[ 4 ปีที่แล้วเป็นอย่างไร วันนี้ก็ทำอย่างนั้น และจะยึดคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ไม่มีเปลี่ยนแปลง เพื่อพี้น้องชาวอมก๋อย และคนทั้งประเทศ ]
.
เมื่อวานนี้ผมได้เข้าร่วมเสวนากิจกรรม ”ชัยชนะจะสมปองต้องต่อสู้ 4 : ปี แห่งการไม่สยบยอมให้อมก๋อยกลายเป็นเหมืองถ่านหิน“ ที่ภาคประชาสังคมและประชาชนในพืเนที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันจัดขึ้น
.
เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผม อาจารย์ปิยบุตร คุณไหมศิริกัญญา และเพื่อนๆ อีกหลายคนก็เคยเดินทางมาดูหน้างานด้วยตัวเองที่บ้านกะเบอดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ถึงปัญหาที่ภาครัฐกำลังจะเปลี่ยนอมก๋อยไปเป็นเหมืองถ่านหิน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของพี่น้องในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
มาวันนี้เป็นโอกาสครบรอบ 4 ปีของการต่อสู้ ผมกลับมาที่นี่เพื่อยืนยันคำมั่นสัญญาอีกครั้ง เพื่อพี่น้องอมก๋อย และคนทั้งประเทศ ในการแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืนทั้งระบบ
.
ในฐานะพรรคการเมือง หน้าที่แรกของเราในกระบวนการนิติบัญญัติ คือการเสนอร่างกฎหมายเปลี่ยนแปลงประเทศ ในประเด็นนี้เราแบ่งเป็น 4 มิติ นั่นคือ
.
เราเห็นความไม่ยุติธรรมในการจัดสรรทรัพยากร มีที่ดินป่าสงวน ที่อุทยาน ฯลฯ นับล้านไร่ที่ประชาชนและหน่วยงานท้องถิ่นไม่สามารถทำอะไรได้ ไม่สามารถก่อสร้างถนน เดินสายไฟฟ้า
แต่เมื่อเป็นนายทุนก็สามารถขออนุญาตสัมปทานรัฐทำเหมืองแร่ได้ไม่ยาก สุดท้ายก็คือ คนอื่นอยู่ได้แต่คนในพื้นที่อยู่ไม่ได้ นี่คือความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร โดยเพาะอย่างยิ่งในกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง พรรคก้าวไกลจึงเสนอชุดกฎหมายปฏิรูปที่ดินทั้งระบบให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรม นี่คือมิติแรก
.
มิติที่สอง คือร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการกำกับดูแลรักษาและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เช่นร่าง พ.ร.บ.เหมืองแร่ - สิ่งแวดล้อม - การรายงานการปลดปล่อยและการเคลื่อนย้ายมลพิษ (PRTR)
.
มิติที่สาม ในขณะที่ผมกำลังพูดอยู่นัน ศาลก็กำลังอ่านคำพิพากษาเจ้าหน้าที่อุทยานแก่งกระจานที่อาจมีความผิดในคดีการเสียชีวิตของบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกะเหรี่ยงบางกลอย เหตุการณ์ทำนองนี้ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้นมิติที่สามจึงมีความสำคัญ สำหรับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ที่ออกมาวิจารณ์คัดค้านโครงการต่างๆ ของรัฐ รวมทั้งผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่นกฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปากหรือ Anti-SLAPP รวมถึงกฎหมายป้องกันและปราบปรามการอุ้มหายซ้อมทรมาน ที่ผ่านสภาได้สำเร็จในสภาชุดที่แล้ว
.
ส่วนในมิติที่สี่ คือประเด็นที่เกี่ยวข้องในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเสมอภาคของพี่น้องประชาชน เช่น ร่างกฎหมายการศึกษา การพัฒนาสาธารณูปโภค น้ำประปาดื่มได้ ความเสมอภาคทางเพศ ชาติพันธุ์ สิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ฯลฯ
.
ทั้งหมดนี้คือเรื่องที่ผ่านมา แต่ผมจะขอพูดเรื่องอนาคตบ้าง ในทิศทางภาพใหญ่ของโลก รัฐบาลไทยควรต้องประกาศได้แล้วว่าอย่างช้าที่สุด ภายในปี 2578 จะปลดระวางถ่านหินให้หมดไปจากประเทศไทย
.
และเราสามารถเริ่มใช้และเพิ่มสัดส่วนใช้พลังงานสะอาดได้ทันที และพี่น้องประชาชนสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้โดยไม่ติดขัดกฎระเบียบข้อกฎหมายยุ่งยาก และสามารถขายเข้าระบบโดยได้ราคาเป็นธรรมได้ เช่นพลังงานจากแสงอาทิตย์ นั่นคือหลักการของ 'ประชาธิปไตยทางพลังงาน' ครับ
.
เย็นนี้ ผมอยู่ที่ตัวเมืองเชียงใหม่ มีกำหนดการร่วมกับ สส. พรรคก้าวไกล จัดเวที “ก้าวต่อไปเชียงใหม่ท้องถิ่น....
.
#ก้าวไกล #อมก๋อย #พิธา
ล่าสุด พิธา พรรคก้าวไกล ไปรับฟังปัญหาที่ดินชาวบ้าน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ประชาชนมาต้อนรับทั้งอำเภอ!!
.
เมื่อวานนี้ผมได้เข้าร่วมเสวนากิจกรรม ”ชัยชนะจะสมปองต้องต่อสู้ 4 : ปี แห่งการไม่สยบยอมให้อมก๋อยกลายเป็นเหมืองถ่านหิน“ ที่ภาคประชาสังคมและประชาชนในพืเนที่อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันจัดขึ้น
.
เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผม อาจารย์ปิยบุตร คุณไหมศิริกัญญา และเพื่อนๆ อีกหลายคนก็เคยเดินทางมาดูหน้างานด้วยตัวเองที่บ้านกะเบอดิน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ ถึงปัญหาที่ภาครัฐกำลังจะเปลี่ยนอมก๋อยไปเป็นเหมืองถ่านหิน ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและสุขภาพของพี่น้องในพื้นที่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
มาวันนี้เป็นโอกาสครบรอบ 4 ปีของการต่อสู้ ผมกลับมาที่นี่เพื่อยืนยันคำมั่นสัญญาอีกครั้ง เพื่อพี่น้องอมก๋อย และคนทั้งประเทศ ในการแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืนทั้งระบบ
.
ในฐานะพรรคการเมือง หน้าที่แรกของเราในกระบวนการนิติบัญญัติ คือการเสนอร่างกฎหมายเปลี่ยนแปลงประเทศ ในประเด็นนี้เราแบ่งเป็น 4 มิติ นั่นคือ
.
เราเห็นความไม่ยุติธรรมในการจัดสรรทรัพยากร มีที่ดินป่าสงวน ที่อุทยาน ฯลฯ นับล้านไร่ที่ประชาชนและหน่วยงานท้องถิ่นไม่สามารถทำอะไรได้ ไม่สามารถก่อสร้างถนน เดินสายไฟฟ้า
แต่เมื่อเป็นนายทุนก็สามารถขออนุญาตสัมปทานรัฐทำเหมืองแร่ได้ไม่ยาก สุดท้ายก็คือ คนอื่นอยู่ได้แต่คนในพื้นที่อยู่ไม่ได้ นี่คือความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากร โดยเพาะอย่างยิ่งในกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง พรรคก้าวไกลจึงเสนอชุดกฎหมายปฏิรูปที่ดินทั้งระบบให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรม นี่คือมิติแรก
.
มิติที่สอง คือร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการกำกับดูแลรักษาและส่งเสริมสิ่งแวดล้อม เช่นร่าง พ.ร.บ.เหมืองแร่ - สิ่งแวดล้อม - การรายงานการปลดปล่อยและการเคลื่อนย้ายมลพิษ (PRTR)
.
มิติที่สาม ในขณะที่ผมกำลังพูดอยู่นัน ศาลก็กำลังอ่านคำพิพากษาเจ้าหน้าที่อุทยานแก่งกระจานที่อาจมีความผิดในคดีการเสียชีวิตของบิลลี่ พอละจี รักจงเจริญ นักปกป้องสิทธิมนุษยชนกะเหรี่ยงบางกลอย เหตุการณ์ทำนองนี้ยังเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้นมิติที่สามจึงมีความสำคัญ สำหรับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ที่ออกมาวิจารณ์คัดค้านโครงการต่างๆ ของรัฐ รวมทั้งผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน เช่นกฎหมายป้องกันการฟ้องปิดปากหรือ Anti-SLAPP รวมถึงกฎหมายป้องกันและปราบปรามการอุ้มหายซ้อมทรมาน ที่ผ่านสภาได้สำเร็จในสภาชุดที่แล้ว
.
ส่วนในมิติที่สี่ คือประเด็นที่เกี่ยวข้องในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเสมอภาคของพี่น้องประชาชน เช่น ร่างกฎหมายการศึกษา การพัฒนาสาธารณูปโภค น้ำประปาดื่มได้ ความเสมอภาคทางเพศ ชาติพันธุ์ สิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง ฯลฯ
.
ทั้งหมดนี้คือเรื่องที่ผ่านมา แต่ผมจะขอพูดเรื่องอนาคตบ้าง ในทิศทางภาพใหญ่ของโลก รัฐบาลไทยควรต้องประกาศได้แล้วว่าอย่างช้าที่สุด ภายในปี 2578 จะปลดระวางถ่านหินให้หมดไปจากประเทศไทย
.
และเราสามารถเริ่มใช้และเพิ่มสัดส่วนใช้พลังงานสะอาดได้ทันที และพี่น้องประชาชนสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดได้โดยไม่ติดขัดกฎระเบียบข้อกฎหมายยุ่งยาก และสามารถขายเข้าระบบโดยได้ราคาเป็นธรรมได้ เช่นพลังงานจากแสงอาทิตย์ นั่นคือหลักการของ 'ประชาธิปไตยทางพลังงาน' ครับ
.
เย็นนี้ ผมอยู่ที่ตัวเมืองเชียงใหม่ มีกำหนดการร่วมกับ สส. พรรคก้าวไกล จัดเวที “ก้าวต่อไปเชียงใหม่ท้องถิ่น....
.
#ก้าวไกล #อมก๋อย #พิธา