JJNY : ก้าวไกลนัดประชุมด่วนเย็นนี้│เพื่อไทย-ก้าวไกลยื่นร่างแก้พ.ร.บ.│‘ตึกแถว’นับถอยหลังสูญพันธุ์│เอฟบีไอเตือนแฮกเกอร์จีน

ก้าวไกล นัดสส.ประชุมด่วนเย็นนี้ ถกรับมือหวั่นถูกยุบ หลังศาลรธน.วินิจฉัยคดีแก้112
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8077776
 
 
‘ก้าวไกล’ นัด สส.ประชุมด่วนเย็นนี้ คาดถกหาทางออก ปมศาลรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยคดีแก้ม.112 ล้มล้างการปกครอง รับมือหวั่นถูกยุบพรรค
 
เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย กรณีพรรคก้าวไกล ใช้นโยบายหาเสียงแก้ไขกฎหมายอาญา มาตรา 112 ว่าเป็นการใช้สิทธิเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสั่งการให้เลิกการกระทำนั้น
 
นอกจากนี้ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ซึ่งเป็นผู้ร้องกรณีก้าวไกลหาเสียงแก้ไข ม.112 ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อขอให้พิจารณายุบพรรค และตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคก้าวไกล
 
ล่าสุด พรรคก้าวไกล ได้นัดประชุม สส. ที่รัฐสภา ในเวลา 16.00 น. ทั้งนี้ สส.พรรคหลายคนยังไม่ทราบรายละเอียดการประชุมครั้งนี้ แต่แหล่งข่าวในพรรคก้าวไกล เปิดเผยว่า มีการขอความร่วมมือให้ผู้เข้าร่วมประชุมเก็บโทรศัพท์มือถือ จึงคาดการณ์ว่าเนื้อหาการประชุมในครั้งนี้ ไม่ใช่วาระการประชุมปกติทั่วไปประจำสัปดาห์ แต่เป็นการหารือถึงแนวทางของพรรคในอนาคต เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าว
 

 
เพื่อไทย-ก้าวไกล แท็กทีม ยื่นร่างแก้ พ.ร.บ.ประชามติ สางปมเสียงข้างมาก 2 ชั้น
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_8077713

เพื่อไทย-ก้าวไกล ยื่นร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประชามติ สางปมเสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงจัดประชามติพร้อมเลือกตั้ง ลั่นแม้อยู่คนละฝ่าย แต่ผลักดันเพื่อประโยชน์ ปชช.
 
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 1 ก.พ. 2567 ที่รัฐสภา พรรคเพื่อไทย (พท.) นำโดยนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรค นายสรวงศ์ เทียนทอง สส.สระแก้ว และเลขาธิการพรรค พร้อมด้วยพรรคก้าวไกล (ก.ก.) นำโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรค ยื่นร่างแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติ 2 ฉบับ ต่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร
 
โดยนายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ตนจะนำร่างทั้ง 2 ฉบับนี้ให้สำนักงานเลขาธิการสภาฯ ดำเนินการตามขั้นตอน และบรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุมต่อไป ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จโดยเร็ว เนื่องจากมีเวลาในสมัยประชุมนี้อีกประมาณ 2 เดือน 10 กว่าวันเท่านั้น
 
ด้านนายชูศักดิ์ กล่าวว่า กรณีนี้สมาชิกพรรคเพื่อไทย 129 คน ร่วมกันลงชื่อเพื่อขอแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติปี 2564 เนื่องจากกฎหมายฉบับปัจจุบันกำหนดให้การออกเสียงประชามติ เป็นเสียงข้างมาก 2 ชั้น
 
ชั้นที่ 1 คือผู้มาใช้สิทธิ์ต้องเป็นเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิ์ทั้งหมด และชั้นที่ 2 คือผู้ที่มาออกเสียงต้องเป็นเสียงข้างมากของผู้ใช้สิทธิ์ จึงสุ่มเสี่ยงกรณีหากประชาชนไม่ออกมาใช้สิทธิ์ หรือไม่ประสงค์ใช้สิทธิ์ จะทำให้การออกเสียงประชามติเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต
 
สมาชิกพรรคเพื่อไทยจึงเห็นพ้องต้องกันว่าสมควรแก้กฎหมาย โดยให้ใช้เสียงข้างมากตามหลักทั่วไป โดยกำหนดเงื่อนไขเสียงข้างมากควรจะเกินเสียงของผู้ไม่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ออกเสียง เพื่อความถูกต้องชอบธรรม” นายชูศักดิ์ กล่าว
 
นอกจากนี้ มีอีก 3 ประเด็นที่ควรแก้ไปพร้อมกัน คือเห็นว่าการออกเสียงลงคะแนน ต้องใช้งบประมาณแผ่นดิน ราว 3,000 ล้านบาท จึงคิดว่าหากการออกเสียงประชามติใกล้เคียงกับวันเลือกตั้งทั่วไปหรือวันเลือกตั้งท้องถิ่น
 
ดังนั้น น่าจะจัดไปพร้อมกันในวันเดียวได้ เพื่อประหยัดงบประมาณ และประชาชนก็ไม่ต้องออกมาหลายครั้ง ส่วนอีกประเด็นคือเห็นว่าควรใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาพัฒนาวิธีการออกเสียงลงมติ นอกจากการไปกาบัตร เช่น การส่งไปรษณีย์ หรือออนไลน์
 
ทั้งนี้ พรรคเพื่อไทยเห็นว่า การออกเสียงประชามติควรมีการรณรงค์ จึงควรเขียนไว้ให้ชัดในกฎหมายว่า สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จำเป็นต้องทำ รวมถึงเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยมาแสดงความคิดเห็นได้โดยเสมอภาค จะทำให้การออกเสียงประชามตินั้นประชาชนได้รับรู้รับทราบ
 
ขณะที่นายพริษฐ์ กล่าวว่า ตนอยากให้ประชาชนมองว่าการแก้ไขกฎหมายประชามติครั้งนี้ คือ การปรับปรุงกฎหมายให้มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประชามติหัวข้อใดก็ตาม ซึ่งฉบับของพรรคก้าวไกลประกอบด้วย การแก้ไขใน 3 ประเด็น ได้แก่
 
ประเด็นที่ 1 คือ ทำให้กติกามีความเป็นธรรมมากขึ้น เนื่องจากข้อกังวลของหลักการเสียงข้างมาก 2 ชั้น เราเข้าใจว่าผู้ออกกติกานี้ตั้งใจให้ประชามติมีผลต่อประชาชนจำนวนมาก แต่มีความเสี่ยงเปิดช่องให้ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับประเด็นที่ถูกถาม ใช้วิธีการนอนอยู่บ้าน ไม่ออกมาใช้สิทธิ์เพื่อคว่ำประชามติ จึงเปลี่ยนกติกาให้เป็นเสียงเกินกึ่งหนึ่ง 1 ชั้น คือ ให้เสียงประชาชนผู้เห็นชอบมีเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์
 
ประเด็นที่ 2 คือ ปลดล็อกให้ กกต. สามารถจัดประชามติในวันเดียวกันกับการเลือกตั้งอื่นๆ ได้อย่างสะดวกมากขึ้น เพื่อประหยัดงบประมาณ และยังเป็นประเด็นที่สอดคล้องกับพรรคเพื่อไทย และทำให้ กกต. ยืดหยุ่นมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เพื่อป้องกันไม่ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ใช้เป็นข้ออ้างในการเลื่อนวันทำประชามติออกไป
 
ประเด็นที่ 3 คือทำให้ประชามติมีความทันสมัยมากขึ้น ให้ประชาชนออกเสียงประชามติผ่านช่องทางออนไลน์ได้ เพราะปัจจุบันการเข้าชื่อต้องพิมพ์เอกสารออกมาแล้วลงชื่อเท่านั้น ไม่สามารถทำผ่านออนไลน์ได้ พรรคก้าวไกลจึงต้องการรับประกันสิทธิ์ของประชาชนให้สามารถเข้าชื่อทางออนไลน์ได้
 
ขณะที่อีก 2 ประเด็นเพิ่มเติมของพรรคเพื่อไทย เราเห็นด้วยในหลักการอยู่แล้ว จะดูรายละเอียดในตัวร่างเพิ่มเติมว่าจะปรับปรุงให้รัดกุมยิ่งกว่าฉบับปัจจุบันได้อย่างไร ทั้งนี้ ทั้ง 2 พรรคได้มีการประสานงานกันตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว เพราะเราเห็นถึงความจำเป็นในการนำเสนอการแก้ไขประชามติในทิศทางและค่อนข้างสอดคล้องกัน ซึ่งหวังว่าการแถลงข่าวครั้งนี้จะเป็นทั้งตัวอย่างและนิมิตหมายที่ดี
 
แม้ว่าทั้งสองพรรคอาจจะอยู่กันคนละฝั่งในระบบรัฐสภา แต่ก็พร้อมร่วมมือกันในประเด็นที่เห็นด้วย ส่วนประเด็นที่เห็นต่างก็พร้อมแข่งขันกันเต็มที่ เพราะเป็นแนวทางที่ท้ายสุดประโยชน์สูงสุดตกอยู่กับประชาชน” นายพริษฐ์ กล่าว
 
เมื่อถามว่าได้มีการประเมินความเห็นของ สว.หรือไม่ หากกฎหมายฉบับดังกล่าวถูกตีความว่าเป็นกฎหมายปฏิรูป นายพริษฐ์ กล่าวว่า หากร่างแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวถูกตีความว่าเป็นกฎหมายปฏิรูป ก็จะต้องเข้าสู่การประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีสว.พิจารณาด้วย ซึ่งคิดว่าปัญหาเสียงข้างมาก 2 ชั้น ไม่ใช่ประเด็นใหม่สำหรับสมาชิกรัฐสภา ส่วนประเด็นที่เกี่ยวกับ กกต. นั้น ก็ได้เคยเชิญหน่วยงานเข้าหารือแล้ว



จุดเปลี่ยน ‘ตึกแถว’ ตลาดหดตัว ขายอืด นับถอยหลังสูญพันธุ์
https://www.matichon.co.th/economy/eco-report/news_4403029

เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ทำให้การพัฒนาที่อยู่อาศัยต้องปรับเปลี่ยนไปตามเทรนด์ตลาด สินค้าไหนที่เคย “รุ่งเรือง-เฟื่องฟู” วันหนึ่งก็ต้อง “ร่วงโรย” ไปตามกาลเวลาและถูกแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ๆ
 
เช่นเดียวกับอาคารพาณิชย์หรือตึกแถว จากที่เคยเป็นยุคทองในวันวาน ในวันนี้ซัพพลายใหม่ในตลาดเริ่มลดน้อยถอยลงไปทุกที หลังผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์หันไปพัฒนาโปรดักต์ตามเทรนด์การอยู่อาศัย รับกับไลฟ์สไตล์ของผู้บริโภคมากขึ้น
 
ขณะที่ตึกแถวเก่าอยู่ในทำเลทอง ยิ่งเก่ายิ่งแพง หลังมีทุนใหญ่ หลากธุรกิจ มากว้านซื้อ ทุบทิ้ง และถูกแทนที่ด้วยคอนโดมิเนียม ออฟฟิศ คอมมูนิตี้มอลล์ ศูนย์การค้า ซึ่งปัจจุบันมีให้เห็นอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ใจกลางเมือง แนวรถไฟฟ้าสารพัดสี
 
นอกจากนี้ยังมีตึกแถวอีกหลายพื้นที่ทั้งในเมือง นอกเมือง ที่ปัจจุบันมีติดป้ายประกาศขายกันจำนวนมาก ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะด้วยภาวะเศรษฐกิจ หรืออาจจะเป็นเพราะมีการโยกย้ายไปทำเลใหม่ ขณะที่ราคาขายก็แพงขึ้นตามระดับทำเล
 
ถามว่าจากสัญญาณดังกล่าว จะเกิดการ “สูญพันธุ์” ของตึกแถวหรือไม่

⦁ ซัพพลายใหม่ลดแถมขายอืด
 
มีการไขข้อข้องใจจาก โสภณ พรโชคชัย ประธานศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย บริษัท เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส จำกัด (AREA) สะท้อนว่าปัจจุบันถือว่าตึกแถวไม่มีอนาคต ไม่สามารถเติบโตได้ ถือเป็นสินค้าในอดีตที่ผ่านไปแล้ว ซึ่งในปี 2526 หรือเมื่อ 40 ปีที่แล้ว พบว่าตึกแถวมีสัดส่วนถึง 25% ของที่อยู่อาศัยทั้งหมดในกรุงเทพมหานครหรือราว 1 ใน 4 ซึ่งนับว่ามีเป็นจำนวนมาก ในพื้นที่ต่างๆ มีตึกแถวตามริมถนนเต็มไปหมด แต่เดี๋ยวนี้ตึกแถวหมดอนาคตไปแล้ว
 
จะสังเกตได้ว่า ยิ่งในกรณีตึกแถวตามสี่แยกต่างๆ ซึ่งเมื่อก่อนถือเป็นไพรม์โลเกชั่น แต่เดี๋ยวนี้กลับเป็นจุดด้อย เพราะบรรดาสี่แยกต่างๆ กลับมีการสร้างสะพานให้รถข้ามไปมา โดยไม่ต้องแวะจอดติดไฟแดงตามสี่แยกอีกต่อไป แถมที่จอดรถก็มีน้อยหรือแทบไม่มีเลย ในกรณีตึกแถว การจะดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการจึงไม่มี ยิ่งกว่านั้นยังมีการสร้างมินิออฟฟิศ โฮมออฟฟิศ มาแทนที่ตึกแถวอีกต่างหาก” โสภณกล่าว
 
พร้อมกับฉายภาพในอดีตกรุงเทพมหานคร มีย่านต่างๆ ซึ่งเป็นหมู่ตึกแถวมากมาย เช่น ย่านสวนมะลิ ขายเฟอร์นิเจอร์, ย่านราชเทวี ขายแว่นตา นาฬิกา, ย่านสะพานควาย ขายกางเกงยีนส์, ย่านวงเวียนใหญ่ ขายเสื้อผ้า ขายปืน, ย่านวังบูรพา ขายผ้า ย่านสำเพ็ง ย่านพาหุรัด เป็นต้น ซึ่งย่านเหล่านี้ใช้ตึกแถวในการขายของ โดยเฉพาะย่านสำเพ็ง ตึกแถวมีราคาแพงมากถึง 50 ล้านบาท ทั้งที่สภาพของตึกแถวแบบนี้ ถ้าตั้งอยู่แถวหนองจอก อาจมีราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท
 
โสภณ” ยังบอกอีกว่า ตอนกรุงเทพมหานครมีอายุ 200 ปี ในปี 2525 มีที่อยู่อาศัยรวมกันประมาณ 1 ล้านหน่วย ในจำนวนนี้เป็นตึกแถวถึง 250,000 หน่วย แต่ในปี 2566 เฉพาะในสิ้นปี 2566 หรือในช่วง 40 ปีต่อมา ปรากฏว่ามีที่อยู่อาศัยทั้งหมดประมาณ 3.2 ล้านหน่วย โดยคาดว่าจะเป็นตึกแถวไม่เกิน 10% หรือราว 320,000 หน่วยเท่านั้น แสดงว่าตึกแถวไม่เป็นที่ต้องการอีกต่อไป แต่อาจจะมีเพียงบางทำเลที่ยังมีการพัฒนาตึกแถวบ้าง
 
เมื่อสิ้นปี 2566 ที่ผ่านมา พบว่ามีที่อยู่อาศัยที่รอการขายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 233,433 หน่วย ที่ยังอยู่ในมือของผู้ประกอบการ ปรากฏว่าเป็นตึกแถวเพียง 2,967 หน่วย หรือเพียง 1.3% ของที่อยู่อาศัยทั้งหมดที่ยังรอการขายอยู่ในมือของผู้ประกอบการ ในขณะที่เป็นห้องชุดถึง 36.1% เป็นทาวน์เฮาส์ 33.1% เป็นบ้านเดี่ยว 18.6% เป็นบ้านแฝด 10.6% ตามลำดับ จึงเป็นเครื่องยืนยันชัดว่าต่อไปตึกแถวจะสูญพันธุ์” โสภณกล่าว

⦁ ต้องใช้เวลาขายนาน 5 ปี
 
โสภณ” ยังระบุถึงสำหรับอัตราการขายว่า โดยปกติแล้วหน่วยที่อยู่อาศัยที่รอขาย 233,433 หน่วยนี้ จะต้องใช้เวลาขายราว 36.5 เดือน หรือราว 3 ปี จึงจะหมด โดยไม่มีการเปิดตัวโครงการใหม่ใดๆ แต่ในความเป็นจริง มีการเปิดตัวโครงการใหม่มาโดยตลอด ทำให้สินค้ารอการขายกลายเป็นดินพอกหางหมูเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะอัตราการขายในช่วงปี 2567 ซึ่งค่อนข้างที่จะขายได้ในอัตราที่ช้าลง
 
ยิ่งในกรณีตึกแถว พบว่ามีอัตราการขายอยู่ที่ 61 เดือนจึงจะขายได้หมด หรือราว 5 ปี แสดงว่าอัตราการขายของตึกแถวยังถือว่าอืดกว่าค่าเฉลี่ยรวมทั้งตลาด ดังนั้นโอกาสในการขายตึกแถวจึงมีน้อยกว่าที่อยู่อาศัยประเภทอื่น โดยเฉพาะห้องชุดที่จะสามารถขายสินค้าคงค้างได้หมดจำนวน 84,200 หน่วยในเวลาประมาณ 26 เดือน หรือราว 2 ปีเท่านั้น” โสภณระบุ
 
ขณะเดียวกัน “โสภณ” ยังแนะแนวทางในการปรับตัวของตึกแถว ซึ่งมีหลากหลายวิธี โดยอาจเป็นการแบ่งห้องเช่าเป็นที่พักอาศัยแทนการเปิดขายของ ยกเว้นชั้นล่าง หากอยู่ในทำเลที่ดีอาจสามารถเปิดเป็นโรงแรมขนาดเล็กๆ ได้บ้าง รวมถึงแปลงสภาพเป็นอาคารสำนักงานแบบโค-เวิร์กกิ้งสเปซ หรือแปลงสภาพเป็นโกดังเก็บของสำหรับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่