ชาวบ้านฉะเชิงเทราเปิดใจหลัง เศรษฐา พ้นนายกฯ รับผิดหวัง ทำใจถ้าวืดเงินดิจิทัล
https://www.thairath.co.th/news/local/localbusiness/2808160
ชาวฉะเชิงเทราที่มีอาชีพหาเช้ากินค่ำ บอกผิดหวังแต่ต้องทำใจ สอดคล้องกระแสข่าวออกมาว่า ชวดเงินดิจิทัล 10,000 บาท หลัง "เศรษฐา" พ้นนายกฯ ขณะที่ บรรยากาศร้านค้าเงียบเหงา ไม่ออกมาจับจ่ายเหมือนทุกวัน
เมื่อช่วงค่ำวานนี้ (14 ส.ค. 67) ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตามดูบรรยากาศชุมชนห้าแยก ตลาดหัวสำโรง ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เป็นไปด้วยความหงอยเหงากว่าทุกๆ วัน ร้านค้า ต่างนั่งมองหน้ากัน แทบจะไร้คนมาหาซื้อ ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติโดยเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) เนื่องจากไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) กรณีแต่งตั้งให้ นาย
พิชิต ชื่นบาน นั่งตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากขาดคุณสมบัติในการเข้ารับตำแหน่ง
สอบถามพี่เอ (นามสมมติ) พ่อค้าขายผลไม้ กล่าวว่า ตนเคยคาดหวังในนโยบายที่เขาหาเสียงเลือกตั้ง แต่พอจัดตั้งรัฐบาล ตนก็ไม่มีอะไรที่จะต้องคาดหวัง เพราะยังไม่เห็นนายกฯ ท่านนี้ ทำอะไรได้ตามที่พูดไว้ต่อประชาชนได้สักอย่าง พร้อมบอกว่าทุกวันนี้ชาวบ้านตาดำๆ ทำมาหากินช่วยเหลือตนเองกัน ด้วยการหาเช้ากินค่ำพอมีเงินประคองครอบครัว ลูกหลานมีเงินไปโรงเรียน พร้อมบอกว่าไม่ใช่แค่ที่นี่ เชื่อทั้งประเทศประชาชนแทบจะไม่มีรายได้กันแล้ว เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ พอศาลตัดสินนายกฯ พ้นตำแหน่ง ยิ่งทำให้ทั้งตน ชาวบ้านพากันหงอยเหงาเหมือนสิ้นหวังลงทันทีกับเงินดิจิทัล 10,000 บาท คงไม่ได้แล้ว
ขณะที่เจ๊หมวยที่กำลังทำขนม ก็เล่าให้ฟังว่า เรื่องเงินดิจิทัลไม่คาดหวังอยู่แล้ว เงื่อนไขเยอะจัด จะให้ชาวบ้านก็ให้เลย ทำไมต้องสร้างเงื่อนไขมากมาย ชาวบ้านลำพังจะทำมาหากินไปในแต่ละวันยังแย่แล้ว ทำไมต้องมาสร้างเงื่อนไขในการใช้เงินที่ต้องไปเฉพาะร้าน
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวสังเกตว่า ชาวบ้านไม่ออกมาจับจ่ายเหมือนทุกวัน ทันทีที่ศาลสั่งนายกฯ พ้นตำแหน่ง ชาวบ้านพากันพูดตรงกันคือรู้สึกผิดหวังอย่างมาก.
“ดุสิตโพล” 52.88% “เศรษฐา” หลุดเก้าอี้มีเบื้องหลัง-36.35% “อุ๊งอิ๊ง” มาแทน
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_761806/
“ดุสิตโพล”ประชาชน 52.88%เชื่อ”เศรษฐา”หลุดเก้าอี้มีเบื้องหลัง ขณะ 70.30% เชื่อน่าจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง, 36.35% คิดว่าคนที่จะมาแทนคือ “แพทองธาร”
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “
คนไทยกับนายกรัฐมนตรี” ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2567
จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,239 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์ และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 52.88 คิดว่าการที่ “นายกฯ
เศรษฐา ทิวีสิน” หลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นเรื่องการเมือง มีเบื้องลึกเบื้องหลัง, ร้อยละ 51.26 กังวลกับนโยบายที่ได้ทำไว้ อาจไม่ต่อเนื่อง,ร้อยละ 46.63 เป็นการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล
ทั้งนี้ ร้อยละ 70.30 ระบุ น่าจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง แต่ร้อยละ 29.70 ระบุ ไม่ส่งผลกระทบ, ขณะที่ ร้อยละ 62.62 หวังว่าผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ คนใหม่ควรเข้าใจปัญหาสังคมและประชาชน,ร้อยละ 61.97 สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ และร้อยละ 58.14 เป็นคนรุ่นใหม่ มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ อย่างไรดก็ตาม ประชาชนร้อยละ 36.35 คิดว่าคนที่จะมาเป็นนายกฯ คนใหม่ น่าจะเป็น นส.
แพทองธาร ชินวัตร, ร้อยละ 25.33 นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 25.33 และ ร้อยละ 22.30 นาย
ชัยเกษม นิติสิริ
นายแบงก์หวั่นนายกฯใหม่มาช้า เสี่ยงงบประมาณประจำปีไม่ทันกำหนด 1 ต.ค. แนะเร่งสร้างความเชื่อมั่นทุนต่างชาติ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4738384
นายแบงก์หวั่นนายกฯใหม่มาช้า เสี่ยงงบประมาณประจำปีไม่ทันกำหนด 1 ต.ค. แนะเร่งสร้างความเชื่อมั่นทุนต่างชาติ
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา นาย
อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า กรณีนายเศรษฐา ทวีสิน หลุดจากการเป็นนายกรัฐมนตรี คาดหวังว่าการเข้ามาของนายกฯคนใหม่ จะมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับ มีความน่าเชื่อถือ สามารทำงานบริหารได้ทันที ที่สำคัญจะต้องมีทีมงานสนับสนุนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง
เพื่อให้สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างเต็มที่ โดยประเมินว่าภาพคงไม่ซ้ำรอยเหมือนช่วงการจัดตั้งรัฐบาลล่าสุด ที่ส่งผลกระทบให้งบประมาณประจำปี 2567 ล่าช้า กระทบกับด้านการลงทุนภาครัฐ ที่ไม่สามารถหยิบมาใช้จ่ายได้ ลดทอนความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ทำให้ภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ซึมตัวมาตลอด หากงบประมาณล่าช้าอีกครั้งจะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยมากขึ้น
นาย
อมรเทพกล่าวว่า ความกังวลในเรื่องนโยบาย และความล่าช้าในการจัดตั้งงบประมาณประจำปี เพราะอาจมีความเสี่ยงที่จะไม่ทันกำหนดในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ โดยหากมีนายกฯเข้ามานั่งตำแหน่งบริหารได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่สัปดาห์จากนี้ การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วเสร็จช่วงเดือนกันยายนนี้ กระทบกับงบประมาณที่อาจล่าช้าออกไปประมาณ 1 เดือน ในเวลาประมาณนี้ถือว่าผลกระทบไม่ได้มีมากนัก ซึ่งก็หวังว่า ครม.ชุดใหม่จะเร่งนำงบประมาณปี 2567 ที่ค้างท่ออยู่ เร่งเบิกจ่ายและใช้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่ล่าช้านำออกมาชดเชยผ่านมาตรการต่างๆ ในภายหลักเพื่อให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อได้ในช่วงที่เหลือของปี 2567 นี้ โดยที่ไม่เกิดการสะดุดขึ้น หากเป็นแบบนี้ ไม่เกิดรอยต่อระหว่างรัฐบาลมากนัก ยังไม่ถึงขั้นต้องปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2567
นาย
อมรเทพกล่าวว่า สิ่งที่อยากเห็นในรัฐบาลชุดใหม่คือ
1. เศรษฐกิจไทยถูกผลกระทบในฐานราก โตเพียงระดับกลางถึงบน ในภาคการท่องเที่ยวหรือส่งออกเท่านั้น แต่กลุ่มเกษตรกรและเมืองอื่นนอกเหนือเมืองท่องเที่ยวหลักยังมีความอ่อนแอ จึงอยากเห็นมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อออกมา อาทิ การแจกเงินผ่านช่องทางอื่น หรือการลดค่าครองชีพ ไม่ใช่รอเพียงดิจิทัลวอลเล็ตเท่านั้นหากยังเดินหน้าต่อ
2. การเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติ ต่อเนื่องจากที่นายเศรษฐาเดินทางไปสร้างความเชื่อมั่นในต่างประเทศ จึงไม่อยากเห็นสิ่งที่ทำไว้แล้วต้องเสียของไป และต้องเร่งในจุดนี้ เพื่อไม่ให้ต่างชาติรอนานเกินไป หรือย้ายไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านแทน
นาย
อมรเทพกล่าวต่อว่า 3. ตลาดทุนไทย โดยเฉพาะความเชื่อมั่นที่ถูกกระทบ รัฐบาลต้องหามาตรการดูแลตลาดทุนให้มีความน่าเชื่อถือ รองรับการลงทุนของทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติให้ได้ เพราะมองภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแล้วก็ต้องอาศัยตลาดทุนในการขับเคลื่อนด้วย
และ 4. การเพิ่มสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ที่ปัญหาสภาพคล่องเป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดยอยากเห็นมาตรการด้านการคลัง ที่อาศัยแบงก์รัฐในการช่วยดูแลสภาพคล่องให้กับเอสเอ็มอีและผู้มีรายได้น้อย โดยหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นมาตรการควิกวินให้รัฐบาลชุดใหม่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ แบบที่ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการขนาดใหญ่อย่างดิจิทัลวอลเล็ต ที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ ทำให้เศรษฐกิจไทยยังสามารถเติบโตได้ในช่วงที่มีความเปราะบางแบบนี้.
JJNY : ทำใจถ้าวืดเงินดิจิทัล│52.88% “เศรษฐา” หลุดมีเบื้องหลัง│นายแบงก์หวั่นนายกฯใหม่มาช้า│ยูเครนตั้งสนง.ในรัสเซีย
https://www.thairath.co.th/news/local/localbusiness/2808160
ชาวฉะเชิงเทราที่มีอาชีพหาเช้ากินค่ำ บอกผิดหวังแต่ต้องทำใจ สอดคล้องกระแสข่าวออกมาว่า ชวดเงินดิจิทัล 10,000 บาท หลัง "เศรษฐา" พ้นนายกฯ ขณะที่ บรรยากาศร้านค้าเงียบเหงา ไม่ออกมาจับจ่ายเหมือนทุกวัน
เมื่อช่วงค่ำวานนี้ (14 ส.ค. 67) ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ตามดูบรรยากาศชุมชนห้าแยก ตลาดหัวสำโรง ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา เป็นไปด้วยความหงอยเหงากว่าทุกๆ วัน ร้านค้า ต่างนั่งมองหน้ากัน แทบจะไร้คนมาหาซื้อ ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติโดยเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 วินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) เนื่องจากไม่มีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) กรณีแต่งตั้งให้ นายพิชิต ชื่นบาน นั่งตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากขาดคุณสมบัติในการเข้ารับตำแหน่ง
สอบถามพี่เอ (นามสมมติ) พ่อค้าขายผลไม้ กล่าวว่า ตนเคยคาดหวังในนโยบายที่เขาหาเสียงเลือกตั้ง แต่พอจัดตั้งรัฐบาล ตนก็ไม่มีอะไรที่จะต้องคาดหวัง เพราะยังไม่เห็นนายกฯ ท่านนี้ ทำอะไรได้ตามที่พูดไว้ต่อประชาชนได้สักอย่าง พร้อมบอกว่าทุกวันนี้ชาวบ้านตาดำๆ ทำมาหากินช่วยเหลือตนเองกัน ด้วยการหาเช้ากินค่ำพอมีเงินประคองครอบครัว ลูกหลานมีเงินไปโรงเรียน พร้อมบอกว่าไม่ใช่แค่ที่นี่ เชื่อทั้งประเทศประชาชนแทบจะไม่มีรายได้กันแล้ว เศรษฐกิจที่ย่ำแย่ พอศาลตัดสินนายกฯ พ้นตำแหน่ง ยิ่งทำให้ทั้งตน ชาวบ้านพากันหงอยเหงาเหมือนสิ้นหวังลงทันทีกับเงินดิจิทัล 10,000 บาท คงไม่ได้แล้ว
ขณะที่เจ๊หมวยที่กำลังทำขนม ก็เล่าให้ฟังว่า เรื่องเงินดิจิทัลไม่คาดหวังอยู่แล้ว เงื่อนไขเยอะจัด จะให้ชาวบ้านก็ให้เลย ทำไมต้องสร้างเงื่อนไขมากมาย ชาวบ้านลำพังจะทำมาหากินไปในแต่ละวันยังแย่แล้ว ทำไมต้องมาสร้างเงื่อนไขในการใช้เงินที่ต้องไปเฉพาะร้าน
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวสังเกตว่า ชาวบ้านไม่ออกมาจับจ่ายเหมือนทุกวัน ทันทีที่ศาลสั่งนายกฯ พ้นตำแหน่ง ชาวบ้านพากันพูดตรงกันคือรู้สึกผิดหวังอย่างมาก.
“ดุสิตโพล” 52.88% “เศรษฐา” หลุดเก้าอี้มีเบื้องหลัง-36.35% “อุ๊งอิ๊ง” มาแทน
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_761806/
“ดุสิตโพล”ประชาชน 52.88%เชื่อ”เศรษฐา”หลุดเก้าอี้มีเบื้องหลัง ขณะ 70.30% เชื่อน่าจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง, 36.35% คิดว่าคนที่จะมาแทนคือ “แพทองธาร”
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับนายกรัฐมนตรี” ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2567
จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,239 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์ และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 52.88 คิดว่าการที่ “นายกฯเศรษฐา ทิวีสิน” หลุดจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีนั้นเป็นเรื่องการเมือง มีเบื้องลึกเบื้องหลัง, ร้อยละ 51.26 กังวลกับนโยบายที่ได้ทำไว้ อาจไม่ต่อเนื่อง,ร้อยละ 46.63 เป็นการเปลี่ยนแปลงในรัฐบาล
ทั้งนี้ ร้อยละ 70.30 ระบุ น่าจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเมือง แต่ร้อยละ 29.70 ระบุ ไม่ส่งผลกระทบ, ขณะที่ ร้อยละ 62.62 หวังว่าผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ คนใหม่ควรเข้าใจปัญหาสังคมและประชาชน,ร้อยละ 61.97 สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้ และร้อยละ 58.14 เป็นคนรุ่นใหม่ มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาประเทศ อย่างไรดก็ตาม ประชาชนร้อยละ 36.35 คิดว่าคนที่จะมาเป็นนายกฯ คนใหม่ น่าจะเป็น นส.แพทองธาร ชินวัตร, ร้อยละ 25.33 นายอนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 25.33 และ ร้อยละ 22.30 นายชัยเกษม นิติสิริ
นายแบงก์หวั่นนายกฯใหม่มาช้า เสี่ยงงบประมาณประจำปีไม่ทันกำหนด 1 ต.ค. แนะเร่งสร้างความเชื่อมั่นทุนต่างชาติ
https://www.matichon.co.th/economy/news_4738384
นายแบงก์หวั่นนายกฯใหม่มาช้า เสี่ยงงบประมาณประจำปีไม่ทันกำหนด 1 ต.ค. แนะเร่งสร้างความเชื่อมั่นทุนต่างชาติ
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า กรณีนายเศรษฐา ทวีสิน หลุดจากการเป็นนายกรัฐมนตรี คาดหวังว่าการเข้ามาของนายกฯคนใหม่ จะมีคุณสมบัติเป็นผู้ที่ได้รับการยอมรับ มีความน่าเชื่อถือ สามารทำงานบริหารได้ทันที ที่สำคัญจะต้องมีทีมงานสนับสนุนทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง
เพื่อให้สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างเต็มที่ โดยประเมินว่าภาพคงไม่ซ้ำรอยเหมือนช่วงการจัดตั้งรัฐบาลล่าสุด ที่ส่งผลกระทบให้งบประมาณประจำปี 2567 ล่าช้า กระทบกับด้านการลงทุนภาครัฐ ที่ไม่สามารถหยิบมาใช้จ่ายได้ ลดทอนความเชื่อมั่นของภาคเอกชน ทำให้ภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ซึมตัวมาตลอด หากงบประมาณล่าช้าอีกครั้งจะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยมากขึ้น
นายอมรเทพกล่าวว่า ความกังวลในเรื่องนโยบาย และความล่าช้าในการจัดตั้งงบประมาณประจำปี เพราะอาจมีความเสี่ยงที่จะไม่ทันกำหนดในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ โดยหากมีนายกฯเข้ามานั่งตำแหน่งบริหารได้อย่างรวดเร็วภายในไม่กี่สัปดาห์จากนี้ การจัดตั้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้วเสร็จช่วงเดือนกันยายนนี้ กระทบกับงบประมาณที่อาจล่าช้าออกไปประมาณ 1 เดือน ในเวลาประมาณนี้ถือว่าผลกระทบไม่ได้มีมากนัก ซึ่งก็หวังว่า ครม.ชุดใหม่จะเร่งนำงบประมาณปี 2567 ที่ค้างท่ออยู่ เร่งเบิกจ่ายและใช้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่ล่าช้านำออกมาชดเชยผ่านมาตรการต่างๆ ในภายหลักเพื่อให้เศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อได้ในช่วงที่เหลือของปี 2567 นี้ โดยที่ไม่เกิดการสะดุดขึ้น หากเป็นแบบนี้ ไม่เกิดรอยต่อระหว่างรัฐบาลมากนัก ยังไม่ถึงขั้นต้องปรับคาดการณ์การเติบโตของเศรษฐกิจไทยทั้งปี 2567
นายอมรเทพกล่าวว่า สิ่งที่อยากเห็นในรัฐบาลชุดใหม่คือ
1. เศรษฐกิจไทยถูกผลกระทบในฐานราก โตเพียงระดับกลางถึงบน ในภาคการท่องเที่ยวหรือส่งออกเท่านั้น แต่กลุ่มเกษตรกรและเมืองอื่นนอกเหนือเมืองท่องเที่ยวหลักยังมีความอ่อนแอ จึงอยากเห็นมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อออกมา อาทิ การแจกเงินผ่านช่องทางอื่น หรือการลดค่าครองชีพ ไม่ใช่รอเพียงดิจิทัลวอลเล็ตเท่านั้นหากยังเดินหน้าต่อ
2. การเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติ ต่อเนื่องจากที่นายเศรษฐาเดินทางไปสร้างความเชื่อมั่นในต่างประเทศ จึงไม่อยากเห็นสิ่งที่ทำไว้แล้วต้องเสียของไป และต้องเร่งในจุดนี้ เพื่อไม่ให้ต่างชาติรอนานเกินไป หรือย้ายไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านแทน
นายอมรเทพกล่าวต่อว่า 3. ตลาดทุนไทย โดยเฉพาะความเชื่อมั่นที่ถูกกระทบ รัฐบาลต้องหามาตรการดูแลตลาดทุนให้มีความน่าเชื่อถือ รองรับการลงทุนของทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติให้ได้ เพราะมองภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแล้วก็ต้องอาศัยตลาดทุนในการขับเคลื่อนด้วย
และ 4. การเพิ่มสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจ โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ที่ปัญหาสภาพคล่องเป็นเรื่องสำคัญในการดำเนินธุรกิจ โดยอยากเห็นมาตรการด้านการคลัง ที่อาศัยแบงก์รัฐในการช่วยดูแลสภาพคล่องให้กับเอสเอ็มอีและผู้มีรายได้น้อย โดยหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นมาตรการควิกวินให้รัฐบาลชุดใหม่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ แบบที่ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการขนาดใหญ่อย่างดิจิทัลวอลเล็ต ที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ ทำให้เศรษฐกิจไทยยังสามารถเติบโตได้ในช่วงที่มีความเปราะบางแบบนี้.