ตอนที่ 1
http://ppantip.com/topic/35285266
ตอนที่ 2
http://ppantip.com/topic/35287204
ตอนที่ 3
http://ppantip.com/topic/35291003
15# หลักปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ ที่แท้จริง
.............การปฏิบัติธรรมมันไม่ใช่ให้ไปนั่งสมาธิ ตะบี้ตะบัน ไม่ต้องไปวัดก็ปฏิบัตได้ ทำที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องนุ่งขาวห่มขาวก็ปฏิบัติได้ ไม่ต้องจุดธูปจุดเทียนก็ปฏิบัติได้ ไม่ต้องไปลงทะเบียนก็ปฏิบัติได้
เพราะการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 หัวข้อ เห็นกายในกาย มันทำได้ทุกที่ทุกเวลา
อ้างอิง......พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หัวข้อ......
[๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้ง อยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าแม่โคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วนๆ นั่งอยู่ ที่หนทาง ใหญ่ ๔ แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้ง อยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนา มาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
16# หลักปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ ที่แท้จริง
...........แม้แต่ไปดูซากศพที่ป่าช้าก็สามารถปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 "เห็นกายในกาย" ได้
อ้างอิง......พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หัวข้อ......
[๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด น้ำ เหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น กายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
17# หลักปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ ที่แท้จริง
.............การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ข้อที่ 2 เห็นเวทนาในเวทนา ทำอย่างไร เอาแบบภาษาบ้านง่ายๆ เลย คือ ดูอารมณ์ของตนเอง ในขณะมีสุข หรือมีทุกข์ หรือ เฉยๆ แล้วก็ตามดูว่ามันสุขเพราะอะไร มันทุกข์เพราะอะไร แล้วมันหายไปเพราะอะไร เช่นเชียร์บอล วันชนะก็ดีใจ พอคล้อยหลังไป 2 วัน ความดีใจก็หายจ้อย หรือเรากำลังหงุดหงิดตอนนี้ หรือกังวล ก็ตามดูเหตุแห่งการเกิดของอารมณ์เหล่านี้ ก็พยายาม เฟ้าตามดูเรื่อยๆ ทุกเวลาทุกนาที ถ้าทำได้ นี่ผมทำแบบนี้มา เลยเอามาแนะนำ
หมายเหตุ.... หากใครอ่านปิฏก อ้างอิง จะเจอคำว่า "อามิส"
คำว่า "อามิส" คือ "สิ่งล่อใจ" เช่น เวทนาที่มีอามิส คือ เวลาเราแทงหวยถูก นั่นแหละ สุขเวทนาที่มีอามิส ส่วนทุกข์ที่มีอามิส ก็คือ แทงหวยผิด หรือกู้เงินมาลงทุนแล้วผิดคลาด ก็เกิดทุกข์ หรือ นอนขาบวม หนีคดี กำลังถูกตำรวจตามจับ นี่ก็ทุกข์ที่มีอามิส
..........................................................................
อ้างอิง......พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หัวข้อ......
[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า? ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยทุกขเวทนา เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา. หรือเสวยสุข เวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนา บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ เสื่อมในเวทนาบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่.
18# หลักปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ ที่แท้จริง
.............การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ข้อที่ 3 เห็นจิตในจิต ทำอย่างไร
เอาแบบภาษาบ้านๆ ก็คือ ตอนเราโกรธ นี่แหละเห็นง่ายสุด ก็ให้ละลึกเห็น จิตโกรธของเรานี่ แหละมันโผล่หน้ามาให้เห็นแล้ว ตัวเป็นๆเลยนี่แหละคือสัตตาโอปปาติกะจิต สัตว์ยักษ์ สัตว์มาร เรากำลังเกิดเป็นสัตว์ชนิดนี้อยู่ตอนนี้ มันกำลังสิงใจเรา ระวังอย่าให้มัน ถือมีด ถือปืน น๊ะ มีโอกาสชีวิตเราจะบรรลัยได้เลย ไม่เราตาย ก็เขาตาย แล้วคนที่เกี่ยวข้องกับเราก็จะทุกข์ไปด้วย เสียดาย ดร. 3 คน ที่ยิงกันตายใน มหาลัย ไม่รู้จักสิ่งนี้ ก็พิจารณาจิตเราอยู่เนือง แล้วก็หาเหตุผลว่ามันเกิดจิตนี้อย่างไร เราผิดเองไหม? หรือมันงี่เง่าทำให้เราโกรธ ก็พิจารณาไป แล้วจะดับมันอย่างไร (ควรดับน๊ะอย่าให้มันสิงใจ) จะใช้การกดข่มแบบสามัญ ก็ควรทำ เช่นช่างหัวมันเถอะ หนีดีกว่าไม่มีประโยชน์ ทะเลาะกับมันมีแต่เสีย อะไรก็ว่าไปแล้วแต่ใครจะหาเหตุผลดับได้ ทำไปก่อน เพราะตอนนี้ จิตยังไม่มีปัญญา ที่จะดับได้ ก็ต้อง อาศัย ตรรกะ สามัญๆแบบนี้ การปฏิบัติ "ดูจิตในจิต" ก็ทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องไปวัด ในที่ทำงานนี่แหละของดีเลย มีคนหน้ากวนตีนเราเยอะ หน้าเราก็กวนตีนมันเหมือนกัน ก็ให้ฝึกดูอาการของจิตเราชนิดต่างๆ ที่มันจะมาสิงใจเรา ตลอดเวลา ทั้งวัน นี่แหละ คือ สัตตาโอปปาติกะ จิต ใน มรรค 8 ข้อ 1.9 ให้รู้จักตัวเป็นๆ มันซะ ไม่ใช่ ผีเปรต ผีห่าที่ไหน มันเป็นผีที่สิงใจเรานี่แหละ อย่ามั่วตามพระที่สอนมั่ว
.....................................................................................
อ้างอิง......พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หัวข้อ......
[๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ชัด
ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมี โมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มี ธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่ หลุดพ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิต บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.
ท่านหลับมานานแล้ว..... ตื่นเถอ... ตอนที่4
http://ppantip.com/topic/35285266
ตอนที่ 2
http://ppantip.com/topic/35287204
ตอนที่ 3
http://ppantip.com/topic/35291003
15# หลักปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ ที่แท้จริง
.............การปฏิบัติธรรมมันไม่ใช่ให้ไปนั่งสมาธิ ตะบี้ตะบัน ไม่ต้องไปวัดก็ปฏิบัตได้ ทำที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องนุ่งขาวห่มขาวก็ปฏิบัติได้ ไม่ต้องจุดธูปจุดเทียนก็ปฏิบัติได้ ไม่ต้องไปลงทะเบียนก็ปฏิบัติได้
เพราะการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 หัวข้อ เห็นกายในกาย มันทำได้ทุกที่ทุกเวลา
อ้างอิง......พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หัวข้อ......
[๑๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้ง อยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโค หรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ฉลาด ฆ่าแม่โคแล้ว แบ่งออกเป็นส่วนๆ นั่งอยู่ ที่หนทาง ใหญ่ ๔ แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ตั้ง อยู่ตามปกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนา มาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุ ชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
16# หลักปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ ที่แท้จริง
...........แม้แต่ไปดูซากศพที่ป่าช้าก็สามารถปฏิบัติ สติปัฏฐาน 4 "เห็นกายในกาย" ได้
อ้างอิง......พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หัวข้อ......
[๑๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มีสีเขียวน่าเกลียด น้ำ เหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น กายในกายภายในบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่.
17# หลักปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ ที่แท้จริง
.............การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ข้อที่ 2 เห็นเวทนาในเวทนา ทำอย่างไร เอาแบบภาษาบ้านง่ายๆ เลย คือ ดูอารมณ์ของตนเอง ในขณะมีสุข หรือมีทุกข์ หรือ เฉยๆ แล้วก็ตามดูว่ามันสุขเพราะอะไร มันทุกข์เพราะอะไร แล้วมันหายไปเพราะอะไร เช่นเชียร์บอล วันชนะก็ดีใจ พอคล้อยหลังไป 2 วัน ความดีใจก็หายจ้อย หรือเรากำลังหงุดหงิดตอนนี้ หรือกังวล ก็ตามดูเหตุแห่งการเกิดของอารมณ์เหล่านี้ ก็พยายาม เฟ้าตามดูเรื่อยๆ ทุกเวลาทุกนาที ถ้าทำได้ นี่ผมทำแบบนี้มา เลยเอามาแนะนำ
หมายเหตุ.... หากใครอ่านปิฏก อ้างอิง จะเจอคำว่า "อามิส"
คำว่า "อามิส" คือ "สิ่งล่อใจ" เช่น เวทนาที่มีอามิส คือ เวลาเราแทงหวยถูก นั่นแหละ สุขเวทนาที่มีอามิส ส่วนทุกข์ที่มีอามิส ก็คือ แทงหวยผิด หรือกู้เงินมาลงทุนแล้วผิดคลาด ก็เกิดทุกข์ หรือ นอนขาบวม หนีคดี กำลังถูกตำรวจตามจับ นี่ก็ทุกข์ที่มีอามิส
..........................................................................
อ้างอิง......พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หัวข้อ......
[๑๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไรเล่า? ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เมื่อเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เรา เสวยทุกขเวทนา เสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา. หรือเสวยสุข เวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนามีอามิส หรือเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส หรือเสวย อทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนา บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ เสื่อมในเวทนาบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา และทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้วและไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่.
18# หลักปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ ที่แท้จริง
.............การปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ข้อที่ 3 เห็นจิตในจิต ทำอย่างไร
เอาแบบภาษาบ้านๆ ก็คือ ตอนเราโกรธ นี่แหละเห็นง่ายสุด ก็ให้ละลึกเห็น จิตโกรธของเรานี่ แหละมันโผล่หน้ามาให้เห็นแล้ว ตัวเป็นๆเลยนี่แหละคือสัตตาโอปปาติกะจิต สัตว์ยักษ์ สัตว์มาร เรากำลังเกิดเป็นสัตว์ชนิดนี้อยู่ตอนนี้ มันกำลังสิงใจเรา ระวังอย่าให้มัน ถือมีด ถือปืน น๊ะ มีโอกาสชีวิตเราจะบรรลัยได้เลย ไม่เราตาย ก็เขาตาย แล้วคนที่เกี่ยวข้องกับเราก็จะทุกข์ไปด้วย เสียดาย ดร. 3 คน ที่ยิงกันตายใน มหาลัย ไม่รู้จักสิ่งนี้ ก็พิจารณาจิตเราอยู่เนือง แล้วก็หาเหตุผลว่ามันเกิดจิตนี้อย่างไร เราผิดเองไหม? หรือมันงี่เง่าทำให้เราโกรธ ก็พิจารณาไป แล้วจะดับมันอย่างไร (ควรดับน๊ะอย่าให้มันสิงใจ) จะใช้การกดข่มแบบสามัญ ก็ควรทำ เช่นช่างหัวมันเถอะ หนีดีกว่าไม่มีประโยชน์ ทะเลาะกับมันมีแต่เสีย อะไรก็ว่าไปแล้วแต่ใครจะหาเหตุผลดับได้ ทำไปก่อน เพราะตอนนี้ จิตยังไม่มีปัญญา ที่จะดับได้ ก็ต้อง อาศัย ตรรกะ สามัญๆแบบนี้ การปฏิบัติ "ดูจิตในจิต" ก็ทำได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องไปวัด ในที่ทำงานนี่แหละของดีเลย มีคนหน้ากวนตีนเราเยอะ หน้าเราก็กวนตีนมันเหมือนกัน ก็ให้ฝึกดูอาการของจิตเราชนิดต่างๆ ที่มันจะมาสิงใจเรา ตลอดเวลา ทั้งวัน นี่แหละ คือ สัตตาโอปปาติกะ จิต ใน มรรค 8 ข้อ 1.9 ให้รู้จักตัวเป็นๆ มันซะ ไม่ใช่ ผีเปรต ผีห่าที่ไหน มันเป็นผีที่สิงใจเรานี่แหละ อย่ามั่วตามพระที่สอนมั่ว
.....................................................................................
อ้างอิง......พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ หัวข้อ......
[๑๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ชัด
ว่า จิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโทสะ หรือจิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตมี โมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ชัดว่า จิตหดหู่ หรือ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ชัดว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตเป็นมหรคต จิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ชัดว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตมีธรรมอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มี ธรรมอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ชัดว่า จิตไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่น ก็รู้ชัดว่า จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตหลุดพ้น หรือจิตยังไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดว่า จิตยังไม่ หลุดพ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตภาย นอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิต บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม ในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่.