ได้นานเป็นเดือน
วันนี้ (24 ต.ค.2567) เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN)  
ร่วมกับ นิตยสารฉลาดซื้อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แถลงผลการตรวจสารพิษในองุ่นไชน์มัสแคททั้งหมด 24 ตัวอย่าง

นส.ทัศนีย์ แน่นอุดร นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า เนื่องจากองุ่นไชน์มัสแคท ที่วางขายในไทยมีขายและหาซื้อง่าย บางแห่งราคา 3 กล่อง 100 บาท และวางขายในตลาดทั่วไปและห้างค้าปลีก จึงได้ลองสุ่มตัวอย่างทั้งตลาดออนไลน์ 2 ที่ รถเร่ 5 และโมเดริ์นเทรดที่แพคขายรวม 24 ตัวอย่าง


ด้านน.ส.ปรกชล อู๋ทรัพย์ เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช Thai-PAN เปิดเผยว่า จากผลการตรวจแหล่งที่มาขององุ่นไชน์มัสแคท พบว่า สั่งออนไลน์ 2 ตัวอย่าง ร้านค้าและตลาด 7 ตัวอย่าง และโมเดิร์นเทรด 15 ตัวอย่างและสามารถว่ามาจากจีนได้ 9 ตัวอย่าง ส่วนอีก 15 ตัวอย่างไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้
ทั้งนี้พบว่า 23 ตัวอย่างจาก 24 ตัวอย่างพบสารพิษตกค้างเกินที่กฎหมายกำหนด โดย 1 ตัวอย่างพบสารคลอร์ไพริฟอส ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 และเป็นสารที่ถูกแบนในไทยแล้ว ทั้งนี้ตามกฎหมายต้องตรวจไม่พบเนื่องจากยกเลิกค่า MRL แล้ว ส่วนองุ่นอีก 22 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง 14 ชนิดเกินค่าดีฟอลต์ลิมิต เพราะยังไม่มีกฎหมายกำหนดและไม่ได้ใช้ในไทย

นอกจากนี้ยังพบว่าตัวอย่างองุ่นมีสารพิษที่อยู่นอกบัญชีวัตถุอันตรายของไทย จึงไม่มีการประเมินความปลอดภัย อีกทั้งสารที่พบส่วนใหญ่เป็นสารกำจัดโรคพืช และจึงเป็นคำตอบว่าทำไมองุ่นที่พบอยู่ได้เป็นเดือน
โดยพบสารกำจัดแมลงไร 40% สารกำจัดโรคพืช 56% และสารพวกนี้เป็นสารดูดซึมเข้าไปในเนื้อเยื่อขององุ่น ทำให้องุ่นอยู่ได้นานเป็นเดือน และการล้างเพียงอย่างเดียวไม่ได้ช่วย


นอกจากนี้แนะนำให้ห้างโมเดิร์นเทรด และผู้จำหน่ายองุ่นไชน์มัสแคทที่มีการสุ่มตัวอย่างและพบสารพิษตกค้างไม่เกินค่าที่กฎหมายกำหนด ควรแสดงความรับผิดชอบด้วยการเก็บออกจากชั้นวางจำหน่าย และหากขายหมดแล้วควรแถลงมาตรการที่ชัดเจนกับซัพพลายเออร์ และแหล่งผลิตที่มีสารพิษตกค้าง และควรต้องยกเลิกการนำเข้า และต้องระบุแหล่งที่มา ประเทศต้นทางเพื่อให้ตรวจสอบย้อนกลับได้ถ้ามีปัญหา
เช็กข้อค้นพบสารพิษตกค้าง
ข้อค้นพบสำคัญของการเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคท ได้แก่
ประเทศผู้ผลิตองุ่นไชน์มัสแคท 24 ตัวอย่าง ที่สุ่มซื้อมาจากการสั่งออนไลน์ 2 ตัวอย่าง มาจากร้านค้าและตลาด 7 ตัวอย่าง และจากโมเดิร์นเทรด 15 ตัวอย่าง สามารถระบุได้เพียง 9 ตัวอย่างว่ามาจากประเทศจีน อีก 15 ตัวอย่างไม่สามารถระบุแหล่งที่มาได้95.8% ของตัวอย่างองุ่นไชน์มัสแคทหรือ 23 จาก 24 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่าที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
องุ่น 1 ตัวอย่าง พบสารคลอร์ไพริฟอสซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ทั้งนี้ตามกฎหมายต้องตรวจไม่พบเนื่องจากยกเลิกค่า MRL แล้ว
องุ่นอีก 22 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้าง 14 ชนิด เกินค่าดีฟอลต์ลิมิต (สารพิษตกค้างที่ไม่มีค่า MRL ตามกฎหมายกำหนดให้พบได้ไม่เกินค่าดีฟอลต์ลิมิต 0.01 mg/kg) ซึ่งสารเหล่านี้อาจยังไม่มีการประเมินความปลอดภัย ได้แก่ Procymidone, Imazalil, Thiamethoxam, Tetraconazole, Chlorfenapyr, Flonicamid, Ethirimol, Pyriproxyfen, Lufenuron, Bupirimate, Prochloraz, Hexaconazole, Bromacil และ Isopyrazam
พบสารพิษตกค้างทั้งหมด 50 ชนิด พบว่าเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จำนวน 26 ชนิด เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ยกเลิกการใช้ในประเทศไทย) จำนวน 2 ชนิด ได้แก่ Chlorpyrifos และ Endrin aldehyde และเป็นสารที่อยู่นอกบัญชีวัตถุอันตรายมากถึง 22 ชนิด ซึ่งเป็นสารที่ยังไม่มีการประเมินใดๆ ภายใต้กฎหมายไทย ได้แก่ Triasulfuron, Cyflumetofen,Flonicamid, Chlorantraniliprole,  Etoxazole, Spirotetramat,
Bifenazate, Dinotefuran, Fluopyram, Boscalid, Fluopicolide, Pyrimethanil, Ametoctradin, Tetraconazole, Ethirimol, Metrafenone, Fludioxonil, Bupirimate, Isopyrazam, Oxathiapiprolin, Biphenyl และ Cyazofamid
จากสารพิษตกค้าง 50 ชนิด มีสารประเภทดูดซึม (Systemic pesticide) 37 ชนิด หรือคิดเป็น 74% ของสารพิษตกค้าง โดยสารกลุ่มนี้มีโอกาสตกค้างอยู่ในเนื้อเยื่อขององุ่น ซึ่งการล้างสารกลุ่มนี้ออกจากเนื้อเยื่อพืชคงไม่ใช่เรื่องที่ทำได้โดยง่าย

แปะลิงค์เพิ่มให้ครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่