“อังคณา” ฝาก สว.ชุดเดิม ให้เกียรติชุดใหม่ ระวังถูกมองมีผลประโยชน์ทับซ้อน
https://www.thairath.co.th/news/politic/2798901
ไอลอว์ หวัง สว.ชุดใหม่ ดันกฎหมายให้ภาคประชาสังคม “อังคณา” ว่าที่ สว. ชี้ ต่อให้เลือกใหม่กี่ครั้ง ถ้ากติกาเดิมก็ได้คนแบบเดิม เมิน สว.กลุ่มเก่าจ่อยื่นร้อง กมธ. มอง โดยมารยาทไม่ควรทำ ส่อเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน
วันที่ 7 กรกฎาคม 2567 นาย
ยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ร่วมบรรยายในการสัมมนา สว.ประชาชน ที่โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง ในหัวข้อ วุฒิสภากับการทำงานร่วมกับองค์กรประชาสังคม ว่า ตนเองมาเป็นวิทยากรวันนี้เพราะมีสมาชิกวุฒิสภา (สว.) หน้าใหม่ที่สมัครมาตามกลุ่มอาชีพจำนวนหนึ่งยังไม่เข้าใจงานสภา และไม่มีพื้นฐานว่าหน้าที่ สว. ต้องทำบทบาทอะไรบ้าง เพื่อช่วยกันทำเข้าใจ ส่วนตนเองมาเพื่อฝาก เพราะมีกฎหมาย 2 ฉบับที่ สว.จะต้องช่วยกันผลักดันคือ การนิรโทษกรรม และการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าการทำประชามติจะมีไหม และจะได้คำถามตามที่รัฐบาลตั้งมาหรือไม่ จึงมาบอกว่าที่ สว.จะต้องเจอความท้าทายหลายอย่าง และต้องรับมือกับอะไรบ้าง
นาย
ยิ่งชีพ กล่าวอีกว่า การมาบรรยายในวันนี้เพื่อฝากความหวังกับภาคสังคมให้ สว.ชุดใหม่ ช่วยกันผลักดันสิ่งที่ภาคประชาสังคมอยากให้ทำ หลังจากที่งานภาคประชาสังคมไม่ได้รับความสนใจมากเท่าที่ควร โดยสิ่งที่อยากขอว่าที่ สว. คือ เมื่อไปเป็น สว.แล้ว อย่าหายไป เพราะเห็นได้จาก สว.ชุดเดิม ที่หาตัวไม่เจอเวลาเกิดปัญหาต่างๆ ในสังคม แทบจะไม่เห็นบทบาทหรือการแสดงความคิดเห็นอะไร เวลาที่ภาคประชาสังคมจัดการพูดคุยก็ไม่เคยเห็น สว.ชุดก่อน มาร่วมเสวนา จึงมาฝากความหวังและหวังว่า สว.ทั้ง 200 คน จะไม่หายไป อย่างน้อยสัก 50 คน ที่ให้ความร่วมมือ
ส่วนที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ประกาศการรับรองผลการเลือก สว. เพราะกระบวนการที่ผ่านมาค่อนข้างซับซ้อนและทุกคนเจอเป็นครั้งแรก ตามมาด้วยข้อร้องเรียนเป็นจำนวนมาก หากใช้เวลาตรวจสอบเกินกว่า 5 วัน ก็เข้าใจได้ แต่ก็ควรจะออกมาบอกว่าได้ตั้งเป้าวันไหนที่จะประกาศ และเมื่อประกาศผลแล้วช่วยอธิบายด้วยว่าการไปตรวจสอบข้อร้องเรียนทั้งหมดเจออะไรบ้าง คนทำผิดได้ดำเนินคดีอย่างไร แต่หากช้าเกิน 20 วัน ก็จะนานเกินไป จึงฝาก กกต.ให้ช่วยแจ้งข่าวสารและวันที่จะประกาศรับรองให้ประชาชนได้รับทราบ
ทางด้าน นาง
อังคณา นีละไพจิตร ว่าที่ สว. กล่าวว่า การที่ กกต.ยังไม่ประกาศรับรอง สว.ทั้ง 200 คน เพราะมีเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบเป็นจำนวนมาก ส่วนตัวมองว่าต่อให้เลือกใหม่จะกี่ครั้ง หากหลักเกณฑ์และกติกายังเป็นแบบเดิมก็จะเป็นเหมือนเดิม ไม่มีวันที่จะหลีกเลี่ยงเรื่องคอนเน็กชันได้
ขณะประเด็นที่ กกต.ยังไม่ประกาศวันรับรอง สว. เพราะยังรอตรวจสอบเรื่องที่มีการร้องเรียนนั้น คิดว่าจริงๆ แล้ว กกต.ไม่ต้องใช้เวลาตรวจสอบมาก แค่ 200 คน ไปตรวจสอบ สว.3 ดูก็จะทราบและใช้เวลาไม่นาน คนมีคดีหรือมีคุณสมบัติไม่ตรงสามารถตรวจสอบได้ แต่ที่ผ่านมาเพราะกฎหมายทำให้เกิดช่องโหว่ เลยทำให้การตรวจสอบไม่เข้มงวด ทำให้ขาดโอกาสได้คนที่จะเข้ามาในสัดส่วนที่เหมาะสม อย่างเช่น กลุ่มคนพิการและกลุ่มชาติพันธุ์ก็ไม่มีคนที่เผชิญกับปัญหาเหล่านี้จริงๆ มาเป็น สว. จึงถือเป็นจุดอ่อนของการเลือกลักษณะนี้ และหากมีเจตนาดีอยากจะขอให้ทำงานร่วมกันเพื่อให้มีการแก้กติกาและรัฐธรรมนูญของการเลือก สว. ให้รีบแก้เมื่อมีกติกาใหม่ ก็ให้เลือกคนใหม่เข้ามาให้โปร่งใส และมีตัวแทนของทุกภาคส่วน
ทั้งนี้ ในฐานะที่เป็นผู้สมัครและเป็นว่าที่ สว. ไม่เห็นด้วยกับกติกาของการเลือกสว.ครั้งนี้ และไม่กังวลว่ากลุ่มอำนาจทางการเมืองจะได้พื้นที่ สว.ในสภาเป็นจำนวนมาก เชื่อว่า สว.ชุดนี้ จะต่างจาก สว.ชุดเดิม เพราะกลุ่มภาคประชาสังคมที่เป็นอิสระ จะทำหน้าที่ของตัวเองอย่างอิสระ อย่างน้อยสภาชุดนี้ก็จะได้เห็นการคัดค้าน ไม่ว่าจะมากหรือน้อย แต่จะมีคนไม่เห็นด้วยในบางเรื่อง ซึ่งในอดีตการคัดค้านอาจจะไม่แข็งแรง แต่ครั้งนี้เราจะทำงานกันอย่างเข้มแข็ง
สำหรับกรณีที่ สว.ชุดเก่า นัดกันวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 จะไปยื่นให้กรรมาธิการการศึกษาการเลือก สว.ชุดใหม่ นางอังคณา มองว่า โดยมารยาทเมื่อหมดวาระไปแล้วก็ควรจะหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะที่ผ่านมา สว.ทุกคนก็ได้อ่านกฎหมายมานานแล้ว ตั้งแต่ปี 2561 แล้วทำไมถึงไม่แก้ไขระเบียบกติกา เพราะระบบที่ให้เลือกกันเองคนมาจากหลากหลายพื้นที่ก็ย่อมไม่รู้จักกัน ซึ่งตนเองก็ยอมรับว่าในการเลือกไขว้รอบสุดท้ายมีบัตรเลือก 4 ใบ แล้วต้องการ 5 เบอร์ ไม่สามารถที่จะจำทุกเบอร์ได้ ทุกคนจึงต้องจด และเอา สว.3 เข้าไปเพื่อเปิดดูให้มั่นใจว่าได้เลือกคนที่ดีจริง เมื่อกติกาออกมาเป็นแบบนี้แล้วก็ไม่มีประโยชน์ที่ สว.จะมานั่งตรวจสอบให้ย้อนกลับไปนับคะแนนอีกรอบ
ส่วนจะเป็นการหมายถึงไม่ปล่อยวางอำนาจหรือไม่นั้น นางอังคณา กล่าวว่า คนที่อยู่มานานควรให้เกียรติคนที่มาใหม่ และรอดูการทำหน้าที่ของคนที่มาใหม่ไปก่อน อย่าไปตั้งอคติเพราะไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร ไม่ใช่มาขัดขวางทุกวิถีทาง และอยากจะฝากไปถึง สว.ชุดเดิม ว่า การกระทำแบบนี้ต้องระมัดระวังจะเป็นการขัดกันของผลประโยชน์ เพราะขณะนี้พวกท่านทั้งหลายยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ยังรับค่าตอบแทนอยู่ ยังมีอำนาจอยู่ อาจทำให้คนคิดไปได้ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะทุกคนถือเป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว.
'ธำรงศักดิ์’ เผยผลสำรวจ 47 จังหวัด ส่วนใหญ่จะเลือกนายก อบจ. จากก้าวไกล 58.77%
https://prachatai.com/journal/2024/07/109850
'ธำรงศักดิ์’ เผยผลสำรวจ 4,310 คน ใน 47 จังหวัด พบส่วนใหญ่จะเลือก นายก อบจ. ของผู้สมัครพรรคก้าวไกล ร้อยละ 58.77 ตามด้วยพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 13.59
7 ก.ค. 2567 งานวิจัยส่วนบุคคลของ รองศาสตราจารย์ ดร.
ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ จำนวน 4,310 คน เก็บแบบสอบถามระหว่าง 8-21 เม.ย. 2567 โดยนักศึกษาปริญญาตรี-โท-เอก คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต 127 คน เก็บแบบสอบถามใน 47 จังหวัด ข้อคำถามว่า“
พรรคการเมืองที่ท่านจะสนับสนุนในการเลือกตั้งท้องถิ่น นายก อบจ. ครั้งต่อไป”
ผลการวิจัยพบว่า (มี 4,305 คนตอบคำถามข้อนี้)
พรรคก้าวไกล ร้อยละ 58.77 (2,530 คน)
พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 13.59 (585 คน)
พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 2.65 (114 คน)
พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 2.56 (110 คน)
พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.44 (105 คน)
พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.99 (86 คน)
พรรคอื่นๆ ร้อยละ 1.74 (75 คน)
เลือกผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 2.42 (104 คน)
ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 13.84 (596 คน)
ร้อยละเป็นรายภาค
1. เลือก พรรคก้าวไกล กรุงเทพฯ ร้อยละ 60.60 ภาคกลาง ร้อยละ 60.90 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 60.20 ภาคเหนือ ร้อยละ 39.10 ภาคใต้ ร้อยละ 55.50 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 60.0
2. เลือก พรรคเพื่อไทย กรุงเทพฯ ร้อยละ 13.20 ภาคกลาง ร้อยละ 12.70 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 18.70 ภาคเหนือ ร้อยละ 27.40 ภาคใต้ ร้อยละ 10.90 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 6.70
3. พรรคภูมิใจไทย สูงสุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 5.10 พรรครวมไทยสร้างชาติ สูงสุดที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 3.70 พรรคประชาธิปัตย์ สูงสุดที่ภาคใต้ ร้อยละ 6.70 พรรคพลังประชารัฐ สูงสุดที่ภาคเหนือ ร้อยละ 3.60
หมายเหตุ: การเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และสมาชิก อบจ. พร้อมกันทุกจังหวัด จะเกิดขึ้นภายในวันที่ 3 ก.พ. 2568 ยกเว้นจังหวัดที่นายก อบจ. ได้ลาออกและมีการเลือกตั้งไปแล้ว
หนี้พุ่ง GDP โตต่ำ ศก.ไทยไม่เหมือนเดิม
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_742786/
เศรษฐกิจไทย จะกลับมาโต 4-5% ได้หรือไม่ ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงจากทุกภาคส่วน เพราะล่าสุด ธนาคารโลก ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2567 เหลือโต 2.4% จากที่เคยประมาณการไว้เดิม เมื่อเดือนเม.ย. ที่ 2.8% โดยมีสาเหตุหลักมาจากการส่งออกและการลงทุนภาครัฐในช่วงต้นปีที่น้อยกว่าคาดการณ์
ขณะที่ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย “ดร.
เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ”คาดจีดีพีไทยช่วงปี 2566-2571 คาดว่าจะเติบโตได้แค่ราว 3% ซึ่งเป็นระดับศักยภาพของไทยในปัจจุบันที่ลดลงจากในอดีต และยากที่จะกลับไปเติบโตได้สูงถึง 4-5% อย่างเช่นในอดีต 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ
ทั้งนี้ การจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้มากกว่านี้ จะต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจปรับโครงสร้างแรงงานให้มีประสิทธิภาพ มีการลงทุนมากขึ้น มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัย ซึ่งคงไม่ใช่เพียงแค่การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่เพียงเท่านั้น
ล่าสุด สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.คุยกับ “
ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์” นักวิชาการอิสระถึงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยและนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนจีดีพี โดย
“ศ.ดร.พรายพล” กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่เศรษฐกิจไทยจะกลับไปโตที่ระดับ 4-5%เพราะรัฐบาลชุดปัจจุบันเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นมากว่าโดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ในระยะยาวอีกทั้งการเดินทางไปต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ปัญหาเศรษฐกิจยังไม่ได้รับการแก้ไขเท่าที่ควร
นอกจากนี้ “ศ.ดร.
พรายพล” ยังได้กล่าวถึงภาระหนี้จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตด้วยว่าจะทำให้หนี้ของประเทศเพิ่มขึ้น และหากในอนาคต รัฐมีความจำเป็นต้องกู้เพื่อลงทุน ก็จะทำให้มีความยากมากขึ้น
ขณะที่ ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส มองกรณีที่ ครม.สัญจรเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ คือให้มีการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณปี 2567 ครั้งที่ 2 โดบแผนก่อหนี้ใหม่ปรับเพิ่มสุทธิ 275,870.08 ล้านบาท จากเดิม 754,710 ล้านบาท เป็น 1.03 ล้านล้านบาท
โดยการเพิ่มงบประมาณปี 2567 เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ ผ่านการทำโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต เติมเงิน 10,000 บาท ซึ่งต้องติดตามว่ารัฐบาลจะมีความสามารถชำระหนี้ ได้มากน้อยเพียงใดในสภาวะดอกเบี้ยสูงที่ระดับ 2.50% จึงทำให้ตลาดคาดว่าหนี้สาธารณะมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดหนี้สาธารณะของไทย ณ สิ้น พ.ค.2567อยู่ที่ 11.65 ล้านล้านบาท ส่วนประมาณการ GDP อยู่ที่ 18.11 ล้านล้านบาทหรือมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อGDP 64.29%
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินสมมุติฐานต่างๆ ได้ว่า รัฐบาลสามารถก่อหนี้เพิ่มได้ราว 1.2 ล้านล้านบาท ภายใต้ GDP เท่าเดิมก็ยังอยู่ในกรอบ 70% หนี้สาธารณะต่อ GDP หรือจะก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้ถึง 1.8 ล้านล้านบาท หาก GDP เติบโตได้ 5% ในปีนี้
อย่างไรก็ตาม การก่อหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น แม้จะยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังแต่ยังมีความกังวลในเรื่องการเพิ่มภาระผูกพันให้กับประเทศซึ่งหากเศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตสูงดังที่หลายสำนักเศรษฐกิจหวังไว้ ก็น่าจะทำความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังลดลงได้
จากนี้ต่อไปจะต้องจับตาการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างใกล้ชิดเพราะตัวเลขจีดีพีที่เกิดขึ้น ย่อมสะท้อนถึงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และฝีมือของรัฐบาลในการบริหารประเทศนั่นเอง
JJNY : “อังคณา” ฝาก สว.ชุดเดิม│ผลสำรวจ 47จว. จะเลือกนายกอบจ. จากก้าวไกล│หนี้พุ่ง GDP โตต่ำ│ฝ่ายซ้ายฝรั่งเศสพลิกมาชนะ
https://www.thairath.co.th/news/politic/2798901
ไอลอว์ หวัง สว.ชุดใหม่ ดันกฎหมายให้ภาคประชาสังคม “อังคณา” ว่าที่ สว. ชี้ ต่อให้เลือกใหม่กี่ครั้ง ถ้ากติกาเดิมก็ได้คนแบบเดิม เมิน สว.กลุ่มเก่าจ่อยื่นร้อง กมธ. มอง โดยมารยาทไม่ควรทำ ส่อเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน
วันที่ 7 กรกฎาคม 2567 นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ผู้จัดการโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) ร่วมบรรยายในการสัมมนา สว.ประชาชน ที่โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง ในหัวข้อ วุฒิสภากับการทำงานร่วมกับองค์กรประชาสังคม ว่า ตนเองมาเป็นวิทยากรวันนี้เพราะมีสมาชิกวุฒิสภา (สว.) หน้าใหม่ที่สมัครมาตามกลุ่มอาชีพจำนวนหนึ่งยังไม่เข้าใจงานสภา และไม่มีพื้นฐานว่าหน้าที่ สว. ต้องทำบทบาทอะไรบ้าง เพื่อช่วยกันทำเข้าใจ ส่วนตนเองมาเพื่อฝาก เพราะมีกฎหมาย 2 ฉบับที่ สว.จะต้องช่วยกันผลักดันคือ การนิรโทษกรรม และการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าการทำประชามติจะมีไหม และจะได้คำถามตามที่รัฐบาลตั้งมาหรือไม่ จึงมาบอกว่าที่ สว.จะต้องเจอความท้าทายหลายอย่าง และต้องรับมือกับอะไรบ้าง
นายยิ่งชีพ กล่าวอีกว่า การมาบรรยายในวันนี้เพื่อฝากความหวังกับภาคสังคมให้ สว.ชุดใหม่ ช่วยกันผลักดันสิ่งที่ภาคประชาสังคมอยากให้ทำ หลังจากที่งานภาคประชาสังคมไม่ได้รับความสนใจมากเท่าที่ควร โดยสิ่งที่อยากขอว่าที่ สว. คือ เมื่อไปเป็น สว.แล้ว อย่าหายไป เพราะเห็นได้จาก สว.ชุดเดิม ที่หาตัวไม่เจอเวลาเกิดปัญหาต่างๆ ในสังคม แทบจะไม่เห็นบทบาทหรือการแสดงความคิดเห็นอะไร เวลาที่ภาคประชาสังคมจัดการพูดคุยก็ไม่เคยเห็น สว.ชุดก่อน มาร่วมเสวนา จึงมาฝากความหวังและหวังว่า สว.ทั้ง 200 คน จะไม่หายไป อย่างน้อยสัก 50 คน ที่ให้ความร่วมมือ
ส่วนที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ประกาศการรับรองผลการเลือก สว. เพราะกระบวนการที่ผ่านมาค่อนข้างซับซ้อนและทุกคนเจอเป็นครั้งแรก ตามมาด้วยข้อร้องเรียนเป็นจำนวนมาก หากใช้เวลาตรวจสอบเกินกว่า 5 วัน ก็เข้าใจได้ แต่ก็ควรจะออกมาบอกว่าได้ตั้งเป้าวันไหนที่จะประกาศ และเมื่อประกาศผลแล้วช่วยอธิบายด้วยว่าการไปตรวจสอบข้อร้องเรียนทั้งหมดเจออะไรบ้าง คนทำผิดได้ดำเนินคดีอย่างไร แต่หากช้าเกิน 20 วัน ก็จะนานเกินไป จึงฝาก กกต.ให้ช่วยแจ้งข่าวสารและวันที่จะประกาศรับรองให้ประชาชนได้รับทราบ
ทางด้าน นางอังคณา นีละไพจิตร ว่าที่ สว. กล่าวว่า การที่ กกต.ยังไม่ประกาศรับรอง สว.ทั้ง 200 คน เพราะมีเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบเป็นจำนวนมาก ส่วนตัวมองว่าต่อให้เลือกใหม่จะกี่ครั้ง หากหลักเกณฑ์และกติกายังเป็นแบบเดิมก็จะเป็นเหมือนเดิม ไม่มีวันที่จะหลีกเลี่ยงเรื่องคอนเน็กชันได้
ขณะประเด็นที่ กกต.ยังไม่ประกาศวันรับรอง สว. เพราะยังรอตรวจสอบเรื่องที่มีการร้องเรียนนั้น คิดว่าจริงๆ แล้ว กกต.ไม่ต้องใช้เวลาตรวจสอบมาก แค่ 200 คน ไปตรวจสอบ สว.3 ดูก็จะทราบและใช้เวลาไม่นาน คนมีคดีหรือมีคุณสมบัติไม่ตรงสามารถตรวจสอบได้ แต่ที่ผ่านมาเพราะกฎหมายทำให้เกิดช่องโหว่ เลยทำให้การตรวจสอบไม่เข้มงวด ทำให้ขาดโอกาสได้คนที่จะเข้ามาในสัดส่วนที่เหมาะสม อย่างเช่น กลุ่มคนพิการและกลุ่มชาติพันธุ์ก็ไม่มีคนที่เผชิญกับปัญหาเหล่านี้จริงๆ มาเป็น สว. จึงถือเป็นจุดอ่อนของการเลือกลักษณะนี้ และหากมีเจตนาดีอยากจะขอให้ทำงานร่วมกันเพื่อให้มีการแก้กติกาและรัฐธรรมนูญของการเลือก สว. ให้รีบแก้เมื่อมีกติกาใหม่ ก็ให้เลือกคนใหม่เข้ามาให้โปร่งใส และมีตัวแทนของทุกภาคส่วน
ทั้งนี้ ในฐานะที่เป็นผู้สมัครและเป็นว่าที่ สว. ไม่เห็นด้วยกับกติกาของการเลือกสว.ครั้งนี้ และไม่กังวลว่ากลุ่มอำนาจทางการเมืองจะได้พื้นที่ สว.ในสภาเป็นจำนวนมาก เชื่อว่า สว.ชุดนี้ จะต่างจาก สว.ชุดเดิม เพราะกลุ่มภาคประชาสังคมที่เป็นอิสระ จะทำหน้าที่ของตัวเองอย่างอิสระ อย่างน้อยสภาชุดนี้ก็จะได้เห็นการคัดค้าน ไม่ว่าจะมากหรือน้อย แต่จะมีคนไม่เห็นด้วยในบางเรื่อง ซึ่งในอดีตการคัดค้านอาจจะไม่แข็งแรง แต่ครั้งนี้เราจะทำงานกันอย่างเข้มแข็ง
สำหรับกรณีที่ สว.ชุดเก่า นัดกันวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 จะไปยื่นให้กรรมาธิการการศึกษาการเลือก สว.ชุดใหม่ นางอังคณา มองว่า โดยมารยาทเมื่อหมดวาระไปแล้วก็ควรจะหยุดปฏิบัติหน้าที่ เพราะที่ผ่านมา สว.ทุกคนก็ได้อ่านกฎหมายมานานแล้ว ตั้งแต่ปี 2561 แล้วทำไมถึงไม่แก้ไขระเบียบกติกา เพราะระบบที่ให้เลือกกันเองคนมาจากหลากหลายพื้นที่ก็ย่อมไม่รู้จักกัน ซึ่งตนเองก็ยอมรับว่าในการเลือกไขว้รอบสุดท้ายมีบัตรเลือก 4 ใบ แล้วต้องการ 5 เบอร์ ไม่สามารถที่จะจำทุกเบอร์ได้ ทุกคนจึงต้องจด และเอา สว.3 เข้าไปเพื่อเปิดดูให้มั่นใจว่าได้เลือกคนที่ดีจริง เมื่อกติกาออกมาเป็นแบบนี้แล้วก็ไม่มีประโยชน์ที่ สว.จะมานั่งตรวจสอบให้ย้อนกลับไปนับคะแนนอีกรอบ
ส่วนจะเป็นการหมายถึงไม่ปล่อยวางอำนาจหรือไม่นั้น นางอังคณา กล่าวว่า คนที่อยู่มานานควรให้เกียรติคนที่มาใหม่ และรอดูการทำหน้าที่ของคนที่มาใหม่ไปก่อน อย่าไปตั้งอคติเพราะไม่ได้เกิดประโยชน์อะไร ไม่ใช่มาขัดขวางทุกวิถีทาง และอยากจะฝากไปถึง สว.ชุดเดิม ว่า การกระทำแบบนี้ต้องระมัดระวังจะเป็นการขัดกันของผลประโยชน์ เพราะขณะนี้พวกท่านทั้งหลายยังปฏิบัติหน้าที่อยู่ ยังรับค่าตอบแทนอยู่ ยังมีอำนาจอยู่ อาจทำให้คนคิดไปได้ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะทุกคนถือเป็นผู้ใหญ่กันหมดแล้ว.
'ธำรงศักดิ์’ เผยผลสำรวจ 47 จังหวัด ส่วนใหญ่จะเลือกนายก อบจ. จากก้าวไกล 58.77%
https://prachatai.com/journal/2024/07/109850
'ธำรงศักดิ์’ เผยผลสำรวจ 4,310 คน ใน 47 จังหวัด พบส่วนใหญ่จะเลือก นายก อบจ. ของผู้สมัครพรรคก้าวไกล ร้อยละ 58.77 ตามด้วยพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 13.59
7 ก.ค. 2567 งานวิจัยส่วนบุคคลของ รองศาสตราจารย์ ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ผู้อำนวยการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากคนทั้งประเทศ จำนวน 4,310 คน เก็บแบบสอบถามระหว่าง 8-21 เม.ย. 2567 โดยนักศึกษาปริญญาตรี-โท-เอก คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต 127 คน เก็บแบบสอบถามใน 47 จังหวัด ข้อคำถามว่า“พรรคการเมืองที่ท่านจะสนับสนุนในการเลือกตั้งท้องถิ่น นายก อบจ. ครั้งต่อไป”
ผลการวิจัยพบว่า (มี 4,305 คนตอบคำถามข้อนี้)
พรรคก้าวไกล ร้อยละ 58.77 (2,530 คน)
พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 13.59 (585 คน)
พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 2.65 (114 คน)
พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 2.56 (110 คน)
พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.44 (105 คน)
พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 1.99 (86 คน)
พรรคอื่นๆ ร้อยละ 1.74 (75 คน)
เลือกผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 2.42 (104 คน)
ไม่แสดงความเห็น ร้อยละ 13.84 (596 คน)
ร้อยละเป็นรายภาค
1. เลือก พรรคก้าวไกล กรุงเทพฯ ร้อยละ 60.60 ภาคกลาง ร้อยละ 60.90 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 60.20 ภาคเหนือ ร้อยละ 39.10 ภาคใต้ ร้อยละ 55.50 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 60.0
2. เลือก พรรคเพื่อไทย กรุงเทพฯ ร้อยละ 13.20 ภาคกลาง ร้อยละ 12.70 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 18.70 ภาคเหนือ ร้อยละ 27.40 ภาคใต้ ร้อยละ 10.90 สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 6.70
3. พรรคภูมิใจไทย สูงสุดที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 5.10 พรรครวมไทยสร้างชาติ สูงสุดที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ร้อยละ 3.70 พรรคประชาธิปัตย์ สูงสุดที่ภาคใต้ ร้อยละ 6.70 พรรคพลังประชารัฐ สูงสุดที่ภาคเหนือ ร้อยละ 3.60
หมายเหตุ: การเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และสมาชิก อบจ. พร้อมกันทุกจังหวัด จะเกิดขึ้นภายในวันที่ 3 ก.พ. 2568 ยกเว้นจังหวัดที่นายก อบจ. ได้ลาออกและมีการเลือกตั้งไปแล้ว
หนี้พุ่ง GDP โตต่ำ ศก.ไทยไม่เหมือนเดิม
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_742786/
ขณะที่ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย “ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ”คาดจีดีพีไทยช่วงปี 2566-2571 คาดว่าจะเติบโตได้แค่ราว 3% ซึ่งเป็นระดับศักยภาพของไทยในปัจจุบันที่ลดลงจากในอดีต และยากที่จะกลับไปเติบโตได้สูงถึง 4-5% อย่างเช่นในอดีต 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ
ทั้งนี้ การจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้มากกว่านี้ จะต้องมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจปรับโครงสร้างแรงงานให้มีประสิทธิภาพ มีการลงทุนมากขึ้น มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ทันสมัย ซึ่งคงไม่ใช่เพียงแค่การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่เพียงเท่านั้น
ล่าสุด สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.คุยกับ “ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์” นักวิชาการอิสระถึงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยและนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนจีดีพี โดย “ศ.ดร.พรายพล” กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่เศรษฐกิจไทยจะกลับไปโตที่ระดับ 4-5%เพราะรัฐบาลชุดปัจจุบันเน้นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นมากว่าโดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ในระยะยาวอีกทั้งการเดินทางไปต่างประเทศของนายกรัฐมนตรีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ปัญหาเศรษฐกิจยังไม่ได้รับการแก้ไขเท่าที่ควร
นอกจากนี้ “ศ.ดร.พรายพล” ยังได้กล่าวถึงภาระหนี้จากโครงการดิจิทัลวอลเล็ตด้วยว่าจะทำให้หนี้ของประเทศเพิ่มขึ้น และหากในอนาคต รัฐมีความจำเป็นต้องกู้เพื่อลงทุน ก็จะทำให้มีความยากมากขึ้น
ขณะที่ ฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส มองกรณีที่ ครม.สัญจรเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ คือให้มีการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณปี 2567 ครั้งที่ 2 โดบแผนก่อหนี้ใหม่ปรับเพิ่มสุทธิ 275,870.08 ล้านบาท จากเดิม 754,710 ล้านบาท เป็น 1.03 ล้านล้านบาท
โดยการเพิ่มงบประมาณปี 2567 เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจ ผ่านการทำโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต เติมเงิน 10,000 บาท ซึ่งต้องติดตามว่ารัฐบาลจะมีความสามารถชำระหนี้ ได้มากน้อยเพียงใดในสภาวะดอกเบี้ยสูงที่ระดับ 2.50% จึงทำให้ตลาดคาดว่าหนี้สาธารณะมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดหนี้สาธารณะของไทย ณ สิ้น พ.ค.2567อยู่ที่ 11.65 ล้านล้านบาท ส่วนประมาณการ GDP อยู่ที่ 18.11 ล้านล้านบาทหรือมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อGDP 64.29%
ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินสมมุติฐานต่างๆ ได้ว่า รัฐบาลสามารถก่อหนี้เพิ่มได้ราว 1.2 ล้านล้านบาท ภายใต้ GDP เท่าเดิมก็ยังอยู่ในกรอบ 70% หนี้สาธารณะต่อ GDP หรือจะก่อหนี้เพิ่มขึ้นได้ถึง 1.8 ล้านล้านบาท หาก GDP เติบโตได้ 5% ในปีนี้
อย่างไรก็ตาม การก่อหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น แม้จะยังอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลังแต่ยังมีความกังวลในเรื่องการเพิ่มภาระผูกพันให้กับประเทศซึ่งหากเศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตสูงดังที่หลายสำนักเศรษฐกิจหวังไว้ ก็น่าจะทำความเสี่ยงต่อเสถียรภาพการคลังลดลงได้
จากนี้ต่อไปจะต้องจับตาการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลอย่างใกล้ชิดเพราะตัวเลขจีดีพีที่เกิดขึ้น ย่อมสะท้อนถึงความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และฝีมือของรัฐบาลในการบริหารประเทศนั่นเอง