ก้าวไกล เปิดตัว ทีมสู้ไฟป่า มุ่งแก้ PM 2.5 ชี้ มาตรการห้ามเผา ไม่ใช่ทางออก
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8120431
“ชัยธวัช” เปิดตัวทีม “ก้าวไกล สู้ไฟป่า” มุ่งแก้ปัญหา PM 2.5 ชี้มาตรการห้ามเผา ไม่ใช่ทางออก หวั่นสร้างแรงจูงใจเชิงลบ ทำให้เกิดผลกระทบเรื่องอื่น
เมื่อเวลา 9.40 น. วันที่ 2 มี.ค. 2567 ที่ร้าน Sol Bar Chiangmai จ.เชียงใหม่ พรรคก้าวไกล เปิดตัว 12 สส. ทีม ‘
ก้าวไกลสู้ไฟป่า’ นำโดย นายชั
ยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล นาย
เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center
พร้อมด้วย สส.ภาคเหนือของพรรค ได้แก่ น.ส.เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู สส.เชียงใหม่ เขต 1, น.ส.
พุธิตา ชัยอนันต์ สส.เชียงใหม่ เขต 4, น.ส.
อรพรรณ จันดาเรือง สส.เชียงใหม่ เขต 6, นาย
ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สส.เชียงใหม่ เขต 8, นาย
ชิตวัน ชินอนุวัฒน์ สส.เชียงราย เขต 1, น.ส.
จุฬาลักษณ์ ขันสุธรรม สส.เชียงราย เขต 6, นาย
ฐากูร ยะแสง สส.เชียงราย เขต 3, นาง
ทิพา ปวีนาเสถียร สส.ลำปาง เขต 1, นาย
ชลธานี เชื้อน้อย สส.ลำปาง เขต 3, และน.ส.
รภัสสรณ์ นิยะโมสถ สส.ลำปาง เขต 4
โดยนาย
ชัยธวัช กล่าวว่า จากการแลกเปลี่ยนในเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน ที่พูดถึงเรื่องแนวทางและเครื่องมือสำหรับการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมลพิษทางอากาศ เรามีความเห็นตรงกันว่า การจัดการไฟป่าไม่ใช่ทั้งหมดของการแก้ไขปัญหา
แต่ต้องมีการแก้ปัญหาแหล่งกำเนิด PM 2.5 และมลพิษทางอากาศที่เกิดจากแหล่งอื่นด้วย เพราะในแต่ละพื้นที่มีบริบทที่ต่างกัน การจัดการปัญหาที่สำคัญจึงต่างกัน และอาจต้องมองไปถึงขั้นทุติยภูมิด้วย
แม้เรื่องการจัดการไฟป่าสำคัญ แต่การพยายามห้ามไม่ให้เผาเลยไม่ใช่ทางออก สิ่งที่เราเรียนรู้จาก ‘
เชียงใหม่โมเดล’ หัวใจสำคัญอยู่ที่การมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อออกแบบมาตรการให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ในพื้นที่ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ปัญหาเบาบางลง
นาย
ชัยธวัช กล่าวต่อว่า หากพูดเฉพาะเรื่องการจัดการไฟป่า มาตรการที่สั่งจากส่วนกลาง แล้วทำเหมือนกันหมดทั้งประเทศ ไม่ใช่ทางออกแน่ๆ และอาจจะนำไปสู่การเกิดปัญหาใหม่ ที่อาจไปกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจเชิงลบ และอาจทำให้เกิดการเผาพร้อมกันมากขึ้นในปริมาณมาก รวมถึงการผลักดันให้เกิดการเผาแบบใต้ดิน ซึ่งอาจนำไปสู่ผลกระทบในเรื่องอื่นๆ
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมของ ‘
เชียงใหม่โมเดล’ ระหว่างหน่วยงานของรัฐและภาคประชาสังคม คือการอนุญาตให้เผาเฉพาะที่จำเป็นและควบคุมได้ หรือที่เรียกว่าการจัดการเชื้อเพลิง โดยจะให้มีการแจ้งลงทะเบียนการเผา และออกแบบการเผาไว้ล่วงหน้า ทั้งพื้นที่ป่า และพื้นที่การเกษตร
“
ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมของพรรคที่จะเข้าไปสนับสนุน และมีส่วนร่วมในการดับไฟป่ากับคนในท้องถิ่น อาสาสมัครข้าราชการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทดลองและหารูปแบบใหม่ๆ ในการจัดการไฟป่าที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาแนวทางนโยบายมาตรการในการจัดการไฟป่าที่ดีมากขึ้นในอนาคต” นาย
ชัยธวัช กล่าว
ตรังแล้งกระหน่ำ 10 อำเภอเร่งบริหารน้ำอุปโภค-เกษตร
https://www.prachachat.net/local-economy/news-1513709
ตรังเสี่ยงประสบปัญหาภัยแล้งใน 10 อำเภอ ตั้งคณะทำงานเตรียมพร้อมรับมือในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง 24 ชั่วโมง
นาย
สกุล ดำรงเกียรติกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ จังหวัดตรังได้จัดให้มีการประชุมคณะทำงานติดตามสถานการณ์และเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2567 จังหวัดตรัง ครั้งที่ 1/2567 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
โดยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง ได้รับแจ้งจากกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติว่า ได้ติดตามสภาพอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าภาคใต้ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติ อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1.0 ถึง 1.5 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 31.8 องศาเซลเซียส)
“
ดังนั้นเพื่อให้การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2567 ของจังหวัดตรังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรังได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์ และเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2567 ขึ้น
พร้อมจัดประชุมติดตามสถานการณ์ ข้อมูลสภาพอากาศ สภาพน้ำท่า ปริมาณฝน และปริมาณน้ำในแหล่งเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำในด้านต่าง ๆ ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาวางแผนการใช้น้ำในลักษณะต่าง ๆ ทั้งเพื่อการอุปโภค บริโภค การรักษาระบบนิเวศ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม
รวมถึงกำหนดแนวทางในการระบายน้ำและกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ให้เป็นไปอย่างครอบคลุมสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรังได้จัดเตรียมกำลังคน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ รถยนต์บรรทุกน้ำ เครื่องสูบน้ำ ให้มีความพร้อมปฏิบัติงานตามแผนเผชิญเหตุตลอด 24 ชั่วโมงด้วย” นาย
สกุลกล่าว
ด้านนางสาว
เสาวลักษณ์ กัณหวงศ์ ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า จังหวัดตรังประสบปัญหาภัยแล้งล่าสุดเมื่อปี 2559 สำหรับในปี 2567 จังหวัดตรังมีพื้นที่เสี่ยงประสบปัญหาภัยแล้งใน 10 อำเภอ 6 เทศบาล 55 ตำบล 288 หมู่บ้าน จังหวัดตรังจึงได้เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักร และเครื่องมือของทั้งหน่วยงานพลเรือน ทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไว้พร้อมสำหรับช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งได้ตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว
“
จังหวัดตรังได้ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้ให้กับประชาชน ภาคส่วนต่าง ๆ เข้าใจถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของตนเอง ทราบถึงมาตรการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน จนเกิดความร่วมมือในการประหยัดน้ำ”
ราคาน้ำมันโลกพุ่ง 2% หลังกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันโอเปกพลัสเตรียมพิจารณาขยายเวลาการปรับลดการผลิต
https://ch3plus.com/news/economy/morning/389514
น้ำมันดิบเบรนท์ งวดส่งมอบล่วงหน้าเมื่อวานนี้ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 1.64 ดอลลาร์ หรือ 2 เปอร์เซนต์ ปิดที่ 83.55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยในรอบสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.4 เปอร์เซนต์
ขณะที่เวสต์ เท็กซัส อินเตอร์มีเดียท ปิดตลาดพุ่งขึ้น 1.71 ดอลลาร์ หรือ 2.19 เปอร์เซนต์ ปิดที่ 79.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาดูในรอบสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 4.5 เปอร์เซนต์
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวอย่างต่อเนื่อง หลังมีรายงานว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส จะพิจารณาขยายเวลาการปรับลดการผลิตไปจนถึงไตรมาสสองในปีนี้ เพื่อพยุงราคาน้ำมันในตลาด และมีแนวโน้มว่าอาจขยายการปรับลดกำลังการผลิตจนถึงสิ้นปีนี้ด้วย
JJNY : ก้าวไกลเปิดตัว ทีมสู้ไฟป่า│ตรังแล้งกระหน่ำ 10 อ.│ราคาน้ำมันโลกพุ่ง 2%│สหรัฐจะส่งสิ่งบรรเทาทุกข์ทางอากาศให้กาซา
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8120431
“ชัยธวัช” เปิดตัวทีม “ก้าวไกล สู้ไฟป่า” มุ่งแก้ปัญหา PM 2.5 ชี้มาตรการห้ามเผา ไม่ใช่ทางออก หวั่นสร้างแรงจูงใจเชิงลบ ทำให้เกิดผลกระทบเรื่องอื่น
เมื่อเวลา 9.40 น. วันที่ 2 มี.ค. 2567 ที่ร้าน Sol Bar Chiangmai จ.เชียงใหม่ พรรคก้าวไกล เปิดตัว 12 สส. ทีม ‘ก้าวไกลสู้ไฟป่า’ นำโดย นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายเดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center
พร้อมด้วย สส.ภาคเหนือของพรรค ได้แก่ น.ส.เพชรรัตน์ ใหม่ชมภู สส.เชียงใหม่ เขต 1, น.ส.พุธิตา ชัยอนันต์ สส.เชียงใหม่ เขต 4, น.ส.อรพรรณ จันดาเรือง สส.เชียงใหม่ เขต 6, นายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สส.เชียงใหม่ เขต 8, นายชิตวัน ชินอนุวัฒน์ สส.เชียงราย เขต 1, น.ส.จุฬาลักษณ์ ขันสุธรรม สส.เชียงราย เขต 6, นายฐากูร ยะแสง สส.เชียงราย เขต 3, นางทิพา ปวีนาเสถียร สส.ลำปาง เขต 1, นายชลธานี เชื้อน้อย สส.ลำปาง เขต 3, และน.ส.รภัสสรณ์ นิยะโมสถ สส.ลำปาง เขต 4
โดยนายชัยธวัช กล่าวว่า จากการแลกเปลี่ยนในเวทีผู้นำฝ่ายค้านพบประชาชน ที่พูดถึงเรื่องแนวทางและเครื่องมือสำหรับการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 และมลพิษทางอากาศ เรามีความเห็นตรงกันว่า การจัดการไฟป่าไม่ใช่ทั้งหมดของการแก้ไขปัญหา
แต่ต้องมีการแก้ปัญหาแหล่งกำเนิด PM 2.5 และมลพิษทางอากาศที่เกิดจากแหล่งอื่นด้วย เพราะในแต่ละพื้นที่มีบริบทที่ต่างกัน การจัดการปัญหาที่สำคัญจึงต่างกัน และอาจต้องมองไปถึงขั้นทุติยภูมิด้วย
แม้เรื่องการจัดการไฟป่าสำคัญ แต่การพยายามห้ามไม่ให้เผาเลยไม่ใช่ทางออก สิ่งที่เราเรียนรู้จาก ‘เชียงใหม่โมเดล’ หัวใจสำคัญอยู่ที่การมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อออกแบบมาตรการให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ในพื้นที่ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้ปัญหาเบาบางลง
นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า หากพูดเฉพาะเรื่องการจัดการไฟป่า มาตรการที่สั่งจากส่วนกลาง แล้วทำเหมือนกันหมดทั้งประเทศ ไม่ใช่ทางออกแน่ๆ และอาจจะนำไปสู่การเกิดปัญหาใหม่ ที่อาจไปกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจเชิงลบ และอาจทำให้เกิดการเผาพร้อมกันมากขึ้นในปริมาณมาก รวมถึงการผลักดันให้เกิดการเผาแบบใต้ดิน ซึ่งอาจนำไปสู่ผลกระทบในเรื่องอื่นๆ
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาอย่างมีส่วนร่วมของ ‘เชียงใหม่โมเดล’ ระหว่างหน่วยงานของรัฐและภาคประชาสังคม คือการอนุญาตให้เผาเฉพาะที่จำเป็นและควบคุมได้ หรือที่เรียกว่าการจัดการเชื้อเพลิง โดยจะให้มีการแจ้งลงทะเบียนการเผา และออกแบบการเผาไว้ล่วงหน้า ทั้งพื้นที่ป่า และพื้นที่การเกษตร
“ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว เป็นกิจกรรมของพรรคที่จะเข้าไปสนับสนุน และมีส่วนร่วมในการดับไฟป่ากับคนในท้องถิ่น อาสาสมัครข้าราชการ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทดลองและหารูปแบบใหม่ๆ ในการจัดการไฟป่าที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อพัฒนาแนวทางนโยบายมาตรการในการจัดการไฟป่าที่ดีมากขึ้นในอนาคต” นายชัยธวัช กล่าว
ตรังแล้งกระหน่ำ 10 อำเภอเร่งบริหารน้ำอุปโภค-เกษตร
https://www.prachachat.net/local-economy/news-1513709
ตรังเสี่ยงประสบปัญหาภัยแล้งใน 10 อำเภอ ตั้งคณะทำงานเตรียมพร้อมรับมือในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง 24 ชั่วโมง
นายสกุล ดำรงเกียรติกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ จังหวัดตรังได้จัดให้มีการประชุมคณะทำงานติดตามสถานการณ์และเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2567 จังหวัดตรัง ครั้งที่ 1/2567 โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม
โดยกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง ได้รับแจ้งจากกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติว่า ได้ติดตามสภาพอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าภาคใต้ปริมาณฝนรวมจะน้อยกว่าค่าปกติ อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศสูงกว่าค่าปกติประมาณ 1.0 ถึง 1.5 องศาเซลเซียส (ค่าปกติ 31.8 องศาเซลเซียส)
“ดังนั้นเพื่อให้การเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2567 ของจังหวัดตรังเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรังได้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์ และเตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2567 ขึ้น
พร้อมจัดประชุมติดตามสถานการณ์ ข้อมูลสภาพอากาศ สภาพน้ำท่า ปริมาณฝน และปริมาณน้ำในแหล่งเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ เพื่อวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำในด้านต่าง ๆ ในพื้นที่อย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาวางแผนการใช้น้ำในลักษณะต่าง ๆ ทั้งเพื่อการอุปโภค บริโภค การรักษาระบบนิเวศ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม
รวมถึงกำหนดแนวทางในการระบายน้ำและกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ให้เป็นไปอย่างครอบคลุมสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดตรังได้จัดเตรียมกำลังคน วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัย อาทิ รถยนต์บรรทุกน้ำ เครื่องสูบน้ำ ให้มีความพร้อมปฏิบัติงานตามแผนเผชิญเหตุตลอด 24 ชั่วโมงด้วย” นายสกุลกล่าว
ด้านนางสาวเสาวลักษณ์ กัณหวงศ์ ผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า จังหวัดตรังประสบปัญหาภัยแล้งล่าสุดเมื่อปี 2559 สำหรับในปี 2567 จังหวัดตรังมีพื้นที่เสี่ยงประสบปัญหาภัยแล้งใน 10 อำเภอ 6 เทศบาล 55 ตำบล 288 หมู่บ้าน จังหวัดตรังจึงได้เตรียมกำลังเจ้าหน้าที่ เครื่องจักร และเครื่องมือของทั้งหน่วยงานพลเรือน ทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไว้พร้อมสำหรับช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งได้ตลอด 24 ชั่วโมงแล้ว
“จังหวัดตรังได้ให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้ให้กับประชาชน ภาคส่วนต่าง ๆ เข้าใจถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของตนเอง ทราบถึงมาตรการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน จนเกิดความร่วมมือในการประหยัดน้ำ”
ราคาน้ำมันโลกพุ่ง 2% หลังกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันโอเปกพลัสเตรียมพิจารณาขยายเวลาการปรับลดการผลิต
https://ch3plus.com/news/economy/morning/389514
น้ำมันดิบเบรนท์ งวดส่งมอบล่วงหน้าเมื่อวานนี้ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 1.64 ดอลลาร์ หรือ 2 เปอร์เซนต์ ปิดที่ 83.55 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยในรอบสัปดาห์นี้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.4 เปอร์เซนต์
ขณะที่เวสต์ เท็กซัส อินเตอร์มีเดียท ปิดตลาดพุ่งขึ้น 1.71 ดอลลาร์ หรือ 2.19 เปอร์เซนต์ ปิดที่ 79.97 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มาดูในรอบสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 4.5 เปอร์เซนต์
ราคาน้ำมันดิบปรับตัวอย่างต่อเนื่อง หลังมีรายงานว่า กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร หรือโอเปกพลัส จะพิจารณาขยายเวลาการปรับลดการผลิตไปจนถึงไตรมาสสองในปีนี้ เพื่อพยุงราคาน้ำมันในตลาด และมีแนวโน้มว่าอาจขยายการปรับลดกำลังการผลิตจนถึงสิ้นปีนี้ด้วย