นายทหารอเมริกันเตือนสงครามกาซายิ่งนานยิ่งไม่ดี
https://tna.mcot.net/world-1270585
วอชิงตัน 10 พ.ย.- ประธานคณะเสนาธิการร่วมของสหรัฐเตือนว่า ปฏิบัติการของอิสราเอลในฉนวนกาซาที่ยืดเยื้อจะยิ่งผลักดันให้พลเรือนกลายเป็นผู้ก่อการร้าย
เว็บไซต์ไทมส์ออฟอิสราเอลรายงานว่า พล.อ.
ชาร์ลส์ ควินตัน บราวน์ จูเนียร์ แสดงความเห็นเรื่องสงครามในกาซาเป็นครั้งแรก นับจากรับตำแหน่งประธานคณะเสนาธิการร่วมของสหรัฐเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมว่า อิสราเอลจะกำจัดกลุ่มฮามาสได้ยากขึ้น หากปฏิบัติการทางทหารในฉนวนกาซายืดเยื้อ และมีพลเรือนถูกสังหารเพิ่มมากขึ้น และเมื่อถูกถามว่า เขากังวลว่าการมีพลเรือนเสียชีวิตมากขึ้นจะผลักดันให้ชาวปาเลสไตน์กลายเป็นผู้ก่อการร้ายใช่หรือไม่ พล.อ.
บราวน์ตอบว่า ใช่ และเป็นเรื่องที่จะต้องให้ความสนใจ เขามองว่า เป้าหมายของอิสราเอลที่จะกำจัดกลุ่มฮามาสให้สิ้นซากเป็นงานค่อนข้างยาก แต่หากมุ่งกำจัดเฉพาะแกนนำอาจทำได้รวดเร็วกว่า
ไทมส์ออฟอิสราเอลอ้างเจ้าหน้าที่อาวุโสอิสราเอลนายหนึ่งว่า หากกองกำลังป้องกันอิสราเอลหรือไอดีเอฟ (IDF) ถูกบีบให้ต้องทำงานเร็วขึ้น ก็จะมีเวลาน้อยลงในการดำเนินปฏิบัติการให้เฉียบคมแม่นยำเพื่อลดผลกระทบต่อพลเรือน ไทมส์ออฟอิสราเอลยังได้อ้างรายงานของนิวยอร์กไทมส์ว่า นายทหารสหรัฐกดดันให้อิสราเอลใช้ปฏิบัติการโจมตีในกาซาที่แม่นยำและวางแผนอย่างดี โดยขอให้อิสราเอลใช้ระเบิดนำวิถีด้วยดาวเทียมขนาด 250 ปอนด์ มากกว่าการระดมถล่มด้วยระเบิดขนาด 1,000-2,000 ปอนด์.-สำนักข่าวไทย
ลาวมีคนไปเที่ยวเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า
https://tna.mcot.net/world-1270569
เวียงจันทน์ 10 พ.ย.- ทางการลาวเผยว่า ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 มีชาวต่างชาติไปเยือนมากกว่า 2.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 285 จากช่วงเดียวกันในปี 2565
สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนอ้างรายงานฉบับล่าสุดของกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของลาวว่า นักท่องเที่ยวมาจากกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) มากที่สุดคือ มากกว่า 1.6 ล้านคน ตามด้วยนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 636,687 คน นักท่องเที่ยวจากยุโรป 142,845 คน และนักท่องเที่ยวจากสหรัฐ 54,686 คน
ซินหัวมองว่า ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนว่าคนเดินทางมายังลาวมากขึ้น เนื่องจากการเดินทางขาเข้า-ขาออก และการเดินทางทั่วลาวมีความสะดวกสบายมากขึ้น ด้วยการใช้ทางหลวงและทางรถไฟจีน-ลาวที่ทอดยาวผ่านแขวงหลวงพระบางและอุดมไซทางตอนเหนือของลาว ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง
รัฐบาลลาวและธุรกิจท้องถิ่นร่วมมือกันส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเข้าถึงนักท่องเที่ยวให้กว้างขวางขึ้น ผ่านการเข้าร่วมนิทรรศการระหว่างประเทศ งานมหกรรมการท่องเที่ยวอาเซียน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ รัฐบาลหวังว่า ปีหน้าซึ่งจะเป็นปีแห่งการท่องเที่ยวลาว 2024 (Visit Laos Year 2024) จะมีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศมาเยือนอย่างน้อย 4.6 ล้านคน สร้างรายได้ 712 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 25,535 ล้านบาท).-สำนักข่าวไทย
‘พริษฐ์’ ชี้ผลงานรบ. 60 วัน ยังพิสูจน์ยาก ต้อง 6 เดือนขึ้นไป จับตา 5 โจทย์ใหญ่ การเมือง-ศก.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4276290
‘พริษฐ์’ ชี้ผลงาน รบ. 60 วัน ยังพิสูจน์ยาก ต้อง 6 เดือนขึ้นไป จับตา 5 โจทย์ใหญ่ การเมือง-ศก.
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน นายพริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงการแถลงผลงานในรอบ 60 วัน ของรัฐบาล
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ว่า เมื่อคืนนี้ (9 พ.ย.) นายกฯ
เศรษฐา ทวีสิน มีการแถลงผลงานรัฐบาลในช่วง 60 วันแรก เป็นการสรุปสิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการตั้งแต่ตั้งรัฐบาลเสร็จ แม้ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลได้ออกหลายมาตรการลักษณะ “
quick wins” ที่หวังผลระยะสั้นทันที แต่ในภาพรวม เรายังคงไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าผลงานของรัฐบาลในห้วง 60 วันที่ผ่านมา จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงอย่าง “
เป็นระบบ” และอย่าง “
ยั่งยืน” ตามที่ประชาชนคาดหวังได้จริงหรือไม่ ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะทำไม่ได้หรือไม่พยายามทำ เพียงแต่ว่า 60 วัน ที่ผ่านมาอาจยังพิสูจน์อะไรได้ยาก เนื่องจากบทพิสูจน์ที่แท้จริง น่าจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า (ธ.ค.66-พ.ค.67) ที่ตนอยากชวนประชาชนทุกคนร่วมกันจับตามอง
นาย
พริษฐ์กล่าวว่า
(1) มาตรการ “
quick wins” ของรัฐบาล ที่เป็นการลดค่าครองชีพ จะถูกพิสูจน์ว่ามีความยั่งยืนหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น “
ค่าไฟ” ที่ลดไปได้ด้วยการยืดหนี้ กฟผ. มีความเสี่ยงจะเด้งกลับขึ้นมาหากไม่มีปรับโครงสร้างราคา-ตลาด หรือ “
ค่าน้ำมัน” ที่ลดไปได้ด้วยการลดภาษีสรรพสามิต จะเจอแรงกดดันหลายทางจากรายได้รัฐที่หายไปและราคาน้ำมันที่อยู่ในขาขึ้น หรือ “ค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” ที่ทำสำเร็จในสายสีม่วงกับสีแดง จะถูกพิสูจน์ว่าสามารถขยายไปสู่สายที่มีผู้โดยสารใช้เยอะที่สุด (เช่น สายสีเขียว) ได้หรือไม่
(2) นโยบายเรือธงที่เดิมพันสูงอย่าง “
เงินดิจิทัล 10,000 บาท” จะเริ่มดำเนินการและเริ่มเห็นผลลัพธ์เบื้องต้น รายละเอียดทั้งหมดของโครงการจะถูกเคาะ เช่น เงื่อนไขการใช้จ่ายของประชาชน เงื่อนไขการแปลงเป็นเงินสดของร้านค้า เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่จะใช้ โดยหลายส่วนน่าจะรวมอยู่ในแถลงบ่ายวันนี้ ซึ่งจะทำให้การประเมินข้อดี-ข้อเสียนโยบาย ทำได้บนข้อมูลที่ครบถ้วน ในส่วนของประโยชน์ (benefits) หากเริ่มแจกได้จริงในไตรมาส 1 ของปี 2567 ตามที่เคยสัญญา เราจะเริ่มเห็นถึงผลกระทบเบื้องต้นต่อการใช้จ่ายและการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ขณะที่ในส่วนของต้นทุน (costs) หากยังเป็นการให้ประชาชนทุกคน 10,000 บาท ตามที่เคยสัญญา เราจะเห็นว่างบประมาณ 560,000 ล้านบาทที่ต้องใช้ จะมาจากช่องทางไหน และแลกมาด้วยอะไร เช่น การปรับลดงบส่วนอื่น รวมถึงผลกระทบต่อวินัยการเงินการคลัง
(3) นโยบายหลักด้านการเมือง จะเจอ “
เส้นตาย” (deadline) ที่ทำให้เห็นการตัดสินใจของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น เรื่องรัฐธรรมนูญ ภายใน ม.ค.67 รัฐบาลจะต้องมีข้อสรุปจากคณะกรรมการศึกษาแนวทางประชามติ ว่าจะเดินหน้าต่อเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างไร ประชามติครั้งแรกจะเกิดขึ้นหรือไม่ ด้วยคำถามแบบไหน และรัฐบาลคาดว่าประเทศจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายในเมื่อไร ส่วนเรื่องเกณฑ์ทหาร ภายใน เม.ย.67 เราจะเห็นว่าประเทศจะยังมีเยาวชนกี่คนที่ถูกบังคับไปเป็นทหารโดยที่ไม่อยากเป็น ซึ่งจะแปรผันตามเจตจำนงของรัฐบาลในการลดหรือเลิกการเกณฑ์ทหาร (4) กฎหมายกว่า 30 ฉบับที่พรรค ก.ก. เสนอ จะเรียงกันเข้าสภา มาเป็น “
คลื่น” ที่ทำให้รัฐบาลต้องตัดสินใจว่าจะมีจุดยืนอย่างไรในหลายประเด็นที่รัฐบาลยังไม่แสดงออก เช่น จะเห็นด้วยกับร่างของก้าวไกล หรือจะเสนอร่างของ ครม.เอง ที่แตกต่างออกไปในรายละเอียด หรือจะไม่เห็นด้วยทั้งหมด
นาย
พริษฐ์กล่าวต่อว่า ยกตัวอย่าง เมื่อร่างกฎหมายของ ก.ก. เข้าสภา ไม่ว่าจะเป็น ร่าง พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนกระจายอำนาจ ร่าง พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินรวมแปลง ร่าง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบราชการกลาโหม เราจะเห็นทิศทางและจุดยืนของรัฐบาลที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องต่างๆ ทั้งการกระจายอำนาจ การป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจ การปฏิรูประบบภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างรัฐที่โปร่งใสและการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น การปฏิรูปกองทัพให้อยู่ใต้รัฐบาลพลเรือน (5) ปฏิทินการเมืองจะมีหมุดหมายสำคัญหลายเหตุการณ์ ที่เป็นบทพิสูจน์เสถียรภาพและความเป็นเอกภาพระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล ได้แก่ เหตุการณ์แรก การพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณ 2567 ในสภา ช่วง ม.ค.-เม.ย.67 จะเป็นบทพิสูจน์ว่างบประมาณจะถูกจัดสรรให้กับนโยบายของทุกพรรคร่วมรัฐบาล อย่างเป็นธรรมและเป็นที่น่าพึงพอใจของทุกพรรคหรือไม่ ภายใต้เงื่อนไขว่างบประมาณจำนวนมากต้องใช้ไปกับนโยบาย “
เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ของพรรคแกนนำ
นาย
พริษฐ์กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ที่สอง คือการเปิดอภิปรายทั่วไปโดยฝ่ายค้าน ไม่ว่าจะเป็น ตามมาตรา 152 ที่เป็นการซักถาม-เสนอแนะ หรือ ตามมาตรา 151 ที่มีการลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงก่อนปิดปีแรกของการประชุมสภา หรือ เม.ย.67 และจะเป็นครั้งแรกของรัฐบาลชุดนี้ และเหตุการณ์ที่สาม คือการหมดอายุลงของบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 ในเดือน พ.ค.67 รวมถึงอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ ตาม มาตรา 272 จะทำให้เงื่อนไขสำคัญที่พรรคแกนนำเคยอ้างว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องรวมตัวกับพรรคอื่นที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองหรือจุดยืนทางนโยบายที่แตกต่างกันในอดีต หายจากสมการ
ศิริกัญญา หวั่นไม่มีใครได้เงิน ดิจิทัลวอลเล็ต ชี้ออกพ.ร.บ.กู้ อาจขัดกฎหมาย-รธน.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7957314
ศิริกัญญา ชี้รัฐบาลรู้แก่ใจ ดิจิทัลวอลเล็ต ถึงทางตัน ชงออกพ.ร.บ.กู้เงิน หาทางลงมากกว่าทำจริง ระบุขัดทั้งรธน.-กม.วินัยการเงินฯ ยืมมือศาล-นักร้องล้มโครงการ เชื่อที่สุดไม่มีใครได้เงิน
เมื่อเวลา 14.55 น. วันที่ 10 พ.ย.2566 ที่รัฐสภา น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังนาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง แถลงรายละเอียดโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทว่า ขณะนี้ความชัดเจนเริ่มปรากฎแล้ว แต่เป็นความชัดเจนที่ไม่มีเรื่องแหล่งที่มาของเงิน ซึ่งนายกฯเลือกเส้นทางที่ยากที่สุด คือการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้าน เพื่อระดมทุนมาแจกในโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต
แม้วันนี้ หลักเกณฑ์จะพูดถึงคนที่รายได้ต่ำกว่า 7 หมื่นบาท แต่ท้ายที่สุดอาจไม่มีใครได้เงินจากโครงการนี้เลย เพราะเสี่ยงขัดต่อกฎหมาย ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 140 และขัดต่อพ.ร.บ.วินัยการเงิน การคลัง มาตรา 53 ที่ระบุว่า หากใช้เงินที่ไม่ได้เป็นไปตามงบประมาณปกติ จะทำได้กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น แต่วันนี้ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนอะไร
เราไม่ได้อยากกดดันให้มีการร้องเรียนไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แต่เราคิดว่านี่เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารอย่างแท้จริงที่ต้องแสดงความรับผิดชอบ โดยให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความให้เด็ดขาด ว่ารัฐบาลจะออกพ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ได้หรือไม่ โดยไม่ต้องไปถึงมือขององค์กรอิสระที่ไม่เป็นวิถีทางประชาธิปไตยสักเท่าไหร่
น.ส.
ศิริกัญญา กล่าวด้วยว่า ที่ต้องออกมาพูด เพราะการออกพ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท มีความสุ่มเสี่ยงจริงๆ เหมือนกับกรณีพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท อย่างชัดเจน ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตีตกว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ดังนั้น รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ ตนตั้งข้อสังเกตว่าการที่รัฐบาลเลือกทางนี้ เพราะไม่ต้องการให้โครงการนี้สำเร็จ แต่ต้องการให้เข้าทางนักร้องต่างๆ เพื่อหาทางลงให้สวยงามของโครงการที่มาถึงทางตันโดยสมบูรณ์แล้ว ตนไม่ได้เห็นด้วยกับการร้องศาลรัฐธรรมนูญเรื่องนี้ แต่ขอให้รัฐบาลได้แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองโดยการให้กฤษฎีกาตีความ
“
รัฐบาลเองน่าจะเห็นแล้วว่าไม่มีทางไปได้จริงๆ ทางเลือกนี้ เป็นการหาทางลงมากกว่าที่จะเดินหน้าโครงการนี้จริงๆ ถ้ากฤษฎีกาตีความเข้าข้างให้ผ่าน และสส. ในสภาก็ให้ผ่าน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ภาระหนี้ในแต่ละปีงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้นปีละ 5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 15% ของงบรายจ่ายประจำปี ซึ่งจะเป็นภาระงบประมาณอย่างใหญ่หลวง สิ่งที่รัฐบาลทำวันนี้จะทำภาระดอกเบี้ยเกิน 10% ในงบประมาณปี 68 ทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่ได้พูดถึงทั้งเรื่องภาระหนี้ และภาระดอกเบี้ย ความเสี่ยงนี้จะไม่เกิดขึ้นหากพ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท ถูกทำแท้งตั้งแต่ต้นโดยกฤษฎีกา” น.ส.
ศิริกัญญา กล่าว
JJNY : 5in1 เตือนสงครามกาซา│ลาวมีคนไปเที่ยวเพิ่ม│‘พริษฐ์’ จับตา 5โจทย์│ศิริกัญญาหวั่นไม่มีใครได้เงิน│หุ้นไทยปิดร่วง
https://tna.mcot.net/world-1270585
วอชิงตัน 10 พ.ย.- ประธานคณะเสนาธิการร่วมของสหรัฐเตือนว่า ปฏิบัติการของอิสราเอลในฉนวนกาซาที่ยืดเยื้อจะยิ่งผลักดันให้พลเรือนกลายเป็นผู้ก่อการร้าย
เว็บไซต์ไทมส์ออฟอิสราเอลรายงานว่า พล.อ.ชาร์ลส์ ควินตัน บราวน์ จูเนียร์ แสดงความเห็นเรื่องสงครามในกาซาเป็นครั้งแรก นับจากรับตำแหน่งประธานคณะเสนาธิการร่วมของสหรัฐเมื่อวันที่ 1 ตุลาคมว่า อิสราเอลจะกำจัดกลุ่มฮามาสได้ยากขึ้น หากปฏิบัติการทางทหารในฉนวนกาซายืดเยื้อ และมีพลเรือนถูกสังหารเพิ่มมากขึ้น และเมื่อถูกถามว่า เขากังวลว่าการมีพลเรือนเสียชีวิตมากขึ้นจะผลักดันให้ชาวปาเลสไตน์กลายเป็นผู้ก่อการร้ายใช่หรือไม่ พล.อ.บราวน์ตอบว่า ใช่ และเป็นเรื่องที่จะต้องให้ความสนใจ เขามองว่า เป้าหมายของอิสราเอลที่จะกำจัดกลุ่มฮามาสให้สิ้นซากเป็นงานค่อนข้างยาก แต่หากมุ่งกำจัดเฉพาะแกนนำอาจทำได้รวดเร็วกว่า
ไทมส์ออฟอิสราเอลอ้างเจ้าหน้าที่อาวุโสอิสราเอลนายหนึ่งว่า หากกองกำลังป้องกันอิสราเอลหรือไอดีเอฟ (IDF) ถูกบีบให้ต้องทำงานเร็วขึ้น ก็จะมีเวลาน้อยลงในการดำเนินปฏิบัติการให้เฉียบคมแม่นยำเพื่อลดผลกระทบต่อพลเรือน ไทมส์ออฟอิสราเอลยังได้อ้างรายงานของนิวยอร์กไทมส์ว่า นายทหารสหรัฐกดดันให้อิสราเอลใช้ปฏิบัติการโจมตีในกาซาที่แม่นยำและวางแผนอย่างดี โดยขอให้อิสราเอลใช้ระเบิดนำวิถีด้วยดาวเทียมขนาด 250 ปอนด์ มากกว่าการระดมถล่มด้วยระเบิดขนาด 1,000-2,000 ปอนด์.-สำนักข่าวไทย
ลาวมีคนไปเที่ยวเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า
https://tna.mcot.net/world-1270569
เวียงจันทน์ 10 พ.ย.- ทางการลาวเผยว่า ช่วง 9 เดือนแรกของปี 2566 มีชาวต่างชาติไปเยือนมากกว่า 2.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 285 จากช่วงเดียวกันในปี 2565
สำนักข่าวซินหัวของทางการจีนอ้างรายงานฉบับล่าสุดของกระทรวงสารสนเทศ วัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของลาวว่า นักท่องเที่ยวมาจากกลุ่มประเทศอาเซียน (ASEAN) มากที่สุดคือ มากกว่า 1.6 ล้านคน ตามด้วยนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก 636,687 คน นักท่องเที่ยวจากยุโรป 142,845 คน และนักท่องเที่ยวจากสหรัฐ 54,686 คน
ซินหัวมองว่า ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนว่าคนเดินทางมายังลาวมากขึ้น เนื่องจากการเดินทางขาเข้า-ขาออก และการเดินทางทั่วลาวมีความสะดวกสบายมากขึ้น ด้วยการใช้ทางหลวงและทางรถไฟจีน-ลาวที่ทอดยาวผ่านแขวงหลวงพระบางและอุดมไซทางตอนเหนือของลาว ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง
รัฐบาลลาวและธุรกิจท้องถิ่นร่วมมือกันส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเข้าถึงนักท่องเที่ยวให้กว้างขวางขึ้น ผ่านการเข้าร่วมนิทรรศการระหว่างประเทศ งานมหกรรมการท่องเที่ยวอาเซียน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ รัฐบาลหวังว่า ปีหน้าซึ่งจะเป็นปีแห่งการท่องเที่ยวลาว 2024 (Visit Laos Year 2024) จะมีนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศมาเยือนอย่างน้อย 4.6 ล้านคน สร้างรายได้ 712 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 25,535 ล้านบาท).-สำนักข่าวไทย
‘พริษฐ์’ ชี้ผลงานรบ. 60 วัน ยังพิสูจน์ยาก ต้อง 6 เดือนขึ้นไป จับตา 5 โจทย์ใหญ่ การเมือง-ศก.
https://www.matichon.co.th/politics/news_4276290
‘พริษฐ์’ ชี้ผลงาน รบ. 60 วัน ยังพิสูจน์ยาก ต้อง 6 เดือนขึ้นไป จับตา 5 โจทย์ใหญ่ การเมือง-ศก.
เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน นายพริษฐ์ วัชรสินธุ โฆษกพรรคก้าวไกล (ก.ก.) กล่าวถึงการแถลงผลงานในรอบ 60 วัน ของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ว่า เมื่อคืนนี้ (9 พ.ย.) นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน มีการแถลงผลงานรัฐบาลในช่วง 60 วันแรก เป็นการสรุปสิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินการตั้งแต่ตั้งรัฐบาลเสร็จ แม้ปฏิเสธไม่ได้ว่ารัฐบาลได้ออกหลายมาตรการลักษณะ “quick wins” ที่หวังผลระยะสั้นทันที แต่ในภาพรวม เรายังคงไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจนว่าผลงานของรัฐบาลในห้วง 60 วันที่ผ่านมา จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงอย่าง “เป็นระบบ” และอย่าง “ยั่งยืน” ตามที่ประชาชนคาดหวังได้จริงหรือไม่ ทั้งหมดนี้ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลจะทำไม่ได้หรือไม่พยายามทำ เพียงแต่ว่า 60 วัน ที่ผ่านมาอาจยังพิสูจน์อะไรได้ยาก เนื่องจากบทพิสูจน์ที่แท้จริง น่าจะขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า (ธ.ค.66-พ.ค.67) ที่ตนอยากชวนประชาชนทุกคนร่วมกันจับตามอง
นายพริษฐ์กล่าวว่า
(1) มาตรการ “quick wins” ของรัฐบาล ที่เป็นการลดค่าครองชีพ จะถูกพิสูจน์ว่ามีความยั่งยืนหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็น “ค่าไฟ” ที่ลดไปได้ด้วยการยืดหนี้ กฟผ. มีความเสี่ยงจะเด้งกลับขึ้นมาหากไม่มีปรับโครงสร้างราคา-ตลาด หรือ “ค่าน้ำมัน” ที่ลดไปได้ด้วยการลดภาษีสรรพสามิต จะเจอแรงกดดันหลายทางจากรายได้รัฐที่หายไปและราคาน้ำมันที่อยู่ในขาขึ้น หรือ “ค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย” ที่ทำสำเร็จในสายสีม่วงกับสีแดง จะถูกพิสูจน์ว่าสามารถขยายไปสู่สายที่มีผู้โดยสารใช้เยอะที่สุด (เช่น สายสีเขียว) ได้หรือไม่
(2) นโยบายเรือธงที่เดิมพันสูงอย่าง “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” จะเริ่มดำเนินการและเริ่มเห็นผลลัพธ์เบื้องต้น รายละเอียดทั้งหมดของโครงการจะถูกเคาะ เช่น เงื่อนไขการใช้จ่ายของประชาชน เงื่อนไขการแปลงเป็นเงินสดของร้านค้า เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่จะใช้ โดยหลายส่วนน่าจะรวมอยู่ในแถลงบ่ายวันนี้ ซึ่งจะทำให้การประเมินข้อดี-ข้อเสียนโยบาย ทำได้บนข้อมูลที่ครบถ้วน ในส่วนของประโยชน์ (benefits) หากเริ่มแจกได้จริงในไตรมาส 1 ของปี 2567 ตามที่เคยสัญญา เราจะเริ่มเห็นถึงผลกระทบเบื้องต้นต่อการใช้จ่ายและการกระตุ้นเศรษฐกิจว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือไม่ ขณะที่ในส่วนของต้นทุน (costs) หากยังเป็นการให้ประชาชนทุกคน 10,000 บาท ตามที่เคยสัญญา เราจะเห็นว่างบประมาณ 560,000 ล้านบาทที่ต้องใช้ จะมาจากช่องทางไหน และแลกมาด้วยอะไร เช่น การปรับลดงบส่วนอื่น รวมถึงผลกระทบต่อวินัยการเงินการคลัง
(3) นโยบายหลักด้านการเมือง จะเจอ “เส้นตาย” (deadline) ที่ทำให้เห็นการตัดสินใจของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็น เรื่องรัฐธรรมนูญ ภายใน ม.ค.67 รัฐบาลจะต้องมีข้อสรุปจากคณะกรรมการศึกษาแนวทางประชามติ ว่าจะเดินหน้าต่อเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่อย่างไร ประชามติครั้งแรกจะเกิดขึ้นหรือไม่ ด้วยคำถามแบบไหน และรัฐบาลคาดว่าประเทศจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ภายในเมื่อไร ส่วนเรื่องเกณฑ์ทหาร ภายใน เม.ย.67 เราจะเห็นว่าประเทศจะยังมีเยาวชนกี่คนที่ถูกบังคับไปเป็นทหารโดยที่ไม่อยากเป็น ซึ่งจะแปรผันตามเจตจำนงของรัฐบาลในการลดหรือเลิกการเกณฑ์ทหาร (4) กฎหมายกว่า 30 ฉบับที่พรรค ก.ก. เสนอ จะเรียงกันเข้าสภา มาเป็น “คลื่น” ที่ทำให้รัฐบาลต้องตัดสินใจว่าจะมีจุดยืนอย่างไรในหลายประเด็นที่รัฐบาลยังไม่แสดงออก เช่น จะเห็นด้วยกับร่างของก้าวไกล หรือจะเสนอร่างของ ครม.เอง ที่แตกต่างออกไปในรายละเอียด หรือจะไม่เห็นด้วยทั้งหมด
นายพริษฐ์กล่าวต่อว่า ยกตัวอย่าง เมื่อร่างกฎหมายของ ก.ก. เข้าสภา ไม่ว่าจะเป็น ร่าง พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนกระจายอำนาจ ร่าง พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินรวมแปลง ร่าง พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบราชการกลาโหม เราจะเห็นทิศทางและจุดยืนของรัฐบาลที่ชัดเจนขึ้นในเรื่องต่างๆ ทั้งการกระจายอำนาจ การป้องกันการผูกขาดทางเศรษฐกิจ การปฏิรูประบบภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ การสร้างรัฐที่โปร่งใสและการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น การปฏิรูปกองทัพให้อยู่ใต้รัฐบาลพลเรือน (5) ปฏิทินการเมืองจะมีหมุดหมายสำคัญหลายเหตุการณ์ ที่เป็นบทพิสูจน์เสถียรภาพและความเป็นเอกภาพระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล ได้แก่ เหตุการณ์แรก การพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณ 2567 ในสภา ช่วง ม.ค.-เม.ย.67 จะเป็นบทพิสูจน์ว่างบประมาณจะถูกจัดสรรให้กับนโยบายของทุกพรรคร่วมรัฐบาล อย่างเป็นธรรมและเป็นที่น่าพึงพอใจของทุกพรรคหรือไม่ ภายใต้เงื่อนไขว่างบประมาณจำนวนมากต้องใช้ไปกับนโยบาย “เงินดิจิทัล 10,000 บาท” ของพรรคแกนนำ
นายพริษฐ์กล่าวอีกว่า เหตุการณ์ที่สอง คือการเปิดอภิปรายทั่วไปโดยฝ่ายค้าน ไม่ว่าจะเป็น ตามมาตรา 152 ที่เป็นการซักถาม-เสนอแนะ หรือ ตามมาตรา 151 ที่มีการลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วงก่อนปิดปีแรกของการประชุมสภา หรือ เม.ย.67 และจะเป็นครั้งแรกของรัฐบาลชุดนี้ และเหตุการณ์ที่สาม คือการหมดอายุลงของบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญ 2560 ในเดือน พ.ค.67 รวมถึงอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกฯ ตาม มาตรา 272 จะทำให้เงื่อนไขสำคัญที่พรรคแกนนำเคยอ้างว่าเป็นเหตุผลที่ทำให้ต้องรวมตัวกับพรรคอื่นที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองหรือจุดยืนทางนโยบายที่แตกต่างกันในอดีต หายจากสมการ
ศิริกัญญา หวั่นไม่มีใครได้เงิน ดิจิทัลวอลเล็ต ชี้ออกพ.ร.บ.กู้ อาจขัดกฎหมาย-รธน.
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7957314
ศิริกัญญา ชี้รัฐบาลรู้แก่ใจ ดิจิทัลวอลเล็ต ถึงทางตัน ชงออกพ.ร.บ.กู้เงิน หาทางลงมากกว่าทำจริง ระบุขัดทั้งรธน.-กม.วินัยการเงินฯ ยืมมือศาล-นักร้องล้มโครงการ เชื่อที่สุดไม่มีใครได้เงิน
เมื่อเวลา 14.55 น. วันที่ 10 พ.ย.2566 ที่รัฐสภา น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง แถลงรายละเอียดโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่นบาทว่า ขณะนี้ความชัดเจนเริ่มปรากฎแล้ว แต่เป็นความชัดเจนที่ไม่มีเรื่องแหล่งที่มาของเงิน ซึ่งนายกฯเลือกเส้นทางที่ยากที่สุด คือการออก พ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้าน เพื่อระดมทุนมาแจกในโครงการ ดิจิทัลวอลเล็ต
แม้วันนี้ หลักเกณฑ์จะพูดถึงคนที่รายได้ต่ำกว่า 7 หมื่นบาท แต่ท้ายที่สุดอาจไม่มีใครได้เงินจากโครงการนี้เลย เพราะเสี่ยงขัดต่อกฎหมาย ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 140 และขัดต่อพ.ร.บ.วินัยการเงิน การคลัง มาตรา 53 ที่ระบุว่า หากใช้เงินที่ไม่ได้เป็นไปตามงบประมาณปกติ จะทำได้กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนเท่านั้น แต่วันนี้ยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนอะไร
เราไม่ได้อยากกดดันให้มีการร้องเรียนไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แต่เราคิดว่านี่เป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารอย่างแท้จริงที่ต้องแสดงความรับผิดชอบ โดยให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความให้เด็ดขาด ว่ารัฐบาลจะออกพ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ได้หรือไม่ โดยไม่ต้องไปถึงมือขององค์กรอิสระที่ไม่เป็นวิถีทางประชาธิปไตยสักเท่าไหร่
น.ส.ศิริกัญญา กล่าวด้วยว่า ที่ต้องออกมาพูด เพราะการออกพ.ร.บ.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท มีความสุ่มเสี่ยงจริงๆ เหมือนกับกรณีพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท อย่างชัดเจน ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตีตกว่าไม่มีความจำเป็นเร่งด่วน ดังนั้น รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ ตนตั้งข้อสังเกตว่าการที่รัฐบาลเลือกทางนี้ เพราะไม่ต้องการให้โครงการนี้สำเร็จ แต่ต้องการให้เข้าทางนักร้องต่างๆ เพื่อหาทางลงให้สวยงามของโครงการที่มาถึงทางตันโดยสมบูรณ์แล้ว ตนไม่ได้เห็นด้วยกับการร้องศาลรัฐธรรมนูญเรื่องนี้ แต่ขอให้รัฐบาลได้แสดงความรับผิดชอบทางการเมืองโดยการให้กฤษฎีกาตีความ
“รัฐบาลเองน่าจะเห็นแล้วว่าไม่มีทางไปได้จริงๆ ทางเลือกนี้ เป็นการหาทางลงมากกว่าที่จะเดินหน้าโครงการนี้จริงๆ ถ้ากฤษฎีกาตีความเข้าข้างให้ผ่าน และสส. ในสภาก็ให้ผ่าน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ภาระหนี้ในแต่ละปีงบประมาณที่จะเพิ่มขึ้นปีละ 5 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 15% ของงบรายจ่ายประจำปี ซึ่งจะเป็นภาระงบประมาณอย่างใหญ่หลวง สิ่งที่รัฐบาลทำวันนี้จะทำภาระดอกเบี้ยเกิน 10% ในงบประมาณปี 68 ทันที ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลไม่ได้พูดถึงทั้งเรื่องภาระหนี้ และภาระดอกเบี้ย ความเสี่ยงนี้จะไม่เกิดขึ้นหากพ.ร.บ.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท ถูกทำแท้งตั้งแต่ต้นโดยกฤษฎีกา” น.ส.ศิริกัญญา กล่าว