ในแต่ละปีไทยมีการผลิตขวดแก้วเฉลี่ยปีละ 1.4 ล้านตัน (2561-2565) โดยเกือบทั้งหมด (มากกว่า 90%) เป็นการผลิตเพื่อใช้งานภายในประเทศ เนื่องจากผู้ผลิตรายใหญ่ทั้ง 4 ราย ต่างก็มุ่งเน้นผลิตขวดแก้วเพื่อป้อนให้กับบริษัทในเครือที่อยู่ในธุรกิจเครื่องดื่มทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ จึงทำให้ธุรกิจเครื่องดื่มเป็นธุรกิจที่มีสัดส่วนการใช้งานขวดแก้วมากที่สุดคิดเป็น 60%-70% ของปริมาณการผลิตในแต่ละปี รองลงมาคือ ธุรกิจอาหาร และธุรกิจยา ตามลำดับ
สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 พบว่ามีการผลิตขวดแก้วมีจำนวนทั้งสิ้น 7.16 แสนตัน ลดลง 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ที่ลดลงของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของกำลังซื้อภายในประเทศ ประกอบกับสต็อกขวดแก้วที่ยังคงมีอยู่จำนวนมาก ในด้านปริมาณการจำหน่ายพบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 8.62 แสนตัน ลดลง 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา สอดคล้องกับปริมาณการผลิตที่ลดลงของอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะการผลิตสุราขาว ซึ่งตกต่ำมากถึง -14.4% เบียร์ -8.8% และเครื่องดื่มชูกำลัง -11.4% ทั้งหมดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา ที่มีตลาดหลักอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบ K-shape หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังซื้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีรายได้ประจำจะฟื้นตัวล่าช้ากว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้ปานกลางขึ้นไป
https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/DRrgykm?utm_source=copyshare
OSP ปิดโรงงานขวดแก้ว
สำหรับในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2566 พบว่ามีการผลิตขวดแก้วมีจำนวนทั้งสิ้น 7.16 แสนตัน ลดลง 1.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ที่ลดลงของอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของกำลังซื้อภายในประเทศ ประกอบกับสต็อกขวดแก้วที่ยังคงมีอยู่จำนวนมาก ในด้านปริมาณการจำหน่ายพบว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 8.62 แสนตัน ลดลง 2.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา สอดคล้องกับปริมาณการผลิตที่ลดลงของอุตสาหกรรมต่อเนื่องโดยเฉพาะการผลิตสุราขาว ซึ่งตกต่ำมากถึง -14.4% เบียร์ -8.8% และเครื่องดื่มชูกำลัง -11.4% ทั้งหมดเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีผ่านมา ที่มีตลาดหลักอยู่ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแบบ K-shape หลังสถานการณ์โควิด-19 ที่กำลังซื้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ไม่มีรายได้ประจำจะฟื้นตัวล่าช้ากว่าเมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้ปานกลางขึ้นไป
https://liff.line.me/1454988218-NjbXbq18/v2/article/DRrgykm?utm_source=copyshare