‘พิธา-สส.กทม.ก้าวไกล’ สำรวจสภาพ หมอชิต2 ชี้รายได้หลัก บขส. คือขนส่งไม่ใช่โฆษณา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4521932
“พิธา-สส.กทม.ก้าวไกล“ สำรวจสภาพหมอชิต2 ส่งประชาชนกลับบ้าน ชวนรัฐบาลหันกลับมามองคมนาคมทั้งระบบ ไม่ใช่แค่เน้นสร้างโครงการใหญ่ ชี้รายได้หลัก บขส. คือขนส่งไม่ใช่โฆษณา ต้องจัดลำดับความสำคัญให้ถูก
เมื่อเวลา 16.30น. วันที่ 11 เม.ย. 2567 ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยสส.กทม.ของพรรค ได้แก่ นาย
ศุภณัฐ มีนชัยนันท์, นาย
ชยพล สท้อนดี และ น.ส.
ภัสริน รามวงศ์ ร่วมสำรวจสภาพการเดินทางของประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พร้อมพบปะอวยพรประชาชนเนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์
นาย
พิธา กล่าวว่า ถ้าดูตัวเลขของ บขส. อย่างเดียว ย้อนหลัง 5 ปีมีผู้ใช้บริการประมาณ 6 ล้านคน ล่าสุดปี 2566 เหลืออยู่ 2.6 ล้านคนหรือหายไปประมาณสามเท่า สอดคล้องรายได้ของ บขส. ที่หายไป 2-3 เท่าเช่นกัน รัฐบาลควรกำหนดวาระการคมนาคมโดยดูภาพใหญ่มากกว่าการเน้นสร้างอย่างเดียว ที่ผ่านมาเห็นว่านายกรัฐมนตรีไปที่ไหนก็บอกอยากสร้างสนามบินเพิ่ม แต่สำหรับตนแล้วสิ่งที่อยากให้เน้นคือการซ่อมและบริหารสิ่งเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เช่น การปรับปรุงให้การคมนาคมจากกรุงเทพมหานครกลับภูมิลำเนาเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของรถบัสที่ควรจะเป็นรูปแบบการขนส่งที่ประชาชนเข้าถึงได้มากที่สุด
เพราะวันนี้แม้การเดินทางจากกทม.จะพอสะดวกบ้าง แต่เมื่อไปถึงที่หมายกลับไม่มีอะไรรองรับต่อ ขาดแคลนระบบขนส่งมวลชนในแต่ละจังหวัด ถ้าอำนวยความสะดวกให้ประชาชนให้มากขึ้น การขนส่งสาธารณะและการคมนาคมภาพใหญ่ของประเทศไทยก็จะดีขึ้นด้วย
นาย
พิธายังกล่าวต่อไปว่าตนอยากชวนรัฐบาลคิดว่าการสร้างสนามบินเพิ่ม อาจเป็นการใช้งบประมาณจำนวนมากและยังมีโอกาสออกนอกลู่นอกทาง แต่การดูแลโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่แล้ว เน้นซ่อมและบริหารให้ดีขึ้น มีรถที่ดีขึ้น บริหารพื้นที่ให้ผู้ใช้บริการรู้สึกสะดวกขึ้น ออกแบบให้รองรับถึงผู้พิการ ดีกว่าที่จะเน้นแต่การสร้างโครงการขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว
เมื่อถามว่าปัจจุบันสายการบินราคาประหยัดหลายสายราคาถูกกว่ารถบัสมาก จะทำให้ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้นได้อย่างไร นายพิธากล่าวว่า มันคือไก่กับไข่ ถ้าตั้งไข่ให้ได้ก่อน ให้บริการรถบัสมีความสะดวกสบาย สะอาด เมื่อประชาชนใช้มากขึ้น มีสเกลขึ้นมาก็จะทำให้ต้นทุนต่อหัวลดลง ราคาก็สามารถปรับตามได้ รถบัสก็จะกลายเป็นทางเลือกให้ประชาชนใช้ได้ตามความสะดวก บางประเทศเช่นญี่ปุ่นมีทั้งสายการบินราคาประหยัด รถไฟฟ้า รถบัส ในราคาที่ไม่ต่างกันมาก แต่เป็นทางเลือกให้ประชาชน ไม่จำเป็นต้องทำให้ประชาชนมีแต่สายการบินราคาประหยัดเป็นทางเลือกเดียวที่มีอยู่เท่านั้น
เมื่อถามถึงกรณีนายฯ มีแนวคิดให้ บขส. หารายได้จากป้ายโฆษณาและรายได้อื่นๆ มากขึ้น ซึ่งพิธาระบุว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการเรียงลำดับความสำคัญ ธุรกิจหลักที่นี่คือขนส่งไม่ใช่โฆษณา ถ้าทำขนส่งได้ดีแล้วจะมีรายได้จากการโฆษณาเข้ามาก็เป็นเรื่องดี ถ้าช่วยให้การบริหารจัดการดีขึ้น มีงบประมาณเพียงพอ ก็จะทำให้ธุรกิจหลักที่นี่ตั้งหลักได้ จากนั้นรายได้เสริมจากการโฆษณาก็จะเดินควบคู่ไปได้
“
ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการเรียงลำดับความสำคัญ ถ้าเขวไปว่าธุรกิจหลักคือการโฆษณาแต่ไม่ได้ดูแลธุรกิจหลักจริงๆ ไปดูแลแต่ธุรกิจเสริม การบริหารจัดการจะผิดทิศทาง ถ้าคนหายจาก 6 ล้านเหลือ 2.6 ล้าน ธุรกิจโฆษณาก็คงจะไปได้ไม่มากเท่าไหร่” นาย
พิธากล่าว
นาย
พิธายังกล่าวว่าหากตั้งเป้าให้จำนวนผู้ใช้บริการกลับมาได้เท่าก่อนโควิด บวกกับ 20-30% ของนักท่องเที่ยวที่กลับมา ถ้าทำสำเร็จก็จะพลิกโฉมสถานีขนส่งได้พอสมควร ถ้าตั้งไข่ได้แล้วที่เหลือก็จะตามมาเองทั้งเรื่องของรายได้และงบประมาณ แต่ถ้าตอนนี้ยังตั้งไข่ไม่เจอก็วนไปวนมาเหมือนเดิม รายได้น้อย ขาดทุน ลดราคาตั๋วไม่ได้ ดึงคนมาใช้บริการไม่ได้ ทั้งที่รถบัสเป็นบริการขนส่งสาธารณะที่ทุกคนควรเข้าถึงได้ขั้นต่ำที่สุด
ด้านนาย
ศุภณัฐ กล่าวว่า ตั้งแต่ที่ตนเปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับสถานีขนส่งหมอชิต 2 มา ยอมรับว่าปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นมาก แต่ก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นมา ว่าทำไมต้องให้ประชาชนเรียกร้องก่อน หรือเป็นข่าวก่อนถึงจะมีการดำเนินการตามมา ทั้งที่รัฐบาลควรมีวาระในประเด็นนี้อยู่แล้ว และปัจจุบันก็ยังมีสถานีขนส่งอีกหลายจุดที่ยังไม่ได้พัฒนาเหมือนกัน
เมื่อถามว่าให้คะแนนเท่าไร นาย
ศุภณัฐ กล่าวว่าตนให้ประมาณ 7 เพราะเห็นว่ายังมีช่องว่างที่ยังปรับปรุงได้อีกมาก อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถามผู้ใช้งานบ่อยๆ แล้วจะรู้ว่าดีขึ้นอย่างไร จะปรับปรุงอย่างไรให้ดีขึ้นได้ แม้ล่าสุด บขส. จะได้งบประมาณมาแล้วส่วนหนึ่ง แต่ก็ได้มาไม่ถึง 10 ล้านบาท ทำให้แม้จะมีการพัฒนาขึ้น แต่ก็น่าตั้งคำถามว่าสิ่งที่ได้ปรับปรุงไป มากพอและคุ้มค่ากับที่ลงทุนไปหรือไม่
เพราะวันนี้สภาพของสถานีขนส่งหมอชิต 2 แม้จะมีการปรับปรุงแล้ว แต่ก็ยังมีหลายเรื่องที่ต้องปรับปรุงอีก เช่น บันไดเลื่อนที่ยังไม่ได้ทำ ชานชาลาที่ยังไม่ได้ปรับปรุง ชานชาลา ขสมก. ที่ย้ายไปแล้วก็จริงแต่จุดรอรถยังไม่มีกระทั่งพัดลม ทุกอย่างคือประสบการณ์ผู้ใช้ ผู้เกี่ยวข้องควรมาสัมผัสด้วยตนเองว่าประชาชนลำบากอย่างไรบ้าง ตั้งแต่เดินเข้ามาจนกลับออกไป
ธนาธร เล่าประสบการณ์ ร่วมดับไฟป่า มองภาครัฐสำคัญ บริหาร-จัดสรรงบ ติดอาวุธให้แนวหน้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4521338
“ธนาธร” เล่าประสบการณ์ร่วม ดับไฟป่า ขอบคุณที่ให้โอกาสเรียนรู้จากหน้างานจริง เผยได้คุยเจ้าหน้าที่-อาสาอุทยาน พบขาดแคลนอุปกรณ์ทำงานทุกอย่าง มองรัฐควรจัดสรรงบประมาณได้ดีกว่านี้
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567 นาย
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานมูลนิธิคณะก้าวหน้า ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การร่วมภารกิจดับไฟป่ากับมูลนิธิกระจกเงาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 7-8 เมษายนที่ผ่านมา พร้อมสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างาน โดยเฉพาะจากเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการที่ขาดการสนับสนุน
โดยนาย
ธนาธรระบุว่า วัตถุประสงค์ในการร่วมภารกิจดับไฟป่าครั้งนี้ ต้องการประสบการณ์มือหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจว่าหน้างานเป็นอย่างไร เจ้าหน้าที่และอาสาต้องเหนื่อยแค่ไหน ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง และหากได้มีโอกาสเสนอแนะนโยบายกับหน่วยราชการจะได้เสนอได้อย่างถูกต้อง และเมื่อวันหนึ่งที่มีอำนาจจะได้แก้ไข จัดสรรงบประมาณ จัดสรรทรัพยากรกำลังคน ออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ถูกต้องตรงจุด
จากการได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ทำให้ตนได้รู้ว่าการจัดสรรทรัพยากรให้เจ้าหน้าที่หน้างานนั้นไม่เพียงพอและไม่ตรงความต้องการ เช่น มอเตอร์ไซค์ที่ต้องใช้ในการดับไฟต้องเป็นประเภทวิบาก แต่การจัดซื้อภาครัฐไม่สามารถซื้อมอเตอร์ไซค์ประเภทนี้ได้ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเสียเงินตัวเองไปดัดแปลงมอเตอร์ไซค์
หรือการที่ขอโดรนความร้อนไปทุกปีแต่ส่วนกลางกลับตัดรายการนี้ออก ทั้งที่โดรนมีประโยชน์มหาศาล แม้ราคาจะตกอยู่ที่ตัวละประมาณ 2 แสนบาท แต่ใช้งานได้นาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่มีความปลอดภัย ปัญหานี้สะท้อนชัดเจนมากว่าคนที่อยู่หน้างานรู้ว่าต้องการอะไรในการสู้ไฟ แต่คนที่ตัดสินใจใช้งบประมาณกลับไม่มีความเข้าใจกันและไม่เคยมาดูหน้างาน
นาย
ธนาธรกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้พูดคุยกับอาสาสมัครอุทยานระดับปฏิบัติการด้วย พบว่าอาสาสมัครที่ได้รับผลตอบแทนเพียง 300 บาทต่อวันต่างต้องทำงานอย่างหนัก แบกอุปกรณ์ขึ้นเขาสูงชัน เผชิญไฟที่อันตราย โดยที่อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเป่า ทีมสื่อสาร โดรน หรืออุปกรณ์รักษาความปลอดภัย กลับไม่เพียงพอ เป็นที่พิสูจน์ว่าสิ่งที่ตนได้ทราบมาก่อนหน้านี้ว่าภาครัฐไม่มีการเตรียมทรัพยากรในการต่อสู้กับไฟป่าอย่างเพียงพอนั้นเป็นเรื่องจริง และทำให้ภาระต้องตกไปอยู่กับประชาชน
“
เหมือนส่งคนไปรบแต่ไม่ติดอาวุธให้ ในขณะที่ทีมกระจกเงาพร้อมกว่าอย่างเห็นได้ชัด ทั้งด้านจำนวนคน อุปกรณ์ครบครัน เครื่องมือทันสมัยกว่า มาตรฐานการทำงานที่รัดกุมมากกว่า ผมเห็นใจเจ้าหน้าที่อุทยานที่อยู่ด่านหน้าอย่างมากที่ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอและขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกคน” นาย
ธนาธรกล่าว
นาย
ธนาธรยังกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่ชัดที่สุดที่ตนได้มาเรียนรู้จากการทำภารกิจร่วมกันในครั้งนี้ คือการจัดทีม ความสำคัญของการวางแผน ระบบลำเลียงทรัพยากร ระบบความปลอดภัย ระบบปฐมพยาบาล ที่ทำให้ตนเห็นว่าการจัดสรรงบประมาณและบุคลากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเป็นไปได้ ซึ่งสิ่งนี้ไม่ควรเป็นงานของเอกชน แต่ควรเป็นการบริหารจัดการของภาครัฐ
ซึ่งตนจะนำความรู้เหล่านี้มาเสนอแนะแก่ข้าราชการ เจ้ากรม และเจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้องที่ส่วนกลางที่อาจขาดความเข้าใจในปัญหาหน้างานและความลำบากของผู้ปฏิบัติงานจริง จนทำให้นโยบายและการจัดสรรงบประมาณไม่สอดคล้องกับการแก้ปัญหา และหากวันหนึ่งมีอำนาจในการจัดการจะนำความรู้ที่ได้รับในสองวันนี้ มาใช้ในการออกนโยบายและจัดสรรงบประมาณอย่างดีที่สุด
“
ผมคิดว่าทีมกระจกเงาเป็นทีมที่มีความมุ่งมั่นสูง เป็นทีมที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยม เป็นทีมที่เอาจริงเอาจัง ดังนั้นก็มีแต่คำขอบคุณสำหรับความรู้และประสบการณ์ ในตลอดสองวันที่อยู่ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา ถ้าวันไหนมีโอกาสมีอำนาจมีงบประมาณ ก็จะเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาในสองวันนี้ ไปทำให้ระบบการบริหารจัดการไฟป่าดีกว่านี้” นาย
ธนาธรกล่าว
“กัณวีร์” แนะรัฐทำแผนเร่งด่วนรับมือสถานการณ์เมียนมา
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_702991/
“กัณวีร์” ลงพื้นที่แม่สอด แนะรัฐทำแผนเร่งด่วนรับมือสถานการณ์ ชี้ หากต้องรับทหารเมียนมาหนีทัพ ทำต้องทำตามกฎหมายมนุษยธรรม
นาย
กัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ลงพื้นที่ด่านพรมแดนแม่สอด 1 อ.แม่สอด จ.ตาก ติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา หลังมีปฏิบัติการยึดเมืองเมียวดีของกองกำลังผสม 3 ฝ่าย ซึ่งล่าสุดมีการประสานขอให้ทหารเมียนมาที่หนีทัพจากการยึดกองพัน 275 โดยให้เปลี่ยนเป็นพลเรือนเข้ามาในไทยนั้น และทหารกลุ่มนี้อยู่ที่สะพานมิตรภาพไทยเมียนมา แห่งที่ 2 ฝั่งเมืองเมียวดีแล้ว
นาย
กัณวีร์ กล่าวว่า กรณีเป็นทหารแตกทัพ แต่ยังไม่ถูกคุมตัวเป็นเชลย หนีการประหัตประหารมาขอความช่วยเหลือ รัฐบาลไทยในฐานะประเทศเป็นกลางสามารถให้ความช่วยเหลือได้ แต่ต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส ไม่สามารถอ้ำ ๆ อึ้ง ๆ ได้อีกต่อไป เราเป็นประเทศเป็นกลาง และยึดหลักมนุษยธรรมในการดูแล กฎหมายระหว่างประเทศที่ว่าด้วยมนุษยธรรมจะต้องบังคับใช้ทันที ผู้ที่ขอหนีตายเข้ามาในประเทศไทยจะต้องได้รับการดูแลตามหลักมนุษยธรรม เราสามารถส่งพวกเขากลับพื้นที่ต้นกำเนิดได้
แต่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ หากจะให้เราช่วยเหลือเราจะต้องประสานงานกับเนปิดอว์ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้มีข้อครหาว่าไทยก้าวก่ายแทรกแซง หรือถูกกล่าวหาว่าไทยสนับสนุนทหารเมียนมา โดยการดูแลสนับสนุนด้านมนุษยธรรมจำเป็นต้องยึดหลักสี่ 1.ฮิวแมนนิตี้ ดูแลผู้ได้รับผลกระทบเป็นหลัก 2.ไม่เอนเอียง 3.เป็นกลาง 4.มีศักยภาพในการทำงาน
“
ไทยจำเป็นต้องแจ้งเนปิดอว์ให้รับทราบ หากทหารเมียนมา มีความประสงค์จะเดินทางกลับ เราต้องช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม โดยไม่เลือกข้าง เพื่อให้ประเทศไทยมีความชัดเจนโปร่งใส เพื่อไม่ให้มีใครวิพากษ์วิจารณ์เราได้ โดยเฉพาะเวทีต่างประเทศ ตามระเบียบปฏิบัติทหารเมียนมา ต้องขอเข้ามาในฐานะพลเรือน ไม่มีอาวุธ ไม่มียูนิฟอร์ม และหากเนปิดอว์บอกว่าต้องส่งทหารกลุ่มนี้กลับ แต่ทหารไม่อยากกลับ ก็จะเข้าสู่กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ตามหลักการถ้าเจ้าตัวไม่สมัครใจเดินทางกลับ ส่งกลับไปประเทศต้นกำเนิดแล้วถูกจำคุกหรือประหารชีวิต เราไม่สามารถส่งเขากลับไปเผชิญความตายได้”
JJNY : 5in1 ก้าวไกลสำรวจหมอชิต2│ธนาธรเล่าร่วมดับไฟป่า│“กัณวีร์”แนะรัฐ│โชห่วยข้องใจ│ทหารเมียนมาแตกพ่าย ยึดฐานในเมียนมา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4521932
“พิธา-สส.กทม.ก้าวไกล“ สำรวจสภาพหมอชิต2 ส่งประชาชนกลับบ้าน ชวนรัฐบาลหันกลับมามองคมนาคมทั้งระบบ ไม่ใช่แค่เน้นสร้างโครงการใหญ่ ชี้รายได้หลัก บขส. คือขนส่งไม่ใช่โฆษณา ต้องจัดลำดับความสำคัญให้ถูก
เมื่อเวลา 16.30น. วันที่ 11 เม.ย. 2567 ที่สถานีขนส่งหมอชิต 2 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อ และ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล พร้อมด้วยสส.กทม.ของพรรค ได้แก่ นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์, นายชยพล สท้อนดี และ น.ส.ภัสริน รามวงศ์ ร่วมสำรวจสภาพการเดินทางของประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พร้อมพบปะอวยพรประชาชนเนื่องในโอกาสเทศกาลสงกรานต์
นายพิธา กล่าวว่า ถ้าดูตัวเลขของ บขส. อย่างเดียว ย้อนหลัง 5 ปีมีผู้ใช้บริการประมาณ 6 ล้านคน ล่าสุดปี 2566 เหลืออยู่ 2.6 ล้านคนหรือหายไปประมาณสามเท่า สอดคล้องรายได้ของ บขส. ที่หายไป 2-3 เท่าเช่นกัน รัฐบาลควรกำหนดวาระการคมนาคมโดยดูภาพใหญ่มากกว่าการเน้นสร้างอย่างเดียว ที่ผ่านมาเห็นว่านายกรัฐมนตรีไปที่ไหนก็บอกอยากสร้างสนามบินเพิ่ม แต่สำหรับตนแล้วสิ่งที่อยากให้เน้นคือการซ่อมและบริหารสิ่งเดิมที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เช่น การปรับปรุงให้การคมนาคมจากกรุงเทพมหานครกลับภูมิลำเนาเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของรถบัสที่ควรจะเป็นรูปแบบการขนส่งที่ประชาชนเข้าถึงได้มากที่สุด
เพราะวันนี้แม้การเดินทางจากกทม.จะพอสะดวกบ้าง แต่เมื่อไปถึงที่หมายกลับไม่มีอะไรรองรับต่อ ขาดแคลนระบบขนส่งมวลชนในแต่ละจังหวัด ถ้าอำนวยความสะดวกให้ประชาชนให้มากขึ้น การขนส่งสาธารณะและการคมนาคมภาพใหญ่ของประเทศไทยก็จะดีขึ้นด้วย
นายพิธายังกล่าวต่อไปว่าตนอยากชวนรัฐบาลคิดว่าการสร้างสนามบินเพิ่ม อาจเป็นการใช้งบประมาณจำนวนมากและยังมีโอกาสออกนอกลู่นอกทาง แต่การดูแลโครงสร้างพื้นฐานเดิมที่มีอยู่แล้ว เน้นซ่อมและบริหารให้ดีขึ้น มีรถที่ดีขึ้น บริหารพื้นที่ให้ผู้ใช้บริการรู้สึกสะดวกขึ้น ออกแบบให้รองรับถึงผู้พิการ ดีกว่าที่จะเน้นแต่การสร้างโครงการขนาดใหญ่เพียงอย่างเดียว
เมื่อถามว่าปัจจุบันสายการบินราคาประหยัดหลายสายราคาถูกกว่ารถบัสมาก จะทำให้ประชาชนมาใช้บริการมากขึ้นได้อย่างไร นายพิธากล่าวว่า มันคือไก่กับไข่ ถ้าตั้งไข่ให้ได้ก่อน ให้บริการรถบัสมีความสะดวกสบาย สะอาด เมื่อประชาชนใช้มากขึ้น มีสเกลขึ้นมาก็จะทำให้ต้นทุนต่อหัวลดลง ราคาก็สามารถปรับตามได้ รถบัสก็จะกลายเป็นทางเลือกให้ประชาชนใช้ได้ตามความสะดวก บางประเทศเช่นญี่ปุ่นมีทั้งสายการบินราคาประหยัด รถไฟฟ้า รถบัส ในราคาที่ไม่ต่างกันมาก แต่เป็นทางเลือกให้ประชาชน ไม่จำเป็นต้องทำให้ประชาชนมีแต่สายการบินราคาประหยัดเป็นทางเลือกเดียวที่มีอยู่เท่านั้น
เมื่อถามถึงกรณีนายฯ มีแนวคิดให้ บขส. หารายได้จากป้ายโฆษณาและรายได้อื่นๆ มากขึ้น ซึ่งพิธาระบุว่าเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการเรียงลำดับความสำคัญ ธุรกิจหลักที่นี่คือขนส่งไม่ใช่โฆษณา ถ้าทำขนส่งได้ดีแล้วจะมีรายได้จากการโฆษณาเข้ามาก็เป็นเรื่องดี ถ้าช่วยให้การบริหารจัดการดีขึ้น มีงบประมาณเพียงพอ ก็จะทำให้ธุรกิจหลักที่นี่ตั้งหลักได้ จากนั้นรายได้เสริมจากการโฆษณาก็จะเดินควบคู่ไปได้
“ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการเรียงลำดับความสำคัญ ถ้าเขวไปว่าธุรกิจหลักคือการโฆษณาแต่ไม่ได้ดูแลธุรกิจหลักจริงๆ ไปดูแลแต่ธุรกิจเสริม การบริหารจัดการจะผิดทิศทาง ถ้าคนหายจาก 6 ล้านเหลือ 2.6 ล้าน ธุรกิจโฆษณาก็คงจะไปได้ไม่มากเท่าไหร่” นายพิธากล่าว
นายพิธายังกล่าวว่าหากตั้งเป้าให้จำนวนผู้ใช้บริการกลับมาได้เท่าก่อนโควิด บวกกับ 20-30% ของนักท่องเที่ยวที่กลับมา ถ้าทำสำเร็จก็จะพลิกโฉมสถานีขนส่งได้พอสมควร ถ้าตั้งไข่ได้แล้วที่เหลือก็จะตามมาเองทั้งเรื่องของรายได้และงบประมาณ แต่ถ้าตอนนี้ยังตั้งไข่ไม่เจอก็วนไปวนมาเหมือนเดิม รายได้น้อย ขาดทุน ลดราคาตั๋วไม่ได้ ดึงคนมาใช้บริการไม่ได้ ทั้งที่รถบัสเป็นบริการขนส่งสาธารณะที่ทุกคนควรเข้าถึงได้ขั้นต่ำที่สุด
ด้านนายศุภณัฐ กล่าวว่า ตั้งแต่ที่ตนเปิดเผยเรื่องราวเกี่ยวกับสถานีขนส่งหมอชิต 2 มา ยอมรับว่าปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นมาก แต่ก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นมา ว่าทำไมต้องให้ประชาชนเรียกร้องก่อน หรือเป็นข่าวก่อนถึงจะมีการดำเนินการตามมา ทั้งที่รัฐบาลควรมีวาระในประเด็นนี้อยู่แล้ว และปัจจุบันก็ยังมีสถานีขนส่งอีกหลายจุดที่ยังไม่ได้พัฒนาเหมือนกัน
เมื่อถามว่าให้คะแนนเท่าไร นายศุภณัฐ กล่าวว่าตนให้ประมาณ 7 เพราะเห็นว่ายังมีช่องว่างที่ยังปรับปรุงได้อีกมาก อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถามผู้ใช้งานบ่อยๆ แล้วจะรู้ว่าดีขึ้นอย่างไร จะปรับปรุงอย่างไรให้ดีขึ้นได้ แม้ล่าสุด บขส. จะได้งบประมาณมาแล้วส่วนหนึ่ง แต่ก็ได้มาไม่ถึง 10 ล้านบาท ทำให้แม้จะมีการพัฒนาขึ้น แต่ก็น่าตั้งคำถามว่าสิ่งที่ได้ปรับปรุงไป มากพอและคุ้มค่ากับที่ลงทุนไปหรือไม่
เพราะวันนี้สภาพของสถานีขนส่งหมอชิต 2 แม้จะมีการปรับปรุงแล้ว แต่ก็ยังมีหลายเรื่องที่ต้องปรับปรุงอีก เช่น บันไดเลื่อนที่ยังไม่ได้ทำ ชานชาลาที่ยังไม่ได้ปรับปรุง ชานชาลา ขสมก. ที่ย้ายไปแล้วก็จริงแต่จุดรอรถยังไม่มีกระทั่งพัดลม ทุกอย่างคือประสบการณ์ผู้ใช้ ผู้เกี่ยวข้องควรมาสัมผัสด้วยตนเองว่าประชาชนลำบากอย่างไรบ้าง ตั้งแต่เดินเข้ามาจนกลับออกไป
ธนาธร เล่าประสบการณ์ ร่วมดับไฟป่า มองภาครัฐสำคัญ บริหาร-จัดสรรงบ ติดอาวุธให้แนวหน้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4521338
“ธนาธร” เล่าประสบการณ์ร่วม ดับไฟป่า ขอบคุณที่ให้โอกาสเรียนรู้จากหน้างานจริง เผยได้คุยเจ้าหน้าที่-อาสาอุทยาน พบขาดแคลนอุปกรณ์ทำงานทุกอย่าง มองรัฐควรจัดสรรงบประมาณได้ดีกว่านี้
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2567 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานมูลนิธิคณะก้าวหน้า ได้ถ่ายทอดประสบการณ์การร่วมภารกิจดับไฟป่ากับมูลนิธิกระจกเงาและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 7-8 เมษายนที่ผ่านมา พร้อมสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างาน โดยเฉพาะจากเจ้าหน้าที่ในส่วนราชการที่ขาดการสนับสนุน
โดยนายธนาธรระบุว่า วัตถุประสงค์ในการร่วมภารกิจดับไฟป่าครั้งนี้ ต้องการประสบการณ์มือหนึ่งที่จะทำให้เข้าใจว่าหน้างานเป็นอย่างไร เจ้าหน้าที่และอาสาต้องเหนื่อยแค่ไหน ต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง และหากได้มีโอกาสเสนอแนะนโยบายกับหน่วยราชการจะได้เสนอได้อย่างถูกต้อง และเมื่อวันหนึ่งที่มีอำนาจจะได้แก้ไข จัดสรรงบประมาณ จัดสรรทรัพยากรกำลังคน ออกกฎระเบียบต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ถูกต้องตรงจุด
จากการได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ ทำให้ตนได้รู้ว่าการจัดสรรทรัพยากรให้เจ้าหน้าที่หน้างานนั้นไม่เพียงพอและไม่ตรงความต้องการ เช่น มอเตอร์ไซค์ที่ต้องใช้ในการดับไฟต้องเป็นประเภทวิบาก แต่การจัดซื้อภาครัฐไม่สามารถซื้อมอเตอร์ไซค์ประเภทนี้ได้ ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องเสียเงินตัวเองไปดัดแปลงมอเตอร์ไซค์
หรือการที่ขอโดรนความร้อนไปทุกปีแต่ส่วนกลางกลับตัดรายการนี้ออก ทั้งที่โดรนมีประโยชน์มหาศาล แม้ราคาจะตกอยู่ที่ตัวละประมาณ 2 แสนบาท แต่ใช้งานได้นาน ทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพขึ้น ทำให้เจ้าหน้าที่มีความปลอดภัย ปัญหานี้สะท้อนชัดเจนมากว่าคนที่อยู่หน้างานรู้ว่าต้องการอะไรในการสู้ไฟ แต่คนที่ตัดสินใจใช้งบประมาณกลับไม่มีความเข้าใจกันและไม่เคยมาดูหน้างาน
นายธนาธรกล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังมีโอกาสได้พูดคุยกับอาสาสมัครอุทยานระดับปฏิบัติการด้วย พบว่าอาสาสมัครที่ได้รับผลตอบแทนเพียง 300 บาทต่อวันต่างต้องทำงานอย่างหนัก แบกอุปกรณ์ขึ้นเขาสูงชัน เผชิญไฟที่อันตราย โดยที่อุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเป่า ทีมสื่อสาร โดรน หรืออุปกรณ์รักษาความปลอดภัย กลับไม่เพียงพอ เป็นที่พิสูจน์ว่าสิ่งที่ตนได้ทราบมาก่อนหน้านี้ว่าภาครัฐไม่มีการเตรียมทรัพยากรในการต่อสู้กับไฟป่าอย่างเพียงพอนั้นเป็นเรื่องจริง และทำให้ภาระต้องตกไปอยู่กับประชาชน
“เหมือนส่งคนไปรบแต่ไม่ติดอาวุธให้ ในขณะที่ทีมกระจกเงาพร้อมกว่าอย่างเห็นได้ชัด ทั้งด้านจำนวนคน อุปกรณ์ครบครัน เครื่องมือทันสมัยกว่า มาตรฐานการทำงานที่รัดกุมมากกว่า ผมเห็นใจเจ้าหน้าที่อุทยานที่อยู่ด่านหน้าอย่างมากที่ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอและขอให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทุกคน” นายธนาธรกล่าว
นายธนาธรยังกล่าวต่อไปว่า สิ่งที่ชัดที่สุดที่ตนได้มาเรียนรู้จากการทำภารกิจร่วมกันในครั้งนี้ คือการจัดทีม ความสำคัญของการวางแผน ระบบลำเลียงทรัพยากร ระบบความปลอดภัย ระบบปฐมพยาบาล ที่ทำให้ตนเห็นว่าการจัดสรรงบประมาณและบุคลากรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเป็นไปได้ ซึ่งสิ่งนี้ไม่ควรเป็นงานของเอกชน แต่ควรเป็นการบริหารจัดการของภาครัฐ
ซึ่งตนจะนำความรู้เหล่านี้มาเสนอแนะแก่ข้าราชการ เจ้ากรม และเจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้องที่ส่วนกลางที่อาจขาดความเข้าใจในปัญหาหน้างานและความลำบากของผู้ปฏิบัติงานจริง จนทำให้นโยบายและการจัดสรรงบประมาณไม่สอดคล้องกับการแก้ปัญหา และหากวันหนึ่งมีอำนาจในการจัดการจะนำความรู้ที่ได้รับในสองวันนี้ มาใช้ในการออกนโยบายและจัดสรรงบประมาณอย่างดีที่สุด
“ผมคิดว่าทีมกระจกเงาเป็นทีมที่มีความมุ่งมั่นสูง เป็นทีมที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยม เป็นทีมที่เอาจริงเอาจัง ดังนั้นก็มีแต่คำขอบคุณสำหรับความรู้และประสบการณ์ ในตลอดสองวันที่อยู่ร่วมกับมูลนิธิกระจกเงา ถ้าวันไหนมีโอกาสมีอำนาจมีงบประมาณ ก็จะเอาความรู้และประสบการณ์ที่ได้มาในสองวันนี้ ไปทำให้ระบบการบริหารจัดการไฟป่าดีกว่านี้” นายธนาธรกล่าว
“กัณวีร์” แนะรัฐทำแผนเร่งด่วนรับมือสถานการณ์เมียนมา
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_702991/
“กัณวีร์” ลงพื้นที่แม่สอด แนะรัฐทำแผนเร่งด่วนรับมือสถานการณ์ ชี้ หากต้องรับทหารเมียนมาหนีทัพ ทำต้องทำตามกฎหมายมนุษยธรรม
นายกัณวีร์ สืบแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเป็นธรรม ลงพื้นที่ด่านพรมแดนแม่สอด 1 อ.แม่สอด จ.ตาก ติดตามสถานการณ์ชายแดนไทย-เมียนมา หลังมีปฏิบัติการยึดเมืองเมียวดีของกองกำลังผสม 3 ฝ่าย ซึ่งล่าสุดมีการประสานขอให้ทหารเมียนมาที่หนีทัพจากการยึดกองพัน 275 โดยให้เปลี่ยนเป็นพลเรือนเข้ามาในไทยนั้น และทหารกลุ่มนี้อยู่ที่สะพานมิตรภาพไทยเมียนมา แห่งที่ 2 ฝั่งเมืองเมียวดีแล้ว
นายกัณวีร์ กล่าวว่า กรณีเป็นทหารแตกทัพ แต่ยังไม่ถูกคุมตัวเป็นเชลย หนีการประหัตประหารมาขอความช่วยเหลือ รัฐบาลไทยในฐานะประเทศเป็นกลางสามารถให้ความช่วยเหลือได้ แต่ต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส ไม่สามารถอ้ำ ๆ อึ้ง ๆ ได้อีกต่อไป เราเป็นประเทศเป็นกลาง และยึดหลักมนุษยธรรมในการดูแล กฎหมายระหว่างประเทศที่ว่าด้วยมนุษยธรรมจะต้องบังคับใช้ทันที ผู้ที่ขอหนีตายเข้ามาในประเทศไทยจะต้องได้รับการดูแลตามหลักมนุษยธรรม เราสามารถส่งพวกเขากลับพื้นที่ต้นกำเนิดได้
แต่จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบ หากจะให้เราช่วยเหลือเราจะต้องประสานงานกับเนปิดอว์ให้ชัดเจน เพื่อไม่ให้มีข้อครหาว่าไทยก้าวก่ายแทรกแซง หรือถูกกล่าวหาว่าไทยสนับสนุนทหารเมียนมา โดยการดูแลสนับสนุนด้านมนุษยธรรมจำเป็นต้องยึดหลักสี่ 1.ฮิวแมนนิตี้ ดูแลผู้ได้รับผลกระทบเป็นหลัก 2.ไม่เอนเอียง 3.เป็นกลาง 4.มีศักยภาพในการทำงาน
“ไทยจำเป็นต้องแจ้งเนปิดอว์ให้รับทราบ หากทหารเมียนมา มีความประสงค์จะเดินทางกลับ เราต้องช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม โดยไม่เลือกข้าง เพื่อให้ประเทศไทยมีความชัดเจนโปร่งใส เพื่อไม่ให้มีใครวิพากษ์วิจารณ์เราได้ โดยเฉพาะเวทีต่างประเทศ ตามระเบียบปฏิบัติทหารเมียนมา ต้องขอเข้ามาในฐานะพลเรือน ไม่มีอาวุธ ไม่มียูนิฟอร์ม และหากเนปิดอว์บอกว่าต้องส่งทหารกลุ่มนี้กลับ แต่ทหารไม่อยากกลับ ก็จะเข้าสู่กฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ ตามหลักการถ้าเจ้าตัวไม่สมัครใจเดินทางกลับ ส่งกลับไปประเทศต้นกำเนิดแล้วถูกจำคุกหรือประหารชีวิต เราไม่สามารถส่งเขากลับไปเผชิญความตายได้”