กาซาเผยระบบสาธารณสุขพังหมดแล้ว
https://tna.mcot.net/world-1261546
กาซา 25 ต.ค. – โฆษกกระทรวงสาธารณสุขในฉนวนกาซา เปิดเผยว่า ระบบสาธารณสุขในฉนวนกาซา “
พังทลายลงทั้งหมด” เพราะไฟฟ้าดับและขาดแคลนเชื้อเพลิงสำหรับเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าในโรงพยาบาล
สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า นาย
อาชราฟ อัลกอดรา โฆษกกระทรวงสาธารณสุขในฉนวนกาซา แถลงข่าวว่า การโจมตีจากอิสราเอลทำให้บุคลากรทางการแพทย์เสียชีวิต 65 ราย รถพยาบาลเสียหาย 25 คัน โรงพยาบาล 12 แห่ง และศูนย์สุขภาพ 32 แห่ง ดำเนินงานไม่ได้ โดยอาจมีโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพต้องงดให้บริการเพิ่มขึ้น เพราะการโจมตีและขาดแคลนเชื้อเพลิง
ซินหัวระบุว่า กลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอลอย่างฉับพลันเมื่อวันที่ 7 ต.ค. โดยมีการยิงจรวดหลายพันลูกและส่งกองกำลังเข้าสู่ดินแดนอิสราเอล ทำให้อิสราเอลตอบโต้ด้วยการโจมตีทางอากาศและมาตรการลงโทษขนานใหญ่ ซึ่งรวมถึงการปิดล้อมฉนวนกาซาด้วยการตัดน้ำ ไฟ เชื้อเพลิง และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ความขัดแย้งอิสราเอล-กลุ่มฮามาส ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาเสียชีวิตเกือบ 5,800 ราย และประชาชนในอิสราเอลเสียชีวิตมากกว่า 1,400 ราย.-สำนักข่าวไทย
ไอเอ็มเอฟชี้สงครามอิสราเอล-ฮามาส กระทบเศรษฐกิจในภูมิภาคแล้ว
https://tna.mcot.net/world-1261497
ริยาด 25 ต.ค.- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ระบุว่า สงครามอิสราเอลและฮามาสที่ดำเนินมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม ได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านเสียหายแล้ว
นาง
คริสตาลินา จอร์เจียวา กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ กล่าวต่อเวทีความริเริ่มการลงทุนในอนาคต (Future Investment Initiative) ครั้งที่ 7 ที่กรุงริยาดของซาอุดีอาระเบีย หรือที่มักถูกเรียกว่า การประชุมดาวอสในทะเลทราย ในวันนี้ว่า หากมองดูประเทศเพื่อนบ้านอย่างอียิปต์ เลบานอน และจอร์แดน จะเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน เห็นความกระวนกระวายใจเพิ่มขึ้นในโลกที่กังวลใจอยู่แล้ว และสำหรับประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยว ความไม่แน่นอนคือสิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวไม่กล้าเข้าไปท่องเที่ยว นักลงทุนไม่อยากเข้าไปลงทุน เพราะค่าประกันสินค้าจะสูงขึ้น ส่วนประเทศที่รับผู้ลี้ภัยมากอยู่แล้วก็เสี่ยงจะต้องรับเพิ่มขึ้น.-สำนักข่าวไทย
พิธา สัมภาษณ์สื่อนอก เดินหน้าสร้างปชต.ที่แท้จริงในไทย จ่อเดินสายขอบคุณคนไทยในสหรัฐ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4250579
พิธา สัมภาษณ์สื่อนอก ยก 3Ds เดินหน้าสร้าง ปชต.ที่แท้จริงในไทย จ่อเดินสายขอบคุณคนไทยในสหรัฐ-บรรยาย ม.ฮาร์วาร์ด-พูดคุยนักเรียนไทยในบอสตัน
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม เวลา 18.30 น. (เวลาท้องถิ่น) หรือ 05.30 น. เวลาประเทศไทย นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เข้าร่วมงานกาลาดินเนอร์ TIME 100 Next ประจำปี 2023 ในโอกาสที่ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 100 ผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลง ผู้ทรงอิทธิพลแห่งอนาคต
นาย
พิธากล่าวถึงมุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับเหตุผลที่นิตยสารไทม์ จัดอันดับเข้า 100 รายชื่ออันทรงเกียรตินี้ให้กับตนเองตอนหนึ่งว่า น่าจะมาจากปรากฏการณ์การเลือกตั้งที่ผ่านมา ซึ่งพี่น้องชาวไทยทั้งในประเทศและทั่วโลก พากันออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งกันเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงความต้องการการเปลี่ยนแปลง แม้สุดท้ายพรรคก้าวไกลที่ได้รับชัยชนะ จะไม่ได้เป็นรัฐบาลตามเจตจำนงของคนส่วนใหญ่ที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งก็ตาม
นอกจากนี้ นาย
พิธายังได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศว่า ตอนนี้พยายามดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ผ่าน 3Ds : การทลายทุนผูกขาด การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และการลดอำนาจและบทบาทของกองทัพในการเมือง นอกจากนี้ ยังได้ตอบคำถามในประเด็นเกี่ยวบทบาทของตนว่าในฐานะนักการเมืองที่คนไทยให้การยอมรับและเชื่อมั่นว่า ตนจะเป็นตัวแทนในสามเรื่อง ได้แก่
1) ตัวแทนเป็นปากเสียงในนามของประชาชน
2) ผลักดันการผ่านกฎหมายก้าวหน้า
และ 3) ตรวจสอบดุลอำนาจของรัฐบาล
โดยนาย
พิธามีกำหนดเดินทางไปวัดพุทธไทยถาวรวนาราม เพื่อเคารพสักการะไหว้พระและพบปะพูดคุยกับคนไทยที่วัดพุทธไทยถาวรวนาราม ณ กรุงนิวยอร์ก ในวันพุธที่ 25 ตุลาคม เวลา 13.00-14.00 น. จากนั้นจะเดินทางไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในหัวข้อ Moving Forward: Thailand, ASEAN & Beyond (ภาษาอังกฤษ) ในวันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป และร่วมวงพูดคุยเป็นกันเอง Fireside Chat with Pita Limjaroenrat ในฐานะศิษย์เก่า MIT โดยเน้นพบปะพูดคุยภาษาไทยกับบรรดานักศึกษาไทยที่อยู่ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์และพื้นที่ใกล้เคียง ในวันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม เวลา 10.00-12.00 น.
จาตุรนต์ แนะสภา แก้กม.ก่อนทำประชามติ ด้านไอติม แจงชัด แก้หมวด 1-2 ห้ามขัด ม.255
https://www.matichon.co.th/politics/news_4249992
จาตุรนต์ แนะแก้กม. ก่อนทำประชามติ ด้านไอติม แจงชัดแก้หมวด 1-2 ห้ามขัด ม.255 ที่สุด สภาฯ มีมติคว่ำร่าง ‘ก้าวไกล’ 262 ต่อ 162
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นาย
พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นผู้เสนอ โดยมีส.ส.ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านสลับกันลุกขึ้นอภิปรายอย่างกว้างขวาง
จากนั้น เวลา 14.50 น. นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค พท. อภิปรายว่า ในการประชุมส.ส.พรรค พท. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา มีมติให้ส่งเสริมให้พิจารณาญัตติดังกล่าวในสภาฯ เพราะมีความสำคัญและสภาฯ ไม่จำเป็นต้องขัดขวาง หรือทำให้ญัตติดังกล่าว ไม่ได้รับการพิจารณา เพราะการแก้รัฐธรรมนูญ ต้องการความร่วมมือของทุกฝ่าย หากไม่มีฝ่ายค้านสนับสนุนอาจไม่สำเร็จ
ทั้งนี้ การทำประชามติตามที่เสนอญัตติดังกล่าวเป็นความเข้าใจร่วมกัน เพราะเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หากยกร่างใหม่ต้องทำประชามติ ปัญหาต้องพิจารณาคือ การตีความไม่ตรงกัน เรื่องทำประชามติ ในขั้นตอนใด หรือกี่ขั้นตอน หรือกี่ครั้ง
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นที่เสนอให้ทำประชามตินั้น มีคำถามที่เกิดขึ้นคือ จะมีต่อการแก้รัฐธรรมนูญจริงหรือไม่ เพราะการแก้รัฐธรรมนูญต้องมีเจ้าของเรื่องคือรัฐสภา หากรัฐสภาไม่มีมติ การแสดงความต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ การทำประชามติจะมีผลได้อย่างไร ซึ่งกระบวนการทำประชามติตามกฎหมาย คือทำประชามติที่ใช้กติกาแตกต่างจากรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ที่ใช้เสียงข้างมากเท่านั้น แต่ปัจจุบันมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติให้ถือเกณฑ์ผ่านคือ การออกเสียงต้องมีผู้มาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ คือ ต้องมีคนมาลงคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์
“
การทำประชามติด้วยกติกาดังกล่าว ทำให้รัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามติได้ยาก ทำให้ผู้ที่มีสิทธิไม่ออกมาใช้สิทธิเพื่อไม่ให้จำนวนผู้มาใช้สิทธิถึงจำนวนกึ่งหนึ่ง เท่ากับการทำประชามติจะไม่ผ่าน ดังนั้น ผมเห็นว่าหากไม่แก้กฎหมายประชามติก่อนเป็นความเสี่ยงอย่างสูงให้ประชามติไม่ผ่าน เนื่องจากกติกาพิศดารไปกว่ารัฐธรรมนูญ 50 และรัฐธรรมนูญ 60 และมีปัญหาในกระบวนการและความสำเร็จในการจัดทำรัฐธรรมนูญ และกลายเป็นข้ออ้างของคนที่ไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ เท่ากับปิดโอกาสแก้ไขรัฐธรรมนูญ” นาย
จาตุรนต์ กล่าว
จากนั้น เวลา 15.00 น. นาย
พริษฐ์ อภิปรายสรุปว่า ขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่อภิปรายแสดงความคิดเห็น หลังจากที่ได้ฟังคำอภิปรายมา ตนอยู่ในสภาวะที่สบายใจครึ่งหนึ่ง เพราะได้รับคำยืนยันจากตัวแทนพรรคการเมือง ที่จะเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย
แต่ทั้งนี้ ตนมี 2 ประเด็นที่ต้องชี้แจงคือ ในส่วนของคำถามในการทำประชามตินั้น เพราะในข้อบังคับกำหนดไว้ว่า หากจำเสนอเป็นญัตติจำเป็นต้องกำหนดคำถาม ตนทำไปตามข้อบังคับไม่สามารถเสนอญัตติตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติมาตรา 9(4) ได้หากไม่เสนอคำถาม และการตีความว่า หากมีการเสนอญัตติให้เดินหน้าทำประชามติผ่านกลไกของพ.ร.บ.ประชามติมาตรา 9(4) แล้วหากส.ส.และส.ว. ให้ความเห็นชอบแล้วส่งไปที่ ครม.จะมีดุลพินิจในการตัดสินใจหรือไม่ว่าจะอนุมัติหรือไม่
หากเปรียบเทียบกับ พ.ร.บ.ประชามติ พ.ศ.2564 มาตรา 9(4) อย่างละเอียดจะเห็นว่า ไม่ได้เปิดให้ครม.มีดุลพินิจในการตัดสินใจว่า จะอนุมัติฉันทามติที่ได้รับจากสองสภาฯ หรือไม่ แต่หากเปรียบเทียบกับมาตรา 9(5) จะเห็นความแตกต่างที่มีนัยยะสำคัญจะเป็นการแจ้งให้ครม.ดำเนินการไม่มีส่วนไหนขอให้ครม.อนุมัติ
นาย
พริษฐ์ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อกังวลในการแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 นั้น ขอชี้แจงว่า สาระสำคัญของญัตตินี้ ไม่ได้เป็นข้อเสนอของพรรค ก.ก.ว่า จะต้องแก้ไขข้อความใดๆ ในหมวด 1 และหมวด 2 แต่เป็นเพียงการบอกว่า หากจะมีการแก้ไขมาตราใดๆ ควรจะให้ ส.ส.ร.ไปถกกันว่า จะแก้ไขเรื่องอะไร แม้เราให้อำนาจให้ส.ส.ร.แล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่สบายก็ตาม เพราะหากไปพิจารณาแล้วอาจจะมีการแก้ไขข้อความบางส่วนในหมวด 1 และหมวด 2 หากเป็นเช่นนั้น
ต้องเรียนว่า การแก้ไขดังกล่าวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะแม้จะมีการแก้ดังกล่าวแต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐตามมาตรา 255 ท่านไม่ต้องกังวล รวมถึงข้อความในหมวด 1 และหมวด 2 มีการแก้ไขมาโดยตลอด นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดไว้ว่า จะหากผ่าน 3 วาระแล้วต้องมีการทำประชามติ
นาย
พริษฐ์ กล่าวอีกว่า พรรค ก.ก. ไม่กังวลว่าคณะกรรมการศึกษาประชามติของรัฐบาลจะใช้เวลาเท่าไร แต่กังวลว่า จะมีความเห็นต่างหรือเหมือนกับคำถามประชามติที่พรรค ก.ก.เสนออย่างไร ทั้งนี้ กรณีที่พบว่า มีการปรับเปลี่ยนกรรมการ เพราะไม่ให้ ส.ส.เข้าไปเป็นกรรมการศึกษา ดังนั้น หากจะให้ ส.ส.พรรค ก.ก.แสดงความเห็นต่อรัฐบาล จำเป็นต้องใช้เวทีสภาฯ และถือเป็นการใช้เวทีทางแจ้งที่จะดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ส.ส.อภิปรายครบถ้วน และรวมเวลาพิจารณากว่า 4 ชั่วโมง สภาฯ ได้ลงมติผลปรากฎว่า เสียงข้างมาก 262 เสียงไม่เห็นชอบ ต่อ 162 เสียง และงดออกเสียง 6 เสียง ถือว่าญัตติดังกล่าวไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ
JJNY : 5in1 กาซาสาธารณสุขพังหมดแล้ว│สงครามกระทบศก.ภูมิภาคแล้ว│พิธาสัมภาษณ์สื่อนอก│จาตุรนต์แนะสภา│ดับฝันแจกเงินดิจิทัล
https://tna.mcot.net/world-1261546
กาซา 25 ต.ค. – โฆษกกระทรวงสาธารณสุขในฉนวนกาซา เปิดเผยว่า ระบบสาธารณสุขในฉนวนกาซา “พังทลายลงทั้งหมด” เพราะไฟฟ้าดับและขาดแคลนเชื้อเพลิงสำหรับเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าในโรงพยาบาล
สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนรายงานว่า นายอาชราฟ อัลกอดรา โฆษกกระทรวงสาธารณสุขในฉนวนกาซา แถลงข่าวว่า การโจมตีจากอิสราเอลทำให้บุคลากรทางการแพทย์เสียชีวิต 65 ราย รถพยาบาลเสียหาย 25 คัน โรงพยาบาล 12 แห่ง และศูนย์สุขภาพ 32 แห่ง ดำเนินงานไม่ได้ โดยอาจมีโรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพต้องงดให้บริการเพิ่มขึ้น เพราะการโจมตีและขาดแคลนเชื้อเพลิง
ซินหัวระบุว่า กลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอลอย่างฉับพลันเมื่อวันที่ 7 ต.ค. โดยมีการยิงจรวดหลายพันลูกและส่งกองกำลังเข้าสู่ดินแดนอิสราเอล ทำให้อิสราเอลตอบโต้ด้วยการโจมตีทางอากาศและมาตรการลงโทษขนานใหญ่ ซึ่งรวมถึงการปิดล้อมฉนวนกาซาด้วยการตัดน้ำ ไฟ เชื้อเพลิง และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ความขัดแย้งอิสราเอล-กลุ่มฮามาส ส่งผลให้ชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซาเสียชีวิตเกือบ 5,800 ราย และประชาชนในอิสราเอลเสียชีวิตมากกว่า 1,400 ราย.-สำนักข่าวไทย
ไอเอ็มเอฟชี้สงครามอิสราเอล-ฮามาส กระทบเศรษฐกิจในภูมิภาคแล้ว
https://tna.mcot.net/world-1261497
ริยาด 25 ต.ค.- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ (IMF) ระบุว่า สงครามอิสราเอลและฮามาสที่ดำเนินมาตั้งแต่วันที่ 7 ตุลาคม ได้ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านเสียหายแล้ว
นางคริสตาลินา จอร์เจียวา กรรมการผู้จัดการไอเอ็มเอฟ กล่าวต่อเวทีความริเริ่มการลงทุนในอนาคต (Future Investment Initiative) ครั้งที่ 7 ที่กรุงริยาดของซาอุดีอาระเบีย หรือที่มักถูกเรียกว่า การประชุมดาวอสในทะเลทราย ในวันนี้ว่า หากมองดูประเทศเพื่อนบ้านอย่างอียิปต์ เลบานอน และจอร์แดน จะเห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้วอย่างชัดเจน เห็นความกระวนกระวายใจเพิ่มขึ้นในโลกที่กังวลใจอยู่แล้ว และสำหรับประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยว ความไม่แน่นอนคือสิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวไม่กล้าเข้าไปท่องเที่ยว นักลงทุนไม่อยากเข้าไปลงทุน เพราะค่าประกันสินค้าจะสูงขึ้น ส่วนประเทศที่รับผู้ลี้ภัยมากอยู่แล้วก็เสี่ยงจะต้องรับเพิ่มขึ้น.-สำนักข่าวไทย
พิธา สัมภาษณ์สื่อนอก เดินหน้าสร้างปชต.ที่แท้จริงในไทย จ่อเดินสายขอบคุณคนไทยในสหรัฐ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4250579
พิธา สัมภาษณ์สื่อนอก ยก 3Ds เดินหน้าสร้าง ปชต.ที่แท้จริงในไทย จ่อเดินสายขอบคุณคนไทยในสหรัฐ-บรรยาย ม.ฮาร์วาร์ด-พูดคุยนักเรียนไทยในบอสตัน
เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม เวลา 18.30 น. (เวลาท้องถิ่น) หรือ 05.30 น. เวลาประเทศไทย นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เข้าร่วมงานกาลาดินเนอร์ TIME 100 Next ประจำปี 2023 ในโอกาสที่ได้รับเลือกเป็น 1 ใน 100 ผู้นำสร้างการเปลี่ยนแปลง ผู้ทรงอิทธิพลแห่งอนาคต
นายพิธากล่าวถึงมุมมองส่วนตัวเกี่ยวกับเหตุผลที่นิตยสารไทม์ จัดอันดับเข้า 100 รายชื่ออันทรงเกียรตินี้ให้กับตนเองตอนหนึ่งว่า น่าจะมาจากปรากฏการณ์การเลือกตั้งที่ผ่านมา ซึ่งพี่น้องชาวไทยทั้งในประเทศและทั่วโลก พากันออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งกันเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงความต้องการการเปลี่ยนแปลง แม้สุดท้ายพรรคก้าวไกลที่ได้รับชัยชนะ จะไม่ได้เป็นรัฐบาลตามเจตจำนงของคนส่วนใหญ่ที่ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งก็ตาม
นอกจากนี้ นายพิธายังได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศว่า ตอนนี้พยายามดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่องเพื่อที่จะให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ผ่าน 3Ds : การทลายทุนผูกขาด การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น และการลดอำนาจและบทบาทของกองทัพในการเมือง นอกจากนี้ ยังได้ตอบคำถามในประเด็นเกี่ยวบทบาทของตนว่าในฐานะนักการเมืองที่คนไทยให้การยอมรับและเชื่อมั่นว่า ตนจะเป็นตัวแทนในสามเรื่อง ได้แก่
1) ตัวแทนเป็นปากเสียงในนามของประชาชน
2) ผลักดันการผ่านกฎหมายก้าวหน้า
และ 3) ตรวจสอบดุลอำนาจของรัฐบาล
โดยนายพิธามีกำหนดเดินทางไปวัดพุทธไทยถาวรวนาราม เพื่อเคารพสักการะไหว้พระและพบปะพูดคุยกับคนไทยที่วัดพุทธไทยถาวรวนาราม ณ กรุงนิวยอร์ก ในวันพุธที่ 25 ตุลาคม เวลา 13.00-14.00 น. จากนั้นจะเดินทางไปบรรยายที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในหัวข้อ Moving Forward: Thailand, ASEAN & Beyond (ภาษาอังกฤษ) ในวันพฤหัสบดีที่ 26 ตุลาคม เวลา 14.00 น. เป็นต้นไป และร่วมวงพูดคุยเป็นกันเอง Fireside Chat with Pita Limjaroenrat ในฐานะศิษย์เก่า MIT โดยเน้นพบปะพูดคุยภาษาไทยกับบรรดานักศึกษาไทยที่อยู่ในเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์และพื้นที่ใกล้เคียง ในวันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม เวลา 10.00-12.00 น.
จาตุรนต์ แนะสภา แก้กม.ก่อนทำประชามติ ด้านไอติม แจงชัด แก้หมวด 1-2 ห้ามขัด ม.255
https://www.matichon.co.th/politics/news_4249992
จาตุรนต์ แนะแก้กม. ก่อนทำประชามติ ด้านไอติม แจงชัดแก้หมวด 1-2 ห้ามขัด ม.255 ที่สุด สภาฯ มีมติคว่ำร่าง ‘ก้าวไกล’ 262 ต่อ 162
เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มี นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณาญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเห็นชอบ และแจ้งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ดำเนินการให้มีการออกเสียงประชามติ เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนต่อการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ นายพริษฐ์ วัชรสินธุ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นผู้เสนอ โดยมีส.ส.ทั้งฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านสลับกันลุกขึ้นอภิปรายอย่างกว้างขวาง
จากนั้น เวลา 14.50 น. นายจาตุรนต์ ฉายแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค พท. อภิปรายว่า ในการประชุมส.ส.พรรค พท. เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา มีมติให้ส่งเสริมให้พิจารณาญัตติดังกล่าวในสภาฯ เพราะมีความสำคัญและสภาฯ ไม่จำเป็นต้องขัดขวาง หรือทำให้ญัตติดังกล่าว ไม่ได้รับการพิจารณา เพราะการแก้รัฐธรรมนูญ ต้องการความร่วมมือของทุกฝ่าย หากไม่มีฝ่ายค้านสนับสนุนอาจไม่สำเร็จ
ทั้งนี้ การทำประชามติตามที่เสนอญัตติดังกล่าวเป็นความเข้าใจร่วมกัน เพราะเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ หากยกร่างใหม่ต้องทำประชามติ ปัญหาต้องพิจารณาคือ การตีความไม่ตรงกัน เรื่องทำประชามติ ในขั้นตอนใด หรือกี่ขั้นตอน หรือกี่ครั้ง
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นที่เสนอให้ทำประชามตินั้น มีคำถามที่เกิดขึ้นคือ จะมีต่อการแก้รัฐธรรมนูญจริงหรือไม่ เพราะการแก้รัฐธรรมนูญต้องมีเจ้าของเรื่องคือรัฐสภา หากรัฐสภาไม่มีมติ การแสดงความต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ การทำประชามติจะมีผลได้อย่างไร ซึ่งกระบวนการทำประชามติตามกฎหมาย คือทำประชามติที่ใช้กติกาแตกต่างจากรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ที่ใช้เสียงข้างมากเท่านั้น แต่ปัจจุบันมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติให้ถือเกณฑ์ผ่านคือ การออกเสียงต้องมีผู้มาใช้สิทธิเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงและมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ คือ ต้องมีคนมาลงคะแนนเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์
“การทำประชามติด้วยกติกาดังกล่าว ทำให้รัฐธรรมนูญผ่านการทำประชามติได้ยาก ทำให้ผู้ที่มีสิทธิไม่ออกมาใช้สิทธิเพื่อไม่ให้จำนวนผู้มาใช้สิทธิถึงจำนวนกึ่งหนึ่ง เท่ากับการทำประชามติจะไม่ผ่าน ดังนั้น ผมเห็นว่าหากไม่แก้กฎหมายประชามติก่อนเป็นความเสี่ยงอย่างสูงให้ประชามติไม่ผ่าน เนื่องจากกติกาพิศดารไปกว่ารัฐธรรมนูญ 50 และรัฐธรรมนูญ 60 และมีปัญหาในกระบวนการและความสำเร็จในการจัดทำรัฐธรรมนูญ และกลายเป็นข้ออ้างของคนที่ไม่ต้องการแก้รัฐธรรมนูญ เท่ากับปิดโอกาสแก้ไขรัฐธรรมนูญ” นายจาตุรนต์ กล่าว
จากนั้น เวลา 15.00 น. นายพริษฐ์ อภิปรายสรุปว่า ขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่อภิปรายแสดงความคิดเห็น หลังจากที่ได้ฟังคำอภิปรายมา ตนอยู่ในสภาวะที่สบายใจครึ่งหนึ่ง เพราะได้รับคำยืนยันจากตัวแทนพรรคการเมือง ที่จะเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย
แต่ทั้งนี้ ตนมี 2 ประเด็นที่ต้องชี้แจงคือ ในส่วนของคำถามในการทำประชามตินั้น เพราะในข้อบังคับกำหนดไว้ว่า หากจำเสนอเป็นญัตติจำเป็นต้องกำหนดคำถาม ตนทำไปตามข้อบังคับไม่สามารถเสนอญัตติตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประชามติมาตรา 9(4) ได้หากไม่เสนอคำถาม และการตีความว่า หากมีการเสนอญัตติให้เดินหน้าทำประชามติผ่านกลไกของพ.ร.บ.ประชามติมาตรา 9(4) แล้วหากส.ส.และส.ว. ให้ความเห็นชอบแล้วส่งไปที่ ครม.จะมีดุลพินิจในการตัดสินใจหรือไม่ว่าจะอนุมัติหรือไม่
หากเปรียบเทียบกับ พ.ร.บ.ประชามติ พ.ศ.2564 มาตรา 9(4) อย่างละเอียดจะเห็นว่า ไม่ได้เปิดให้ครม.มีดุลพินิจในการตัดสินใจว่า จะอนุมัติฉันทามติที่ได้รับจากสองสภาฯ หรือไม่ แต่หากเปรียบเทียบกับมาตรา 9(5) จะเห็นความแตกต่างที่มีนัยยะสำคัญจะเป็นการแจ้งให้ครม.ดำเนินการไม่มีส่วนไหนขอให้ครม.อนุมัติ
นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า สำหรับข้อกังวลในการแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2 นั้น ขอชี้แจงว่า สาระสำคัญของญัตตินี้ ไม่ได้เป็นข้อเสนอของพรรค ก.ก.ว่า จะต้องแก้ไขข้อความใดๆ ในหมวด 1 และหมวด 2 แต่เป็นเพียงการบอกว่า หากจะมีการแก้ไขมาตราใดๆ ควรจะให้ ส.ส.ร.ไปถกกันว่า จะแก้ไขเรื่องอะไร แม้เราให้อำนาจให้ส.ส.ร.แล้ว แต่หลายคนอาจจะยังไม่สบายก็ตาม เพราะหากไปพิจารณาแล้วอาจจะมีการแก้ไขข้อความบางส่วนในหมวด 1 และหมวด 2 หากเป็นเช่นนั้น
ต้องเรียนว่า การแก้ไขดังกล่าวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด เพราะแม้จะมีการแก้ดังกล่าวแต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐตามมาตรา 255 ท่านไม่ต้องกังวล รวมถึงข้อความในหมวด 1 และหมวด 2 มีการแก้ไขมาโดยตลอด นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดไว้ว่า จะหากผ่าน 3 วาระแล้วต้องมีการทำประชามติ
นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่า พรรค ก.ก. ไม่กังวลว่าคณะกรรมการศึกษาประชามติของรัฐบาลจะใช้เวลาเท่าไร แต่กังวลว่า จะมีความเห็นต่างหรือเหมือนกับคำถามประชามติที่พรรค ก.ก.เสนออย่างไร ทั้งนี้ กรณีที่พบว่า มีการปรับเปลี่ยนกรรมการ เพราะไม่ให้ ส.ส.เข้าไปเป็นกรรมการศึกษา ดังนั้น หากจะให้ ส.ส.พรรค ก.ก.แสดงความเห็นต่อรัฐบาล จำเป็นต้องใช้เวทีสภาฯ และถือเป็นการใช้เวทีทางแจ้งที่จะดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ส.ส.อภิปรายครบถ้วน และรวมเวลาพิจารณากว่า 4 ชั่วโมง สภาฯ ได้ลงมติผลปรากฎว่า เสียงข้างมาก 262 เสียงไม่เห็นชอบ ต่อ 162 เสียง และงดออกเสียง 6 เสียง ถือว่าญัตติดังกล่าวไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาฯ