‘ศิริกัญญา’ ตั้งคำถาม ‘แพทองธาร’ จัดลำดับสำคัญอย่างไร ทำไมไม่ประชุมทำงบฯ69
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1160327
การประชุมจัดทำงบประมาณระหว่างรัฐบาลกับ 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ วางกรอบงบประมาณปี 2569 แพทองธารไม่นั่งหัวโต๊ะประชุมเอง แต่มอบ รองนายกฯพิชัย เป็นประธานแทน เคาะกรอบงบฯ3.78 ล้านล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ 8.6 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณ 4.3% จีดีพี
• การประชุมจัดทำงบประมาณระหว่างรัฐบาลกับ 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ วางกรอบงบประมาณปี 2569 แพทองธารไม่นั่งหัวโต๊ะประชุมเอง แต่มอบ รองนายกฯพิชัย เป็นประธาน
• ที่ประชุมเคาะกรอบงบฯ3.78 ล้านล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ 8.6 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณ 4.3% จีดีพี
• ศิริกัญญา ตั้งคำถามถึงนายกฯจัดลำดับความสำคัญอย่างไร เพราะการทำงบประมาณถือว่ามีความสำคัญมากในทางบริหาร
• ชี้งบฯขาดดุลยังพุ่ง นายกฯควรชี้แจงกับหน่วยงานเศรษฐกิจด้วยตัวเองถึงทิศทาง เป้าหมายใช้งบฯของรัฐบาล
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2569 ได้เริ่มต้นตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ม.ค.ที่ผ่านมา เมื่อหน่วยงานเศรษฐกิจ 4 หน่วยงานได้แก่ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงบประมาณ และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการหารือกับ “รัฐบาล” ในการจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่าย โดยข้อมูลสำคัญคือการประมาณการรายได้ และรายจ่ายของรัฐบาล การคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจ และนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการจัดทำงบประมาณ
นายกฯมอบ รมว.คลังนั่งหัวโต๊ะ
โดยความสำคัญของงบประมาณที่เป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ การจัดสรรงบประมาณที่เป็นส่วนกำหนดทิศทางการทำงานของรัฐบาล ที่ผ่านมาการประชุม 4 หน่วยงานเศรษฐกิจนี้ผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีจะมานั่งหัวโต๊ะเป็นประธานด้วยตนเอง เพื่อรับฟังข้อมูล และมอบนโยบาย ทั้งนี้ข้อน่าสังเกตที่เกิดขึ้นในการจัดทำงบกรอบงบประมาณในครั้งนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้นั่งเป็นประธานการประชุมเอง แต่มอบหมายให้นาย
พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธานประชุมร่วมกับ 4 หน่วยงาน
โดยที่ประชุมฯได้เคาะกรอบงบประมาณปี 2569 3.78 ล้านล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ 8.6 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณ 4.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) โดยมีระดับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณอยู่ที่ 67.3%
ศิริกัญญา ถามนายกฯลำดับความสำคัญอย่างไร?
นางสาว
ศิริกัญญา ตันสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชนฝ่ายนโยบาย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าเรื่องการจัดทำกรอบงบประมาณนั้นมีขอบเขตที่กว้างกว่างานของกระทรวงการคลัง ดังนั้นคนที่ควรจะมานั่งเป็นประธานการในการจัดทำกรอบงบประมาณควรจะเป็นนายกรัฐมนตรีมากกว่าที่จะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจากการประชุมนี้นายกรัฐมนตรีควรจะเป็นผู้ชี้แจงให้หน่วยงานเศรษฐกิจรับทราบทิศทาง นโยบาย และยุทธศาสตร์ในการจัดสรรงบประมาณว่ารัฐบาลจะเน้นการทำงบประมาณในเรื่องใด
โดยเฉพาะงบประมาณปี 2569 นั้นเป็นงบประมาณที่รัฐบาลปัจจุบันนั้นจัดทำเองทั้งหมดเป็นปีแรกนายกรัฐมนตรีจึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากกว่าภารกิจอื่นๆ ซึ่งการที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้มาประชุมด้วยตัวเองก็สะท้อนเรื่องการจัดลำดับความสำคัญในการทำงานของนายกรัฐมนตรีได้เป็นอย่างดี
“
การจัดทำงบประมาณปี 2569 นั้นตัวเลขงบประมาณนั้นยังเพิ่มสูง สัดส่วนการขาดดุลงบประมาณสูงถึง 8.6 แสนล้านบาท หรือ 4.3% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าสูงกว่าระดับความยั่งยืนทางการคลัง ที่ระบุว่าไม่ควรขาดดุลฯเกิน 3% ของจีดีพี ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงควรเป็นผู้ที่ชี้แจงถึง direction ของรัฐบาลว่าเป็นอย่างไร มีความจำเป็นอย่างไรที่ต้องทำงบประมาณขาดดุลจำนวนมากซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีจะต้องรู้มากที่สุดเพราะการจัดสรรงบประมาณนั้นครอบคลุมทุกกระทรวง หน่วยงาน ไม่ใช่แค่เรื่องของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง” นางสาว
ศิริกัญญา กล่าว
ชี้บทบาทรมว.คลังต้องเบรกใช้งบฯไม่จำเป็น
นอกจากนี้ในกรณีที่มีการมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธานนั้น ก็จะคล้ายกับในอดีตสมัยที่นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี และควบตำแหน่ง รมว.คลัง ด้วย ซึ่งทำให้บทบาทหน้าที่มีความขัดแย้งกันเพราะโดยปกติแล้วบทบาทของกระทรวงการคลังจะต้องมีหน้าที่ในการแตะเบรกการใช้งบประมาณ ในส่วนที่เกินกว่าความจำเป็นเพื่อไม่ให้กระทบกับฐานะการคลังของประเทศในระยะยาว
แต่เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาทำหน้าที่ในฐานะประธานแทนนายกบทบาทในการแตะเบรกการใช้งบประมาณจะลดน้อยลงไป ซึ่งเป็นอันตรายต่อการคลังของประเทศในระยะยาวได้เช่นกัน
เมื่อถามว่าในการจัดทำแผนการคลังระยะปานกลาง 2569 – 2572 ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปนายกรัฐมนตรีได้มีการมอบนโยบายเรื่องการจัดทำงบประมาณให้กับกระทรวง และหน่วยงานปฎิบัติไปแล้วเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ นางสาว
ศิริกัญญา กล่าวว่าในการประชุม 4 หน่วยงานเศรษฐกิจนั้นจะมีการหารือกันในรายละเอียดมากกว่าเพื่อจัดทำกรอบงบประมาณในปี 2569 ซึ่งจะนำไปส่งต่อให้กับส่วนราชการต่างๆเพื่อจัดทำคำของบประมาณของหน่วยงานต่างๆต่อไปซึ่งหากนายกรัฐมนตรีสื่อสารในเรื่องนี้ออกไปและพูดคุยกับหน่วยงานเศรษฐกิจจะตรงกว่าการที่สั่งการใน ครม.
จับตาตั้งงบลงทุนฯโปะดิจิทัลวอลเล็ต
นางสาว
ศิริกัญญา กล่าวต่อว่าในเรื่องการจัดทำงบประมาณปี 2569 นั้นต้องจับตาดูในเรื่องของงบลงทุนฯที่จะเพิ่มขึ้น โดยจากข่าวที่ระบุว่าจะมีการเพิ่มงบลงทุนฯ 1.2 แสนล้านบาท โดยลดงบประจำลงก็ต้องดูด้วยว่าในส่วนของงบลงทุนที่จะเพิ่มขึ้นนั้นเป็นการนำไปใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาใน 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมาก็มีการตั้งงบลงทุนเพิ่มแต่นำไปใช้ในโครงการแจกเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
โดยในส่วนของดิจิทัลวอลเล็ตหรือแจกเงินเฟส 3 นั้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปจัดสรรเป็นงบประมาณของโครงการนี้ และจะแจกเงินลงมากระตุ้นเศรษฐกิจช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ หรือต้นปีงบประมาณ 2569
เรือลอยลำเก้อ จีนสั่งห้ามนำเข้าน้ำเชื่อมไทย หวั่นสะเทือนถึงราคาอ้อย
https://www.prachachat.net/economy/news-1727952
GACC หน่วยงานด้านความปลอดภัยทางอาหารจีนออกคำสั่งฟ้าผ่าสั่งระงับการนำเข้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากโรงงานผู้ผลิตไทย 74 ราย อ้างได้รับการร้องเรียนน้ำเชื่อมไทยไม่ปลอดภัย ส่งผลเรือขนส่งน้ำเชื่อมไทยมูลค่ามากกว่า 400 ล้านบาทต้องลอยลำอยู่กลางทะเลเข้าจีนไม่ได้ ด้านสมาคมน้ำตาลแปรรูปไทยวิ่งวุ่นขอผ่อนผันนำเข้าชั่วคราว ระยะยาวกระทบราคาอ้อยปีหน้าแน่
รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ ปักกิ่ง ได้รายงาน หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารส่งออก-นำเข้าของจีน หรือ The Food Safety Bureau of The General Administration of Customs of
The People’s Republic of China : GACC ออกประกาศระงับการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำตาลจากประเทศไทย 2 รายการ ได้แก่ น้ำเชื่อม (Syrup) พิกัด 170290110 กับน้ำตาลผสมล่วงหน้า (Pre-mixed powder) พิกัด 1702901200
เนื่องจาก GACC อ้างว่า ตรวจพบมีความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยของอาหารและไม่สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบของจีน หลังจากที่ GACC ได้รับการร้องเรียนว่า โรงงานผู้ผลิตน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมบางแห่งมีสุขอนามัยไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาหารแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมกับแนะนำฝ่ายไทยให้ดำเนินการประเมินและตรวจสอบระบบบริหารและจัดการความปลอดภัยของโรงงานไทย
ทั้งนี้คำสั่งของ GACC จะมีผลบังคับใช้ 2 ประการคือ 1) จีนจะระงับการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมรายใหม่จากประเทศไทย กับ 2) โรงงานผู้ส่งออกไทยที่ขึ้นทะเบียนกับทาง GACC ไว้ก่อนหน้านี้และมีการส่งออกสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมออกจากประเทศไทย “
ก่อน” วันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมาจะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ ส่วนน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากประเทศไทย “
หลัง” วันที่ 10 ธ.ค.ก็จะถูกระงับการนำเข้าจีนเช่นกัน
พร้อมกันนี้ทางสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรไทย ณ ปักกิ่ง ได้แนะนำว่า ให้ผู้ส่งออกไทยที่อยู่ในข่ายจะได้รับการผ่อนผัน (ส่งออกก่อนวันที่ 10 ธ.ค. 2567) ทำการรวบรวม “
ใบขน/ตรวจปล่อยสินค้า” ที่ออกให้จากกรมศุลกากรไทย นำส่งให้กับ GACC พิจารณาผ่อนผัน ส่วนกรณีที่จะให้ GACC จีนยกเลิกการระงับนำเข้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมล่วงหน้าจากไทยนั้น จะต้องมีหน่วยงานทางด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยทางอาหารประเภทนี้ (Competent Authority หรือ CA) รับรองเพื่อให้ GACC พิจารณาประเมินระบบควบคุม/ตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตส่งออกไทยอีกครั้งหนึ่ง จึงจะทำการส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมไปยังจีนในอนาคตได้
ด้านนาย
ทศพร เรืองพัฒนานนท์ นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลแปรรูปไทย กล่าวกับ “
ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันสมาชิกสมาคมจำนวน 47 โรงงานที่ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมล่วงหน้าไปยังจีนได้รับความเดือดร้อนจากคำสั่งระงับการนำเข้าของ GACC มาก เนื่องจากไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้ามาก่อน ส่งผลให้น้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยังจีน “
ลอยลำอยู่กลางทะเล” คิดเป็นมูลค่าเบื้องต้น 300-400 ล้านบาท ไม่สามารถนำเข้าจีนได้
พร้อมกันนี้ทางสมาคมได้ส่งหนังสือไปขอรับความช่วยเหลือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้มีการเจรจาผ่อนผันระงับการนำเข้าสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมจากไทยที่ส่งออก “ก่อน” วันที่ 10 ธ.ค.เป็นการเฉพาะหน้าและขอให้เจรจาให้ GACC ยกเลิกคำสั่งระงับการนำเข้าในระยะยาวต่อไป
“
โรงงานผู้ผลิตและส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมในเขต Free Zone ของไทยปัจจุบันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก GACC มีอยู่ 74 รายที่สถานะต่อจากนี้ไปจะถูกระงับการนำเข้าจากจีน หากยังไม่มีการเจรจาเพื่อรับรองความปลอดภัยทางด้านอาหารจากหน่วยงานไทย สมาชิกของสมาคมเองก็เพิ่งได้รับการแจ้งข่าวหลังจากที่ขนส่งน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมลงเรือไปยังผู้ซื้อที่จีนแล้ว
ตอนนี้ก็ยังนำเข้าไม่ได้ สินค้าค้างอยู่ระหว่างการเดินทางคิดเป็นมูลค่าความเสียหายหลายร้อยล้านบาท ทางสมาคมได้ติดต่อไปยังสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ตั้งแต่ก่อนปีใหม่เพื่อให้เป็นหน่วยงานประสานในการรวบรวม ใบขนสินค้า ก่อนวันที่ 10 ธ.ค.ไปแสดงกับ GACC ขอให้ผ่อนผันเปิดให้มีการนำเข้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมเป็นการชั่วคราวก่อน ซึ่งจนกระทั้งขณะนี้ก็ยังไม่ทราบความคืบหน้าว่า ทาง GACC จะพิจารณาให้เราหรือไม่อย่างไร” นายทศพรกล่าว
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจากความเสียหายเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ส่งออกไปแล้วนั้น ปัจจุบันโรงงานผู้ผลิตน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมทั้ง 74 รายยังเป็นผู้รับซื้อ “น้ำตาลทราย” รายใหญ่จากโรงงานน้ำตาลในประเทศเพื่อผลิตเป็นน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมเพื่อการส่งออกคิดเป็นปริมาณถึง 2.1 ล้านตัน (มกราคม-ตุลาคม 2567-ปี 2566 ซื้อน้ำตาลทราย 1.6 ล้านตัน)
ดังนั้นหากยังไม่สามารถแก้ปัญหา GACC ระงับการนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสมจากไทยได้ เชื่อว่าด้วยปริมาณรับซื้อน้ำตาลทรายในประเทศถึง 2.1 ล้านตันของปริมาณน้ำตาลทรายส่งออกทั้งหมด 6.5 ล้านตัน
“
ปริมาณน้ำตาลทรายที่เรารับซื้ออยู่ 2.1 ล้านตันหายไป ย่อมจะกระทบต่อราคาน้ำตาลทรายและการคำนวณราคาอ้อยที่เกษตรกรจะได้รับในปีนี้ (2567/68) แน่นอน”
JJNY : ทำไมไม่ประชุมทำงบฯ69│จีนสั่งห้ามนำเข้าน้ำเชื่อมไทย│ความเชื่อมั่นเกาหลีใต้ลดหนัก│รัฐบาลทหารเมียนมาจะปล่อยตัวนักโทษ
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1160327
การประชุมจัดทำงบประมาณระหว่างรัฐบาลกับ 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ วางกรอบงบประมาณปี 2569 แพทองธารไม่นั่งหัวโต๊ะประชุมเอง แต่มอบ รองนายกฯพิชัย เป็นประธานแทน เคาะกรอบงบฯ3.78 ล้านล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ 8.6 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณ 4.3% จีดีพี
• การประชุมจัดทำงบประมาณระหว่างรัฐบาลกับ 4 หน่วยงานเศรษฐกิจ วางกรอบงบประมาณปี 2569 แพทองธารไม่นั่งหัวโต๊ะประชุมเอง แต่มอบ รองนายกฯพิชัย เป็นประธาน
• ที่ประชุมเคาะกรอบงบฯ3.78 ล้านล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ 8.6 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณ 4.3% จีดีพี
• ศิริกัญญา ตั้งคำถามถึงนายกฯจัดลำดับความสำคัญอย่างไร เพราะการทำงบประมาณถือว่ามีความสำคัญมากในทางบริหาร
• ชี้งบฯขาดดุลยังพุ่ง นายกฯควรชี้แจงกับหน่วยงานเศรษฐกิจด้วยตัวเองถึงทิศทาง เป้าหมายใช้งบฯของรัฐบาล
การจัดทำงบประมาณรายจ่ายปี 2569 ได้เริ่มต้นตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ม.ค.ที่ผ่านมา เมื่อหน่วยงานเศรษฐกิจ 4 หน่วยงานได้แก่ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงบประมาณ และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้มีการหารือกับ “รัฐบาล” ในการจัดทำกรอบงบประมาณรายจ่าย โดยข้อมูลสำคัญคือการประมาณการรายได้ และรายจ่ายของรัฐบาล การคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจ และนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญในการจัดทำงบประมาณ
นายกฯมอบ รมว.คลังนั่งหัวโต๊ะ
โดยความสำคัญของงบประมาณที่เป็นส่วนสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจ การจัดสรรงบประมาณที่เป็นส่วนกำหนดทิศทางการทำงานของรัฐบาล ที่ผ่านมาการประชุม 4 หน่วยงานเศรษฐกิจนี้ผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีจะมานั่งหัวโต๊ะเป็นประธานด้วยตนเอง เพื่อรับฟังข้อมูล และมอบนโยบาย ทั้งนี้ข้อน่าสังเกตที่เกิดขึ้นในการจัดทำงบกรอบงบประมาณในครั้งนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ไม่ได้นั่งเป็นประธานการประชุมเอง แต่มอบหมายให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธานประชุมร่วมกับ 4 หน่วยงาน
โดยที่ประชุมฯได้เคาะกรอบงบประมาณปี 2569 3.78 ล้านล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ 8.6 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการขาดดุลงบประมาณ 4.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) โดยมีระดับหนี้สาธารณะ ณ สิ้นปีงบประมาณอยู่ที่ 67.3%
ศิริกัญญา ถามนายกฯลำดับความสำคัญอย่างไร?
นางสาวศิริกัญญา ตันสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชนฝ่ายนโยบาย กล่าวถึงเรื่องนี้ว่าเรื่องการจัดทำกรอบงบประมาณนั้นมีขอบเขตที่กว้างกว่างานของกระทรวงการคลัง ดังนั้นคนที่ควรจะมานั่งเป็นประธานการในการจัดทำกรอบงบประมาณควรจะเป็นนายกรัฐมนตรีมากกว่าที่จะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เนื่องจากการประชุมนี้นายกรัฐมนตรีควรจะเป็นผู้ชี้แจงให้หน่วยงานเศรษฐกิจรับทราบทิศทาง นโยบาย และยุทธศาสตร์ในการจัดสรรงบประมาณว่ารัฐบาลจะเน้นการทำงบประมาณในเรื่องใด
โดยเฉพาะงบประมาณปี 2569 นั้นเป็นงบประมาณที่รัฐบาลปัจจุบันนั้นจัดทำเองทั้งหมดเป็นปีแรกนายกรัฐมนตรีจึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากกว่าภารกิจอื่นๆ ซึ่งการที่นายกรัฐมนตรีไม่ได้มาประชุมด้วยตัวเองก็สะท้อนเรื่องการจัดลำดับความสำคัญในการทำงานของนายกรัฐมนตรีได้เป็นอย่างดี
“การจัดทำงบประมาณปี 2569 นั้นตัวเลขงบประมาณนั้นยังเพิ่มสูง สัดส่วนการขาดดุลงบประมาณสูงถึง 8.6 แสนล้านบาท หรือ 4.3% ของจีดีพี ซึ่งถือว่าสูงกว่าระดับความยั่งยืนทางการคลัง ที่ระบุว่าไม่ควรขาดดุลฯเกิน 3% ของจีดีพี ดังนั้นนายกรัฐมนตรีจึงควรเป็นผู้ที่ชี้แจงถึง direction ของรัฐบาลว่าเป็นอย่างไร มีความจำเป็นอย่างไรที่ต้องทำงบประมาณขาดดุลจำนวนมากซึ่งเรื่องนี้นายกรัฐมนตรีจะต้องรู้มากที่สุดเพราะการจัดสรรงบประมาณนั้นครอบคลุมทุกกระทรวง หน่วยงาน ไม่ใช่แค่เรื่องของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง” นางสาวศิริกัญญา กล่าว
ชี้บทบาทรมว.คลังต้องเบรกใช้งบฯไม่จำเป็น
นอกจากนี้ในกรณีที่มีการมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง เป็นประธานนั้น ก็จะคล้ายกับในอดีตสมัยที่นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี และควบตำแหน่ง รมว.คลัง ด้วย ซึ่งทำให้บทบาทหน้าที่มีความขัดแย้งกันเพราะโดยปกติแล้วบทบาทของกระทรวงการคลังจะต้องมีหน้าที่ในการแตะเบรกการใช้งบประมาณ ในส่วนที่เกินกว่าความจำเป็นเพื่อไม่ให้กระทบกับฐานะการคลังของประเทศในระยะยาว
แต่เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมาทำหน้าที่ในฐานะประธานแทนนายกบทบาทในการแตะเบรกการใช้งบประมาณจะลดน้อยลงไป ซึ่งเป็นอันตรายต่อการคลังของประเทศในระยะยาวได้เช่นกัน
เมื่อถามว่าในการจัดทำแผนการคลังระยะปานกลาง 2569 – 2572 ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปนายกรัฐมนตรีได้มีการมอบนโยบายเรื่องการจัดทำงบประมาณให้กับกระทรวง และหน่วยงานปฎิบัติไปแล้วเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ นางสาวศิริกัญญา กล่าวว่าในการประชุม 4 หน่วยงานเศรษฐกิจนั้นจะมีการหารือกันในรายละเอียดมากกว่าเพื่อจัดทำกรอบงบประมาณในปี 2569 ซึ่งจะนำไปส่งต่อให้กับส่วนราชการต่างๆเพื่อจัดทำคำของบประมาณของหน่วยงานต่างๆต่อไปซึ่งหากนายกรัฐมนตรีสื่อสารในเรื่องนี้ออกไปและพูดคุยกับหน่วยงานเศรษฐกิจจะตรงกว่าการที่สั่งการใน ครม.
จับตาตั้งงบลงทุนฯโปะดิจิทัลวอลเล็ต
นางสาวศิริกัญญา กล่าวต่อว่าในเรื่องการจัดทำงบประมาณปี 2569 นั้นต้องจับตาดูในเรื่องของงบลงทุนฯที่จะเพิ่มขึ้น โดยจากข่าวที่ระบุว่าจะมีการเพิ่มงบลงทุนฯ 1.2 แสนล้านบาท โดยลดงบประจำลงก็ต้องดูด้วยว่าในส่วนของงบลงทุนที่จะเพิ่มขึ้นนั้นเป็นการนำไปใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตหรือไม่ เพราะที่ผ่านมาใน 2 ปีงบประมาณที่ผ่านมาก็มีการตั้งงบลงทุนเพิ่มแต่นำไปใช้ในโครงการแจกเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
โดยในส่วนของดิจิทัลวอลเล็ตหรือแจกเงินเฟส 3 นั้นก็มีความเป็นไปได้ที่จะนำไปจัดสรรเป็นงบประมาณของโครงการนี้ และจะแจกเงินลงมากระตุ้นเศรษฐกิจช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ หรือต้นปีงบประมาณ 2569
เรือลอยลำเก้อ จีนสั่งห้ามนำเข้าน้ำเชื่อมไทย หวั่นสะเทือนถึงราคาอ้อย
https://www.prachachat.net/economy/news-1727952
GACC หน่วยงานด้านความปลอดภัยทางอาหารจีนออกคำสั่งฟ้าผ่าสั่งระงับการนำเข้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากโรงงานผู้ผลิตไทย 74 ราย อ้างได้รับการร้องเรียนน้ำเชื่อมไทยไม่ปลอดภัย ส่งผลเรือขนส่งน้ำเชื่อมไทยมูลค่ามากกว่า 400 ล้านบาทต้องลอยลำอยู่กลางทะเลเข้าจีนไม่ได้ ด้านสมาคมน้ำตาลแปรรูปไทยวิ่งวุ่นขอผ่อนผันนำเข้าชั่วคราว ระยะยาวกระทบราคาอ้อยปีหน้าแน่
รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ ปักกิ่ง ได้รายงาน หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารส่งออก-นำเข้าของจีน หรือ The Food Safety Bureau of The General Administration of Customs of
The People’s Republic of China : GACC ออกประกาศระงับการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำตาลจากประเทศไทย 2 รายการ ได้แก่ น้ำเชื่อม (Syrup) พิกัด 170290110 กับน้ำตาลผสมล่วงหน้า (Pre-mixed powder) พิกัด 1702901200
เนื่องจาก GACC อ้างว่า ตรวจพบมีความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยของอาหารและไม่สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบของจีน หลังจากที่ GACC ได้รับการร้องเรียนว่า โรงงานผู้ผลิตน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมบางแห่งมีสุขอนามัยไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาหารแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมกับแนะนำฝ่ายไทยให้ดำเนินการประเมินและตรวจสอบระบบบริหารและจัดการความปลอดภัยของโรงงานไทย
ทั้งนี้คำสั่งของ GACC จะมีผลบังคับใช้ 2 ประการคือ 1) จีนจะระงับการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมรายใหม่จากประเทศไทย กับ 2) โรงงานผู้ส่งออกไทยที่ขึ้นทะเบียนกับทาง GACC ไว้ก่อนหน้านี้และมีการส่งออกสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมออกจากประเทศไทย “ก่อน” วันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมาจะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ ส่วนน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากประเทศไทย “หลัง” วันที่ 10 ธ.ค.ก็จะถูกระงับการนำเข้าจีนเช่นกัน
พร้อมกันนี้ทางสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรไทย ณ ปักกิ่ง ได้แนะนำว่า ให้ผู้ส่งออกไทยที่อยู่ในข่ายจะได้รับการผ่อนผัน (ส่งออกก่อนวันที่ 10 ธ.ค. 2567) ทำการรวบรวม “ใบขน/ตรวจปล่อยสินค้า” ที่ออกให้จากกรมศุลกากรไทย นำส่งให้กับ GACC พิจารณาผ่อนผัน ส่วนกรณีที่จะให้ GACC จีนยกเลิกการระงับนำเข้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมล่วงหน้าจากไทยนั้น จะต้องมีหน่วยงานทางด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยทางอาหารประเภทนี้ (Competent Authority หรือ CA) รับรองเพื่อให้ GACC พิจารณาประเมินระบบควบคุม/ตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตส่งออกไทยอีกครั้งหนึ่ง จึงจะทำการส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมไปยังจีนในอนาคตได้
ด้านนายทศพร เรืองพัฒนานนท์ นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลแปรรูปไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันสมาชิกสมาคมจำนวน 47 โรงงานที่ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมล่วงหน้าไปยังจีนได้รับความเดือดร้อนจากคำสั่งระงับการนำเข้าของ GACC มาก เนื่องจากไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้ามาก่อน ส่งผลให้น้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยังจีน “ลอยลำอยู่กลางทะเล” คิดเป็นมูลค่าเบื้องต้น 300-400 ล้านบาท ไม่สามารถนำเข้าจีนได้
พร้อมกันนี้ทางสมาคมได้ส่งหนังสือไปขอรับความช่วยเหลือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้มีการเจรจาผ่อนผันระงับการนำเข้าสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมจากไทยที่ส่งออก “ก่อน” วันที่ 10 ธ.ค.เป็นการเฉพาะหน้าและขอให้เจรจาให้ GACC ยกเลิกคำสั่งระงับการนำเข้าในระยะยาวต่อไป
“โรงงานผู้ผลิตและส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมในเขต Free Zone ของไทยปัจจุบันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก GACC มีอยู่ 74 รายที่สถานะต่อจากนี้ไปจะถูกระงับการนำเข้าจากจีน หากยังไม่มีการเจรจาเพื่อรับรองความปลอดภัยทางด้านอาหารจากหน่วยงานไทย สมาชิกของสมาคมเองก็เพิ่งได้รับการแจ้งข่าวหลังจากที่ขนส่งน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมลงเรือไปยังผู้ซื้อที่จีนแล้ว
ตอนนี้ก็ยังนำเข้าไม่ได้ สินค้าค้างอยู่ระหว่างการเดินทางคิดเป็นมูลค่าความเสียหายหลายร้อยล้านบาท ทางสมาคมได้ติดต่อไปยังสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ตั้งแต่ก่อนปีใหม่เพื่อให้เป็นหน่วยงานประสานในการรวบรวม ใบขนสินค้า ก่อนวันที่ 10 ธ.ค.ไปแสดงกับ GACC ขอให้ผ่อนผันเปิดให้มีการนำเข้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมเป็นการชั่วคราวก่อน ซึ่งจนกระทั้งขณะนี้ก็ยังไม่ทราบความคืบหน้าว่า ทาง GACC จะพิจารณาให้เราหรือไม่อย่างไร” นายทศพรกล่าว
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจากความเสียหายเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ส่งออกไปแล้วนั้น ปัจจุบันโรงงานผู้ผลิตน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมทั้ง 74 รายยังเป็นผู้รับซื้อ “น้ำตาลทราย” รายใหญ่จากโรงงานน้ำตาลในประเทศเพื่อผลิตเป็นน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมเพื่อการส่งออกคิดเป็นปริมาณถึง 2.1 ล้านตัน (มกราคม-ตุลาคม 2567-ปี 2566 ซื้อน้ำตาลทราย 1.6 ล้านตัน)
ดังนั้นหากยังไม่สามารถแก้ปัญหา GACC ระงับการนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสมจากไทยได้ เชื่อว่าด้วยปริมาณรับซื้อน้ำตาลทรายในประเทศถึง 2.1 ล้านตันของปริมาณน้ำตาลทรายส่งออกทั้งหมด 6.5 ล้านตัน
“ปริมาณน้ำตาลทรายที่เรารับซื้ออยู่ 2.1 ล้านตันหายไป ย่อมจะกระทบต่อราคาน้ำตาลทรายและการคำนวณราคาอ้อยที่เกษตรกรจะได้รับในปีนี้ (2567/68) แน่นอน”