http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000024028
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ลองคลิกอ่านดูจากข่าวตามลิ้งค์ข้างบน ..จากการแถลงการณ์ของเลขาธิการมหาเถรสมาคม ...
-----------------------------------------------------------------------------------------------
การอ้างว่า การรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่พิจารณาผ่านไปแล้ว ผู้รื้อฟื้นจะเป็นอาบัติ ...นั้น (ซึ่งเลขาธิการ มหาเถรฯ จงใจละเว้นคำว่า "โดยธรรม" หรือ "โดยธรรม" หรือ"ด้วยความเป็นธรรม" ทิ้งไปจากประโยคที่พูดนั้น)
ที่จริงหลักการอันนี้ หมายถึงเฉพาะอธิกรณ์ที่ถูกพิจารณาแล้ว "โดยธรรม" (หรือ ตามธรรม, หรือ โดยถูกต้องชอบธรรม, เป็นธรรม) เท่านั้น
นั่นคือ....ถ้าอธิกรณ์นั้น ถูกพิจารณาด้วยความไม่เป็นธรรม ไม่ถูกธรรม ไม่ชอบธรรม ก็ย่อมสามารถรื้อฟื้นใหม่ได้ ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้รื้อฟื้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------
อุกโกฏนสิกขาบทที่ ๓
ในสิกขาบทที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
[ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรม]
บทว่า อุกฺโกเฏนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปยังสำนักของ
ภิกษุนั้น ๆ แล้ว พูดคำโยกโย้ไปมามีอาทิว่า กรรมไม่เป็นอันทำ คือ ไม่ให้
การยืนยันโดยความเป็นเรื่องควรยืนยัน.
บทว่า ยถาธมฺมํ มีความว่า โดยธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
เพื่อเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ใดเล่า.
บทว่า นีหตาธิกรณํ คือ อธิกรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยแล้ว อธิบายว่า
อธิกรณ์ซึ่งสงฆ์ระงับแล้วโดยธรรมที่พระศาสดาตรัสแล้วนั่นแหละ.
สองบทว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมมสญฺญา มีความว่า อธิกรณ์นั้น
สงฆ์ระงับแล้วด้วยกรรมใด, ถ้ากรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม. แม้ภิกษุนี้ก็
เป็นผู้มีความสำคัญในกรรมที่เป็นธรรมนั้นว่า เป็นกรรมชอบธรรม ถ้ารื้อฟื้น
อธิกรณ์นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์. แม้บทที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยนี้.
นี้เป็นความย่อในสิกขาบทนี้ . ส่วนความพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ในคัมภีร์ปริวารโดยนัยมีอาทิว่า การรื้ออธิกรณ์ ๔ นี้ มีเท่าไร ? ดังนี้ .
พระอรรถกถาจารย์นำถ้อยคำที่ตรัสไว้ในคัมภีร์ปริวารนั้น ทั้งหมดมา
แล้วพรรณนาอรรถแห่งคำนั้นนั่นแลไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย แต่พวกเราจะ
พรรณนาคำนั้นในคัมภีร์ปริวารนั่นแหละ. เพราะเมื่อเราจะนำมาพรรณนาใน
สิกขาบทนี้ จะพึงฟั่นเฝือยิ่งขึ้น; ฉะนั้น พวกเราจึงไม่ได้พรรณนาคำนั้น.
บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม เป็นทุกชเวทนา ดังนี้แล
อุกโกฏนสิกขาบทที่ ๓ จบ
http://palungjit.org/tripitaka/default.php?cat=400143
"ถ้ารื้อฟื้นอธิกรณ์ที่คณะสงฆ์พิจารณาไปแล้วการรื้อฟื้นนั้นจะเป็นอาบัติ" หมายถึงเฉพาะอธิกรณ์ที่ตัดสินโดยความถูกต้องชอบธรรม
-----------------------------------------------------------------------------------------------
ลองคลิกอ่านดูจากข่าวตามลิ้งค์ข้างบน ..จากการแถลงการณ์ของเลขาธิการมหาเถรสมาคม ...
-----------------------------------------------------------------------------------------------
การอ้างว่า การรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่พิจารณาผ่านไปแล้ว ผู้รื้อฟื้นจะเป็นอาบัติ ...นั้น (ซึ่งเลขาธิการ มหาเถรฯ จงใจละเว้นคำว่า "โดยธรรม" หรือ "โดยธรรม" หรือ"ด้วยความเป็นธรรม" ทิ้งไปจากประโยคที่พูดนั้น)
ที่จริงหลักการอันนี้ หมายถึงเฉพาะอธิกรณ์ที่ถูกพิจารณาแล้ว "โดยธรรม" (หรือ ตามธรรม, หรือ โดยถูกต้องชอบธรรม, เป็นธรรม) เท่านั้น
นั่นคือ....ถ้าอธิกรณ์นั้น ถูกพิจารณาด้วยความไม่เป็นธรรม ไม่ถูกธรรม ไม่ชอบธรรม ก็ย่อมสามารถรื้อฟื้นใหม่ได้ ไม่เป็นอาบัติแก่ผู้รื้อฟื้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------
อุกโกฏนสิกขาบทที่ ๓
ในสิกขาบทที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
[ว่าด้วยการรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ทำเสร็จแล้วตามธรรม]
บทว่า อุกฺโกเฏนฺติ มีความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปยังสำนักของ
ภิกษุนั้น ๆ แล้ว พูดคำโยกโย้ไปมามีอาทิว่า กรรมไม่เป็นอันทำ คือ ไม่ให้
การยืนยันโดยความเป็นเรื่องควรยืนยัน.
บทว่า ยถาธมฺมํ มีความว่า โดยธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
เพื่อเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์ใดเล่า.
บทว่า นีหตาธิกรณํ คือ อธิกรณ์ที่สงฆ์วินิจฉัยแล้ว อธิบายว่า
อธิกรณ์ซึ่งสงฆ์ระงับแล้วโดยธรรมที่พระศาสดาตรัสแล้วนั่นแหละ.
สองบทว่า ธมฺมกมฺเม ธมฺมกมมสญฺญา มีความว่า อธิกรณ์นั้น
สงฆ์ระงับแล้วด้วยกรรมใด, ถ้ากรรมนั้นเป็นกรรมชอบธรรม. แม้ภิกษุนี้ก็
เป็นผู้มีความสำคัญในกรรมที่เป็นธรรมนั้นว่า เป็นกรรมชอบธรรม ถ้ารื้อฟื้น
อธิกรณ์นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์. แม้บทที่เหลือ บัณฑิตพึงทราบโดยนัยนี้.
นี้เป็นความย่อในสิกขาบทนี้ . ส่วนความพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ในคัมภีร์ปริวารโดยนัยมีอาทิว่า การรื้ออธิกรณ์ ๔ นี้ มีเท่าไร ? ดังนี้ .
พระอรรถกถาจารย์นำถ้อยคำที่ตรัสไว้ในคัมภีร์ปริวารนั้น ทั้งหมดมา
แล้วพรรณนาอรรถแห่งคำนั้นนั่นแลไว้ในอรรถกถาทั้งหลาย แต่พวกเราจะ
พรรณนาคำนั้นในคัมภีร์ปริวารนั่นแหละ. เพราะเมื่อเราจะนำมาพรรณนาใน
สิกขาบทนี้ จะพึงฟั่นเฝือยิ่งขึ้น; ฉะนั้น พวกเราจึงไม่ได้พรรณนาคำนั้น.
บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ
โลกวัชชะ กายกรรม วจีกรรม เป็นทุกชเวทนา ดังนี้แล
อุกโกฏนสิกขาบทที่ ๓ จบ
http://palungjit.org/tripitaka/default.php?cat=400143