ผู้นำฝ่ายค้าน ลั่นไม่ได้เกรงใจรัฐบาล เล็งซักฟอก ม.152 ต้นเม.ย. โวข้อมูลเพียบ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8117336
ผู้นำฝ่ายค้าน เมินถูกกล่าวหาไร้น้ำยา ลั่นไม่ได้เกรงใจรัฐบาล เล็งซักฟอก ม.152 ต้นเดือนเม.ย. โวข้อมูลเพียบ ชี้ปม ทักษิณ ถ้าพบเอื้อประโยชน์ รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
เมื่อเวลา 10.55 น. วันที่ 29 ก.พ. 2567 ที่รัฐสภา นาย
ชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กรณีฝ่านค้านอาจจะไม่ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งถูกมองว่าฝ่ายค้านแผ่วลง ว่า ไม่หรอก ที่ผ่านมาฝ่ายค้านคุยกันว่าให้แต่ละพรรคไปเตรียมข้อมูลอภิปรายตรวจสอบรัฐบาลอยู่แล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมา ไม่ได้มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการว่าจะยื่นหรือไม่ เมื่อไหร่
โดยเมื่อวานนี้ (28 ก.พ.) ตนได้หารือกับแกนนำพรรคประชาธิปัตย์บางท่านถึงความพร้อมในการยื่นอภิปราย ซึ่งมีแนวโน้มว่าพร้อม โดยต้องรอแกนนำหารือกันในวันนี้ คงจะมีการคุยกันอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนจะมีการประชุมฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการสัปดาห์หน้า เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน
ในส่วนของความพร้อมของพรรคก้าวไกลนั้น สส.ที่อยู่ในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 น่าจะพร้อมอภิปรายรัฐบาล อย่างน้อยก็อภิปรายแบบไม่ลงมติ ตามมาตรา 152 ส่วนระยะเวลาน่าจะเป็นช่วงหลังวุฒิสภา (สว.) อภิปราย น่าจะเป็นสัปดาห์แรกของเดือน เม.ย. ก่อนปิดสมัยประชุมสภาฯ
เมื่อถามว่าข้อมูลที่มีไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ใช่หรือไม่ นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า เดี๋ยวขอเช็กดูก่อน ขณะนี้ตนยังไม่ได้คุยกับทุกพรรค ขอหารืออย่างเป็นทางการก่อน ยืนยันว่าไม่แผ่ว ไม่ได้เกรงใจรัฐบาล ขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้อมูล ปัญหาของการบริหารของรัฐบาลมีเยอะ เพียงแต่ข้อมูลด้านการทุจริตในระดับที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจต้องไปดูก่อน
ปัญหาคือตอนนี้รัฐบาลแทบจะไม่ได้ใช้เงินเลย ซึ่งเป็นปัญหาอีกแบบหนึ่ง ว่าในการแก้ พ.ร.บ.งบประมาณ โดยที่สาระสำคัญแทบไม่ได้เปลี่ยน ทำให้หน่วยงานราชการเสียโอกาสในการเบิกจ่ายไป
เมื่อถามกรณีนพ.
วรงค์ เดชกิจวิกรม ระบุพรรคก้าวไกลไม่สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ ถึงขั้นไร้น้ำยา นาย
ชัยธวัช กล่าวว่า เราได้พิสูจน์ตัวเองมาแล้ว ตนคิดว่าเราก็ยังทำงานตามมาตรฐานเดิม คงไม่มีเรื่องที่จะต้องไปเกรงใจหรือออมมือให้ใคร
เมื่อถามกรณีนาย
ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกลอ้างว่าแตะแต่กระบวนการ แต่ไม่แตะบุคคล จะทำให้ไม่ตรงจุดหรือไม่ นาย
ชัยธวัช ระบุว่า แตะที่กระบวนการยุติธรรมถูกต้องแล้ว เพราะเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล
ที่ผ่านมาเราก็นำกฎหมาย ระเบียบ รวมถึงประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้องในการพักโทษมาถาม รมว.ยุติธรรม ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่ได้คำตอบ เรื่องนี้พรรคก้าวไกลเกาะติดอยู่ ต้องถามรัฐบาลถูกแล้ว ถ้ามีการเอื้อประโยชน์โดยมิชอบ รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
เมื่อถามว่าพรรคก้าวไกลเตรียมประเด็นอะไรไว้บ้าง นาย
ชัยธวัช ยิ้ม พร้อมกล่าวว่า “
เยอะครับ ใจเย็นๆ เมื่อวานคัดไว้เต็มกระดานจนต้องคัดออก”
ก้าวไกลเดือด ซัดรัฐมนตรีไม่มาตอบกระทู้ แนะถ้าไม่อยากทำงานก็ลาออกไป!
https://www.matichon.co.th/clips/news_4448085
วันที่ 29 ก.พ.เวลา 10.30 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร หลังหารือปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนและเข้าสู่วาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา โดยมีทั้งหมด 3 กระทู้ แต่ปรากฎว่ามีรัฐมนตรีมาชี้แจงเพียง 1 กระทู้ ทำให้นาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) ตำหนิที่รัฐมนตรีไม่ยอมมาตอบกระทู้สด ขณะที่ สส.ก้าวไกล ที่รัฐมนตรีไม่มาตอบทั้งกระทู้สดและกระทู้ถามทั่วไป ก็ได้ร่วมตำหนิด้วย ทั้งนาย
จิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา, นาย
ชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส.ระยอง และนาย
ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สส.เชียงใหม่
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เผยคนไทยมีบ้านยากขึ้น หวังแบงก์ลดดอกเบี้ย ช่วยให้คนมีบ้านง่ายขึ้น
https://ch3plus.com/news/economy/morning/389272
ดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย พบว่า ภาพรวมความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยมีทิศทางลดลงในทุกด้าน โดยดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 48% จากเดิม 50% ในรอบก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความท้าทายต่าง ๆ ยังคงส่งผลกระทบต่อการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะความท้าทายทางการเงินที่เป็นปัจจัยสำคัญส่งผลให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับลดลงตามไปด้วย โดยลดลงมาอยู่ที่ 59% (จากเดิม 63% ในรอบก่อน) หลังจากผู้บริโภคต้องเผชิญกับความท้าทายทางการเงินทั้งจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูง
ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับสูง (48%) และสูงมาก (29%) มีเพียง 16% ที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันมีความเหมาะสมแล้ว ขณะเดียวกันมีผู้บริโภคเพียง 13% เท่านั้นที่มองว่ารัฐบาลมีความพยายามเพียงพอที่จะช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ (ลดลงจาก 15% ในรอบก่อน) เนื่องจากภาครัฐยังคงไม่มีการออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม (นอกจากมาตรการลดค่าโอน-จดจำนอง ที่ต่ออายุมาตรการจนถึงสิ้นปี 2567)
เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยมีการปรับลดลงเช่นกัน โดยลดลงมาอยู่ที่ 63% จากเดิม 65% ในรอบก่อน อย่างไรก็ตามสำหรับในกลุ่มผู้บริโภคที่ยังคงพึงพอใจอยู่ ส่วนใหญ่ 39% เผยว่าพึงพอใจเนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ รองลงมามองว่าตลาดที่อยู่อาศัยมีเสถียรภาพและยืดหยุ่น 37% และเห็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว 31%
ขณะที่มุมมองของผู้ที่ไม่พึงพอใจ เกือบ 2 ใน 3 (65%) มองว่า เศรษฐกิจยังไม่ดีเท่าที่ควร ตามมาด้วยอัตราดอกเบี้ยยังไม่ลดลงมาถึงระดับที่คาดหวัง 32% และมองว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ไม่มีเสถียรภาพ 30%
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ผู้บริโภคกว่า 2 ใน 5 (44%) วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 53% ในรอบก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นสัญญาณสะท้อนให้เห็นว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงไม่ฟื้นตัว สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่างยังคงมีความเปราะบางทางการเงินจึงจำเป็นต้องลดการก่อหนี้ใหม่ ในทางกลับกันสัดส่วนของผู้เลือกเช่าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นถึง 14% (จากเดิม 9%) ส่วนอีก 34% ยังไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใด ๆ ขณะที่อีก 8% จะรับมรดกที่อยู่อาศัยต่อจากพ่อแม่และผ่อนชำระต่อไปแทน
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของไทยที่มีความไม่แน่นอนสูงและยังฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัย ในขณะที่ราคาบ้าน/คอนโดฯ ปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการก่อสร้างและราคาที่ดิน แต่รายได้ของผู้บริโภคยังคงเติบโตไม่ทันราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น เมื่อประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงยิ่งก่อให้เกิดช่องว่างในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น โดยผู้บริโภคเกือบ 1 ใน 3 (30%) ตัดสินใจชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนเนื่องจากเงินเก็บที่มีได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน ขณะที่ 25% ยังไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้ และอีก 20% วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูกลงแทน เพื่อลดความเสี่ยงในการก่อหนี้เกินตัวให้น้อยที่สุด
ขณะเดียวกัน มากกว่าครึ่งของผู้บริโภค (56%) เผยว่าอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อบ้านมาจากรายได้และอาชีพที่ไม่มั่นคง ตามมาด้วยมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี 38% และมีเงินดาวน์ไม่พอ 31% ซึ่งล้วนเป็นความท้าทายที่มาจากการเงินเป็นหลัก
อีกปัจจัยที่สร้างความท้าทายต่อกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่างมาจากการที่ธนาคารมีหลักเกณฑ์พิจารณาการอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) สูงตามไปด้วย หรือวงเงินกู้ที่ผ่านการอนุมัติอาจได้รับลดลงแปรผันตามความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อในปัจจุบัน สอดคล้องกับข้อมูลจากบริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LWS) เผยว่าในปี 2566 มีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) สูงถึง 60-65% จากยอดการขออนุมัติสินเชื่อทั้งหมด
ทั้งนี้ 3 อันดับแรกของมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ที่คนหาบ้านอยากได้มากสุดในเวลานี้ เกือบ 3 ใน 5 (58%) ต้องการให้มีมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ตามมาด้วยมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งสินเชื่อที่มีอยู่และกู้ใหม่ 51% และมาตรการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ 40% ซึ่งนอกจากมาตรการเหล่านี้จะครอบคลุมและส่งเสริมการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในวงกว้างแล้ว ยังจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของกลุ่ม Real Demand ด้วย ซึ่งคาดว่าจะช่วยขับเคลื่อนให้การซื้อขายที่อยู่อาศัยในปีนี้เติบโตอย่างต่อเนื่องและกลับมาคึกคักอีกครั้ง
JJNY : ผู้นำฝ่ายค้านเล็งซักฟอก ต้นเม.ย.│ก้าวไกลเดือดซัดรมต.ไม่มาตอบกระทู้│เผยคนไทยมีบ้านยากขึ้น│ปธน.ฟิลิปปินส์พร้อมชนจีน
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8117336
ผู้นำฝ่ายค้าน เมินถูกกล่าวหาไร้น้ำยา ลั่นไม่ได้เกรงใจรัฐบาล เล็งซักฟอก ม.152 ต้นเดือนเม.ย. โวข้อมูลเพียบ ชี้ปม ทักษิณ ถ้าพบเอื้อประโยชน์ รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
เมื่อเวลา 10.55 น. วันที่ 29 ก.พ. 2567 ที่รัฐสภา นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์กรณีฝ่านค้านอาจจะไม่ยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งถูกมองว่าฝ่ายค้านแผ่วลง ว่า ไม่หรอก ที่ผ่านมาฝ่ายค้านคุยกันว่าให้แต่ละพรรคไปเตรียมข้อมูลอภิปรายตรวจสอบรัฐบาลอยู่แล้ว เพียงแต่ที่ผ่านมา ไม่ได้มีข้อสรุปอย่างเป็นทางการว่าจะยื่นหรือไม่ เมื่อไหร่
โดยเมื่อวานนี้ (28 ก.พ.) ตนได้หารือกับแกนนำพรรคประชาธิปัตย์บางท่านถึงความพร้อมในการยื่นอภิปราย ซึ่งมีแนวโน้มว่าพร้อม โดยต้องรอแกนนำหารือกันในวันนี้ คงจะมีการคุยกันอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนจะมีการประชุมฝ่ายค้านอย่างเป็นทางการสัปดาห์หน้า เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน
ในส่วนของความพร้อมของพรรคก้าวไกลนั้น สส.ที่อยู่ในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 น่าจะพร้อมอภิปรายรัฐบาล อย่างน้อยก็อภิปรายแบบไม่ลงมติ ตามมาตรา 152 ส่วนระยะเวลาน่าจะเป็นช่วงหลังวุฒิสภา (สว.) อภิปราย น่าจะเป็นสัปดาห์แรกของเดือน เม.ย. ก่อนปิดสมัยประชุมสภาฯ
เมื่อถามว่าข้อมูลที่มีไม่สามารถอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ใช่หรือไม่ นายชัยธวัช กล่าวว่า เดี๋ยวขอเช็กดูก่อน ขณะนี้ตนยังไม่ได้คุยกับทุกพรรค ขอหารืออย่างเป็นทางการก่อน ยืนยันว่าไม่แผ่ว ไม่ได้เกรงใจรัฐบาล ขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้อมูล ปัญหาของการบริหารของรัฐบาลมีเยอะ เพียงแต่ข้อมูลด้านการทุจริตในระดับที่จะอภิปรายไม่ไว้วางใจต้องไปดูก่อน
ปัญหาคือตอนนี้รัฐบาลแทบจะไม่ได้ใช้เงินเลย ซึ่งเป็นปัญหาอีกแบบหนึ่ง ว่าในการแก้ พ.ร.บ.งบประมาณ โดยที่สาระสำคัญแทบไม่ได้เปลี่ยน ทำให้หน่วยงานราชการเสียโอกาสในการเบิกจ่ายไป
เมื่อถามกรณีนพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ระบุพรรคก้าวไกลไม่สามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ ถึงขั้นไร้น้ำยา นายชัยธวัช กล่าวว่า เราได้พิสูจน์ตัวเองมาแล้ว ตนคิดว่าเราก็ยังทำงานตามมาตรฐานเดิม คงไม่มีเรื่องที่จะต้องไปเกรงใจหรือออมมือให้ใคร
เมื่อถามกรณีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกลอ้างว่าแตะแต่กระบวนการ แต่ไม่แตะบุคคล จะทำให้ไม่ตรงจุดหรือไม่ นายชัยธวัช ระบุว่า แตะที่กระบวนการยุติธรรมถูกต้องแล้ว เพราะเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล
ที่ผ่านมาเราก็นำกฎหมาย ระเบียบ รวมถึงประกาศกระทรวงที่เกี่ยวข้องในการพักโทษมาถาม รมว.ยุติธรรม ซึ่งเป็นคำถามที่ไม่ได้คำตอบ เรื่องนี้พรรคก้าวไกลเกาะติดอยู่ ต้องถามรัฐบาลถูกแล้ว ถ้ามีการเอื้อประโยชน์โดยมิชอบ รัฐบาลต้องรับผิดชอบ
เมื่อถามว่าพรรคก้าวไกลเตรียมประเด็นอะไรไว้บ้าง นายชัยธวัช ยิ้ม พร้อมกล่าวว่า “เยอะครับ ใจเย็นๆ เมื่อวานคัดไว้เต็มกระดานจนต้องคัดออก”
ก้าวไกลเดือด ซัดรัฐมนตรีไม่มาตอบกระทู้ แนะถ้าไม่อยากทำงานก็ลาออกไป!
https://www.matichon.co.th/clips/news_4448085
วันที่ 29 ก.พ.เวลา 10.30 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร หลังหารือปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนและเข้าสู่วาระกระทู้ถามสดด้วยวาจา โดยมีทั้งหมด 3 กระทู้ แต่ปรากฎว่ามีรัฐมนตรีมาชี้แจงเพียง 1 กระทู้ ทำให้นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน) ตำหนิที่รัฐมนตรีไม่ยอมมาตอบกระทู้สด ขณะที่ สส.ก้าวไกล ที่รัฐมนตรีไม่มาตอบทั้งกระทู้สดและกระทู้ถามทั่วไป ก็ได้ร่วมตำหนิด้วย ทั้งนายจิรัฏฐ์ ทองสุวรรณ์ สส.ฉะเชิงเทรา, นายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส.ระยอง และนายภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ สส.เชียงใหม่
ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ เผยคนไทยมีบ้านยากขึ้น หวังแบงก์ลดดอกเบี้ย ช่วยให้คนมีบ้านง่ายขึ้น
https://ch3plus.com/news/economy/morning/389272
ดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์มาร์เก็ตเพลสด้านอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อตลาดที่อยู่อาศัย พบว่า ภาพรวมความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ของผู้บริโภคชาวไทยมีทิศทางลดลงในทุกด้าน โดยดัชนีความเชื่อมั่นด้านอสังหาริมทรัพย์ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 48% จากเดิม 50% ในรอบก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความท้าทายต่าง ๆ ยังคงส่งผลกระทบต่อการวางแผนซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะความท้าทายทางการเงินที่เป็นปัจจัยสำคัญส่งผลให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคปรับลดลงตามไปด้วย โดยลดลงมาอยู่ที่ 59% (จากเดิม 63% ในรอบก่อน) หลังจากผู้บริโภคต้องเผชิญกับความท้าทายทางการเงินทั้งจากค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ในระดับสูง
ผู้บริโภคส่วนใหญ่มองว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับสูง (48%) และสูงมาก (29%) มีเพียง 16% ที่มองว่าอัตราดอกเบี้ยปัจจุบันมีความเหมาะสมแล้ว ขณะเดียวกันมีผู้บริโภคเพียง 13% เท่านั้นที่มองว่ารัฐบาลมีความพยายามเพียงพอที่จะช่วยให้ซื้อที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเองได้ (ลดลงจาก 15% ในรอบก่อน) เนื่องจากภาครัฐยังคงไม่มีการออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม (นอกจากมาตรการลดค่าโอน-จดจำนอง ที่ต่ออายุมาตรการจนถึงสิ้นปี 2567)
เมื่อพิจารณาความพึงพอใจในสภาพตลาดที่อยู่อาศัยมีการปรับลดลงเช่นกัน โดยลดลงมาอยู่ที่ 63% จากเดิม 65% ในรอบก่อน อย่างไรก็ตามสำหรับในกลุ่มผู้บริโภคที่ยังคงพึงพอใจอยู่ ส่วนใหญ่ 39% เผยว่าพึงพอใจเนื่องจากราคาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ รองลงมามองว่าตลาดที่อยู่อาศัยมีเสถียรภาพและยืดหยุ่น 37% และเห็นโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว 31%
ขณะที่มุมมองของผู้ที่ไม่พึงพอใจ เกือบ 2 ใน 3 (65%) มองว่า เศรษฐกิจยังไม่ดีเท่าที่ควร ตามมาด้วยอัตราดอกเบี้ยยังไม่ลดลงมาถึงระดับที่คาดหวัง 32% และมองว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์ไม่มีเสถียรภาพ 30%
นอกจากนี้ ผลสำรวจยังพบว่า ผู้บริโภคกว่า 2 ใน 5 (44%) วางแผนซื้อที่อยู่อาศัยในอีก 1 ปีข้างหน้า ลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 53% ในรอบก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นสัญญาณสะท้อนให้เห็นว่ากำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงไม่ฟื้นตัว สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจที่ยังคงชะลอตัวต่อเนื่อง นอกจากนี้ในกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่างยังคงมีความเปราะบางทางการเงินจึงจำเป็นต้องลดการก่อหนี้ใหม่ ในทางกลับกันสัดส่วนของผู้เลือกเช่าที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นถึง 14% (จากเดิม 9%) ส่วนอีก 34% ยังไม่มีการวางแผนซื้อหรือเช่าที่อยู่อาศัยใด ๆ ขณะที่อีก 8% จะรับมรดกที่อยู่อาศัยต่อจากพ่อแม่และผ่อนชำระต่อไปแทน
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของไทยที่มีความไม่แน่นอนสูงและยังฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตของตลาดที่อยู่อาศัย ในขณะที่ราคาบ้าน/คอนโดฯ ปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการก่อสร้างและราคาที่ดิน แต่รายได้ของผู้บริโภคยังคงเติบโตไม่ทันราคาที่อยู่อาศัยที่เพิ่มขึ้น เมื่อประกอบกับอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงยิ่งก่อให้เกิดช่องว่างในการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น โดยผู้บริโภคเกือบ 1 ใน 3 (30%) ตัดสินใจชะลอการซื้อที่อยู่อาศัยออกไปก่อนเนื่องจากเงินเก็บที่มีได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน ขณะที่ 25% ยังไม่มีแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยในอนาคตอันใกล้ และอีก 20% วางแผนจะซื้อที่อยู่อาศัยที่มีราคาถูกลงแทน เพื่อลดความเสี่ยงในการก่อหนี้เกินตัวให้น้อยที่สุด
ขณะเดียวกัน มากกว่าครึ่งของผู้บริโภค (56%) เผยว่าอุปสรรคสำคัญในการขอสินเชื่อบ้านมาจากรายได้และอาชีพที่ไม่มั่นคง ตามมาด้วยมีประวัติทางการเงินที่ไม่ดี 38% และมีเงินดาวน์ไม่พอ 31% ซึ่งล้วนเป็นความท้าทายที่มาจากการเงินเป็นหลัก
อีกปัจจัยที่สร้างความท้าทายต่อกลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง (Real Demand) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางและล่างมาจากการที่ธนาคารมีหลักเกณฑ์พิจารณาการอนุมัติสินเชื่อที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้อัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) สูงตามไปด้วย หรือวงเงินกู้ที่ผ่านการอนุมัติอาจได้รับลดลงแปรผันตามความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ซื้อในปัจจุบัน สอดคล้องกับข้อมูลจากบริษัท แอล ดับเบิลยู เอส วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LWS) เผยว่าในปี 2566 มีอัตราการปฏิเสธสินเชื่อ (Rejection Rate) สูงถึง 60-65% จากยอดการขออนุมัติสินเชื่อทั้งหมด
ทั้งนี้ 3 อันดับแรกของมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาฯ ที่คนหาบ้านอยากได้มากสุดในเวลานี้ เกือบ 3 ใน 5 (58%) ต้องการให้มีมาตรการลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น ตามมาด้วยมาตรการลดดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งสินเชื่อที่มีอยู่และกู้ใหม่ 51% และมาตรการลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์และการจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ 40% ซึ่งนอกจากมาตรการเหล่านี้จะครอบคลุมและส่งเสริมการเป็นเจ้าของที่อยู่อาศัยในวงกว้างแล้ว ยังจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของกลุ่ม Real Demand ด้วย ซึ่งคาดว่าจะช่วยขับเคลื่อนให้การซื้อขายที่อยู่อาศัยในปีนี้เติบโตอย่างต่อเนื่องและกลับมาคึกคักอีกครั้ง