ปิยบุตร ชี้ ก้าวไกลชนะเลือกตั้ง เงื่อนไขชี้ขาด ทำทักษิณได้กลับบ้าน ขวางส้มตั้งรัฐบาล
https://www.matichon.co.th/politics/news_4906674
“ปิยบุตร” ชี้ “ก้าวไกล” แลนด์สไลด์ ปัจจัยชี้ขาดทำ “ทักษิณ”ได้กลับบ้าน บอกหาก “เพื่อไทย” ชนะขาด ย่อมเป็นรัฐบาลสง่างาม ไม่โดนพรรคร่วมขี่คอ แต่ “แม้ว” ไม่ได้กลับบ้าน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ข้อเขียนผ่านเฟซบุ๊กว่า
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่า พรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นรัฐบาล เพราะไม่ยอมถอยเรื่องแก้ 112 เอง อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่า พรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นรัฐบาล ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องแก้ 112 อย่างไรเสีย “พวกเขา” ก็ไม่ยอมให้เป็น
เอาเข้าจริง สองความเห็นนี้อาจไม่ได้ต่างกันมากนัก หากตีความเลข “112” ในความหมายอย่างกว้างว่าเลข “112” ที่พูดๆกัน ไมใช่แค่เรื่องการแก้ไขกฎหมายเท่านั้น
แต่ที่แน่นอนชัดเจนที่สุด การที่รัฐบาลชุดนี้ห้ามมีพรรคก้าวไกลโดยเด็ดขาด และต้องมีพรรคสืบทอดอำนาจจากทหารนั้น สัมพันธ์โดยตรงกับการได้กลับบ้านของคุณทักษิณ
นี่คือ “เหตุผลความจำเป็น” ที่พรรคเพื่อไทยเลือกทางเดินเช่นนี้ และจำเป็นต้องอยู่ในสภาพที่พรรคร่วมรัฐบาลขี่คอได้ ไม่เหมือนช่วงพรรคไทยรักไทย 44/48 และเพื่อไทย 54
จึงกลายเป็นเรื่องยอกย้อนว่า หากพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งแลนด์สไลด์ ย่อมได้เป็นรัฐบาลอย่างสง่างาม ไม่โดนพรรคร่วมขี่คอ แต่คุณทักษิณอาจยังไม่ได้กลับบ้าน เพราะหากพรรคเพื่อไทยยังน่าเกรงขาม การเจรจาให้เหล่าชนชั้นนำเห็นพ้องกันหมดยอมให้คุณทักษิณกลับบ้าน คงเป็นไปได้ยาก
แต่พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งลำดับที่หนึ่ง กลับเป็นปัจจัยชี้ขาดที่ทำให้คุณทักษิณได้กลับบ้าน เพราะชนชั้นนำทุกฝ่ายต้องสนธิกำลังสกัดพรรคก้าวไกล ไม่ให้เป็นรัฐบาล
https://www.facebook.com/PiyabutrOfficial/posts/pfbid02zMM5gEeG3Tw24nVzEC3iaC7kc7nA5FTXeGEAVQu2xbGw359mvdXKdTy35KghwBAxl
กมธ.ที่ดิน ไม่หวั่น ภูมิใจไทยค้าน ลุยสอบที่เขากระโดง ปธ.ยันชัด จ่อใช้อำนาจ บรรจุวาระเอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4906571
“ฐิติกันต์” ปัดมีเกมสกัด “กมธ.ที่ดิน” สอบปมเขากระโดง บอกเตรียมใช้อำนาจ “ปธ.กมธ.” เดินหน้าตรวจข้อเท็จจริง คาด 27 พ.ย.นี้
วาง3ประเด็นพิจารณา ไม่หวั่นภูมิใจไทยค้าน เชื่อเป็นเวทีได้ชี้แจง
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่รัฐสภา นาย
ฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงการนัดประชุมกมธ.เพื่อพิจารณาประเด็นปัญหาการครองสิทธิในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พื้นที่เขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ว่า เบื้องต้น กมธ. จะนัดหารือกรณีดังกล่าวในวันที่ 27 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งจะเป็นการหารือภายในกมธ.ว่า จะมีประเด็นใดที่ต้องตรวจสอบบ้าง อย่างไรก็ดีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ยื่นเรื่องต่อกมธ. ผ่าน นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทิดสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ฐานะเลขานุการ กมธ. ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีที่ดินเขากระโดง ดังนั้น จึงเป็นอำนาจของประธานกมธ. ที่จะบรรจุวาระให้พิจารณา ส่วนจะเชิญบุคคล หรือหน่วยงานใด เข้าชี้แจงต่อกมธ.ต้องหารือกับกมธ.ก่อน แต่สุดท้ายแล้วอำนาจจะอยู่ที่ประธานกมธ.
นาย
ฐิติกันต์ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นหลักๆ ที่คาดว่าจะหยิบยกมาตรวจสอบ คือ กรณีที่ รฟท. ไม่ฟ้องผู้ที่ครอบครองโฉนด กรณีคำสั่งของศาล และกรณีที่กรมที่ดินไม่เพิกถอนโฉนดตามคำสั่งศาล ทั้งนี้ในหลักการทั่วไป หากพื้นที่ของรัฐที่เป็นกรณีพิพาทจะคืนให้กับกรมธนารักษ์เพื่อให้ดำเนินการเช่ากับหน่วยงานหรือผ่านกรมธนารักษ์ แต่กรณีเขากระโดงพบว่าได้ใช้วิธีออกโฉนด
เมื่อถามว่า การตรวจสอบเรื่องดังกล่าวจะเจอเกมสกัดอีกรอบหรือไม่ นาย
ฐิติกันต์ กล่าวว่าที่ผ่านมาไม่มีเกมสกัดการตรวจสอบ ส่วนที่การประชุมรอบที่ผ่านมาที่ไม่สามารถขอมติได้ เนื่องจากเป็นการวางวาระไว้ช่วงท้ายการประชุม ซึ่งในช่วงปิดสมัยประชุม กมธ.อาจออกไปก่อนที่จะขอมติ ซึ่งการขอมติให้ตรวจสอบเรื่องใดต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง แต่เมื่อมีผู้ออกจากห้องประชุมไปก่อน ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ ซึ่งไม่ใช่การวอล์กเอาต์หลังจากที่มีการเสนอเรื่องให้พิจารณา
เมื่อถามว่ากังวลต่อท่าทีของกมธ.ที่มาจากพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ นาย
ฐิติกันต์ กล่าวว่า ไม่น่ากังวล เพราะ การตรวจสอบของกมธ. เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรม ซึ่งพรรคภูมิใจไทยสามารถได้ใช้เวทีเพื่อชี้แจงในมุมของตนเองว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ดังนั้นตนมองว่าหากไม่มีอะไรผิดปกติ จะไม่ติดปัญหาเรื่องตรวจสอบ
เทวฤทธิ์ โต้ พิสิษฐ์ ย้ำจุดยืน ค้านเสียงข้างมาก 2 ชั้น ชี้ กมธ.ร่วมฯ ละเลย ส.ว.เสียงข้างน้อย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4906357
‘เทวฤทธิ์’ โต้ ‘พิสิษฐ์’ ย้ำจุดยืน ค้านเสียงข้างมาก 2 ชั้น ชี้ กมธ.ร่วมฯ ละเลยตัวแทน ส.ว.เสียงข้างน้อย
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน นาย
เทวฤทธิ์ มณีฉาย ส.ว. กล่าวถึงกรณีที่ นาย
พิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ ส.ว. ในฐานะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ…. ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุม กมธ. ว่า จุดยืนของ ส.ว.ในวินาทีนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด และยังสนับสนุนเกณฑ์ผ่านประชามติ ด้วยเสียงข้างมาก 2 ชั้น คือ ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ และเสียงเห็นชอบต้องได้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ อีกทั้งย้ำว่า ทั้งนี้ กมธ.ฝั่ง ส.ว.พร้อมเข้าประชุมอย่างพร้อมเพรียงครบทั้ง 14 คนนั้น
นาย
เทวฤทธิ์กล่าวว่า ตนในฐานะ ส.ว.เสียงข้างน้อยที่ไม่มีตัวแทนใน กมธ.ร่วมสัดส่วนดังกล่าวเลยแม้แต่คนเดียว ขอแสดงความเห็น 4 ประการดังนี้
ประการแรก มากลับเอานาทีสุดท้าย ทั้งที่เคยสนับสนุนหลักการเสียงข้างมากชั้นเดียวแบบเอกฉันท์
ก่อนที่ ส.ว.ดังกล่าวจะเสนอ ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ นั้น ย้อนไปเมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา วาระแรก ส.ว.ก็รับหลักการเสียงข้างมากชั้นเดียวมาด้วยเสียงท่วมท้นคือ 179 เสียงที่เห็นชอบ มีเพียง 5 เสียงเท่านั้นที่ไม่เห็นชอบ ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่สภาผู้แทนราษฎรผ่านมา 3 วาระอย่างเอกฉันท์
ในครั้งนั้นเองตนจึงเสนอให้วุฒิสภาตั้งกรรมาธิการเต็มสภาเพื่อพิจารณาต่อในวาระ 2 และ 3 เลย นอกจากไม่เห็นข้อขัดแย้งในประเด็นหลักการแล้ว ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็มีเพียงประเด็นหลักประเด็นเดียวที่ไม่ซับซ้อน อยู่ในวิสัยที่ ส.ว.ได้ติดตามมาตั้งแต่การพิจารณาของสภาผู้แทนฯ แล้ว
และเพื่อความรวดเร็วให้ทันประกาศใช้ก่อนเลือกนายก อบจ.ต้นกุมภาพันธ์ 68 ด้วย แต่ก็น่าแปลกใจที่มติวุฒิสภากลับไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอตนในคราวนั้นจนตั้งกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ และมีมติเปลี่ยนเป็น ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ ในการประชุมครั้งท้ายๆ
ประการที่ 2 เสียงข้างมากถึง 2 ชั้น แต่กลับไม่มีตัวแทนเสียงข้างน้อยเลยสักคน
นาย
เทวฤทธิ์กล่าวว่า เมื่อเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาในวาระที่ 2 และ 3 ที่กรรมาธิการแก้เป็น ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ นั้น วาระที่ 3 มีผู้เห็นชอบ 167 เสียง ขณะที่ผู้ไม่เห็นชอบมี 19 เสียง และเมื่อ 2 สภาเห็นไม่ตรงกันเรื่องนี้จึงมีการตั้งกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณา ฝั่งละ 14 คน ซึ่งฝั่ง ส.ว.ก็มีการเสนอชื่อมาเป็นแพค 14 คน โดยที่ไม่มีตัวแทนเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้เป็น ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ เลยแม้แต่คนเดียว
ในครั้งนั้นตนได้เสนอในที่ประชุมวุฒิสภาเพื่องดใช้ข้อบังคับบางมาตราและให้เปลี่ยนรูปแบบการเลือกตัวแทนจากที่ ส.ว. แต่ละคนเลือกได้เต็มจำนวนหรือโหวตเป็นแพค ในที่นี้คือ 14 คน เป็นเลือกได้เพียง 1 ส.ว. โหวตตัวแทน 1 คนเท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้นไม่ต้องเสียงข้างมาก 167 เสียง ต่อ 19 เสียง ขอแค่เสียงข้างมาก 101 เสียง ต่อ 99 เสียง หากฝ่าย 101 เสียงสามารถโหวตได้เต็ม 14 คน โดยไม่มีใครโหวตเป็นอื่น ฝ่าย 101 เสียงก็จะได้ตัวแทนกรรมาธิการทั้ง 14 คน โดยที่ฝ่าย 99 เสียงจะไม่ได้ตัวแทนเลยสักคนเดียว
ท้ายที่สุดที่วุฒิสภาไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอตน 14 คน ที่เป็นกรรมาธิการร่วมจึงมีแต่ฝั่งเสียงข้างมาก หรือผู้สนับสนุนประชามติแบบ ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ โดยที่แคนดิเดตฝั่งเสียงข้างน้อยอย่าง นายประภาส ปิ่นตบแต่ง ส.ว. หรือ น.ส.นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. ไม่ได้เป็นตัวแทน
ทั้งที่หากคิดตามสัดส่วนแล้ว ถ้าต้องการตัวแทน 14 คน จาก ส.ว. 200 คน จะอยู่ที่ 14.28 ต่อ 1 ตัวแทน ซึ่งเสียงข้างน้อย 19 คน ก็ควรจะมี 1 คนเป็นอย่างน้อย จึงเป็นเรื่องที่ดูย้อนแย้งว่า ส.ว.เสียงส่วนใหญ่อยากได้การกรองประชามติถึง 2 ชั้น แต่กลับละเลยหรือไม่คำนึงถึงเสียงของ ส.ว.ข้างน้อยที่ควรจะมีพื้นที่ของตัวเองในกรรมาธิการเลยสักคนหนึ่ง
ประการที่ 3 เกณฑ์สองชั้น หมายความว่าฝ่ายไม่ต้องการให้มติผ่านมีเสียง 40% อยู่ในกระเป๋าแล้ว
การทำให้ประชามติให้เป็นข้อยุติได้ต้องผ่านเสียงข้างมาก 2 ชั้นนั้น ฟังดูดีแน่นอน ดูรอบคอบ แต่ความรอบคอบนั้นกลับซ่อนช่องโหว่แบบที่จะทำลายเจตจำนงหรือเป้าประสงค์ของประชาชนที่ลงมติด้วยซ้ำ เนื่องจากหัวใจคือต้องมีเกณฑ์เรื่องต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติเกิน 50% ของผู้มีสิทธิออกเสียงล็อกไว้ จึงเกิด ‘
การเมืองของการโหวต’
เมื่อพิจารณาตามสถิติคนมาใช้สิทธิลงประชามติรัฐธรรมนูญ ปี 50 จำนวน 57% ส่วนปี 60 จำนวน 59% แปลว่าจะมีราว 40% กว่าที่ยังไงก็ไม่ออกมาในออกเสียงนี้ ด้วยเงื่อนไขเท่ากับฝ่ายที่ไม่ต้องการให้ประชามติผ่านจะมีเสียงราว 40% เป็นฐานเสียงอยู่แล้ว
ตัวอย่างประชามติรัฐธรรมนูญปี 60 มีผู้มาใช้สิทธิ 26 ล้านคน ไม่มาใช้สิทธิ 24 ล้าน มีผู้โหวต Yes 16 ล้าน ผู้โหวต No 10 ล้าน คนที่อยากให้คนโหวต No ก็เพียงรณรงค์ให้คน 2 ล้าน ไม่ไปโหวต ก็ทำให้เสียงผู้มาใช้สิทธิเหลือ 24 ล้านคน ไม่มาใช้สิทธิเหลือ 24 ล้านคน มตินั้นก็ไม่เป็นข้อยุติ ในบริบทปัจจุบันก็ใช้รัฐธรรมนูญ 60 ต่อไป สมประสงค์ของผู้ไม่อยากแก้หรือเท่ากับคนที่อยากใช้รัฐธรรมนูญ 60 ต่อ เท่ากับทำให้มติบิดเบี้ยวไม่สะท้อนเจตจำนงที่แท้จริงของประชาชนด้วย
ประการสุดท้าย เสนอลดเกณฑ์เป็น 1 ใน 4 เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายมี 40% อยู่ในกระเป๋า
นาย
เทวฤทธิ์ยืนยันว่าไม่ได้ละเลยประเด็นจำนวนผู้มาใช้สิทธิ สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แต่ควรเป็นโจทย์ให้ฝ่ายจัดการประชามติอำนวยความสะดวกให้คนออกมามาก โดยไม่เป็นเงื่อนไขของการทำให้ประชามตินั้นผ่านหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องประนีประนอมระหว่างฝ่ายชั้นเดียวกับสองชั้น ก็ควรเป็นการทำอย่างไรไม่ให้ฝ่ายไม่ต้องการให้ประชามติเป็นที่ยุติมีฐานเสียง 40% ไว้ในมือ แก้ปัญหาการเมืองของการโหวตดังกล่าว ลดเกณฑ์ผู้มาใช้สิทธิอยู่ที่ 1 ใน 4 ของผู้มีสิทธิออกเสียง จึงทำให้เกิดความเป็นธรรมของทั้งฝ่ายที่ต้องการให้มติผ่านกับฝ่ายที่ไม่ให้ผ่าน โดยไม่ให้ฝ่ายหลังมีฐานเสียงในมือจากคนที่ไม่มาออกเสียง 40%
ทักษะภาษาอังกฤษคนไทย อันดับ 106 จาก 116 ประเทศ เกือบรั้งท้ายอาเซียน
https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/236947
รายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษของประชากรทั่วโลกเผย คนไทยเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษเป็นอันดับ 106 ของโลก จาก 116 ประเทศ
EF หรือ Education First ผู้ให้บริการการศึกษาเชิงวัฒนธรรมระดับโลก เผยแพร่ดัชนี EF English Proficiency Index (EF EPI) ฉบับปี 2024 ซึ่งเป็นการสำรวจทักษะภาษาอังกฤษของประชากรในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก
ดัชนีประจำปี 2024 คำนวณจากผลการทดสอบผู้พูดภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 2.1 ล้านคนใน 116 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก โดยจำแนกตามประเทศ เมืองหลวง และภูมิภาค
JJNY : 5in1 ปิยบุตรชี้เงื่อนไขชี้ขาด│กมธ.ที่ดินไม่หวั่นภท.ค้าน│เทวฤทธิ์โต้พิสิษฐ์│ไทยอันดับ 106│‘ไทย’จ่อเสียแชมป์เบอร์ 3
https://www.matichon.co.th/politics/news_4906674
“ปิยบุตร” ชี้ “ก้าวไกล” แลนด์สไลด์ ปัจจัยชี้ขาดทำ “ทักษิณ”ได้กลับบ้าน บอกหาก “เพื่อไทย” ชนะขาด ย่อมเป็นรัฐบาลสง่างาม ไม่โดนพรรคร่วมขี่คอ แต่ “แม้ว” ไม่ได้กลับบ้าน
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้โพสต์ข้อเขียนผ่านเฟซบุ๊กว่า
สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่า พรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นรัฐบาล เพราะไม่ยอมถอยเรื่องแก้ 112 เอง อีกฝ่ายหนึ่งเชื่อว่า พรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นรัฐบาล ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องแก้ 112 อย่างไรเสีย “พวกเขา” ก็ไม่ยอมให้เป็น
เอาเข้าจริง สองความเห็นนี้อาจไม่ได้ต่างกันมากนัก หากตีความเลข “112” ในความหมายอย่างกว้างว่าเลข “112” ที่พูดๆกัน ไมใช่แค่เรื่องการแก้ไขกฎหมายเท่านั้น
แต่ที่แน่นอนชัดเจนที่สุด การที่รัฐบาลชุดนี้ห้ามมีพรรคก้าวไกลโดยเด็ดขาด และต้องมีพรรคสืบทอดอำนาจจากทหารนั้น สัมพันธ์โดยตรงกับการได้กลับบ้านของคุณทักษิณ
นี่คือ “เหตุผลความจำเป็น” ที่พรรคเพื่อไทยเลือกทางเดินเช่นนี้ และจำเป็นต้องอยู่ในสภาพที่พรรคร่วมรัฐบาลขี่คอได้ ไม่เหมือนช่วงพรรคไทยรักไทย 44/48 และเพื่อไทย 54
จึงกลายเป็นเรื่องยอกย้อนว่า หากพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งแลนด์สไลด์ ย่อมได้เป็นรัฐบาลอย่างสง่างาม ไม่โดนพรรคร่วมขี่คอ แต่คุณทักษิณอาจยังไม่ได้กลับบ้าน เพราะหากพรรคเพื่อไทยยังน่าเกรงขาม การเจรจาให้เหล่าชนชั้นนำเห็นพ้องกันหมดยอมให้คุณทักษิณกลับบ้าน คงเป็นไปได้ยาก
แต่พรรคก้าวไกลชนะการเลือกตั้งลำดับที่หนึ่ง กลับเป็นปัจจัยชี้ขาดที่ทำให้คุณทักษิณได้กลับบ้าน เพราะชนชั้นนำทุกฝ่ายต้องสนธิกำลังสกัดพรรคก้าวไกล ไม่ให้เป็นรัฐบาล
https://www.facebook.com/PiyabutrOfficial/posts/pfbid02zMM5gEeG3Tw24nVzEC3iaC7kc7nA5FTXeGEAVQu2xbGw359mvdXKdTy35KghwBAxl
กมธ.ที่ดิน ไม่หวั่น ภูมิใจไทยค้าน ลุยสอบที่เขากระโดง ปธ.ยันชัด จ่อใช้อำนาจ บรรจุวาระเอง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4906571
“ฐิติกันต์” ปัดมีเกมสกัด “กมธ.ที่ดิน” สอบปมเขากระโดง บอกเตรียมใช้อำนาจ “ปธ.กมธ.” เดินหน้าตรวจข้อเท็จจริง คาด 27 พ.ย.นี้
วาง3ประเด็นพิจารณา ไม่หวั่นภูมิใจไทยค้าน เชื่อเป็นเวทีได้ชี้แจง
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2567 ที่รัฐสภา นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ที่ดิน
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงการนัดประชุมกมธ.เพื่อพิจารณาประเด็นปัญหาการครองสิทธิในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พื้นที่เขากระโดง อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ว่า เบื้องต้น กมธ. จะนัดหารือกรณีดังกล่าวในวันที่ 27 พฤศจิกายนนี้ ซึ่งจะเป็นการหารือภายในกมธ.ว่า จะมีประเด็นใดที่ต้องตรวจสอบบ้าง อย่างไรก็ดีเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ยื่นเรื่องต่อกมธ. ผ่าน นายเลาฟั้ง บัณฑิตเทิดสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ฐานะเลขานุการ กมธ. ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีที่ดินเขากระโดง ดังนั้น จึงเป็นอำนาจของประธานกมธ. ที่จะบรรจุวาระให้พิจารณา ส่วนจะเชิญบุคคล หรือหน่วยงานใด เข้าชี้แจงต่อกมธ.ต้องหารือกับกมธ.ก่อน แต่สุดท้ายแล้วอำนาจจะอยู่ที่ประธานกมธ.
นายฐิติกันต์ กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นหลักๆ ที่คาดว่าจะหยิบยกมาตรวจสอบ คือ กรณีที่ รฟท. ไม่ฟ้องผู้ที่ครอบครองโฉนด กรณีคำสั่งของศาล และกรณีที่กรมที่ดินไม่เพิกถอนโฉนดตามคำสั่งศาล ทั้งนี้ในหลักการทั่วไป หากพื้นที่ของรัฐที่เป็นกรณีพิพาทจะคืนให้กับกรมธนารักษ์เพื่อให้ดำเนินการเช่ากับหน่วยงานหรือผ่านกรมธนารักษ์ แต่กรณีเขากระโดงพบว่าได้ใช้วิธีออกโฉนด
เมื่อถามว่า การตรวจสอบเรื่องดังกล่าวจะเจอเกมสกัดอีกรอบหรือไม่ นายฐิติกันต์ กล่าวว่าที่ผ่านมาไม่มีเกมสกัดการตรวจสอบ ส่วนที่การประชุมรอบที่ผ่านมาที่ไม่สามารถขอมติได้ เนื่องจากเป็นการวางวาระไว้ช่วงท้ายการประชุม ซึ่งในช่วงปิดสมัยประชุม กมธ.อาจออกไปก่อนที่จะขอมติ ซึ่งการขอมติให้ตรวจสอบเรื่องใดต้องใช้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง แต่เมื่อมีผู้ออกจากห้องประชุมไปก่อน ทำให้องค์ประชุมไม่ครบ ซึ่งไม่ใช่การวอล์กเอาต์หลังจากที่มีการเสนอเรื่องให้พิจารณา
เมื่อถามว่ากังวลต่อท่าทีของกมธ.ที่มาจากพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ นายฐิติกันต์ กล่าวว่า ไม่น่ากังวล เพราะ การตรวจสอบของกมธ. เพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับความเป็นธรรม ซึ่งพรรคภูมิใจไทยสามารถได้ใช้เวทีเพื่อชี้แจงในมุมของตนเองว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ ดังนั้นตนมองว่าหากไม่มีอะไรผิดปกติ จะไม่ติดปัญหาเรื่องตรวจสอบ
เทวฤทธิ์ โต้ พิสิษฐ์ ย้ำจุดยืน ค้านเสียงข้างมาก 2 ชั้น ชี้ กมธ.ร่วมฯ ละเลย ส.ว.เสียงข้างน้อย
https://www.matichon.co.th/politics/news_4906357
‘เทวฤทธิ์’ โต้ ‘พิสิษฐ์’ ย้ำจุดยืน ค้านเสียงข้างมาก 2 ชั้น ชี้ กมธ.ร่วมฯ ละเลยตัวแทน ส.ว.เสียงข้างน้อย
เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย ส.ว. กล่าวถึงกรณีที่ นายพิสิษฐ์ อภิวัฒนาพงศ์ ส.ว. ในฐานะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ (ฉบับที่…) พ.ศ…. ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุม กมธ. ว่า จุดยืนของ ส.ว.ในวินาทีนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด และยังสนับสนุนเกณฑ์ผ่านประชามติ ด้วยเสียงข้างมาก 2 ชั้น คือ ต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ และเสียงเห็นชอบต้องได้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาใช้สิทธิ อีกทั้งย้ำว่า ทั้งนี้ กมธ.ฝั่ง ส.ว.พร้อมเข้าประชุมอย่างพร้อมเพรียงครบทั้ง 14 คนนั้น
นายเทวฤทธิ์กล่าวว่า ตนในฐานะ ส.ว.เสียงข้างน้อยที่ไม่มีตัวแทนใน กมธ.ร่วมสัดส่วนดังกล่าวเลยแม้แต่คนเดียว ขอแสดงความเห็น 4 ประการดังนี้
ประการแรก มากลับเอานาทีสุดท้าย ทั้งที่เคยสนับสนุนหลักการเสียงข้างมากชั้นเดียวแบบเอกฉันท์
ก่อนที่ ส.ว.ดังกล่าวจะเสนอ ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ นั้น ย้อนไปเมื่อวันที่ 27 ส.ค.ที่ผ่านมา วาระแรก ส.ว.ก็รับหลักการเสียงข้างมากชั้นเดียวมาด้วยเสียงท่วมท้นคือ 179 เสียงที่เห็นชอบ มีเพียง 5 เสียงเท่านั้นที่ไม่เห็นชอบ ซึ่งก็เป็นไปในทิศทางเดียวกับที่สภาผู้แทนราษฎรผ่านมา 3 วาระอย่างเอกฉันท์
ในครั้งนั้นเองตนจึงเสนอให้วุฒิสภาตั้งกรรมาธิการเต็มสภาเพื่อพิจารณาต่อในวาระ 2 และ 3 เลย นอกจากไม่เห็นข้อขัดแย้งในประเด็นหลักการแล้ว ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็มีเพียงประเด็นหลักประเด็นเดียวที่ไม่ซับซ้อน อยู่ในวิสัยที่ ส.ว.ได้ติดตามมาตั้งแต่การพิจารณาของสภาผู้แทนฯ แล้ว
และเพื่อความรวดเร็วให้ทันประกาศใช้ก่อนเลือกนายก อบจ.ต้นกุมภาพันธ์ 68 ด้วย แต่ก็น่าแปลกใจที่มติวุฒิสภากลับไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอตนในคราวนั้นจนตั้งกรรมาธิการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้ และมีมติเปลี่ยนเป็น ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ ในการประชุมครั้งท้ายๆ
ประการที่ 2 เสียงข้างมากถึง 2 ชั้น แต่กลับไม่มีตัวแทนเสียงข้างน้อยเลยสักคน
นายเทวฤทธิ์กล่าวว่า เมื่อเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาในวาระที่ 2 และ 3 ที่กรรมาธิการแก้เป็น ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ นั้น วาระที่ 3 มีผู้เห็นชอบ 167 เสียง ขณะที่ผู้ไม่เห็นชอบมี 19 เสียง และเมื่อ 2 สภาเห็นไม่ตรงกันเรื่องนี้จึงมีการตั้งกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณา ฝั่งละ 14 คน ซึ่งฝั่ง ส.ว.ก็มีการเสนอชื่อมาเป็นแพค 14 คน โดยที่ไม่มีตัวแทนเสียงข้างน้อยที่ไม่เห็นด้วยกับการแก้เป็น ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ เลยแม้แต่คนเดียว
ในครั้งนั้นตนได้เสนอในที่ประชุมวุฒิสภาเพื่องดใช้ข้อบังคับบางมาตราและให้เปลี่ยนรูปแบบการเลือกตัวแทนจากที่ ส.ว. แต่ละคนเลือกได้เต็มจำนวนหรือโหวตเป็นแพค ในที่นี้คือ 14 คน เป็นเลือกได้เพียง 1 ส.ว. โหวตตัวแทน 1 คนเท่านั้น เพราะไม่เช่นนั้นไม่ต้องเสียงข้างมาก 167 เสียง ต่อ 19 เสียง ขอแค่เสียงข้างมาก 101 เสียง ต่อ 99 เสียง หากฝ่าย 101 เสียงสามารถโหวตได้เต็ม 14 คน โดยไม่มีใครโหวตเป็นอื่น ฝ่าย 101 เสียงก็จะได้ตัวแทนกรรมาธิการทั้ง 14 คน โดยที่ฝ่าย 99 เสียงจะไม่ได้ตัวแทนเลยสักคนเดียว
ท้ายที่สุดที่วุฒิสภาไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอตน 14 คน ที่เป็นกรรมาธิการร่วมจึงมีแต่ฝั่งเสียงข้างมาก หรือผู้สนับสนุนประชามติแบบ ‘เสียงข้างมาก 2 ชั้น’ โดยที่แคนดิเดตฝั่งเสียงข้างน้อยอย่าง นายประภาส ปิ่นตบแต่ง ส.ว. หรือ น.ส.นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. ไม่ได้เป็นตัวแทน
ทั้งที่หากคิดตามสัดส่วนแล้ว ถ้าต้องการตัวแทน 14 คน จาก ส.ว. 200 คน จะอยู่ที่ 14.28 ต่อ 1 ตัวแทน ซึ่งเสียงข้างน้อย 19 คน ก็ควรจะมี 1 คนเป็นอย่างน้อย จึงเป็นเรื่องที่ดูย้อนแย้งว่า ส.ว.เสียงส่วนใหญ่อยากได้การกรองประชามติถึง 2 ชั้น แต่กลับละเลยหรือไม่คำนึงถึงเสียงของ ส.ว.ข้างน้อยที่ควรจะมีพื้นที่ของตัวเองในกรรมาธิการเลยสักคนหนึ่ง
ประการที่ 3 เกณฑ์สองชั้น หมายความว่าฝ่ายไม่ต้องการให้มติผ่านมีเสียง 40% อยู่ในกระเป๋าแล้ว
การทำให้ประชามติให้เป็นข้อยุติได้ต้องผ่านเสียงข้างมาก 2 ชั้นนั้น ฟังดูดีแน่นอน ดูรอบคอบ แต่ความรอบคอบนั้นกลับซ่อนช่องโหว่แบบที่จะทำลายเจตจำนงหรือเป้าประสงค์ของประชาชนที่ลงมติด้วยซ้ำ เนื่องจากหัวใจคือต้องมีเกณฑ์เรื่องต้องมีผู้ออกมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติเกิน 50% ของผู้มีสิทธิออกเสียงล็อกไว้ จึงเกิด ‘การเมืองของการโหวต’
เมื่อพิจารณาตามสถิติคนมาใช้สิทธิลงประชามติรัฐธรรมนูญ ปี 50 จำนวน 57% ส่วนปี 60 จำนวน 59% แปลว่าจะมีราว 40% กว่าที่ยังไงก็ไม่ออกมาในออกเสียงนี้ ด้วยเงื่อนไขเท่ากับฝ่ายที่ไม่ต้องการให้ประชามติผ่านจะมีเสียงราว 40% เป็นฐานเสียงอยู่แล้ว
ตัวอย่างประชามติรัฐธรรมนูญปี 60 มีผู้มาใช้สิทธิ 26 ล้านคน ไม่มาใช้สิทธิ 24 ล้าน มีผู้โหวต Yes 16 ล้าน ผู้โหวต No 10 ล้าน คนที่อยากให้คนโหวต No ก็เพียงรณรงค์ให้คน 2 ล้าน ไม่ไปโหวต ก็ทำให้เสียงผู้มาใช้สิทธิเหลือ 24 ล้านคน ไม่มาใช้สิทธิเหลือ 24 ล้านคน มตินั้นก็ไม่เป็นข้อยุติ ในบริบทปัจจุบันก็ใช้รัฐธรรมนูญ 60 ต่อไป สมประสงค์ของผู้ไม่อยากแก้หรือเท่ากับคนที่อยากใช้รัฐธรรมนูญ 60 ต่อ เท่ากับทำให้มติบิดเบี้ยวไม่สะท้อนเจตจำนงที่แท้จริงของประชาชนด้วย
ประการสุดท้าย เสนอลดเกณฑ์เป็น 1 ใน 4 เพื่อไม่ให้อีกฝ่ายมี 40% อยู่ในกระเป๋า
นายเทวฤทธิ์ยืนยันว่าไม่ได้ละเลยประเด็นจำนวนผู้มาใช้สิทธิ สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แต่ควรเป็นโจทย์ให้ฝ่ายจัดการประชามติอำนวยความสะดวกให้คนออกมามาก โดยไม่เป็นเงื่อนไขของการทำให้ประชามตินั้นผ่านหรือไม่
อย่างไรก็ตาม หากจำเป็นต้องประนีประนอมระหว่างฝ่ายชั้นเดียวกับสองชั้น ก็ควรเป็นการทำอย่างไรไม่ให้ฝ่ายไม่ต้องการให้ประชามติเป็นที่ยุติมีฐานเสียง 40% ไว้ในมือ แก้ปัญหาการเมืองของการโหวตดังกล่าว ลดเกณฑ์ผู้มาใช้สิทธิอยู่ที่ 1 ใน 4 ของผู้มีสิทธิออกเสียง จึงทำให้เกิดความเป็นธรรมของทั้งฝ่ายที่ต้องการให้มติผ่านกับฝ่ายที่ไม่ให้ผ่าน โดยไม่ให้ฝ่ายหลังมีฐานเสียงในมือจากคนที่ไม่มาออกเสียง 40%
ทักษะภาษาอังกฤษคนไทย อันดับ 106 จาก 116 ประเทศ เกือบรั้งท้ายอาเซียน
https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/236947
รายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับความเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษของประชากรทั่วโลกเผย คนไทยเชี่ยวชาญภาษาอังกฤษเป็นอันดับ 106 ของโลก จาก 116 ประเทศ
EF หรือ Education First ผู้ให้บริการการศึกษาเชิงวัฒนธรรมระดับโลก เผยแพร่ดัชนี EF English Proficiency Index (EF EPI) ฉบับปี 2024 ซึ่งเป็นการสำรวจทักษะภาษาอังกฤษของประชากรในประเทศที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก
ดัชนีประจำปี 2024 คำนวณจากผลการทดสอบผู้พูดภาษาอังกฤษที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาอายุ 18 ปีขึ้นไปจำนวน 2.1 ล้านคนใน 116 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก โดยจำแนกตามประเทศ เมืองหลวง และภูมิภาค