รถถังอิสราเอลบุก รพ.อินโดนีเซียในฉนวนกาซา หลังโจมตีทางอากาศใส่ ดับ 12
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4292182
รถถังอิสราเอลบุก รพ.อินโดนีเซียในฉนวนกาซา หลังโจมตีทางอากาศใส่ ดับ 12
รถถังอิสราเอลเคลื่อนเข้าไปยังโรงพยาบาลอินโดนีเซียที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของฉนวนกาซา หลังจากที่บุกค้นโรงพยาบาลอัล-ชิฟา ซึ่งใหญ่ที่สุดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
การส่งรถถังเข้าไปยังโรงพยาบาลดังกล่าว ยังมีขึ้นหลังจากที่ในช่วงเช้าวันเดียวกัน อิสราเอลได้ทำการโจมตีทางอากาศต่อโรงพยาบาลอินโดนีเซีย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขของฉนวนกาซาที่ดำเนินการโดยฮามาสระบุในเวลาต่อมาว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 12 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายสิบคน
กองกำลังป้องกันอิสราเอล (ไอดีเอฟ) ระบุว่า กองทหารยังคงปฏิบัติการในฉนวนกาซา โดยมีการสั่งการให้เครื่องบินโจมตีผู้ก่อการร้าย โครงสร้างพื้นฐานของผู้ก่อการร้าย ค้นหาอาวุธและอุปกรณ์ทางทหาร และได้สังหารผู้บัญชาการกองร้อยของฮามาส 3 ราย
ก่อนหน้านี้อิสราเอลได้เผยแพร่คลิปวิดีโอที่ระบุว่าพวกเขาได้พบอุโมงค์ของกลุ่มก่อการร้ายยาว 55 เมตร ตั้งอยู่ลึกลงไปใต้ดินราว 10 เมตร ภายใต้พื้นที่ของโรงพยาบาลอัล-ชิฟา ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาคารมากมายในโรงพยาบาลถูกกลุ่มฮามาสใช้ เพื่อปกปิดกิจกรรมของกลุ่มก่อการร้าย
นาย
โฟลเกอร์ เติร์ก ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ออกมาพูดถึงการโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยจาบาเลียโดยอิสราเอลเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการโจมตีโรงเรียนที่ดำเนินการโดยสหประชาชาติในพื้นที่ว่า เขารู้สึกตกใจกับเหตุการณ์น่าสยดสยองในฉนวนกาซาในช่วง 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา
“
การสังหารผู้คนจำนวนมากในโรงเรียนที่กลายเป็นสถานที่พักพิง ท่ามกลางผู้ที่หลบหนีออกมาจากโรงพยาบาลอัล-ชิฟาหลายร้อยคน และการพลัดถิ่นอย่างต่อเนื่องในฉนวนกาซาตอนใต้ ไม่สอดคล้องกับการคุ้มครองพลเรือนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ”
เติร์กโพสต์บน X
เติร์กระบุด้วยว่า จะต้องใช้ความรุนแรง การนองเลือด และความทุกข์ยากอีกเท่าใดก่อนที่ผู้คนจะกลับมามีสติ จะต้องมีพลเรือนถูกฆ่าอีกกี่คน สิ่งเหล่านี้ต้องยุติลง มนุษยชาติต้องมาก่อน การหยุดยิงเพื่อมนุษยธรรรมและสิทธิมนุษยชนคือสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเวลานี้
สัมภาษณ์ : อรรถจักร์ กะเทาะสังคมแห่งความเงียบงัน คนสิ้นหวัง ท้อแท้การเมือง ไม่เห็นอนาคต
https://www.matichon.co.th/clips/news_4291445
ศ.ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองปรากฏการณ์ทางสังคม ในยุครัฐบาลเศรษฐา เกิดภาวะเงียบงัน ผู้คนหนุ่มสาวผิดหวังทางการเมือง ไม่เห็นอนาคต การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น เตือน ฟางเส้นสุดท้ายแห่งความเหลืออด จะปะทุเป็นความไม่พอใจ
‘ก้าวไกล’เรียกร้องนายกฯ รับรอง 14 ร่างเกี่ยวกับการเงินของพรรค
https://www.dailynews.co.th/news/2917857/
รวมเลิกเกณฑ์ทหาร-สิทธิลาคลอด 180 วัน-กระจายอำนาจท้องถิ่น ให้เข้าสภาทันเปิดสมัยประชุม 12 ธ.ค.นี้ ชี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับเนื้อหา แต่เปิดโอกาส สส.แลกเปลี่ยน หาข้อสรุป พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มหากต้องการ
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ที่พรรคก้าวไกล นาย
พริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล แถลงข่าวถึงสถานะและความคืบหน้าของร่างกฎหมายที่ถูกเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรโดย สส.ก้าวไกล ว่า แม้เป็นที่น่าเสียดายที่ในสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่หนึ่ง ระหว่างเดือน ก.ค.-ต.ค. 2566 สภายังไม่ได้พิจารณาหรือให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายหรือ พ.ร.บ. สักฉบับ แต่ สส. พรรคก้าวไกล ได้เสนอร่างกฎหมายเข้าสู่กระบวนการของสภา ไปแล้วทั้งหมด 31 ฉบับ ครอบคลุมวาระทางการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม เช่น การปลดล็อกท้องถิ่น การคุ้มครองแรงงาน การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูปกองทัพ การปิดช่องทุนผูกขาด การป้องกันการทุจริต การยกระดับบริการสาธารณะ การยกระดับสวัสดิการ และการปฏิรูประบบภาษี
นาย
พริษฐ์ กล่าวต่อว่า ในบรรดา 31 ร่าง ประกอบด้วย ร่างกฎหมายที่เป็นร่างที่ไม่เกี่ยวกับการเงินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 134 จำนวน 17 ฉบับ เช่น พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า จะเดินหน้าสู่การถูกบรรจุเข้าวาระการประชุมสภาผู้แทนฯ ซึ่งคาดว่าจะเรียงคิวเข้าสู่การพิจารณา อภิปราย และลงมติโดย สส. ในวาระที่ 1 เมื่อสภา กลับมาเปิดตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค. เป็นต้นไป
นาย
พริษฐ์ กล่าวต่อว่า ในขณะที่ร่างกฎหมายที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นร่างการเงินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 134 จำนวน 14 ร่าง จะยังไม่สามารถถูกบรรจุเข้าวาระการประชุมสภาได้ จนกว่าจะได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี โดยประกอบด้วย 1. ร่าง พ.ร.บ.รับราชการทหาร (ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร) 2. ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศ คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. 3. ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 (ยุบ กอ.รมน.) 4. ร่าง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ 6. ร่าง พ.ร.บ.ถนน 7. ร่าง พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน 8. ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
9. ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินรวมแปลง 10. ร่าง พ.ร.บ.ภาษีความมั่งคั่ง 11. ร่าง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อประชาชน 12. ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (สิทธิลาคลอด 180 วัน) 13. ร่าง พ.ร.บ.บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า 14. ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง
โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวว่า โดยหลักการแล้ว การที่นายกฯ ให้คำรับรองกับร่างกฎหมายการเงิน ไม่ได้หมายความว่านายกฯ หรือรัฐบาล จะต้องเห็นด้วยกับร่างดังกล่าว แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ร่างดังกล่าวถูกถกเถียงแลกเปลี่ยนกันในพื้นที่ของสภา ที่มีตัวแทนจากทุกพรรคการเมืองและทุกชุดความคิด เพื่อเดินหน้าหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ตามกระบวนการรัฐสภา
นาย
พริษฐ์ กล่าวว่า หากย้อนไปดูสถิติจากสภาชุดที่แล้ว แม้นายกฯ
ประยุทธ์ รับรองให้ 59% ของร่างกฎหมายการเงินที่ถูกเสนอโดยฝ่ายค้านเข้าสู่การพิจารณาของสภา ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับนายกฯ ก่อนหน้า แต่ในที่สุด สส. รัฐบาล สมัยก่อน ไม่สนับสนุนร่างกฎหมายที่ถูกเสนอโดยฝ่ายค้านให้ผ่านความเห็นชอบของสภา แม้แต่ฉบับเดียว ไม่นับร่างที่ถูกรวมร่างกับร่างของรัฐบาล หรือหากนายกฯ มีความกังวลว่าร่างกฎหมายฉบับใดจะ 1.นำไปสู่การเพิ่มภาระงบประมาณที่ผูกมัดรัฐบาลมากจนเกินไป หรือ 2.ขัดกับหลักการสำคัญของนโยบายรัฐบาล นายกฯ ก็สามารถเปิดโอกาสให้ร่างดังกล่าวถูกพิจารณาในสภา เพื่อให้ สส. รัฐบาล ซึ่งมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนฯ ได้ฟังเหตุผลและแลกเปลี่ยนมุมมองก่อนจะตัดสินใจลงมติว่าจะสนับสนุนหรือไม่
นาย
พริษฐ์ กล่าวอีกว่า ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาจากข้อกังวลที่นายกฯ อาจมีใน 2 ส่วน เราจะเห็นว่าร่างกฎหมายก้าวไกลหลายร่าง ไม่น่าจะสร้างความกังวลดังกล่าว ได้แก่
1.ในส่วนของภาระงบประมาณ แม้ 14 ร่างจะถูกตีความว่าเป็นร่างการเงินตามกฎหมาย เพราะมีการโอนถ่ายงบประมาณระหว่างหน่วยงานรัฐ แต่มีหลายร่างที่ความจริงแล้วจะเป็นการลดภาระงบประมาณของรัฐ เช่น การยุบ กอ.รมน. การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีที่ดิน การจัดเก็บภาษีที่ดินรวมแปลงและภาษีความมั่งคั่ง
“
รวมถึงอีกหลายร่างที่ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะเพิ่มภาระงบประมาณ แต่เป็นเพียงการปรับเกณฑ์และกระบวนการจัดสรรงบประมาณ เช่น การเพิ่มอำนาจท้องถิ่นในการหารายได้ หรือ การปรับโครงสร้างบริหารราชการแผ่นดิน เช่น การลดความซ้ำซ้อนในการบริหารจัดการโครงข่ายถนนทั่วประเทศ” นาย
พริษฐ์ กล่าว
2.ในส่วนของความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล แม้ 14 ร่างต่างมีรายละเอียดในส่วนที่รัฐบาลยังไม่เคยแสดงความเห็นอย่างชัดเจน แต่หลายร่างเป็นข้อเสนอที่สอดคล้องกับทิศทางภาพรวมของนโยบายที่รัฐบาลเคยประกาศ เช่น การมุ่งสู่การยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร การยกเลิกคำสั่ง-ประกาศ คสช. การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น หรือการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดอย่างเป็นธรรม
นาย
พริษฐ์ กล่าวด้วยว่า ตนและพรรคก้าวไกล จึงขอให้นายกฯ
เศรษฐา พิจารณาให้คำรับรองกว่า 14 ร่างกฎหมายการเงิน ที่ถูกเสนอโดย สส. ก้าวไกลให้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนฯ ทันการเปิดสมัยประชุมสภา ในวันที่ 12 ธ.ค.2566 ไม่ใช่เพราะว่านายกฯ จะต้องเห็นดีเห็นงามกับร่างกฎหมายทุกฉบับที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล แต่เพราะนายกฯ พร้อมสร้างระบบการเมืองที่ให้ความสำคัญกับสภาผู้แทนราษฎร ในการเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนมุมมองที่แตกต่างและการหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายยอมรับและพร้อมเดินหน้าร่วมกัน หากนายกฯ ต้องการรายละเอียดส่วนใดเพิ่มเติม ผมและพรรคยินดีให้ข้อมูลดังกล่าวกับนายกฯ เพื่อประกอบการพิจารณา.
เกษตรกร โอด รัฐบาลเตรียมเก็บ 'ภาษีไม้ยืนต้น' โวยแค่นี้ก็แย่อยู่แล้ว
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7972470
เกษตรกร โอด รัฐบาลเตรียมเก็บ ‘ภาษีไม้ยืนต้น’ โวยแค่นี้ก็แย่อยู่แล้ว เหตุปัจจุบันเสียภาษีที่ดินทำการเกษตร และสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว
ภายหลังจากที่ กระทรวงการคลัง และ กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมไปถึงภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าในเรตอัตราค่าภาษีที่แตกต่างกัน ส่งผลให้นายทุนที่มีที่ดินรกร้างว่างเปล่า หันมาปลูกพืชการเกษตรเพื่อหวังลดภาษีโดยไม่ได้มีการดูแลและไม่หวังผลทางเศรษฐกิจ ซึ่งแตกต่างจากเกษตรกรรายย่อย ที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน ทั้งพืชล้มลุก และไม้ยืนต้น เพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจเป็นอาชีพ
ต่อมาภาครัฐได้มีการกำหนดอัตราจำนวนการปลูกพืชต่อไร่ เพื่อป้องกันกลุ่มนายทุนปลูกพืชผลเพื่อหวังเลี่ยงภาษี อีกทั้งยังมีแนวนโยบายในการจัดเก็บภาษีไม้ยืนต้น ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลกระทบกับเกษตรกรตัวจริง ผู้ประกอบอาชีพปลูกพืชไม้ยืนต้นโดยตรงอย่าง มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน และไม้ยืนต้นอื่น ๆ
นาง
วันเพ็ญ มหาสอน อายุ 54 ปี เกษตรกร อ.อำเภอปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ตนประกอบอาชีพปลูกพืชทำการเกษตรหลายอย่าง ไม่ว่าจะทุเรียน ปาล์มน้ำมัน สับปะรด ว่านหางจระเข้ โดยปลูกทุเรียน 170 ต้น ปาล์มน้ำมัน 500 กว่าต้น
ที่ผ่านมาตนเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมไปถึงภาษีที่ดินทำการเกษตรกับ อบต. ทุกปี โดยยังไม่ทราบข่าวเกี่ยวกับภาครัฐจะมีนโยบายเกี่ยวกับการเก็บภาษีไม้ยืนต้นเพิ่มเติม เนื่องจากพื้นที่ที่ตนอยู่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ห่างไกลความเจริญ ไม่มีไฟฟ้า และสัญญาณโทรศัพท์ที่ไม่เสถียร ทำให้ไม่ค่อยได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารนัก
หากภาครัฐจะมีการจัดเก็บภาษีไม้ยืนต้นจริง ตนไม่เห็นด้วย เนื่องจากปัจจุบันเสียภาษีที่ดินทำการเกษตร และสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว ซึ่งถ้าหากต้องเสียภาษีไม้ยืนต้นอีกคงไม่ไหว แค่นี้ก็แย่อยู่แล้ว อีกทั้งทุกวันนี้ราคาผลผลิตทางการเกษตรมีแต่ตกต่ำไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ต้นทุนการผลิตมีแต่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ย ยา สารเคมี และ น้ำมัน อยากให้ภาครัฐหันมาดูแลเกษตรกรบ้าง ช่วยทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรสูงขึ้นกว่าเดิมปรับให้สมดุลกับต้นทุนการผลิต
JJNY : 5in1 บุก รพ.ในกาซา│กะเทาะสังคม│‘ก้าวไกล’ร้องรับรอง 14 ร่าง│เตรียมเก็บ'ภาษีไม้ยืนต้น'│ปล่อยกู้ติดลบ หนี้เสียพุ่ง
https://www.matichon.co.th/foreign/news_4292182
รถถังอิสราเอลบุก รพ.อินโดนีเซียในฉนวนกาซา หลังโจมตีทางอากาศใส่ ดับ 12
รถถังอิสราเอลเคลื่อนเข้าไปยังโรงพยาบาลอินโดนีเซียที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของฉนวนกาซา หลังจากที่บุกค้นโรงพยาบาลอัล-ชิฟา ซึ่งใหญ่ที่สุดไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
การส่งรถถังเข้าไปยังโรงพยาบาลดังกล่าว ยังมีขึ้นหลังจากที่ในช่วงเช้าวันเดียวกัน อิสราเอลได้ทำการโจมตีทางอากาศต่อโรงพยาบาลอินโดนีเซีย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขของฉนวนกาซาที่ดำเนินการโดยฮามาสระบุในเวลาต่อมาว่า มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 12 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บหลายสิบคน
กองกำลังป้องกันอิสราเอล (ไอดีเอฟ) ระบุว่า กองทหารยังคงปฏิบัติการในฉนวนกาซา โดยมีการสั่งการให้เครื่องบินโจมตีผู้ก่อการร้าย โครงสร้างพื้นฐานของผู้ก่อการร้าย ค้นหาอาวุธและอุปกรณ์ทางทหาร และได้สังหารผู้บัญชาการกองร้อยของฮามาส 3 ราย
ก่อนหน้านี้อิสราเอลได้เผยแพร่คลิปวิดีโอที่ระบุว่าพวกเขาได้พบอุโมงค์ของกลุ่มก่อการร้ายยาว 55 เมตร ตั้งอยู่ลึกลงไปใต้ดินราว 10 เมตร ภายใต้พื้นที่ของโรงพยาบาลอัล-ชิฟา ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอาคารมากมายในโรงพยาบาลถูกกลุ่มฮามาสใช้ เพื่อปกปิดกิจกรรมของกลุ่มก่อการร้าย
นายโฟลเกอร์ เติร์ก ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ออกมาพูดถึงการโจมตีค่ายผู้ลี้ภัยจาบาเลียโดยอิสราเอลเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งรวมถึงการโจมตีโรงเรียนที่ดำเนินการโดยสหประชาชาติในพื้นที่ว่า เขารู้สึกตกใจกับเหตุการณ์น่าสยดสยองในฉนวนกาซาในช่วง 48 ชั่วโมงที่ผ่านมา
“การสังหารผู้คนจำนวนมากในโรงเรียนที่กลายเป็นสถานที่พักพิง ท่ามกลางผู้ที่หลบหนีออกมาจากโรงพยาบาลอัล-ชิฟาหลายร้อยคน และการพลัดถิ่นอย่างต่อเนื่องในฉนวนกาซาตอนใต้ ไม่สอดคล้องกับการคุ้มครองพลเรือนภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ” เติร์กโพสต์บน X
เติร์กระบุด้วยว่า จะต้องใช้ความรุนแรง การนองเลือด และความทุกข์ยากอีกเท่าใดก่อนที่ผู้คนจะกลับมามีสติ จะต้องมีพลเรือนถูกฆ่าอีกกี่คน สิ่งเหล่านี้ต้องยุติลง มนุษยชาติต้องมาก่อน การหยุดยิงเพื่อมนุษยธรรรมและสิทธิมนุษยชนคือสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเวลานี้
สัมภาษณ์ : อรรถจักร์ กะเทาะสังคมแห่งความเงียบงัน คนสิ้นหวัง ท้อแท้การเมือง ไม่เห็นอนาคต
https://www.matichon.co.th/clips/news_4291445
ศ.ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มองปรากฏการณ์ทางสังคม ในยุครัฐบาลเศรษฐา เกิดภาวะเงียบงัน ผู้คนหนุ่มสาวผิดหวังทางการเมือง ไม่เห็นอนาคต การเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น เตือน ฟางเส้นสุดท้ายแห่งความเหลืออด จะปะทุเป็นความไม่พอใจ
‘ก้าวไกล’เรียกร้องนายกฯ รับรอง 14 ร่างเกี่ยวกับการเงินของพรรค
https://www.dailynews.co.th/news/2917857/
รวมเลิกเกณฑ์ทหาร-สิทธิลาคลอด 180 วัน-กระจายอำนาจท้องถิ่น ให้เข้าสภาทันเปิดสมัยประชุม 12 ธ.ค.นี้ ชี้ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับเนื้อหา แต่เปิดโอกาส สส.แลกเปลี่ยน หาข้อสรุป พร้อมให้ข้อมูลเพิ่มหากต้องการ
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ที่พรรคก้าวไกล นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ และโฆษกพรรคก้าวไกล แถลงข่าวถึงสถานะและความคืบหน้าของร่างกฎหมายที่ถูกเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรโดย สส.ก้าวไกล ว่า แม้เป็นที่น่าเสียดายที่ในสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่หนึ่ง ระหว่างเดือน ก.ค.-ต.ค. 2566 สภายังไม่ได้พิจารณาหรือให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายหรือ พ.ร.บ. สักฉบับ แต่ สส. พรรคก้าวไกล ได้เสนอร่างกฎหมายเข้าสู่กระบวนการของสภา ไปแล้วทั้งหมด 31 ฉบับ ครอบคลุมวาระทางการเมือง-เศรษฐกิจ-สังคม เช่น การปลดล็อกท้องถิ่น การคุ้มครองแรงงาน การปฏิรูปที่ดิน การปฏิรูปกองทัพ การปิดช่องทุนผูกขาด การป้องกันการทุจริต การยกระดับบริการสาธารณะ การยกระดับสวัสดิการ และการปฏิรูประบบภาษี
นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ในบรรดา 31 ร่าง ประกอบด้วย ร่างกฎหมายที่เป็นร่างที่ไม่เกี่ยวกับการเงินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 134 จำนวน 17 ฉบับ เช่น พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า จะเดินหน้าสู่การถูกบรรจุเข้าวาระการประชุมสภาผู้แทนฯ ซึ่งคาดว่าจะเรียงคิวเข้าสู่การพิจารณา อภิปราย และลงมติโดย สส. ในวาระที่ 1 เมื่อสภา กลับมาเปิดตั้งแต่กลางเดือน ธ.ค. เป็นต้นไป
นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า ในขณะที่ร่างกฎหมายที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็นร่างการเงินตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 134 จำนวน 14 ร่าง จะยังไม่สามารถถูกบรรจุเข้าวาระการประชุมสภาได้ จนกว่าจะได้รับคำรับรองจากนายกรัฐมนตรี โดยประกอบด้วย 1. ร่าง พ.ร.บ.รับราชการทหาร (ยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร) 2. ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิกประกาศ คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. 3. ร่าง พ.ร.บ.ยกเลิก พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 (ยุบ กอ.รมน.) 4. ร่าง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5. ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ 6. ร่าง พ.ร.บ.ถนน 7. ร่าง พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน 8. ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
9. ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินรวมแปลง 10. ร่าง พ.ร.บ.ภาษีความมั่งคั่ง 11. ร่าง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อประชาชน 12. ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน (สิทธิลาคลอด 180 วัน) 13. ร่าง พ.ร.บ.บำนาญพื้นฐานถ้วนหน้า 14. ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง
โฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวว่า โดยหลักการแล้ว การที่นายกฯ ให้คำรับรองกับร่างกฎหมายการเงิน ไม่ได้หมายความว่านายกฯ หรือรัฐบาล จะต้องเห็นด้วยกับร่างดังกล่าว แต่เป็นการเปิดโอกาสให้ร่างดังกล่าวถูกถกเถียงแลกเปลี่ยนกันในพื้นที่ของสภา ที่มีตัวแทนจากทุกพรรคการเมืองและทุกชุดความคิด เพื่อเดินหน้าหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายยอมรับได้ตามกระบวนการรัฐสภา
นายพริษฐ์ กล่าวว่า หากย้อนไปดูสถิติจากสภาชุดที่แล้ว แม้นายกฯ ประยุทธ์ รับรองให้ 59% ของร่างกฎหมายการเงินที่ถูกเสนอโดยฝ่ายค้านเข้าสู่การพิจารณาของสภา ซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยเมื่อเทียบกับนายกฯ ก่อนหน้า แต่ในที่สุด สส. รัฐบาล สมัยก่อน ไม่สนับสนุนร่างกฎหมายที่ถูกเสนอโดยฝ่ายค้านให้ผ่านความเห็นชอบของสภา แม้แต่ฉบับเดียว ไม่นับร่างที่ถูกรวมร่างกับร่างของรัฐบาล หรือหากนายกฯ มีความกังวลว่าร่างกฎหมายฉบับใดจะ 1.นำไปสู่การเพิ่มภาระงบประมาณที่ผูกมัดรัฐบาลมากจนเกินไป หรือ 2.ขัดกับหลักการสำคัญของนโยบายรัฐบาล นายกฯ ก็สามารถเปิดโอกาสให้ร่างดังกล่าวถูกพิจารณาในสภา เพื่อให้ สส. รัฐบาล ซึ่งมีเสียงเกินกึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนฯ ได้ฟังเหตุผลและแลกเปลี่ยนมุมมองก่อนจะตัดสินใจลงมติว่าจะสนับสนุนหรือไม่
นายพริษฐ์ กล่าวอีกว่า ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อพิจารณาจากข้อกังวลที่นายกฯ อาจมีใน 2 ส่วน เราจะเห็นว่าร่างกฎหมายก้าวไกลหลายร่าง ไม่น่าจะสร้างความกังวลดังกล่าว ได้แก่
1.ในส่วนของภาระงบประมาณ แม้ 14 ร่างจะถูกตีความว่าเป็นร่างการเงินตามกฎหมาย เพราะมีการโอนถ่ายงบประมาณระหว่างหน่วยงานรัฐ แต่มีหลายร่างที่ความจริงแล้วจะเป็นการลดภาระงบประมาณของรัฐ เช่น การยุบ กอ.รมน. การเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษีที่ดิน การจัดเก็บภาษีที่ดินรวมแปลงและภาษีความมั่งคั่ง
“รวมถึงอีกหลายร่างที่ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะเพิ่มภาระงบประมาณ แต่เป็นเพียงการปรับเกณฑ์และกระบวนการจัดสรรงบประมาณ เช่น การเพิ่มอำนาจท้องถิ่นในการหารายได้ หรือ การปรับโครงสร้างบริหารราชการแผ่นดิน เช่น การลดความซ้ำซ้อนในการบริหารจัดการโครงข่ายถนนทั่วประเทศ” นายพริษฐ์ กล่าว
2.ในส่วนของความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล แม้ 14 ร่างต่างมีรายละเอียดในส่วนที่รัฐบาลยังไม่เคยแสดงความเห็นอย่างชัดเจน แต่หลายร่างเป็นข้อเสนอที่สอดคล้องกับทิศทางภาพรวมของนโยบายที่รัฐบาลเคยประกาศ เช่น การมุ่งสู่การยกเลิกการบังคับเกณฑ์ทหาร การยกเลิกคำสั่ง-ประกาศ คสช. การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น หรือการเปลี่ยน ส.ป.ก. เป็นโฉนดอย่างเป็นธรรม
นายพริษฐ์ กล่าวด้วยว่า ตนและพรรคก้าวไกล จึงขอให้นายกฯ เศรษฐา พิจารณาให้คำรับรองกว่า 14 ร่างกฎหมายการเงิน ที่ถูกเสนอโดย สส. ก้าวไกลให้เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนฯ ทันการเปิดสมัยประชุมสภา ในวันที่ 12 ธ.ค.2566 ไม่ใช่เพราะว่านายกฯ จะต้องเห็นดีเห็นงามกับร่างกฎหมายทุกฉบับที่เสนอโดยพรรคก้าวไกล แต่เพราะนายกฯ พร้อมสร้างระบบการเมืองที่ให้ความสำคัญกับสภาผู้แทนราษฎร ในการเป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนมุมมองที่แตกต่างและการหาข้อสรุปที่ทุกฝ่ายยอมรับและพร้อมเดินหน้าร่วมกัน หากนายกฯ ต้องการรายละเอียดส่วนใดเพิ่มเติม ผมและพรรคยินดีให้ข้อมูลดังกล่าวกับนายกฯ เพื่อประกอบการพิจารณา.
เกษตรกร โอด รัฐบาลเตรียมเก็บ 'ภาษีไม้ยืนต้น' โวยแค่นี้ก็แย่อยู่แล้ว
https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_7972470
เกษตรกร โอด รัฐบาลเตรียมเก็บ ‘ภาษีไม้ยืนต้น’ โวยแค่นี้ก็แย่อยู่แล้ว เหตุปัจจุบันเสียภาษีที่ดินทำการเกษตร และสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว
ภายหลังจากที่ กระทรวงการคลัง และ กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมไปถึงภาษีที่ดินรกร้างว่างเปล่าในเรตอัตราค่าภาษีที่แตกต่างกัน ส่งผลให้นายทุนที่มีที่ดินรกร้างว่างเปล่า หันมาปลูกพืชการเกษตรเพื่อหวังลดภาษีโดยไม่ได้มีการดูแลและไม่หวังผลทางเศรษฐกิจ ซึ่งแตกต่างจากเกษตรกรรายย่อย ที่ปลูกพืชแบบผสมผสาน ทั้งพืชล้มลุก และไม้ยืนต้น เพื่อหวังผลทางเศรษฐกิจเป็นอาชีพ
ต่อมาภาครัฐได้มีการกำหนดอัตราจำนวนการปลูกพืชต่อไร่ เพื่อป้องกันกลุ่มนายทุนปลูกพืชผลเพื่อหวังเลี่ยงภาษี อีกทั้งยังมีแนวนโยบายในการจัดเก็บภาษีไม้ยืนต้น ซึ่งเรื่องนี้ส่งผลกระทบกับเกษตรกรตัวจริง ผู้ประกอบอาชีพปลูกพืชไม้ยืนต้นโดยตรงอย่าง มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน และไม้ยืนต้นอื่น ๆ
นางวันเพ็ญ มหาสอน อายุ 54 ปี เกษตรกร อ.อำเภอปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ กล่าวว่า ตนประกอบอาชีพปลูกพืชทำการเกษตรหลายอย่าง ไม่ว่าจะทุเรียน ปาล์มน้ำมัน สับปะรด ว่านหางจระเข้ โดยปลูกทุเรียน 170 ต้น ปาล์มน้ำมัน 500 กว่าต้น
ที่ผ่านมาตนเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมไปถึงภาษีที่ดินทำการเกษตรกับ อบต. ทุกปี โดยยังไม่ทราบข่าวเกี่ยวกับภาครัฐจะมีนโยบายเกี่ยวกับการเก็บภาษีไม้ยืนต้นเพิ่มเติม เนื่องจากพื้นที่ที่ตนอยู่เป็นพื้นที่ทำการเกษตรอยู่ห่างไกลความเจริญ ไม่มีไฟฟ้า และสัญญาณโทรศัพท์ที่ไม่เสถียร ทำให้ไม่ค่อยได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารนัก
หากภาครัฐจะมีการจัดเก็บภาษีไม้ยืนต้นจริง ตนไม่เห็นด้วย เนื่องจากปัจจุบันเสียภาษีที่ดินทำการเกษตร และสิ่งปลูกสร้างอยู่แล้ว ซึ่งถ้าหากต้องเสียภาษีไม้ยืนต้นอีกคงไม่ไหว แค่นี้ก็แย่อยู่แล้ว อีกทั้งทุกวันนี้ราคาผลผลิตทางการเกษตรมีแต่ตกต่ำไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ต้นทุนการผลิตมีแต่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น ปุ๋ย ยา สารเคมี และ น้ำมัน อยากให้ภาครัฐหันมาดูแลเกษตรกรบ้าง ช่วยทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรสูงขึ้นกว่าเดิมปรับให้สมดุลกับต้นทุนการผลิต