JJNY : 5in1 สินค้าจีนทะลักตีตลาดไทย│หมออ๋องยืดอกรับผิดชอบ│นิติสงคราม! คำถามคาใจ│เกาหลีเหนือแปรพักตร์│'อู่ฮั่น'ทุลักทุเล

ผู้ประกอบการ สู้ไม่ไหว สินค้าจีนทะลักตีตลาดไทยทุกทิศ
https://ch3plus.com/news/economy/ruangden/385897
 
 
นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ว่า ปัจจุบันสถานการณ์น่าเป็นห่วง เปรียบเสมือนระเบิดเวลาของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากที่ผ่านมาแม้ทางสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมจะพยายามวางแนวทางแก้ไข โดยเร่งทำมาตรฐานบังคับ แต่มาตรฐานที่มีอยู่ก็ยังน้อยเกินไป จะแก้ไข้ก็จะไม่ทันสถานการณ์ ขณะที่การเพิ่มความเข้มงวดตรวจสอบสินค้านำเข้า ในทางปฏิบัติยังไม่พบว่ามีความคืบหน้า การพิจารณาอนุญาตให้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ มีความยืดหยุ่นมากเกินไป ยกตัวอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรมที่น่าเป็นห่วง คือ อุตสาหกรรมเหล็ก ที่ขณะนี้ได้รับผลกระทบจากสินค้าจีนที่ทะลักเข้ามา จนผู้ประกอบการในประเทศที่มีมาตรฐานอยู่แล้ว ไม่สามารถแข่งขันในเชิงต้นทุนได้ และเหลือเดินเครื่องผลิตเพียง 28% ของกำลังการผลิตทั้งหมดเท่านั้น ที่ผ่านมาได้นำทีมผู้ประกอบการพบนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเสนอให้พิจารณามาตรการตอบโต้ แต่ก็ยังไม่คืบ ล่าสุดผู้ประกอบการกำลังเร่งจัดทำข้อเสนอยื่นต่อ 3 หน่วยงาน ประกอบด้วย กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และ BOI เพื่อพิจารณาข้อเสนอร่วมกันภายในต้นสัปดาห์หน้า
 
ข้อมูลจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระบุว่า ขณะนี้มีสินค้า 20 กลุ่ม ที่กำลังได้รับผลกระทบจากสินค้าจีนเข้ามาตีตลาดรุนแรง เพราะมีการนำเข้าโตมากกว่า 10% เช่น เครื่องจักรกลโลหการ เครื่องจักรกลการเกษตร ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องมือแพทย์ เคมี แก้วและกระจก อาหารและเครื่องดื่ม เนื้อสัตว์ อัญมณีและเครื่องประดับ รองลงมากลุ่มอุตสาหกรรม พลาสติกและปิโตรเคมี ที่มีการนำเข้าขยายตัว 5-10% และที่น่าห่วง คือ สินค้ากลุ่มด้อยคุณภาพ กำลังลุกลามเข้าไปในการประมูลงานจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ซึ่งมักจะกำหนด “เงื่อนไข” ซื้อสินค้าที่มีราคาถูกเป็นหลัก


 
หมออ๋อง ยืดอกรับผิดชอบ ปมลงชื่อแก้ ม.112 หวั่นอนาคตคงไม่มีใครกล้าชงแก้กม.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4412226

“ปดิพัทธ์” ยืดอกรับผิด ไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ ปม เป็น 1 ใน 44 ส.ส. ยื่นแก้ 112 กังวล กระทบเสรีภาพ-กระบวนการนิติบัญญัติ มอง ต้องแก้รัฐธรรมนูญ ถ่วงดุลอำนาจใหม่
 
เมื่อเวลา 14.20 น. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่ 1 ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่เป็น 1 ใน ส.ส. 44 คน ที่ร่วมลงชื่อเสนอแก้ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หลังจากศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยว่านโยบายหาเสียงของพรรคก้าวไกลมีการเข้าข่ายล้มล้างการปกครอง จะมีการเตรียมการชี้แจงอะไรหรือไม่ ว่า ยังไม่มีการเรียกแต่อย่างใด และคิดว่าเรื่องนี้จะไม่กระทบการทำงาน ซึ่งคงต้องหารือ ส.ส.ของพรรคก้าวไกล ทั้ง 43 คนที่ร่วมกันลงชื่อ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะปฏิเสธความรับผิดชอบ เพราะตนอยู่ในกรรมการบริหารพรรคชุดนั้นจริง และเห็นด้วยกับการออกนโยบาย 300 ข้อในการหาเสียง เรื่องในอดีตตนมีส่วนรับผิดชอบ เพราะฉะนั้นปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ ที่จะมีการเรียกไต่สวน เรียกพยาน หรืออะไรก็แล้วแต่ ตนพร้อมจะให้ความร่วมมือเต็มที่ ส่วนการชี้แจงที่ผ่านมาสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการกระบวนการยื่น กกต.ในเรื่องของนโยบาย รวมไปถึงการตอบคำถามกับสื่อมวลชน ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน ทำงานพูดไปตามข้อเท็จจริงที่เราเตรียมการ
 
ส่วนกังวลหรือไม่ที่จะกระทบต่อตำแหน่งในอนาคต นายปดิพัทธ์ระบุว่า กังวลว่าจะกระทบสิทธิและเสรีภาพของกระบวนการนิติบัญญัติ ที่มีอำนาจอื่นหรือองค์กรอื่นมาบอกว่า ส.ส.ทำอะไรได้ทำอะไรไม่ได้ ตนยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องส่วนบุคคล ไม่ใช่เรื่องที่ตนจะอยู่ในตำแหน่งนาน แต่เป็นเรื่องที่ประเทศไทยยังไม่หลุดพ้นออกจากอำนาจที่จะอยู่เหนือหรือล้ำรัฐธรรมนูญ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก
 
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางออกควรเป็นอย่างไร นายปดิพัทธ์กล่าวว่า ขบวนการพิจารณาระยะสั้น สังคมจะเจอคำถามว่ากระบวนการพิจารณาความยุติธรรมขององค์กรอิสระ มีความยุติธรรมและเป็นไปตามจริยธรรมหรือไม่ และเรื่องของการวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องใหม่ในสังคมที่เราไม่เคยเจอมาก่อน เราไม่ได้ไปก้าวล่วงในการพิจารณาคดี แต่หากคำตัดสินไม่สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ นักวิชาการจำนวนมากก็พูดว่าแบบนี้จะเป็นการใช้อำนาจเกินไปหรือไม่ ส่วนเรื่องระยะยาว องค์กรต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญปี 2560 ถึงจะมีต้นกำเนิดมาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 แต่เรื่องหน้าที่ถึงเวลาต้องทบทวนอย่างหนักในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เมื่อองค์กรอิสระเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้รับการประเมินอย่างตรงไปตรงมาถึงความจำเป็นที่จะมีอยู่ในอนาคต
 
เมื่อถามว่า ในอนาคตการนำเสนอนโยบายและการแก้กฎหมาย จะต้องกลั่นกรองหรือไม่ เพราะต่อไปจะทำให้ ส.ส.ไม่กล้าเสนอกฎหมาย นายปดิพัทธ์กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวเป็นเรื่องของนิติบัญญัติที่โดนดูถูก และตกต่ำ ว่าถ้า ส.ส.ที่เป็นตัวแทนของประชาชน ไม่สามารถที่จะเสนอกฎหมายได้ ทุกเรื่องต้องผ่านศาลก่อน จึงสามารถดำเนินการได้ ตนกลัวว่าเรื่องนี้จะไม่เป็นไปตามการแบ่งศาลอำนาจ
 
ส่วนจะต้องดำเนินการอย่างไรนั้น นายปดิพัทธ์กล่าวว่า ตนมองว่าหากคนในกระบวนการยุติธรรมกระทำความผิด ก็ควรมีกระบวนการในการเอาผิด ไม่เช่นนั้นจะมีอำนาจล้นเกินของฝั่งใดฝั่งหนึ่ง และจะต้องแก้รัฐธรรมนูญ ว่าเราจะจัดสมดุลอำนาจกันอย่างไร ตนไม่เห็นด้วยที่นิติบัญญัติจะเป็นเอกเทศ โดยไร้การตรวจสอบ ขณะเดียวกัน ผู้ตรวจสอบกลับไม่มีอะไรไปตรวจสอบเขา เรื่องนี้ต้องกลับมาจัดสมดุลอำนาจใหม่ ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่



นิติสงคราม! เทียบคดีแฟลชม็อบ-ปิดสนามบิน คำถามคาใจ หรือถ้าเป็นเส้นเล็กต้องจัดให้หนัก
https://www.matichon.co.th/clips/news_4412070

ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ พูดคุยในรายการ The Politics ข่าวบ้าน การเมือง ชี้การเมืองนิติสงครามเต็มรูปแบบ โดนเช็กบิลทุกเม็ด เทียบคดีแฟลชม็อบ-ปิดสนามบิน คำถามคาใจ เสรีภาพในการชุมนุม หรือถ้าเป็นเส้นเล็กต้องจัดให้หนัก ติดตามรายละเอียดจากคลิปด้านล่างนี้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


เกาหลีเหนือแปรพักตร์ แฉยับ ไม่เคยได้รับปันอาหารจากรบ.เปียงยาง ต้องอาศัยตลาดนอกระบบยังชีพ
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4412184

เกาหลีเหนือแปรพักตร์ แฉยับ ไม่เคยได้รับปันอาหารจาก รบ.เปียงยาง ต้องอาศัยตลาดนอกระบบยังชีพ
 
รายงานการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมของเกาหลีเหนือ มีความยาว 280 หน้า จัดทำโดยกระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้ เผยแพร่เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ระบุอ้างว่า ชาวเกาหลีเหนือส่วนใหญ่ที่แปรพักตร์มาอยู่ในประเทศเกาหลีใต้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าพวกเขาไม่เคยได้รับการปันส่วนอาหารจากรัฐบาลเปียงยาง แต่พวกเขาต้องพึ่งพาอาศัยตลาดนอกระบบในการดำรงชีวิตให้อยู่รอด
 
กระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้ ที่เริ่มทำการสำรวจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2010 แต่เพิ่งมีการเผยแพร่ผลการศึกษาต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรกในวันนี้ ระบุว่า รายงานการศึกษาครั้งนี้ได้จากการสัมภาษณ์ผู้แปรพักตร์ชาวเกาหลีเหนือจำนวนกว่า 6,300 คน ระหว่างปี 2013-2022 ในจำนวนนี้
มากกว่า 72% ที่แปรพักตร์มาอยู่เกาหลีใต้ช่วงระหว่างปี 2016-2020 บอกว่า พวกเขาไม่เคยได้รับการปันส่วนอาหารจากรัฐบาลในเกาหลีเหนือ เมื่อเทียบกับผู้แปรพักตร์เกาหลีเหนือ 62% ซึ่งเข้ามายังเกาหลีใต้ก่อนปี 2000 ที่บอกเล่าถึงการเผชิญสถานการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้
 
ราวครึ่งหนึ่งของผู้แปรพักตร์ ที่หลบหนีเข้ามาในเกาหลีใต้ในช่วงปี 2016-2020 บอกว่า พวกเขาไม่ได้รับเงินเดือน หรือการแจกจ่ายอาหารใดๆ จากการทำงาน เพิ่มขึ้นจากราว 1 ใน 3 ของผู้แปรพักตร์มายังเกาหลีใต้ก่อนปี 2000
 
เกือบ 94% ของผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดยังบอกว่า พวกเขาสามารถสร้างรายได้จากตลาด โดยชาวเกาหลีเหนือในกลุ่มที่หนีออกมาช่วงระหว่างปี 2016-2020 บอกว่า 69% ของรายได้ในครอบครัวมาจากตลาดนอกระบบ เมื่อเทียบกับ 39% ของกลุ่มคนที่แปรพักตร์ออกมาก่อนปี 2000

37% ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด กล่าวว่า พวกเขายังถูกทางการเกาหลีเหนือลิดรอนรายได้ลงอย่างน้อย 30% แต่สัดส่วนของกลุ่มผู้แปรพักตร์ที่เผชิญปัญหานี้เพิ่มขึ้นเป็น 41% หลังจากผู้นำคิม จองอึน ขึ้นสู่อำนาจในปลายปี 2011
 
มากกว่า 54% ของผู้แปรพักตร์ที่มาถึงเกาหลีใต้ในปี 2016-2020 บอกว่า พวกเขาเคยติดสินบนเจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือ เมื่อเทียบกับ 14% ของผู้แปรพักตร์ออกมาก่อนปี 2000 ที่บอกว่าตนเองก็ทำเช่นนั้น
 
ยังมีประเด็นทางการเมืองที่สนใจ โดยผู้แปรพักตร์ 56% ที่หนีออกมาจากเกาหลีเหนือหลังปี 2016 ต่างมีทัศนคติเชิงลบต่อการขึ้นกุมอำนาจปกครองประเทศของคิม จองอึน ขณะที่มีเพียง 26% ที่มองว่าการสืบทอดอำนาจผู้ปกครองของตระกูลคิมนี้ เป็นสิ่งที่ชอบธรรมแล้ว
 
รายงานการศึกษานี้ยังชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของวัฒนธรรมภายนอกที่มีต่อเกาหลีเหนือเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดย 83% ของผู้แปรพักตร์เกาหลีเหนือซึ่งมาถึงเกาหลีใต้หลังปี 2016 บอกว่าพวกเขาได้ดูวิดีโอที่เป็นเนื้อหาของต่างชาติ เช่น ซีรีส์เกาหลีใต้หรือซีรีส์จีน เพิ่มขึ้น 8 % เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้แปรพักตร์ออกมาก่อนปี 2000
 
ทั้งนี้ เกาหลีเหนือเผชิญกับปัญหาขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรงในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา รวมถึงภาวะทุพภิกขภัยในช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งมักรุนแรงขึ้นจากภัยพิบัติธรรมชาติ นอกจากนี้เศรษฐกิจของเกาหลีเหนือยังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากมาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติ รวมถึงการค้าชายแดนที่ตกต่ำในช่วงเกิดโรคระบาดใหญ่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่