กว่าจะจบ จะสิ้น
ศาลปกครองกลางมีคําพิพากษายกฟ้องกรณีบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จํากัด (มหาชน) ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีดำเนินการแก้ปัญหาการรั่วซึมของบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 มิให้มีการรั่วซึม
และแก้ไขปัญหาของคุณภาพน้ำในบ่อสังเกตการณ์และบ่อดักตะกอน ขุมเหมือง บ่อรับน้ำฉุกเฉินในบริเวณพื้นที่ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคําจังหวัดพิจิตร ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
เมื่อวานนี้ ศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ ส.35/2562 และหมายเลขแดงที่ ส.25/2567 ซึ่งบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จํากัด (มหาชน) ผู้สำรวจและผลิตเหมืองแร่ทองคำ และผู้ถือประทานบัตร 14 แหล่งใน อ. วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์เป็นผู้ฟ้อง
โดยมีอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 และรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และหัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกำกับตรวจสอบกระบวนการผลิต เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 2
ซึ่งผู้ฟ้องฟ้องว่าได้รับความเสียหายจากคำสั่ง ที่ อก 0506/3255 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2561 ให้ผู้ฟ้องคดีดำเนินการแก้ปัญหาการรั่วซึมของบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 มิให้มีการรั่วซึม และแก้ไขปัญหาของคุณภาพน้ำในบ่อสังเกตการณ์และบ่อดักตะกอน ขุมเหมือง บ่อรับน้ำฉุกเฉินในบริเวณพื้นที่โครงการให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
และคําวินิจฉัยอุทธรณ์ ที่ 1/2562 ลงวันที่ 26 กันยายน 2562 ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีแจ้งตามหนังสือกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ อก 0202/7272 ลงวันที่ 26 กันยายน 2562 ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคําวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงนําคดีมาฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งและคําวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว
ศาลปกครองกลางวินิจฉัยว่าเมื่อคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงการรั่วซึมของบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 ที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ในการประชุมครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 นั้น
ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมจากภาคส่วนต่าง ๆ จำนวนมากและใช้วิธีการในการตรวจสอบตามหลักทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ รวมถึงมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่โดยรอบอย่างรอบด้าน
อีกทั้งยังตรวจสอบพบว่า
1 มีการพบหลักฐานที่แสดงถึงการรั่วไหลของน้ำของเหมืองแร่รั่วไหลจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 และพบว่าน้ำจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 ไหลมาถึงบ่อสังเกตการณ์ 5338 และ 6691 แต่สารหนูที่พบในบ่อเฝ้าระวังดังกล่าว ไม่ได้มาจากบ่อกักเก็บกากแร่
2 จากการตรวจสอบน้ำผุดบริเวณนาข้าว ตามที่ประชาชนร้องเรียน ในปี 2559 และ 2561 แม้จะไม่พบไซยาไนด์ปนเปื้อนในน้ำผุดอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่พบการปนเปื้อนของซัลเฟตและแมงกานีส ซึ่งมีผลวิเคราะห์ทางเคมีที่บ่งชี้ว่าน่าจะเป็นน้ำรั่วไหลจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1
จึงถือได้ว่ามาจากการประกอบกิจการของผู้ฟ้องคดีที่มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่
จึงถือได้ว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องที่ 1 และ 2 นั้นเป็นการออกคำสั่งที่มีเหตุผลที่รับฟังได้ จึงมิใช่การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
https://www.facebook.com/share/p/1Dsgp1pLFb/
ศาลปกครองตัดสิน เหมืองทองอัคราแพ้คดี
ศาลปกครองกลางมีคําพิพากษายกฟ้องกรณีบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จํากัด (มหาชน) ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีดำเนินการแก้ปัญหาการรั่วซึมของบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 มิให้มีการรั่วซึม
และแก้ไขปัญหาของคุณภาพน้ำในบ่อสังเกตการณ์และบ่อดักตะกอน ขุมเหมือง บ่อรับน้ำฉุกเฉินในบริเวณพื้นที่ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคําจังหวัดพิจิตร ให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
เมื่อวานนี้ ศาลปกครองกลางได้อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ ส.35/2562 และหมายเลขแดงที่ ส.25/2567 ซึ่งบริษัท อัครา รีซอร์สเซส จํากัด (มหาชน) ผู้สำรวจและผลิตเหมืองแร่ทองคำ และผู้ถือประทานบัตร 14 แหล่งใน อ. วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์เป็นผู้ฟ้อง
โดยมีอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 และรองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และหัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านกำกับตรวจสอบกระบวนการผลิต เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 2
ซึ่งผู้ฟ้องฟ้องว่าได้รับความเสียหายจากคำสั่ง ที่ อก 0506/3255 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2561 ให้ผู้ฟ้องคดีดำเนินการแก้ปัญหาการรั่วซึมของบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 มิให้มีการรั่วซึม และแก้ไขปัญหาของคุณภาพน้ำในบ่อสังเกตการณ์และบ่อดักตะกอน ขุมเหมือง บ่อรับน้ำฉุกเฉินในบริเวณพื้นที่โครงการให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
และคําวินิจฉัยอุทธรณ์ ที่ 1/2562 ลงวันที่ 26 กันยายน 2562 ให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีแจ้งตามหนังสือกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ อก 0202/7272 ลงวันที่ 26 กันยายน 2562 ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และคําวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงนําคดีมาฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งและคําวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าว
ศาลปกครองกลางวินิจฉัยว่าเมื่อคณะทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริงการรั่วซึมของบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 ที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ในการประชุมครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 นั้น
ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมจากภาคส่วนต่าง ๆ จำนวนมากและใช้วิธีการในการตรวจสอบตามหลักทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ รวมถึงมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่โดยรอบอย่างรอบด้าน
อีกทั้งยังตรวจสอบพบว่า
1 มีการพบหลักฐานที่แสดงถึงการรั่วไหลของน้ำของเหมืองแร่รั่วไหลจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 และพบว่าน้ำจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1 ไหลมาถึงบ่อสังเกตการณ์ 5338 และ 6691 แต่สารหนูที่พบในบ่อเฝ้าระวังดังกล่าว ไม่ได้มาจากบ่อกักเก็บกากแร่
2 จากการตรวจสอบน้ำผุดบริเวณนาข้าว ตามที่ประชาชนร้องเรียน ในปี 2559 และ 2561 แม้จะไม่พบไซยาไนด์ปนเปื้อนในน้ำผุดอย่างมีนัยยะสำคัญ แต่พบการปนเปื้อนของซัลเฟตและแมงกานีส ซึ่งมีผลวิเคราะห์ทางเคมีที่บ่งชี้ว่าน่าจะเป็นน้ำรั่วไหลจากบ่อกักเก็บกากแร่ที่ 1
จึงถือได้ว่ามาจากการประกอบกิจการของผู้ฟ้องคดีที่มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อมทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่
จึงถือได้ว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องที่ 1 และ 2 นั้นเป็นการออกคำสั่งที่มีเหตุผลที่รับฟังได้ จึงมิใช่การกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
https://www.facebook.com/share/p/1Dsgp1pLFb/