บุคคลเมื่อรู้ตนเองว่าคิดพยาบาทแล้วต่อมาเลิกคิดพยาบาท ก็สมควรได้รับการให้อภัย ยังพอเป็นบัณฑิตได้บ้าง

บทนำ
         ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมมีความผิดพลาดในการดำเนินชีวิต ในการคิด ในการกระทำ ในการพูด
         บุคคล คิดแล้ว เจตนาแล้ว จึงทำ ถูก-ผิด ทางกาย วาจา

         ต่อไปนี้จะกล่าวถึงกรณีคิดผิด ทำผิด เช่น
  
         1. บุคคลที่คิดผิด เจตนาวางแผนเป็นผู้พยาบาท จะทำอาชญา ลงมือทำผิด กล่าวถ้อยคำผิด แม้จับได้ว่าทำผิด ไม่ยอมรับก็มี
         2. บุคคลที่คิดผิด เจตนาวางแผนเป็นผู้พยาบาท จะทำอาชญา ลงมือทำ กล่าวถ้อยคำผิด ถูกจับได้แล้วยอมรับก็มี 
         3. บุคคลที่คิดผิด เจตนาวางแผนเป็นผู้พยาบาท จะทำอาชญา ไม่ทันได้ลงมือทำก็รู้ตัวว่าการที่ตนเองคิดพยาบาทนั้นเป็นสิ่งชั่ว ไม่ลงมือทำ ก็มี
        
         4. บุคคลที่ทำผิด คิดว่าตนเองถูก เจตนาให้ผู้อื่นรู้ว่าถูก กล่าวตู่โกหกคนหมู่มาก แม้มีหลักฐานว่าทำผิด ไม่ยอมรับก็มี บุคคลแบบนี้ไม่ควรสรรเสริญ 

        พระตถาคต สรรเสริญบุคคลที่ทำผิดยอมรับและปรับคืนตามธรรม พร้อมกับสำรวมระวังต่อไป มีตัวอย่างพุทธพจน์ เช่น
                   
                     ๔. คัณฐิเภทกโจรวัตถุ เรื่องโจรผู้ทำลายปม
                     ๖๓ คนพาลที่รู้ตัวว่าเป็นคนพาล ยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง
                     แต่คนพาลที่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิตนั่นแหละ เรียกว่า คนพาลแท้
อ้างอิง
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=25&A=1187&w=%E0%BB%E7%B9%BA%D1%B3%B1%D4%B5%E4%B4%E9

                    ก็การที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมระวังต่อไป
                    นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย

                  ๑๑. ปังกธาสูตร ว่าด้วยตำบลปังกธา
                  (นำมาแสดงบางส่วน) 

              พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เอาละ กัสสปะ โทษได้ถึงตัวเธอผู้โง่เขลา งมงาย ไม่ฉลาด 
              เมื่อเราให้เหล่าภิกษุเห็นชัด ชวนให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า 
              ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาที่ประกอบด้วยสิกขาบท
              ก็เพราะเธอมีความขัดใจ ไม่ยินดีว่า ‘สมณะนี้ขัดเกลากิเลสยิ่งนัก’ 
              ได้เห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม 
              ฉะนั้นเราจึงรับทราบโทษนั้นของเธอ 
              ก็การที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม 
              ถึงความสำรวมระวังต่อไป นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย

              ถ้าภิกษุผู้เป็นเถระไม่ใคร่ต่อการศึกษา ไม่สรรเสริญการเอาใจใส่การศึกษา
              เธอย่อมไม่ชักชวนภิกษุอื่นที่ไม่ใคร่ต่อการศึกษาให้ใคร่ต่อการศึกษา
              และไม่สรรเสริญคุณที่มีจริงเป็นจริงของภิกษุอื่นที่ใคร่ต่อการศึกษาตามโอกาสอันสมควร 
              เราไม่สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้ 
              ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพวกภิกษุอื่นพึงคบหาเธอโดยเห็นว่า 
              “พระศาสดาก็ยังตรัสสรรเสริญคุณของท่าน”
              ภิกษุพวกที่คบหาเธอพึงพากันตามอย่างเธอ 
              ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่ภิกษุพวกที่พากันตามอย่างเธอตลอดกาลนาน
              เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่สรรเสริญคุณของภิกษุผู้เป็นเถระเช่นนี้
อ้างอิง
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/m_read.php?B=20&A=9125&w=%CA%D3%C3%C7%C1%C3%D0%C7%D1%A7

              มีตัวอย่าง บุคคลที่ทำหน้าที่สอนบาลี ธรรม อภิธรรม
              บุคคลนี้เมื่อได้ฟังข่าวครูทำร้า่ยเด็ก ก็มีอาการโทสะ (อ่านจากบันทึกข้างล่างนี้)
              เรื่องมีอยู่ดังนี้ (ตัดมาบางตอน เท่าที่ได้ข้อมูลครบ พอที่จะสรุปสาระได้จากการคิดการพูด)
             
             https://www.youtube.com/watch?v=saq7GtlGUJk&t=1194s
             ธรรมสถาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
             เริ่มบันทึก เวลาในคลิป 17.45
             พุทธศาสนาสอนให้บริหารตัวเองแบบนี้ก็คือ ต้องพยายามปรุงแต่งจิตของตัวเองให้เป็นกุศลให้มาก จะเป็นกำไรของเราเองในยามที่เราใกล้จะตาย และแม้ในปัจจุบันเอง เราก็มีความสุข คนรอบข้างก็มีความสุข เพราะกุศลเป็นชื่อของความสุข เพราะทำให้เกิดสุขวิบากในชีวิต 
ฉะนั้นการศึกษาเรื่องจิต เจตสิก รูป นี้ ก็คือต้องการที่จะปรุงแต่งเจตสิกที่เกิดกับจิตของตัวเราเอง คนอื่นก็แล้วแต่เค้า เค้าจะไปปรุงอย่างไรก็เรื่องของเค้า แต่เราต้องพยายามปรุงให้ได้นะครับ เป็นอย่างนี้ 

           18.27 งั้นพี่เลี้ยงจุ๋มเนี่ยะ ทุกคนอาจจะโกรธ เค้าทำร้ายเด็ก
            ถามว่าผมโกรธมั้ย โอ้โฮถ้าผมเจอนะ ตอนที่ดูข่าวมันสุดจะทนจริง ๆ นะ คือเค้าทำร้ายเด็ก 3 ขวบ 
           18.40 ผมยังคิด ๆ เลยฮะ ขอโทษ นี่บังอาจคิดเลยนะ คิดแบบอกุศล 
           คือจิตนี้ห้ามไม่ได้เลยนะถ้าคิดแบบบาป ถ้าไม่ศึกษาธรรมนี่อื้อหืม ไม่คิดว่าตัวเองจะคิดได้ชั่วขนาดนี้ 
           รู้มั้ยว่าผมพูดว่ายังไง นี่พูดกับที่บ้านนะ ไม่เกี่ยวกับที่นี่นะ นี่เป็นตัวอย่างไม่ดี

           พอได้ยินข่าวครูจุ๋ม เอาอีกละ ๆ ทำร้ายเด็ก นี่มันเดือดขึ้นมาทันทีตอนนั้น เจตสิก...
           มีเสียงแทรก เบิร์ดกะโหลก 
           โห มันน้อยไป เบิร์ดกะโหลกจุ๋มนี่มันน้อยไป ผมยังบอกเพื่อนผมเลย มันต้องจัดแบบนี้ 
           นี่พูดได้นะ ตัวอย่าง ที่ไม่ดีนะ มีบางคนคิดหรือเปล่าผมไม่รู้นะ แต่ผมคิดแบบนี้ 
           ... มันน่าจะจัด อ่า ทรชนเดนคุกสัก 7 คน ออกจากคุกมาใหม่ ๆ 7 คนนี้เพิ่งจะออกจากคุกมาจากคดีข่มขืน แล้วให้ 5 คนมีเชื้อ HIV และก็ 7 คนนี้จัดการรุมโทรม พี่เลี้ยงจุ๋ม คิดอย่างนี้จริง ๆ นะ เพื่อให้สาสมแก่กรรม คิดอย่างนี้สมควรมั้ย 
           มีเสียงตอบ ไม่สมควร คิดได้ยังไง ...
           มันคิดได้งัย คิดได้ยังงัย เห็นมั้ย นี่คือคิดแบบชั่วที่สุดแล้วนะ 

            เฮ่ย พอเราได้สติขึ้นมา นี่เรามันคิดไปได้ยังไง เพราะจิตเนี่ยะ เราต้องรีบห้ามจิตของเรากลับมา  
            นี่คิดแบบปุถุชน ก็คือพูดง่าย ๆ คือรุมโทรม ถ้าพูดแบบหยาบ ๆ นะ 
            นี่พูดได้ใช่มั้ย อนุญาตหรือเปล่า โอ้ยไม่พูดดีกว่าอันตราย...
            มีเสียงแทรก ที่อาจารย์คิดอย่างนั้นเพราะอะไร หรือโทสะ
            อ๋อ โทสะหนึ่ง พอคิดอย่างนี้ก็เลย วิจัยยะขึ้นมาว่า 
           เอ๊ะ หรือเกิดว่าอาจจะสาสมแก่กรรมของเขา พอเราคิดอย่างนี้มันวูบไปอย่างนี้ทันที
            คืออาจจะเป็นเพราะดูหนังมากหรือเปล่านะ มันก็เลยเป็นแบบนั้น คือผม ไปเจอหนัง หนังละครไทย ๆ นี่แหละ  
           แล้วมันมีอยู่คำหนึ่งสะกิดเข้าไปในหัวใจ ตัวผู้ร้ายมันพูดแบบเนี่ยะ มันหัวเราะ ..พูดว่า 
           จงหยิบยื่นความเป็นผัวให้กับมันอย่างเนี่ยะ 
           โอ้โห แรงมั้ยคำนี้ แรงมาก พอเราคิดอย่างนี้ปุ๊บ เราก็รีบ..เห้ย.ไม่ใช่ละ 

           แต่จริง ๆ แล้วเรื่องนี้เนี่ยะ ในพระไตรปิฎกมีนะครับ มันมีแบบนี้ด้วย 
           ซึ่งเราคิดได้ยังไง แบบนี้ ทั้งที่เราบรรยายธรรมนะเนี่ยะ เห็นม่ะ เราก็ต้องมีสติกลับมา 
           ...เสียงแทรก (ฟังไม่ชัด)
           ถูกต้อง ๆ ถ้าทำอย่างนั้นพี่เลี้ยงจุ๋มก็เหมือนตายทั้งเป็น เราทำอย่างนั้น (อย่างที่คิด) ไม่ได้ 

          ถามว่าโกรธไหม ก็โกรธ  แต่เราอย่าไปทำเขาเลย เพราะว่า ถ้าเราศึกษาเรื่องกรรม 
          นี่พูดจากใจออกมานะ ไม่ว่ากันนะ แต่ไม่ทำหรอก แค่คิดไปอย่างนั้นเอง เอ๊ะเราคิดได้ยังไง 21.13
          (คิด) ถ้าเจอนะ จะถีบให้หนักกว่านี้ แต่ถามว่า ถ้าทำร้ายเค้าแล้วมีอะไรดีขึ้น 
          ทำร้ายเค้าแล้วแม่เค้าละ แม่เค้าป่วยเป็นเบาหวาน ๆ น้ำตาล 400 
          สังคมกระหน่ำแทบจะไม่มีที่ยนอยู่แล้ว เกือบจะฆ่าตัวตายแล้ว คือผมเนี่ยะกลับรู้สึกสงสารเค้านะ 
          แต่ถามว่า ชั่ววูบคิด ก็ต้องมีเป็นธรรมดา แต่ไม่ทำ (จบการบันทึกที่เวลา 22.10) 

        วิเคราะห์ หลักฐานบุคคลที่พูดในคลิปที่คัดลอกมานี้ ควรอยู่ในลักษณะบุคคลในบทนำ ประเภทที่ 3 คือ

         3. บุคคลที่คิดผิด เจตนาวางแผนเป็นผู้พยาบาท จะทำอาชญา ไม่ทันได้ลงมือทำก็รู้ตัวว่าการที่ตนเองคิดพยาบาทนั้นเป็นสิ่งชั่ว ไม่ลงมือทำ ก็มี


        
         การคิดพยาบาทเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ควรทำ
         และคนที่คิดเรื่องนี้ (หลักฐานตามที่ปรากฎในคลิป) ต่อมาเขาก็รู้สึกตัว มีสติ รู้ว่าตนเองคิดผิด หยุดคิดผิด และคิดเมตตา
         และต่อมาก็นำมาเล่าให้ผู้อื่นฟัง พร้อมทั้งสารภาพว่าคนเองเคยคิดชั่ว แต่ยังไม่ได้ทำชั่ว คือไม่ได้ลงมือทำ และต่อมาก็ไม่คิดที่จะทำ
         ถ้าบุคคลนี้เขาหยุดคิดพยาบาท ปรับคืนตามธรรม ควรได้รับการสรรเสริญ และไม่ควรนำเขามาพูดถึงในทางชั่วหรือเสียหาย  
         ควรนำมาพูดถึงในแง่ที่ว่า เขาเคยคิดชั่วแต่มีสติรู้ทันก็หยุดคิด
         เขาเคยคิดผิด (ยังไม่ได้ลงมือทำ) ความเสียหายยังไม่เกิด
         และเขานำมาเล่าเป็นตัวอย่างให้ฟังว่า เพราะเรียนธรรม สอนธรรม ทำให้มีสติ 

         จะให้ดียิ่งกว่าก็คือไม่คิดพยาบาทเพื่อทำร้ายใคร เป็นการดียิ่งกว่า           
         
         ถ้ามีใครก็ตาม นำคลิปนี้มานำเสนอในแง่ประจานว่าเขาคือคนชั่ว  ประจานเขาอย่างนี้ถือว่าถูกต้องหรือไม่ก็ให้คิดเอานะครับ   
        
         นักสอนธรรมบางท่านกล่าวตู่ธรรมพระพุทธเจ้า มีหลักฐานชัด แต่ทำเฉไฉไม่ยอมรับผิดว่าตนเองกล่าวตู่ก็มี 
         
         เข้าลักษณะทำหน้าซื่อแต่ใจคด  บุคคลเช่นนี้ไม่ควรสรรเสริญ


         ถ้าเป็นผู้เดินตามพระตถาคต ควรรู้จักและตระหนักรู้ว่า 

         คนพาลที่รู้ตัวว่าเป็นคนพาล ยังเป็นบัณฑิตได้บ้าง
         แต่คนพาลที่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิตนั่นแหละ เรียกว่า คนพาลแท้

         ก็การที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม 
         ถึงความสำรวมระวังต่อไป นี้เป็นความเจริญในอริยวินัย
         

        ปุถุชน ยังมีคิดผิด ทำผิด สลับกับการ คิดถูก ทำถูก ได้เสมอ 
        แต่การไม่ทำผิด ไม่คิดผิด นั่นเป็นการดี  คิดดี ทำดี นั่นเป็นการดี

        เชิญสมาชิก วิเคราะห์ ตามเหตุผล หลักฐาน อันควร
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่