https://www.prachachat.net/economy/news-1727952
เรือลอยลำเก้อ จีนสั่งห้ามนำเข้าน้ำเชื่อมไทย หวั่นสะเทือนถึงราคาอ้อย
วันที่ 4 มกราคม 2568 - 07:55 น.
GACC หน่วยงานด้านความปลอดภัยทางอาหารจีนออกคำสั่งฟ้าผ่าสั่งระงับการนำเข้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากโรงงานผู้ผลิตไทย 74 ราย อ้างได้รับการร้องเรียนน้ำเชื่อมไทยไม่ปลอดภัย ส่งผลเรือขนส่งน้ำเชื่อมไทยมูลค่ามากกว่า 400 ล้านบาทต้องลอยลำอยู่กลางทะเลเข้าจีนไม่ได้ ด้านสมาคมน้ำตาลแปรรูปไทยวิ่งวุ่นขอผ่อนผันนำเข้าชั่วคราว ระยะยาวกระทบราคาอ้อยปีหน้าแน่
รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ ปักกิ่ง ได้รายงาน หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารส่งออก-นำเข้าของจีน หรือ The Food Safety Bureau of The General Administration of Customs of The People’s Republic of China : GACC ออกประกาศระงับการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำตาลจากประเทศไทย 2 รายการ ได้แก่ น้ำเชื่อม (Syrup) พิกัด 170290110 กับน้ำตาลผสมล่วงหน้า (Pre-mixed powder) พิกัด 1702901200
เนื่องจาก GACC อ้างว่า ตรวจพบมีความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยของอาหารและไม่สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบของจีน หลังจากที่ GACC ได้รับการร้องเรียนว่า โรงงานผู้ผลิตน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมบางแห่งมีสุขอนามัยไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาหารแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมกับแนะนำฝ่ายไทยให้ดำเนินการประเมินและตรวจสอบระบบบริหารและจัดการความปลอดภัยของโรงงานไทย
ทั้งนี้คำสั่งของ GACC จะมีผลบังคับใช้ 2 ประการคือ 1) จีนจะระงับการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมรายใหม่จากประเทศไทย กับ 2) โรงงานผู้ส่งออกไทยที่ขึ้นทะเบียนกับทาง GACC ไว้ก่อนหน้านี้และมีการส่งออกสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมออกจากประเทศไทย “ก่อน” วันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมาจะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ ส่วนน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากประเทศไทย “หลัง” วันที่ 10 ธ.ค.ก็จะถูกระงับการนำเข้าจีนเช่นกัน
พร้อมกันนี้ทางสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรไทย ณ ปักกิ่ง ได้แนะนำว่า ให้ผู้ส่งออกไทยที่อยู่ในข่ายจะได้รับการผ่อนผัน (ส่งออกก่อนวันที่ 10 ธ.ค. 2567) ทำการรวบรวม “ใบขน/ตรวจปล่อยสินค้า” ที่ออกให้จากกรมศุลกากรไทย นำส่งให้กับ GACC พิจารณาผ่อนผัน ส่วนกรณีที่จะให้ GACC จีนยกเลิกการระงับนำเข้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมล่วงหน้าจากไทยนั้น จะต้องมีหน่วยงานทางด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยทางอาหารประเภทนี้ (Competent Authority หรือ CA) รับรองเพื่อให้ GACC พิจารณาประเมินระบบควบคุม/ตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตส่งออกไทยอีกครั้งหนึ่ง จึงจะทำการส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมไปยังจีนในอนาคตได้
ด้านนายทศพร เรืองพัฒนานนท์ นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลแปรรูปไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันสมาชิกสมาคมจำนวน 47 โรงงานที่ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมล่วงหน้าไปยังจีนได้รับความเดือดร้อนจากคำสั่งระงับการนำเข้าของ GACC มาก เนื่องจากไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้ามาก่อน ส่งผลให้น้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยังจีน “ลอยลำอยู่กลางทะเล” คิดเป็นมูลค่าเบื้องต้น 300-400 ล้านบาท ไม่สามารถนำเข้าจีนได้
พร้อมกันนี้ทางสมาคมได้ส่งหนังสือไปขอรับความช่วยเหลือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้มีการเจรจาผ่อนผันระงับการนำเข้าสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมจากไทยที่ส่งออก “ก่อน” วันที่ 10 ธ.ค.เป็นการเฉพาะหน้าและขอให้เจรจาให้ GACC ยกเลิกคำสั่งระงับการนำเข้าในระยะยาวต่อไป
“โรงงานผู้ผลิตและส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมในเขต Free Zone ของไทยปัจจุบันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก GACC มีอยู่ 74 รายที่สถานะต่อจากนี้ไปจะถูกระงับการนำเข้าจากจีน หากยังไม่มีการเจรจาเพื่อรับรองความปลอดภัยทางด้านอาหารจากหน่วยงานไทย สมาชิกของสมาคมเองก็เพิ่งได้รับการแจ้งข่าวหลังจากที่ขนส่งน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมลงเรือไปยังผู้ซื้อที่จีนแล้ว
ตอนนี้ก็ยังนำเข้าไม่ได้ สินค้าค้างอยู่ระหว่างการเดินทางคิดเป็นมูลค่าความเสียหายหลายร้อยล้านบาท ทางสมาคมได้ติดต่อไปยังสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ตั้งแต่ก่อนปีใหม่เพื่อให้เป็นหน่วยงานประสานในการรวบรวม ใบขนสินค้า ก่อนวันที่ 10 ธ.ค.ไปแสดงกับ GACC ขอให้ผ่อนผันเปิดให้มีการนำเข้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมเป็นการชั่วคราวก่อน ซึ่งจนกระทั้งขณะนี้ก็ยังไม่ทราบความคืบหน้าว่า ทาง GACC จะพิจารณาให้เราหรือไม่อย่างไร” นายทศพรกล่าว
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจากความเสียหายเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ส่งออกไปแล้วนั้น ปัจจุบันโรงงานผู้ผลิตน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมทั้ง 74 รายยังเป็นผู้รับซื้อ “น้ำตาลทราย” รายใหญ่จากโรงงานน้ำตาลในประเทศเพื่อผลิตเป็นน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมเพื่อการส่งออกคิดเป็นปริมาณถึง 2.1 ล้านตัน (มกราคม-ตุลาคม 2567-ปี 2566 ซื้อน้ำตาลทราย 1.6 ล้านตัน)
ดังนั้นหากยังไม่สามารถแก้ปัญหา GACC ระงับการนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสมจากไทยได้ เชื่อว่าด้วยปริมาณรับซื้อน้ำตาลทรายในประเทศถึง 2.1 ล้านตันของปริมาณน้ำตาลทรายส่งออกทั้งหมด 6.5 ล้านตัน
“ปริมาณน้ำตาลทรายที่เรารับซื้ออยู่ 2.1 ล้านตันหายไป ย่อมจะกระทบต่อราคาน้ำตาลทรายและการคำนวณราคาอ้อยที่เกษตรกรจะได้รับในปีนี้ (2567/68) แน่นอน”
นอกจากนั้น มีรายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์เข้ามาว่า การส่งออกน้ำตาลแปรรูป (ไม่รวมน้ำตาลทรายดิบ) จากไทยไปยังจีนภายใต้ข้อตกลง FTA อาเซียน-จีน หรือ ACFTA ในปี 2566 จีนนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 982.52 ล้านเหรียญ (31,358 ล้านบาท) โดยประเทศไทยส่งออกไปเป็นอันดับ 1 คิดเป็นมูลค่า 853.65 ล้านเหรียญ หรือ 29,807.32 ล้านบาท โดยผู้ส่งออกจะต้องมาขอรับ Form-E จากกรมการค้าต่างประเทศเพื่อแสดงสิทธิการส่งออกภายใต้ ACFTA นับเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศไทยที่สร้างมูลค่าส่งออกนับหมื่นล้านบาทต่อปี... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ :
https://www.prachachat.net/economy/news-1727952
KBS KSL KTIS กลุ่มน้ำตาล พรุ่งนี้จะร่วงติดฟลอร์มั้ย "เรือลอยลำเก้อ จีนสั่งห้ามนำเข้าน้ำเชื่อมไทย หวั่นสะเทือนถึงราคาอ้อย
เรือลอยลำเก้อ จีนสั่งห้ามนำเข้าน้ำเชื่อมไทย หวั่นสะเทือนถึงราคาอ้อย
วันที่ 4 มกราคม 2568 - 07:55 น.
GACC หน่วยงานด้านความปลอดภัยทางอาหารจีนออกคำสั่งฟ้าผ่าสั่งระงับการนำเข้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากโรงงานผู้ผลิตไทย 74 ราย อ้างได้รับการร้องเรียนน้ำเชื่อมไทยไม่ปลอดภัย ส่งผลเรือขนส่งน้ำเชื่อมไทยมูลค่ามากกว่า 400 ล้านบาทต้องลอยลำอยู่กลางทะเลเข้าจีนไม่ได้ ด้านสมาคมน้ำตาลแปรรูปไทยวิ่งวุ่นขอผ่อนผันนำเข้าชั่วคราว ระยะยาวกระทบราคาอ้อยปีหน้าแน่
รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ ปักกิ่ง ได้รายงาน หน่วยงานความปลอดภัยด้านอาหารส่งออก-นำเข้าของจีน หรือ The Food Safety Bureau of The General Administration of Customs of The People’s Republic of China : GACC ออกประกาศระงับการนำเข้าสินค้าประเภทน้ำตาลจากประเทศไทย 2 รายการ ได้แก่ น้ำเชื่อม (Syrup) พิกัด 170290110 กับน้ำตาลผสมล่วงหน้า (Pre-mixed powder) พิกัด 1702901200
เนื่องจาก GACC อ้างว่า ตรวจพบมีความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยของอาหารและไม่สอดคล้องกับข้อบังคับและกฎระเบียบของจีน หลังจากที่ GACC ได้รับการร้องเรียนว่า โรงงานผู้ผลิตน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมบางแห่งมีสุขอนามัยไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยอาหารแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมกับแนะนำฝ่ายไทยให้ดำเนินการประเมินและตรวจสอบระบบบริหารและจัดการความปลอดภัยของโรงงานไทย
ทั้งนี้คำสั่งของ GACC จะมีผลบังคับใช้ 2 ประการคือ 1) จีนจะระงับการยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนโรงงานผู้ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมรายใหม่จากประเทศไทย กับ 2) โรงงานผู้ส่งออกไทยที่ขึ้นทะเบียนกับทาง GACC ไว้ก่อนหน้านี้และมีการส่งออกสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมออกจากประเทศไทย “ก่อน” วันที่ 10 ธันวาคมที่ผ่านมาจะได้รับการผ่อนผันให้นำเข้าได้ ส่วนน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากประเทศไทย “หลัง” วันที่ 10 ธ.ค.ก็จะถูกระงับการนำเข้าจีนเช่นกัน
พร้อมกันนี้ทางสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรไทย ณ ปักกิ่ง ได้แนะนำว่า ให้ผู้ส่งออกไทยที่อยู่ในข่ายจะได้รับการผ่อนผัน (ส่งออกก่อนวันที่ 10 ธ.ค. 2567) ทำการรวบรวม “ใบขน/ตรวจปล่อยสินค้า” ที่ออกให้จากกรมศุลกากรไทย นำส่งให้กับ GACC พิจารณาผ่อนผัน ส่วนกรณีที่จะให้ GACC จีนยกเลิกการระงับนำเข้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมล่วงหน้าจากไทยนั้น จะต้องมีหน่วยงานทางด้านการกำกับดูแลความปลอดภัยทางอาหารประเภทนี้ (Competent Authority หรือ CA) รับรองเพื่อให้ GACC พิจารณาประเมินระบบควบคุม/ตรวจสอบโรงงานผู้ผลิตส่งออกไทยอีกครั้งหนึ่ง จึงจะทำการส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมไปยังจีนในอนาคตได้
ด้านนายทศพร เรืองพัฒนานนท์ นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาลแปรรูปไทย กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัจจุบันสมาชิกสมาคมจำนวน 47 โรงงานที่ผลิตส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมล่วงหน้าไปยังจีนได้รับความเดือดร้อนจากคำสั่งระงับการนำเข้าของ GACC มาก เนื่องจากไม่ได้รับการแจ้งเตือนล่วงหน้ามาก่อน ส่งผลให้น้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมที่ส่งออกจากประเทศไทยไปยังจีน “ลอยลำอยู่กลางทะเล” คิดเป็นมูลค่าเบื้องต้น 300-400 ล้านบาท ไม่สามารถนำเข้าจีนได้
พร้อมกันนี้ทางสมาคมได้ส่งหนังสือไปขอรับความช่วยเหลือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอให้มีการเจรจาผ่อนผันระงับการนำเข้าสินค้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมจากไทยที่ส่งออก “ก่อน” วันที่ 10 ธ.ค.เป็นการเฉพาะหน้าและขอให้เจรจาให้ GACC ยกเลิกคำสั่งระงับการนำเข้าในระยะยาวต่อไป
“โรงงานผู้ผลิตและส่งออกน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมในเขต Free Zone ของไทยปัจจุบันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก GACC มีอยู่ 74 รายที่สถานะต่อจากนี้ไปจะถูกระงับการนำเข้าจากจีน หากยังไม่มีการเจรจาเพื่อรับรองความปลอดภัยทางด้านอาหารจากหน่วยงานไทย สมาชิกของสมาคมเองก็เพิ่งได้รับการแจ้งข่าวหลังจากที่ขนส่งน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมลงเรือไปยังผู้ซื้อที่จีนแล้ว
ตอนนี้ก็ยังนำเข้าไม่ได้ สินค้าค้างอยู่ระหว่างการเดินทางคิดเป็นมูลค่าความเสียหายหลายร้อยล้านบาท ทางสมาคมได้ติดต่อไปยังสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ตั้งแต่ก่อนปีใหม่เพื่อให้เป็นหน่วยงานประสานในการรวบรวม ใบขนสินค้า ก่อนวันที่ 10 ธ.ค.ไปแสดงกับ GACC ขอให้ผ่อนผันเปิดให้มีการนำเข้าน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมเป็นการชั่วคราวก่อน ซึ่งจนกระทั้งขณะนี้ก็ยังไม่ทราบความคืบหน้าว่า ทาง GACC จะพิจารณาให้เราหรือไม่อย่างไร” นายทศพรกล่าว
อย่างไรก็ตาม นอกเหนือไปจากความเสียหายเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ส่งออกไปแล้วนั้น ปัจจุบันโรงงานผู้ผลิตน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมทั้ง 74 รายยังเป็นผู้รับซื้อ “น้ำตาลทราย” รายใหญ่จากโรงงานน้ำตาลในประเทศเพื่อผลิตเป็นน้ำเชื่อม/น้ำตาลผสมเพื่อการส่งออกคิดเป็นปริมาณถึง 2.1 ล้านตัน (มกราคม-ตุลาคม 2567-ปี 2566 ซื้อน้ำตาลทราย 1.6 ล้านตัน)
ดังนั้นหากยังไม่สามารถแก้ปัญหา GACC ระงับการนำเข้าน้ำเชื่อมและน้ำตาลผสมจากไทยได้ เชื่อว่าด้วยปริมาณรับซื้อน้ำตาลทรายในประเทศถึง 2.1 ล้านตันของปริมาณน้ำตาลทรายส่งออกทั้งหมด 6.5 ล้านตัน
“ปริมาณน้ำตาลทรายที่เรารับซื้ออยู่ 2.1 ล้านตันหายไป ย่อมจะกระทบต่อราคาน้ำตาลทรายและการคำนวณราคาอ้อยที่เกษตรกรจะได้รับในปีนี้ (2567/68) แน่นอน”
นอกจากนั้น มีรายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์เข้ามาว่า การส่งออกน้ำตาลแปรรูป (ไม่รวมน้ำตาลทรายดิบ) จากไทยไปยังจีนภายใต้ข้อตกลง FTA อาเซียน-จีน หรือ ACFTA ในปี 2566 จีนนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 982.52 ล้านเหรียญ (31,358 ล้านบาท) โดยประเทศไทยส่งออกไปเป็นอันดับ 1 คิดเป็นมูลค่า 853.65 ล้านเหรียญ หรือ 29,807.32 ล้านบาท โดยผู้ส่งออกจะต้องมาขอรับ Form-E จากกรมการค้าต่างประเทศเพื่อแสดงสิทธิการส่งออกภายใต้ ACFTA นับเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศไทยที่สร้างมูลค่าส่งออกนับหมื่นล้านบาทต่อปี... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/economy/news-1727952