จากกระทู้ก่อนหน้าที่ผมเคยกล่าวถึงสติปัฏฐาน มีสมาชิกบางท่าน
แนะนำให้ผมไปอ่าน จากนั้นผมก็พบบางอย่างที่เคยมองข้ามไป
ตอนท้ายของแต่ละบรรพจะมีข้อความว่า พิจารณาเห็น_ใน_
ภายในบ้าง ภายนอกบ้าง ทั้งภายในและภายนอก
ก่อนหน้านี้ผมไม่ได้ใส่ใจข้ามๆไปก่อน ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหมายถึงอะไร
วันนั้นก็เลยหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจ เมื่อรู้แล้วก็คิดต่อว่า
คงไม่ค่อยมีใครพิจารณาภายนอกกัน เมื่อกล่าวถึงการปฏิบัติธรรม
ก็ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมักจะเน้นพิจารณาภายใน
ทั้งที่พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้สอนว่า ให้พิจารณาแต่เฉพาะ
ภายในเท่านั้น แต่กล่าวถึงการพิจารณาเห็นภายนอก และ
ทั้งภายในทั้งภายนอก ด้วย
ส่วนมากการพิจารณาภายนอกที่เจ้าของกระทู้เคยรู้มาบ้าง
มักกล่าวถึงการพิจารณากายคนอื่นว่าเป็นของสกปรกไม่งาม
หรือสักวันจะต้องกลายเป็นศพน่าเกลียดเสื่อมสลายไป
ซึ่งเป็นการพิจารณาแบบอสุภ เพื่อให้คลายกำหนัด
แต่นั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่งในฐานกายเท่านั้น ยังมีฐาน เวทนา จิต
และธรรมด้วย ที่สามารถพิจารณาเห็นภายนอก และ
ทั้งภายในทั้งภายนอกได้
ผมอ่านกระทู้เก่าๆ มีบางคนแสดงความเห็นว่า เราพิจารณาภายนอก
เวทนากับจิตไม่ได้เพราะเราไม่เห็นภายในใจของผู้อื่น
ซึ่งผมเห็นว่านี่เป็นความคิดที่ผิด คือเราพิจารณาเห็นได้
เมื่อมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เห็น มิใช่เห็นไม่ได้เลย
อย่างถ้าคนรู้จักเรามีความสุขหรือกลุ้มใจเราก็แยกออกได้
เขาอยากได้อะไร อารมณ์ดีอารมณ์เสียก็รู้ได้หนิ แล้วจะคิดว่า
เราไม่สามารถรู้สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของผู้อื่นได้อย่างไร
ในเมื่อมันเป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันนี่แหละ
ในส่วนของธรรมผมจะยังไม่กล่าวถึงนะครับ เพราะยังคิดไม่ออก
นามธรรมในจิตผู้อื่นนั้นบางอย่างก็เห็นได้ง่าย บางอย่างก็เห็นได้ยาก
ข้อจำกัดของการพิจารณาภายนอกคือ จะต้องมีผู้อื่นอยู่ในระยะ
ที่สังเกตได้ และเขาต้องแสดงซึ่งสิ่งที่อยู่ภายในใจออกมาด้วย
ดังนั้นการพิจารณาภายนอกจะว่าง่ายก็ง่ายถ้าเห็นได้ชัดๆ
แต่บางครั้งก็ยากเพราะอาจไม่รู้จริงๆ ถึงแม้จะพยายามคาดเดา
ก็อาจจะไม่ถูก และจะกลายเป็นคิดเองเออเองอยู่คนเดียว
ไม่ได้รับรู้พิจารณาไปตามจริง
การพิจารณานั้นจึงอาจกลายเป็นการเห็นผิดได้
แล้วจะรับรู้เวทนาและจิตของผู้อื่นได้อย่างไร? ก็ด้วยการมีสติ
มีสัมปชัญญะอยู่ตลอด เพราะเรามิอาจรู้ได้ว่าจะมีใครแสดง
ความรู้สึกนึกคิดออกมาเมื่อใด เราจึงต้องเตรียมพร้อมเสมอ
เราจะสังเกตเห็นได้อย่างไร? ก็มีหลายช่องทางที่คนเราจะแสดงออกมา
ไม่ว่าจะเป็น สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง เนื้อความของคำพูด
เช่น ปกติคนคนนี้มักจะยิ้มแย้มแจ่มใส แต่วันนี้กลับไม่ยิ้ม
หน้าบึ้ง หรือดูซึมเศร้า เราก็รู้ได้ทันทีว่าเขาเป็นทุกข์
(เว้นแต่เขาจะแสร้งทำหลอกเรา)
แต่การสังเกตแค่นั้นอาจยังไม่พอ เพราะการพิจาณาเวทนา
จะต้องดูที่อามิสด้วย เช่นว่าเขาเป็นทุกข์เพราะอะไร
ถ้าเขาเล่าให้ฟัง หรืออยู่ร่วมเหตุการณ์นั้นด้วย เราก็จะรู้ถึงอามิส
หรือเหตุที่ทำให้เกิดเวทนานั้นด้วย
จิตล่ะดูอย่างไร ถ้าเป็นกรณีที่ดูออกง่ายๆมักจะเป็นจิตอกุศล
พวก โลภ โกรธ หลง เช่นว่า มีอะไรบางอย่างหรือคนอื่น ทำให้
คนผู้นั้นไม่พอใจ เขาทำหน้าบึ้ง หรือพูดด้วยน้ำเสียงขุ่นเคือง
ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าจิตของเขามีโทสะ
หรือถ้าเรานั่งดูโทรทัศน์ด้วยกัน แล้วมีข่าวว่ามีผู้ถูกสลากรางวัลที่หนึ่ง
แล้วมีคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า อยากถูกหวยแบบนั้นบ้าง ถ้าฉันมีเงิน
เท่านั้น ฉันจะเอาไปซื้อนั่น ทำนี่ เนื้อความในคำพูดก็แสดงถึง
โลภะในจิตใจของผู้พูดแล้ว
ในเมื่อพิจารณาเห็นภายนอกได้ แล้วทั้งภายในทั้งภายนอกล่ะ
เป็นอย่างไร อันนี้ก็จะยากขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง คือต้องรู้ทันทั้ง
ของตนเองภายในและของผู้อื่นภายนอกด้วย
ตัวอย่างเช่น มีคนมาตำหนิเราด้วยสีหน้าบึ้งตึง และน้ำเสียง
แข็งหรือขุ่นเคือง ประกอบกับเรารู้ว่าเราทำอะไรผิดพลาดไป
จึงรู้ได้ทันทีว่าเขาไม่พอใจโกรธเคืองเราเป็นแน่
ถ้าคิดเพิ่มอีกหน่อยก็คงรู้ว่า เขาเป็นทุกข์เพราะเราทำผิดด้วย
จากนั้นก็พิจารณาใจตัวเอง เราโกรธไม่พอใจที่ถูกตำหนิหรือไม่
อาจมีโทสะ หรืออาจมีความหดหู่ท้อแท้ น้อยใจ ที่ถูกต่อว่า
แล้วก็ตามมาด้วยความทุกข์
หากเรามีสติรู้ทันอารมณ์ไม่เข้าไปยึดถือ ปล่อยให้มันจางไป
ทั้งอกุศลจิตและทุกขเวทนานั้นก็จะหายไปเอง แล้วจึงเห็นว่า
นามเหล่านี้นั้นเกิดได้ก็ดับไปเองได้ตามเหตุปัจจัย
ส่วนอีกคนหนึ่งนั้นเขาจะเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
จิตเป็นกุศลหรืออกุศล ก็ขึ้นอยู่กับตัวของเขาเอง
เราคงไม่สามารถบังคับควบคุม ทำให้เขาไม่โกรธไม่ทุกข์ได้
พิจารณาเห็น _ใน _ ภายนอก พิจารณาเห็น...ทั้งภายในทั้งภายนอก
แนะนำให้ผมไปอ่าน จากนั้นผมก็พบบางอย่างที่เคยมองข้ามไป
ตอนท้ายของแต่ละบรรพจะมีข้อความว่า พิจารณาเห็น_ใน_
ภายในบ้าง ภายนอกบ้าง ทั้งภายในและภายนอก
ก่อนหน้านี้ผมไม่ได้ใส่ใจข้ามๆไปก่อน ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหมายถึงอะไร
วันนั้นก็เลยหาข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจ เมื่อรู้แล้วก็คิดต่อว่า
คงไม่ค่อยมีใครพิจารณาภายนอกกัน เมื่อกล่าวถึงการปฏิบัติธรรม
ก็ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมักจะเน้นพิจารณาภายใน
ทั้งที่พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่ได้สอนว่า ให้พิจารณาแต่เฉพาะ
ภายในเท่านั้น แต่กล่าวถึงการพิจารณาเห็นภายนอก และ
ทั้งภายในทั้งภายนอก ด้วย
ส่วนมากการพิจารณาภายนอกที่เจ้าของกระทู้เคยรู้มาบ้าง
มักกล่าวถึงการพิจารณากายคนอื่นว่าเป็นของสกปรกไม่งาม
หรือสักวันจะต้องกลายเป็นศพน่าเกลียดเสื่อมสลายไป
ซึ่งเป็นการพิจารณาแบบอสุภ เพื่อให้คลายกำหนัด
แต่นั่นเป็นแค่ส่วนหนึ่งในฐานกายเท่านั้น ยังมีฐาน เวทนา จิต
และธรรมด้วย ที่สามารถพิจารณาเห็นภายนอก และ
ทั้งภายในทั้งภายนอกได้
ผมอ่านกระทู้เก่าๆ มีบางคนแสดงความเห็นว่า เราพิจารณาภายนอก
เวทนากับจิตไม่ได้เพราะเราไม่เห็นภายในใจของผู้อื่น
ซึ่งผมเห็นว่านี่เป็นความคิดที่ผิด คือเราพิจารณาเห็นได้
เมื่อมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยให้เห็น มิใช่เห็นไม่ได้เลย
อย่างถ้าคนรู้จักเรามีความสุขหรือกลุ้มใจเราก็แยกออกได้
เขาอยากได้อะไร อารมณ์ดีอารมณ์เสียก็รู้ได้หนิ แล้วจะคิดว่า
เราไม่สามารถรู้สิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของผู้อื่นได้อย่างไร
ในเมื่อมันเป็นเรื่องปกติธรรมดาในชีวิตประจำวันนี่แหละ
ในส่วนของธรรมผมจะยังไม่กล่าวถึงนะครับ เพราะยังคิดไม่ออก
นามธรรมในจิตผู้อื่นนั้นบางอย่างก็เห็นได้ง่าย บางอย่างก็เห็นได้ยาก
ข้อจำกัดของการพิจารณาภายนอกคือ จะต้องมีผู้อื่นอยู่ในระยะ
ที่สังเกตได้ และเขาต้องแสดงซึ่งสิ่งที่อยู่ภายในใจออกมาด้วย
ดังนั้นการพิจารณาภายนอกจะว่าง่ายก็ง่ายถ้าเห็นได้ชัดๆ
แต่บางครั้งก็ยากเพราะอาจไม่รู้จริงๆ ถึงแม้จะพยายามคาดเดา
ก็อาจจะไม่ถูก และจะกลายเป็นคิดเองเออเองอยู่คนเดียว
ไม่ได้รับรู้พิจารณาไปตามจริง
การพิจารณานั้นจึงอาจกลายเป็นการเห็นผิดได้
แล้วจะรับรู้เวทนาและจิตของผู้อื่นได้อย่างไร? ก็ด้วยการมีสติ
มีสัมปชัญญะอยู่ตลอด เพราะเรามิอาจรู้ได้ว่าจะมีใครแสดง
ความรู้สึกนึกคิดออกมาเมื่อใด เราจึงต้องเตรียมพร้อมเสมอ
เราจะสังเกตเห็นได้อย่างไร? ก็มีหลายช่องทางที่คนเราจะแสดงออกมา
ไม่ว่าจะเป็น สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง เนื้อความของคำพูด
เช่น ปกติคนคนนี้มักจะยิ้มแย้มแจ่มใส แต่วันนี้กลับไม่ยิ้ม
หน้าบึ้ง หรือดูซึมเศร้า เราก็รู้ได้ทันทีว่าเขาเป็นทุกข์
(เว้นแต่เขาจะแสร้งทำหลอกเรา)
แต่การสังเกตแค่นั้นอาจยังไม่พอ เพราะการพิจาณาเวทนา
จะต้องดูที่อามิสด้วย เช่นว่าเขาเป็นทุกข์เพราะอะไร
ถ้าเขาเล่าให้ฟัง หรืออยู่ร่วมเหตุการณ์นั้นด้วย เราก็จะรู้ถึงอามิส
หรือเหตุที่ทำให้เกิดเวทนานั้นด้วย
จิตล่ะดูอย่างไร ถ้าเป็นกรณีที่ดูออกง่ายๆมักจะเป็นจิตอกุศล
พวก โลภ โกรธ หลง เช่นว่า มีอะไรบางอย่างหรือคนอื่น ทำให้
คนผู้นั้นไม่พอใจ เขาทำหน้าบึ้ง หรือพูดด้วยน้ำเสียงขุ่นเคือง
ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าจิตของเขามีโทสะ
หรือถ้าเรานั่งดูโทรทัศน์ด้วยกัน แล้วมีข่าวว่ามีผู้ถูกสลากรางวัลที่หนึ่ง
แล้วมีคนหนึ่งพูดขึ้นมาว่า อยากถูกหวยแบบนั้นบ้าง ถ้าฉันมีเงิน
เท่านั้น ฉันจะเอาไปซื้อนั่น ทำนี่ เนื้อความในคำพูดก็แสดงถึง
โลภะในจิตใจของผู้พูดแล้ว
ในเมื่อพิจารณาเห็นภายนอกได้ แล้วทั้งภายในทั้งภายนอกล่ะ
เป็นอย่างไร อันนี้ก็จะยากขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง คือต้องรู้ทันทั้ง
ของตนเองภายในและของผู้อื่นภายนอกด้วย
ตัวอย่างเช่น มีคนมาตำหนิเราด้วยสีหน้าบึ้งตึง และน้ำเสียง
แข็งหรือขุ่นเคือง ประกอบกับเรารู้ว่าเราทำอะไรผิดพลาดไป
จึงรู้ได้ทันทีว่าเขาไม่พอใจโกรธเคืองเราเป็นแน่
ถ้าคิดเพิ่มอีกหน่อยก็คงรู้ว่า เขาเป็นทุกข์เพราะเราทำผิดด้วย
จากนั้นก็พิจารณาใจตัวเอง เราโกรธไม่พอใจที่ถูกตำหนิหรือไม่
อาจมีโทสะ หรืออาจมีความหดหู่ท้อแท้ น้อยใจ ที่ถูกต่อว่า
แล้วก็ตามมาด้วยความทุกข์
หากเรามีสติรู้ทันอารมณ์ไม่เข้าไปยึดถือ ปล่อยให้มันจางไป
ทั้งอกุศลจิตและทุกขเวทนานั้นก็จะหายไปเอง แล้วจึงเห็นว่า
นามเหล่านี้นั้นเกิดได้ก็ดับไปเองได้ตามเหตุปัจจัย
ส่วนอีกคนหนึ่งนั้นเขาจะเป็นทุกข์หรือเป็นสุข
จิตเป็นกุศลหรืออกุศล ก็ขึ้นอยู่กับตัวของเขาเอง
เราคงไม่สามารถบังคับควบคุม ทำให้เขาไม่โกรธไม่ทุกข์ได้