โลกวัชชะ......หมายความว่า ???

จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E2%C5%A1%C7%D1%AA%AA%D0
โลกวัชชะ อาบัติที่เป็นโทษทางโลก
       คือ คนสามัญที่มิใช่ภิกษุทำเข้าก็เป็นความผิดความเสียหาย
       เช่น โจรกรรม ฆ่ามนุษย์ ทุบตีกัน ด่ากัน เป็นต้น;
       บางทีว่าเป็นข้อเสียหายที่ชาวโลกเขาติเตียน ถือว่าไม่เหมาะสมกับสมณะ เช่น ดื่มสุรา เป็นต้น

**********
หากอ่านกันสั้นๆ ก็อาจจะได้ใจความตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ตามที่ยกมา แต่ในความเป็นจริง คำสั้นๆ แต่มีความหมายขยายความอยู่
ฟังคำอธิบายตามพระธรรมวินัย และทำความเข้าใจให้ถูกต้อง

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
โลกวัชชะ คืออะไร? FAQ โดยพระมหาภาคภูมิ สีลานนฺโท

**********
ข้อความจากพระวินัยปิฎก
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1366&items=1
             [๑๓๖๖] ก็พระวินัยธร ผู้เรืองนาม มีปัญญามาก ทรงสุตะ มีวิจารณญาณ
สอบสวนแนวทางของท่านบูรพาจารย์ในที่นั้นๆ แล้วคิดเขียนข้อพิสดาร
และสังเขปนี้ไว้ในสายกลาง ตามแนวทางที่วางไว้ ซึ่งจะนำความสะดวก
มาให้แก่เหล่าศิษย์. คัมภีร์นี้เรียกว่าปริวาร มีทุกเรื่องพร้อมทั้งลักษณะ มี
อรรถโดยอรรถในสัทธรรม มีธรรมโดยธรรมในบัญญัติ ห้อมล้อม
พระศาสนาดุจสาครล้อมรอบชมพูทวีป ฉะนั้น.
             พระวินัยธรเมื่อไม่รู้คัมภีร์ปริวาร ไฉนจะวินิจฉัยโดยธรรมได้. ความ
เคลือบแคลงของพระวินัยธรใดที่เกิดในวิบัติ วัตถุ บัญญัติ อนุบัญญัติ บุคคล
เอกโตบัญญัติ อุภโตบัญญัติ โลกวัชชะ  และปัณณัตติวัชชะ ย่อมขาดสิ้น
ไปด้วยคัมภีร์ปริวาร, พระเจ้าจักรพรรดิ สง่างามในกองทัพใหญ่ฉันใด
ไกรสรสง่างามในท่ามกลางฝูงมฤคฉันใด พระอาทิตย์แผ่สร้านด้วยรัศมี
ย่อมสง่างามฉันใด พระจันทร์สง่างามในหมู่ดาราฉันใด พระพรหมสง่างาม
ในหมู่พรหมฉันใด ท่านผู้นำสง่างามในท่ามกลางหมู่ชนฉันใด พระสัทธรรม
วินัยย่อมงามสง่าด้วยคัมภีร์ปริวาร ฉันนั้นแล.

**********
ข้อความจากอรรถกถา
อรรถกถา ปฐมปาราชิกสิกขาบท
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=01&i=21
...ฯลฯ...
               [สิกขาบททั้งหมดมีโทษ ๒ อย่าง]               
               จริงอยู่ สิกขาบทมี ๒ อย่าง คือ :-
               โลกวัชชะ (มีโทษทางโลก) ๑ ปัณณัตติวัชชะ (มีโทษทางพระบัญญัติ) ๑.
               บรรดาโทษ ๒ อย่างนั้น สิกขาบทใดในฝ่ายสจิตตกะ มีจิตเป็นอกุศลล้วนๆ, สิกขาบทนั้นชื่อว่าเป็นโลกวัชชะ ที่เหลือเป็นปัณณัตติวัชชะ.
               บรรดาโทษ ๒ อย่างนั้น อนุบัญญัติในสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะ เมื่อเกิดขึ้น กั้น ปิดประตู ตัดกระแส ทำให้ตึงขึ้นกว่าเดิม ย่อมเกิดขึ้น.
               ส่วนอนุบัญญัตินี้ว่า เว้นไว้แต่สำคัญว่าได้บรรลุ๑- เว้นไว้แต่ฝัน๒- พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะไม่มีการล่วงละเมิด และเพราะเป็นอัพโพหาริก.
               ในสิกขาบทที่เป็นปัณณัตติวัชชะ เมื่อภิกษุยังไม่ได้ทำการล่วงละเมิด อนุบัญญัติ เมื่อเกิดขึ้นทำให้เพลาลง ปลดเปลื้องออก เปิดประตูให้ ทำไม่ให้เป็นอาบัติต่อๆ ไป ย่อมเกิดขึ้น เหมือนอนุบัญญัติในคณโภชนสิกขาบทและปรัมปรโภชนสิกขาบท ฉะนั้น.
               ส่วนอนุบัญญัติเห็นปานนี้ว่า โดยที่สุด (บอก) แม้แก่หญิงแพศยาอันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ๓- ชื่อว่ามีคติเหมือนพระบัญญัติทีเดียว เพราะเกิดขึ้นในเมื่อภิกษุทำการล่วงละเมิดแล้ว. ก็เพราะปฐมสิกขาบทนี้เป็นโลกวัชชะ ไม่ใช่เป็นปัณณัตติวัชชะ, เพราะฉะนั้น อนุบัญญัตินี้ก็กั้นปิดประตู ตัดกระแส ได้แก่ทำให้ตึงขึ้นกว่าเดิมอีก ย่อมเกิดขึ้น.
               ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลเรื่องแม้ทั้งสองมา แล้วบัญญัติปฐมปาราชิก ทำให้ตึงขึ้นกว่าเดิม ด้วยอำนาจมูลเฉทอย่างนั้น เรื่องภิกษุชาววัชชีบุตรแม้อื่นอีกก็เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ.
               เพื่อแสดงความเกิดขึ้นแห่งเรื่องภิกษุวัชชีบุตรนั้น พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลายจึงได้กล่าวคำนี้ว่า ก็สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
               อธิบายความแห่งคำนั้นว่า สิกขาบทนี้ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วอย่างนี้ แก่ภิกษุทั้งหลาย และเรื่องแม้อื่นนี้ก็ได้เกิดขึ้น.



แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่