แบงก์ไทยพาณิชย์ชี้ ปี68 ธุรกิจแบงก์เหนื่อย เศรษฐกิจโตจำกัด แนวโน้มดอกเบี้ยขาลง การค้าโลกยังผันผวน แต่พร้อมช่วยลดหนี้ครัวเรือน หนุนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน ด้านออมสินมองภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี68 ยังไม่ดีมาก หวังมาตรการรัฐกระตุ้นอีกระลอก
แม้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ครั้งสุดท้ายของปี จะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.25% ต่อไป แต่ปี 2568 ตลาดมองว่า มีความเป็นไปได้ที่กนง. อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีกราว 2 ครั้ง ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ขณะที่ทิศทางเงินเฟ้อในปี 2568 ยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำกว่าเป้าหมายของกนง. ที่ 1-3%
สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมธนาคารในปี 2568 มีความท้าทายพอสมควร เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น และภายใต้เศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงอยู่ และแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง ดังนั้นทิศทางการได้มาของรายได้หรือกำไรจะน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น
นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ไทยพาณิชย์หรือ SCB เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมธนาคารปี 2568 ภายใต้ความเสี่ยงที่ยังคงอยู่ โดยคาดว่า เศรษฐกิจปี 2568 จะขยายตัว 2.4% ต่ำกว่าปีนี้ที่จะจบที่ 2.7%
ขณะที่กลุ่มธุรกิจของไทยที่ยังไปต่อได้ เช่น นิคมอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์บางเซ็กเตอร์ โกดัง ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร-อาหารกระป๋อง การแพทย์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว
โดยยอมรับว่า กลุ่มธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายของทรัมป์ เช่น สินค้าจากจีนเข้ามากระทบสินค้าไทย/ การเข้ามาเปิดโรงงานในไทยเพื่อบริหารจุดส่งออก ซึ่งพวกนี้คือ กลุ่มเสี่ยง
นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจที่แนวโน้มยังเหนื่อย ได้แก่ ประเภทสินค้าเกี่ยวกับเหล็ก ยาง เกษตร รวมทั้งภาคธนาคาร เพราะกลุ่มดังกล่าวอยู่ในพอร์ตของธนาคาร ซึ่งธนาคารจะเข้าไปช่วยลูกค้า
อย่างไรก็ตาม ทิศทางของรายได้และกำไรแบงก์จะน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น ส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนที่ยังสูงและค่าธรรมเนียมยังคงลดลง ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อรายได้แบงก์ และแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเฉลี่ย 0.25% จะส่งผลกระทบต่อรายได้หายไปประมาณ 5,000-10,000 ล้านบาท
“ถือเป็นความท้าทายของธุรกิจแบงก์ ขณะที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างจำกัด โดยกำไรมาจากสินเชื่อไม่โตเหมือนกันหมด ส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยทุกคนก็แข่งขันกันหมด แต่ผมคาดว่า จะลดต้นทุนลงได้เร็วกว่า และเชื่อว่ารายใหญ่จะมีโอกาสมาก และแบงก์จะแข่งขันดูแลลูกค้ารายใหญ่และธุรกิจเวลธ์”
กสิกรไทยคาดสินเชื่อระบบแบงก์ไทยปี68 เติบโตในระดับต่ำที่ 0.6%
สำหรับโจทย์ของธุรกิจธนาคารประกอบด้วย 3 เรื่องหลักคือ
ปัญหาสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง (แม้ว่ามาตรการแก้หนี้ 11 ธ.ค.จะช่วยได้ระดับหนึ่ง) แต่การบริหารความมั่งคั่ง หรือ Wealth Management จะช่วยงบดุลของครัวเรือนไม่เสี่ยงเกินไป ช่วยคนไทยบริหารหนี้และการเงินได้ถูกต้องและเหมาะสม เป็นโจทย์ที่ธนาคารพาณิชย์ต้องทำ
ธนาคารพาณิชย์ต้องปรับใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วย
สนับสนุนธุรกิจคนไทยไปสู่ความยั่งยืน โดยธนาคารจะสนับสนุนทุกองคาพยพไปสู่ความยั่งยืนและตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนไปแล้วกว่า 1.3 แสนล้านบาท
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร กสิกรไทย (Kbank)กล่าวว่า ปี 2568 ยังเต็มไปด้วยความท้าทายไม่น้อยไปกว่าปีนี้ แต่กสิกรไทยยังมุ่งมั่นเป้าหมายคือ ส่งมอบผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงงาน ผู้กำกับดูแล สังคมและประเทศไทย
ผ่านการสร้างอัตราผลตอบแทนของส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) เพิ่มขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก หรือ Double digits ภายในปี 2569
ทั้งนี้การที่จะทำให้ ROE จะเป็นไปตามเป้าหมาย ยังเชื่อมั่นใน กลยุทธ์ 3+1 ซึ่งหลายๆ ธนาคารในต่างประเทศมี ROE เป็น Double digits กันจำนวนมาก แต่ธนาคารพาณิชย์ในไทยเองยังไปไม่ถึง จากปัญหาด้านรายได้และค่าใช้จ่าย ทำให้ ROE ของธนาคารพาณิชย์ไทยยังอยู่เพียง Single digit ให้กสิกรไทยต้องการที่จะผลักดันในเรื่องนี้เพื่อก้าวขึ้นสู่ธนาคารพาณิชย์ในระดับสากล
สำหรับ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย KBANK คาดว่า ปี 2568 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้แค่ 2.4% จากปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัว 2.6% ถือเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง และยังต้องใช้ระยะเวลาอีกมากในการปรับเปลี่ยน ทำให้เศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้น้อยกว่าศักยภาพ
ขณะเดียวกันยังต้องจับตานโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จากการที่ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ หากมีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าก็จะกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทย แต่ก็อาจชดเชยได้บ้างด้วยการปรับขึ้นราคาขาย แต่ก็ถือว่า ยังมีความไม่แน่นอน และสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการภาษีเข้ามากีดกันการค้า ซึ่งจะกระทบต่อภาคธุรกิจไทย
นอกจากนั้น ยังมีปัญหาด็นที่ต้องมีการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อภาคธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย คือ การที่สินค้าจากจีนที่ถูกสหรัฐกีดกันการค้าจะทะลักเข้ามาขายในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายแบบเดียวกันแต่ราคาถูกกว่า เป็นปัญหาที่จะต้องมีการแก้ไขและหาแนวทางในการป้องกัน เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจของไทยให้อยู่รอดได้
นางสาวขัตติยา กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีเป็นสำคัญ เพราะถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่สามารถช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ขับเคลื่อนไปได้ โดยพยายามหาแนวทางเข้าไปช่วยเหลือให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยเฉพาะการเข้าไปช่วยหาตลาดใหม่ ๆ รวมถึงเปิดโอกาสให้มีการเข้ามาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อ
"ต้องปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย หากเรายังเป็นเศรษฐกิจยุคเก่า เราก็คงสู้เขาไม่ได้ แต่ระยะสั้นคงยังแก้ไม่ได้หรอก ฉะนั้นเราต้องช่วยเขาหาตลาดใหม่ เพราะถ้าขายตลาดเดิมก็ยังเจอคู่แข่งเยอะ ไปที่ประเทศอื่นๆที่เขายังไม่เคยไป และผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังใช้ได้อยู่" นางสาวขัตติยากล่าว
สำหรับแผนงานปี 68 ธนาคารมุ่งมั่นที่จะเพิ่ม Productivity ผ่านการนำเทคโนโลยีและ AI เข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารสามารถขยายสินเชื่อในกลุ่มลูกค้าศักยภาพ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าเดิม
ขณะเดียวกันธนาคารก็ยังคงใช้ความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพื่อควบคุมคุณภาพหนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและบริหารจัดการได้คือควบคุมไม่ให้เกิน 3% โดยในปีหน้าวางงบ 10% ของกำไรสุทธิไว้รองรับการลงทุนในเทคโนโนยี นวัตกรรม และ AI ที่จะนำมาใช้ในการทำงานด้านต่างๆ คาดว่าจะเห็นผลชัดเจนใน 2-3 ปีข้างหน้า
Cr.
https://www.thansettakij.com/finance/financial-banking/615537
สภาพัฒน์ ส่งสัญญาณเตือน 4 ปี หนี้สาธารณะต่อ GDP สวนทางเก็บรายได้ เสี่ยงพุ่งเกินกรอบ พื้นที่ทางการคลังลดลง อาจไม่เพียงพอรองรับความเสี่ยงเศรษฐกิจในอนาคต ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2569 - 2572) ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ ล่าสุดสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ยังได้เสนอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของครม. โดยมีข้อสังเกตที่น่าสนใจ ดังนี้
สถานะทางการคลังตามแผนการคลังระยะปานกลางฉบับนี้ กำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ปรับตัวสูงขึ้นเข้าใกล้ 70% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใช้เป็นกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และสัดส่วนรายได้รัฐบาลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ยังคงต่ำกว่า 15% ขณะที่สัดส่วนงบประมาณรายจ่ายต่อ GDP เฉลี่ย 18.8%
จึงส่งผลให้พื้นที่ทางการคลังลดลง และอาจจะไม่เพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ในกรณีฐานจนทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับสูงเกินกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณรายจ่ายมากขึ้นในการประคับประคอง และแก้ไขปัญหา
ดังนั้น การเร่งรัดการสร้างเสถียรภาพทางการคลังจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อการลดขนาดการขาดดุลงบประมาณ รวมทั้งความชัดเจนในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายภาครัฐ
รวมทั้งการจัดสรรงบชำระหนี้ของรัฐบาลให้สอดคล้องกับขนาดของมูลหนี้และดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและลดความเสี่ยงจากการประเมินอันดับความน่าเชื่อถือ
ทั้งนี้เพื่อให้มีพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal space) ที่เพียงพอ
สำหรับรองรับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง และการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในระยะถัดไปที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในด้านความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด
ข้อมูลแผนการคลังระยะปานกลาง
สำหรับแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2569 - 2572) มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดายละเอียด รายได้รัฐบาลสุทธิ งบประมาณรายจ่าย ดุลการคลัง หนี้สาธารณะคงค้าง และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สรุปได้ดังนี้
รายได้รัฐบาลสุทธิ
ปี 2569 อยู่ที่ 2.92 ล้านล้านบาท
ปี 2570 อยู่ที่ 3.10 ล้านล้านบาท
ปี 2571 อยู่ที่ 3.24 ล้านล้านบาท
ปี 2572 อยู่ที่ 3.39 ล้านล้านบาท
งบประมาณรายจ่าย
ปี 2569 อยู่ที่ 3.78 ล้านล้านบาท
ปี 2570 อยู่ที่ 3.86 ล้านล้านบาท
ปี 2571 อยู่ที่ 3.97 ล้านล้านบาท
ปี 2572 อยู่ที่ 4.09 ล้านล้านบาท
ดุลการคลัง
ปี 2569 ขาดดุล 8.6 แสนล้านบาท
ปี 2570 ขาดดุล 7.6 แสนล้านบาท
ปี 2571 ขาดดุล 7.2 แสนล้านบาท
ปี 2572 ขาดดุล 7.0 แสนล้านบาท
หนี้สาธารณะคงค้าง
ปี 2569 อยู่ที่ 13.46 ล้านล้านบาท คิดเป็น 67.30% ต่อ GDP
ปี 2570 อยู่ที่ 14.24 ล้านล้านบาท คิดเป็น 68.50% ต่อ GDP
ปี 2571 อยู่ที่ 14.98 ล้านล้านบาท คิดเป็น 69.20% ต่อ GDP
ปี 2572 อยู่ที่ 15.64 ล้านล้านบาท คิดเป็น 69.30% ต่อ GDP
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
ปี 2569 อยู่ที่ 20.08 ล้านล้านบาท
ปี 2570 อยู่ที่ 20.89 ล้านล้านบาท
ปี 2571 อยู่ที่ 21.74 ล้านล้านบาท
ปี 2572 อยู่ที่ 22.67 ล้านล้านบาท
Cr.
https://www.thansettakij.com/business/economy/615521
ธุรกิจแบงก์ปี 68 เหนื่อย เศรษฐกิจโตต่ำ ดอกเบี้ยขาลง และ สภาพัฒน์ ส่งสัญญาณ 4 ปีหนี้รัฐเสี่ยงพุ่งเกินกรอบ
แม้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ครั้งสุดท้ายของปี จะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.25% ต่อไป แต่ปี 2568 ตลาดมองว่า มีความเป็นไปได้ที่กนง. อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติมอีกราว 2 ครั้ง ท่ามกลางความเสี่ยงเศรษฐกิจที่สูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากมาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ ขณะที่ทิศทางเงินเฟ้อในปี 2568 ยังมีแนวโน้มทรงตัวในระดับต่ำกว่าเป้าหมายของกนง. ที่ 1-3%
สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมธนาคารในปี 2568 มีความท้าทายพอสมควร เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น และภายใต้เศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงอยู่ และแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง ดังนั้นทิศทางการได้มาของรายได้หรือกำไรจะน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น
นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร ไทยพาณิชย์หรือ SCB เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมธนาคารปี 2568 ภายใต้ความเสี่ยงที่ยังคงอยู่ โดยคาดว่า เศรษฐกิจปี 2568 จะขยายตัว 2.4% ต่ำกว่าปีนี้ที่จะจบที่ 2.7%
ขณะที่กลุ่มธุรกิจของไทยที่ยังไปต่อได้ เช่น นิคมอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์บางเซ็กเตอร์ โกดัง ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร-อาหารกระป๋อง การแพทย์ และธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว
โดยยอมรับว่า กลุ่มธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายของทรัมป์ เช่น สินค้าจากจีนเข้ามากระทบสินค้าไทย/ การเข้ามาเปิดโรงงานในไทยเพื่อบริหารจุดส่งออก ซึ่งพวกนี้คือ กลุ่มเสี่ยง
นอกจากนี้กลุ่มธุรกิจที่แนวโน้มยังเหนื่อย ได้แก่ ประเภทสินค้าเกี่ยวกับเหล็ก ยาง เกษตร รวมทั้งภาคธนาคาร เพราะกลุ่มดังกล่าวอยู่ในพอร์ตของธนาคาร ซึ่งธนาคารจะเข้าไปช่วยลูกค้า
อย่างไรก็ตาม ทิศทางของรายได้และกำไรแบงก์จะน้อยกว่าอุตสาหกรรมอื่น ส่วนหนึ่งมาจากต้นทุนที่ยังสูงและค่าธรรมเนียมยังคงลดลง ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อรายได้แบงก์ และแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเฉลี่ย 0.25% จะส่งผลกระทบต่อรายได้หายไปประมาณ 5,000-10,000 ล้านบาท
“ถือเป็นความท้าทายของธุรกิจแบงก์ ขณะที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างจำกัด โดยกำไรมาจากสินเชื่อไม่โตเหมือนกันหมด ส่วนรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยทุกคนก็แข่งขันกันหมด แต่ผมคาดว่า จะลดต้นทุนลงได้เร็วกว่า และเชื่อว่ารายใหญ่จะมีโอกาสมาก และแบงก์จะแข่งขันดูแลลูกค้ารายใหญ่และธุรกิจเวลธ์”
กสิกรไทยคาดสินเชื่อระบบแบงก์ไทยปี68 เติบโตในระดับต่ำที่ 0.6%
สำหรับโจทย์ของธุรกิจธนาคารประกอบด้วย 3 เรื่องหลักคือ
ปัญหาสัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง (แม้ว่ามาตรการแก้หนี้ 11 ธ.ค.จะช่วยได้ระดับหนึ่ง) แต่การบริหารความมั่งคั่ง หรือ Wealth Management จะช่วยงบดุลของครัวเรือนไม่เสี่ยงเกินไป ช่วยคนไทยบริหารหนี้และการเงินได้ถูกต้องและเหมาะสม เป็นโจทย์ที่ธนาคารพาณิชย์ต้องทำ
ธนาคารพาณิชย์ต้องปรับใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาช่วย
สนับสนุนธุรกิจคนไทยไปสู่ความยั่งยืน โดยธนาคารจะสนับสนุนทุกองคาพยพไปสู่ความยั่งยืนและตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนไปแล้วกว่า 1.3 แสนล้านบาท
นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคาร กสิกรไทย (Kbank)กล่าวว่า ปี 2568 ยังเต็มไปด้วยความท้าทายไม่น้อยไปกว่าปีนี้ แต่กสิกรไทยยังมุ่งมั่นเป้าหมายคือ ส่งมอบผลตอบแทนที่ยั่งยืนให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงงาน ผู้กำกับดูแล สังคมและประเทศไทย
ผ่านการสร้างอัตราผลตอบแทนของส่วนของผู้ถือหุ้น (ROE) เพิ่มขึ้นเป็นตัวเลข 2 หลัก หรือ Double digits ภายในปี 2569
ทั้งนี้การที่จะทำให้ ROE จะเป็นไปตามเป้าหมาย ยังเชื่อมั่นใน กลยุทธ์ 3+1 ซึ่งหลายๆ ธนาคารในต่างประเทศมี ROE เป็น Double digits กันจำนวนมาก แต่ธนาคารพาณิชย์ในไทยเองยังไปไม่ถึง จากปัญหาด้านรายได้และค่าใช้จ่าย ทำให้ ROE ของธนาคารพาณิชย์ไทยยังอยู่เพียง Single digit ให้กสิกรไทยต้องการที่จะผลักดันในเรื่องนี้เพื่อก้าวขึ้นสู่ธนาคารพาณิชย์ในระดับสากล
สำหรับ การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย KBANK คาดว่า ปี 2568 เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้แค่ 2.4% จากปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัว 2.6% ถือเป็นระดับที่ค่อนข้างต่ำมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจที่ยังไม่เปลี่ยนแปลง และยังต้องใช้ระยะเวลาอีกมากในการปรับเปลี่ยน ทำให้เศรษฐกิจไทยยังเติบโตได้น้อยกว่าศักยภาพ
ขณะเดียวกันยังต้องจับตานโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ จากการที่ไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ หากมีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าก็จะกระทบโดยตรงต่อการส่งออกของไทย แต่ก็อาจชดเชยได้บ้างด้วยการปรับขึ้นราคาขาย แต่ก็ถือว่า ยังมีความไม่แน่นอน และสร้างความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการภาษีเข้ามากีดกันการค้า ซึ่งจะกระทบต่อภาคธุรกิจไทย
นอกจากนั้น ยังมีปัญหาด็นที่ต้องมีการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อภาคธุรกิจเอสเอ็มอีของไทย คือ การที่สินค้าจากจีนที่ถูกสหรัฐกีดกันการค้าจะทะลักเข้ามาขายในประเทศไทยมากขึ้น ซึ่งเป็นสินค้าที่ขายแบบเดียวกันแต่ราคาถูกกว่า เป็นปัญหาที่จะต้องมีการแก้ไขและหาแนวทางในการป้องกัน เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจของไทยให้อยู่รอดได้
นางสาวขัตติยา กล่าวว่า ธนาคารกสิกรไทยยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีเป็นสำคัญ เพราะถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่สามารถช่วยผลักดันเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ขับเคลื่อนไปได้ โดยพยายามหาแนวทางเข้าไปช่วยเหลือให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยเฉพาะการเข้าไปช่วยหาตลาดใหม่ ๆ รวมถึงเปิดโอกาสให้มีการเข้ามาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้เพื่อทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อ
"ต้องปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย หากเรายังเป็นเศรษฐกิจยุคเก่า เราก็คงสู้เขาไม่ได้ แต่ระยะสั้นคงยังแก้ไม่ได้หรอก ฉะนั้นเราต้องช่วยเขาหาตลาดใหม่ เพราะถ้าขายตลาดเดิมก็ยังเจอคู่แข่งเยอะ ไปที่ประเทศอื่นๆที่เขายังไม่เคยไป และผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยังใช้ได้อยู่" นางสาวขัตติยากล่าว
สำหรับแผนงานปี 68 ธนาคารมุ่งมั่นที่จะเพิ่ม Productivity ผ่านการนำเทคโนโลยีและ AI เข้ามาใช้ในกระบวนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารสามารถขยายสินเชื่อในกลุ่มลูกค้าศักยภาพ โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าเดิม
ขณะเดียวกันธนาคารก็ยังคงใช้ความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อเพื่อควบคุมคุณภาพหนี้ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและบริหารจัดการได้คือควบคุมไม่ให้เกิน 3% โดยในปีหน้าวางงบ 10% ของกำไรสุทธิไว้รองรับการลงทุนในเทคโนโนยี นวัตกรรม และ AI ที่จะนำมาใช้ในการทำงานด้านต่างๆ คาดว่าจะเห็นผลชัดเจนใน 2-3 ปีข้างหน้า
Cr. https://www.thansettakij.com/finance/financial-banking/615537
สภาพัฒน์ ส่งสัญญาณเตือน 4 ปี หนี้สาธารณะต่อ GDP สวนทางเก็บรายได้ เสี่ยงพุ่งเกินกรอบ พื้นที่ทางการคลังลดลง อาจไม่เพียงพอรองรับความเสี่ยงเศรษฐกิจในอนาคต ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2569 - 2572) ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ ล่าสุดสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ยังได้เสนอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของครม. โดยมีข้อสังเกตที่น่าสนใจ ดังนี้
สถานะทางการคลังตามแผนการคลังระยะปานกลางฉบับนี้ กำหนดสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ปรับตัวสูงขึ้นเข้าใกล้ 70% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ใช้เป็นกรอบในการบริหารหนี้สาธารณะตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และสัดส่วนรายได้รัฐบาลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ยังคงต่ำกว่า 15% ขณะที่สัดส่วนงบประมาณรายจ่ายต่อ GDP เฉลี่ย 18.8%
จึงส่งผลให้พื้นที่ทางการคลังลดลง และอาจจะไม่เพียงพอที่จะรองรับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ในกรณีฐานจนทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับสูงเกินกรอบวินัยการเงินการคลังของรัฐ และมีความจำเป็นที่จะต้องใช้งบประมาณรายจ่ายมากขึ้นในการประคับประคอง และแก้ไขปัญหา
ดังนั้น การเร่งรัดการสร้างเสถียรภาพทางการคลังจึงมีความจำเป็นเร่งด่วน โดยเฉพาะการให้ความสำคัญต่อการลดขนาดการขาดดุลงบประมาณ รวมทั้งความชัดเจนในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายภาครัฐ
รวมทั้งการจัดสรรงบชำระหนี้ของรัฐบาลให้สอดคล้องกับขนาดของมูลหนี้และดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและลดความเสี่ยงจากการประเมินอันดับความน่าเชื่อถือ
ทั้งนี้เพื่อให้มีพื้นที่ทางการคลัง (Fiscal space) ที่เพียงพอ
สำหรับรองรับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์สูง และการพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงในระยะถัดไปที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในด้านความผันผวนของเศรษฐกิจโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด
ข้อมูลแผนการคลังระยะปานกลาง
สำหรับแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2569 - 2572) มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดายละเอียด รายได้รัฐบาลสุทธิ งบประมาณรายจ่าย ดุลการคลัง หนี้สาธารณะคงค้าง และผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) สรุปได้ดังนี้
รายได้รัฐบาลสุทธิ
ปี 2569 อยู่ที่ 2.92 ล้านล้านบาท
ปี 2570 อยู่ที่ 3.10 ล้านล้านบาท
ปี 2571 อยู่ที่ 3.24 ล้านล้านบาท
ปี 2572 อยู่ที่ 3.39 ล้านล้านบาท
งบประมาณรายจ่าย
ปี 2569 อยู่ที่ 3.78 ล้านล้านบาท
ปี 2570 อยู่ที่ 3.86 ล้านล้านบาท
ปี 2571 อยู่ที่ 3.97 ล้านล้านบาท
ปี 2572 อยู่ที่ 4.09 ล้านล้านบาท
ดุลการคลัง
ปี 2569 ขาดดุล 8.6 แสนล้านบาท
ปี 2570 ขาดดุล 7.6 แสนล้านบาท
ปี 2571 ขาดดุล 7.2 แสนล้านบาท
ปี 2572 ขาดดุล 7.0 แสนล้านบาท
หนี้สาธารณะคงค้าง
ปี 2569 อยู่ที่ 13.46 ล้านล้านบาท คิดเป็น 67.30% ต่อ GDP
ปี 2570 อยู่ที่ 14.24 ล้านล้านบาท คิดเป็น 68.50% ต่อ GDP
ปี 2571 อยู่ที่ 14.98 ล้านล้านบาท คิดเป็น 69.20% ต่อ GDP
ปี 2572 อยู่ที่ 15.64 ล้านล้านบาท คิดเป็น 69.30% ต่อ GDP
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
ปี 2569 อยู่ที่ 20.08 ล้านล้านบาท
ปี 2570 อยู่ที่ 20.89 ล้านล้านบาท
ปี 2571 อยู่ที่ 21.74 ล้านล้านบาท
ปี 2572 อยู่ที่ 22.67 ล้านล้านบาท
Cr. https://www.thansettakij.com/business/economy/615521