‘พิธา’ ไม่หวั่น กระแส ขนกล้วยมาแลก 3 หมื่นคะแนน เชื่อ คนระยองซื้อไม่ได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4171782
ด้อมส้มไม่ย่อท้อไกลแค่ไหนก็จะตาม หลัง”พิธา” ลุยหาเสียง พื้นที่เขาชะเมา เชื่อมั่นชาวระยองซื้อไม่ได้ หลังมีกระแสขนกล้วยลงพื้นที่เพื่อแลก 3 หมื่นคะแนน ฝากด้อมส้มทำหน้าที่ กกต.
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 9 ก.ย. นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล นาย
พงศธร ศรเพชรนรินทร์ ผู้สมัคร สส.เบอร์1 พรรคก้าวไกล เลือกตั้งซ่อมเขต3 ระยอง พร้อมทีมงานหาเสียง ได้เดินทางไปในพื้นที่ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ธรรมชาติป่าเขา ตามยุทธการหาเสียงโค้งสุดท้าย ปักธงชัย 5 มุมเมือง ในพื้นที่เขต 3 จ.ระยอง โดยมีแกนนำพรรคก้าวไกล กระจายกันออกไป
โดยนาย
พิธา และ นาย
พงศธร ผู้สมัคร ส.ส. เบอร์1 และ ทีมงาน ได้เดินทางไปจุดแรก ที่ สวนเย็นเซ ต.เขาน้อย อ.เขาชะเมา ซึ่งเป็นร้านกาแฟ และ ลานกางเต๊นท์ ท่ามกลางหุบเขาและธรรมชาติป่าไม้ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติ เมื่อเดินทางไปถึงปรากฎว่ามีบรรดาด้อมส้ม แห่มาคอยต้อนรับกันนับร้อยคน บางคนมาไกลถึงภาคอีสาน เพื่อมารอ”
พิธา”
โดยนาย
พิธา ได้ สั่ง กาแฟกุหลาบ เมื่อดื่มบอกว่าอร่อยมาก ก่อนจะให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้เป็นการหาเสียงเป็นวันสุดท้าย จึงมีการกระจายกันออกหาเสียง จากการลงพื้นที่หาเสียงตลอด มั่นใจในการตอบรับของประชาชนในพื้นที่ ส่วนเรื่องของการซื้อเสียง มีกระแสว่ามีการขนกล้วยลงมา 5-6 หวี เพื่อจะให้ได้ 30,000 คะแนน ชนะคะแนนของก้าวไกลเมื่อครั้งที่ผ่านมาแต่ตนเองมั่นใจว่าคนระยองซื้อไม่ได้ ฝากให้ด้อมส้มช่วยกันเป็น กกต. และ ต้องขอแรงในวันนับคะแนนช่วยกันตรวจสอบ โดยตนเองจะอยู่ในพื้นที่ จนถึงวันเลือกตั้ง
ด้านนาย
พงศธร ผู้สมัคร ส.ส.เบอร์1 ได้กล่าวว่า จากการหาเสียงมาตลอด จนถึงวันนี้วันสุดท้าย ขอโอกาสพี่น้องประชาชน เลือกเบอร์1 ตนเองพร้อมที่จะทำงานเพื่อความเจริญของพื้นที่เขต3 ทุกปัญหาจะได้รับการแก้ไข
ด้านประชาชนที่มารอต้อนรับโดยมีผู้ที่เดินทางมาจากภาคอีสาน กรุงเทพ และ จังหวัดต่างๆ ที่ทราบข่าวว่า”
พิธา”จะลงพื้นที่หาเสียง จึงเดินทางข้ามจังหวัดมารอ โดยบอกว่า “
ไกล แค่ไหนก็จะมา เพื่อให้ได้พบกับพิธา”
หลังจากนั้น นาย
พิธา และ นาย
พงศธร พร้อมทีมงาน ได้เดินทางไปหาเสียงในพื้นที่ ต.น้ำเป็น อ.เขาชะเมา และ จะเดินทางลงพื้นที่ตลาด อ.แกลง ก่อนจะยุติหาเสียง
นายกฯนิด ตระเวนชิม เหมาแผงข้าวจี่ ตลาดร่มเขียว อุดรฯ เจอชาวบ้านท้าทำรัฐสวัสดิการ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4171620
‘นายกฯ’ เดินตลาดร่มเขียวอุดรฯ เจอชาวบ้านท้า! ต้องทำประเทศให้เป็นรัฐสวัสดิการ แล้วจะยอมรับ เจ้าตัวอุดหนุน-ชิมสินค้าเกษตร
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 9 กันยายน ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ จ.อุดรธานี นาย
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนาย
ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, นาย
สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการคมนาคม, นาย
ไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , นาย
เกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย , นาย
เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และคณะ ลงพื้นที่ตลาดร่มเขียวอุดรธานี โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก มีประชาชนมาให้การต้อนรับอย่างเนืองแน่น และรุมกรี๊ดเมื่อเจอนายกรัฐมนตรีตัวจริง ก่อนพูดว่า “
ตัวจริงสูงและหล่อกว่าในทีวี”
โดยนายกรัฐมนตรี ได้ยกมือไหว้ทักทายประชาชนตลอดเส้นทาง ซึ่งทุกร้านค้าได้พยายามนำเสนอสินค้าของตนเองให้นายกรัฐมนตรีได้ชิม ทั้งข้าวจี่ ปลาร้าบอง ถั่วคั่ว กล้วย และก๋วยเตี๋ยวหลอด ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ทดลองชิมเพียงบางอย่าง เพราะบางอย่างทานไม่เป็น ขณะที่นายกรัฐมนตรียังอุดหนุนสินค้าการเกษตร อาทิ ผักสวนครัว ข้าวไรซ์เบอรี่ และถั่วคั่วทราย ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อของจ.อุดรธานี และนายกรัฐมนตรียังถือโอกาสเหมาร้านข้าวจี่ด้วย นอกจากนายกรัฐมนตรีจะเดินตลาดแล้ว ยังให้คำแนะนำกับพ่อค้าแม่ค้าพัฒนาแพกเกจจิ้งเพื่อส่งออก รวมถึงอยากใส่รายละเอียดเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า เพราะสินค้าบางอย่างของไทยเป็นที่ต้องการในต่างประเทศ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ช่วงหนึ่งระหว่างเดินในตลาดมีคุณลุงได้เดินมา ท้านายกรัฐมนตรีว่า “
นายกรัฐมนตรีต้องทำให้ประเทศนี้เป็นรัฐสวัสดิการให้ได้ แล้วผมจะยอมรับ” ซึ่งนายกรัฐมนตรีตอบกลับไปทันทีว่า “
พูดแบบนี้คนอาจจะไม่เข้าใจรัฐสวัสดิการคือ รัฐดูแลประชาชน ย้ำว่ารัฐดูแลประชาชน”
ห่วงแจกเงิน 10,000 บาท กระทบการคลัง ฟิทช์จับตาหนี้สาธารณะไทย
https://www.prachachat.net/finance/news-1389441
ถอดรหัสนโยบายเศรษฐา 1 ธปท.-นักเศรษฐศาสตร์ห่วงนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ใช้เงินกว่า 5.6 แสนล้านบาทกระทบเสถียรภาพการคลัง “ฟิทช์ เรทติ้งส์” จับตานโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หวั่นหนี้สาธารณะไทยเพิ่มขึ้น นายกฯเดินหน้ารับฟังความเห็น ผู้ว่าการแบงก์ชาติ-สศค. เพื่อให้การดำเนินนโยบายทั้ง “แจกเงิน-พักหนี้” ไม่กระทบเสถียรภาพการเงินการคลัง “กฤษฎา” เตรียมแผนเร่งรื้องบฯปี’67 ยอมรับแอป “เป๋าตัง” เป็นช่องทางที่ดี วงในเผย “เป๋าตัง” หลังบ้านเชื่อมต่อเทคโนโลยีบล็อกเชนอยู่แล้ว
รมช.คลังเร่งรื้องบฯปี’67
นาย
กฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ความคืบหน้าการดำเนินนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ได้มีการหารือกันไปในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งค่อนข้างมีความหลากหลาย แต่คงจะต้องมีการหารือกันอีกในเร็ว ๆ นี้ เพราะท้ายที่สุดแล้วต้องเลือกเพียงวิธีการเดียว
จากเดิมทีแนวคิด CBDC ของแบงก์ชาติก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่ปัจจุบันอาจจะเปลี่ยนไปบ้าง ส่วนช่องทางการแจกเงินผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ก็ถือเป็นช่องทางที่ดี อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติ หากมีความชัดเจนแล้วจะแจ้งให้ทราบ ไม่อยากทำให้ประชาชนสับสน รับรองว่าจะได้ข้อยุติในไม่ช้า
นาย
กฤษฎากล่าวว่า ส่วนเรื่องงบประมาณหรือแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ก็มีหลายส่วน แต่ยืนยันว่าจะไม่มีการออก พ.ร.ก.กู้เงิน ทั้งนี้ ตามกรอบวงเงินที่ใช้ได้ ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มีอยู่หลายส่วน และก็มีหลายโครงการที่ไม่ทำแล้ว อาจจะใช้วงเงินตรงนั้นมาไฟแนนซ์ในส่วนนี้ได้ อย่างไรก็ตาม คงจะต้องไปศึกษาเรื่องการจัดสรรงบประมาณก่อน
โดยวงเงินตามมาตรา 28 ตามกรอบของปีงบประมาณ 2566 ก็จะเหลือแค่ประมาณ 18,000 ล้านบาท แต่พอสิ้นปีงบประมาณก็จะมีการชำระหนี้บางส่วน และเงินจากโครงการต่าง ๆ ที่ไม่ทำแล้วมา น่าจะมีการตั้งงบฯคืนประมาณ 1 แสนล้านบาท
ส่วนเรื่อง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 กำลังจะมีการนัดหารือกันใหม่ โดยสำนักงบประมาณได้ออกตารางงบประมาณมาแล้ว คาดว่าน่าจะเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในครั้งแรกหรือไม่ก็ครั้งที่สองได้ ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อรัฐบาลมีการดำเนินนโยบายต่าง ๆ คาดว่าจะช่วยกระตุ้น GDP ปีหน้าเติบโตได้ตามเป้าหมายใหม่ของสภาพัฒน์ ที่ประมาณ 2.8%
ขยายกรอบมาตรา 28
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ล่าช้า ซึ่งทางสำนักงบฯคาดว่าประมาณเดือน พ.ค. 2567 ถึงจะใช้ได้ ดังนั้นในการที่จะดำนินนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเลต ให้ทันวันที่ 1 ก.พ. 2567 หรือภายในไตรมาสแรก ตามที่นายกฯเศรษฐาให้สัมภาษณ์ ก็จะต้องใช้มาตรการกึ่งการคลัง โดยยืมเงินรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐ ซึ่งถือเป็นรัฐวิสาหกิจมาใช้ไปก่อน โดยที่รัฐบาลจะตั้งงบฯชดเชยคืนให้ในภายหลัง ซึ่งจะมีกรอบวงเงินที่ใช้ได้
อย่างไรก็ดี ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดว่า ยอดคงค้าง หรือภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่าย หรือการสูญเสียรายได้ในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ ต้องไม่เกิน 32% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งตามที่ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รมช.คลัง ระบุว่าจะเหลือวงเงินใช้ได้ประมาณ 118,000 ล้านบาท ดังนั้นก็อาจจำเป็นต้องมีการขอขยายกรอบวงเงินของมาตรา 28 ซึ่งสามารถทำได้
ห่วงสร้างภาระการคลัง 5 แสน ล.
ดร.
อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า จากร่างนโยบายของรัฐบาลที่เตรียมแถลงต่อรัฐสภา มีเพียงเรื่องแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทเท่านั้นที่ยังค่อนข้างน่ากังวล เพราะจะเป็นภาระทางการคลังถึงกว่า 5 แสนล้านบาท ซึ่งหากรอใช้เงินงบประมาณ โครงการจะเริ่มได้ ก็คงเป็นช่วงไตรมาส 2 ปีหน้า แต่หากใช้มาตรการกึ่งการคลัง ยืมเงินรัฐวิสาหกิจ หรือแบงก์รัฐมาใช้ก่อน ตามมาตรา 28 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง แล้วจ่ายชดเชยภายหลัง ก็ต้องบอกว่าคงไม่ใช่วินัยการคลังที่ดี อย่างไรก็ดี ในช่วงที่งบประมาณปกติล่าช้า ยังใช้ไม่ได้ ก็สามารถใช้มาตรการกึ่งการคลังได้ ซึ่งขึ้นกับว่าตีโจทย์ภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้อย่างไร
“
เศรษฐกิจไทยตอนนี้ ผมตีความว่า ไม่ต้องไปกระตุ้นใหญ่ แต่ควรเน้นให้เกิดการกระจายตัว เพราะตอนนี้การเติบโตอยู่แค่ธุรกิจขนาดใหญ่ พวกธุรกิจต่างจังหวัด ธุรกิจเอสเอ็มอียังอ่อนแอมาก ดังนั้นอาจจะต้องมีนโยบายกระตุ้นกลุ่มเหล่านี้เร่งด่วนมากกว่า หรือออกแบบนโยบายให้เงินหมุนไปสู่ต่างจังหวัดให้มากที่สุด”
ฟิทช์ฯจับตาหนี้สาธารณะไทย
ดร.
อมรเทพกล่าวอีกว่า ในเรื่องภาระทางการคลังนั้น ล่าสุดทางฟิทช์ เรทติ้งส์ ก็เป็นห่วงว่า หนี้สาธารณะของไทยเริ่มขยับขึ้นมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่มีเครดิตเรตติ้งระดับเดียวกัน แม้ว่าตอนนี้ระหนี้สาธารณะจะยังไม่สูงมากก็ตาม ซึ่งระยะต่อไปก็ขึ้นกับว่ารัฐบาลมีแนวทางเก็บรายได้เพิ่ม หรือขยายฐานภาษีอย่างไร
“
ผมเสียดายว่าที่ผ่านมา ไม่มีการลงทุนที่จะยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เพราะเน้นแจกกันมาโดยตลอด การลงทุนพวกรถไฟฟ้าก็กระจุกอยู่ในกรุงเทพฯ ไม่ค่อยเห็นการลงทุนในต่างจังหวัดที่จะช่วยยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ผมมองว่าถ้าเราทุ่มเงินไปกับการกระตุ้นหมด ก็จะไม่เห็นการลงทุน” ดร.อมรเทพกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 นักวิเคราะห์ของฟิทช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) กล่าวถึงประเทศไทยว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอาจถูกจำกัดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลผสมชุดใหม่อาจส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศสูงขึ้น
การจัดตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรคอาจจะสามารถผลักดันนโยบายตามฉันทามติได้ แต่มุมมองที่แตกต่างหลากหลายในพรรคร่วมรัฐบาลจะทำให้กระบวนการจัดทำงบประมาณประจำปี 2567 ยุ่งยากและล่าช้า ขณะที่การจะเพิ่มศักยภาพทางการคลังหรือการรัดเข็มขัดทางการคลัง ก็มีข้อจำกัดจากคำมั่นสัญญาที่หาเสียงไว้ว่าจะเพิ่มการใช้จ่ายงบประมาณด้านสวัสดิการสังคม ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่อาจจะสร้างแรงกดดันให้สัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อจีดีพีสูงขึ้น เว้นแต่ว่าจะสามารถรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อไปได้
รายงานข่าวระบุว่า ตัวหนี้สาธารณะของประเทศไทย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2566 อยู่ที่ 10.97 ล้านล้านบาท คิดเป็น 61.69% ของจีดีพี
JJNY : ‘พิธา’ ไม่หวั่นกระแส│นายกฯนิดเหมาแผงข้าวจี่ เจอท้าทำรัฐสวัสดิการ│ฟิทช์ฯจับตาหนี้สาธารณะไทย│เตือนภัยสีดำ!
https://www.matichon.co.th/politics/news_4171782
ด้อมส้มไม่ย่อท้อไกลแค่ไหนก็จะตาม หลัง”พิธา” ลุยหาเสียง พื้นที่เขาชะเมา เชื่อมั่นชาวระยองซื้อไม่ได้ หลังมีกระแสขนกล้วยลงพื้นที่เพื่อแลก 3 หมื่นคะแนน ฝากด้อมส้มทำหน้าที่ กกต.
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 9 ก.ย. นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล นายพงศธร ศรเพชรนรินทร์ ผู้สมัคร สส.เบอร์1 พรรคก้าวไกล เลือกตั้งซ่อมเขต3 ระยอง พร้อมทีมงานหาเสียง ได้เดินทางไปในพื้นที่ อ.เขาชะเมา จ.ระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่ธรรมชาติป่าเขา ตามยุทธการหาเสียงโค้งสุดท้าย ปักธงชัย 5 มุมเมือง ในพื้นที่เขต 3 จ.ระยอง โดยมีแกนนำพรรคก้าวไกล กระจายกันออกไป
โดยนายพิธา และ นายพงศธร ผู้สมัคร ส.ส. เบอร์1 และ ทีมงาน ได้เดินทางไปจุดแรก ที่ สวนเย็นเซ ต.เขาน้อย อ.เขาชะเมา ซึ่งเป็นร้านกาแฟ และ ลานกางเต๊นท์ ท่ามกลางหุบเขาและธรรมชาติป่าไม้ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติ เมื่อเดินทางไปถึงปรากฎว่ามีบรรดาด้อมส้ม แห่มาคอยต้อนรับกันนับร้อยคน บางคนมาไกลถึงภาคอีสาน เพื่อมารอ”พิธา”
โดยนายพิธา ได้ สั่ง กาแฟกุหลาบ เมื่อดื่มบอกว่าอร่อยมาก ก่อนจะให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้เป็นการหาเสียงเป็นวันสุดท้าย จึงมีการกระจายกันออกหาเสียง จากการลงพื้นที่หาเสียงตลอด มั่นใจในการตอบรับของประชาชนในพื้นที่ ส่วนเรื่องของการซื้อเสียง มีกระแสว่ามีการขนกล้วยลงมา 5-6 หวี เพื่อจะให้ได้ 30,000 คะแนน ชนะคะแนนของก้าวไกลเมื่อครั้งที่ผ่านมาแต่ตนเองมั่นใจว่าคนระยองซื้อไม่ได้ ฝากให้ด้อมส้มช่วยกันเป็น กกต. และ ต้องขอแรงในวันนับคะแนนช่วยกันตรวจสอบ โดยตนเองจะอยู่ในพื้นที่ จนถึงวันเลือกตั้ง
ด้านนายพงศธร ผู้สมัคร ส.ส.เบอร์1 ได้กล่าวว่า จากการหาเสียงมาตลอด จนถึงวันนี้วันสุดท้าย ขอโอกาสพี่น้องประชาชน เลือกเบอร์1 ตนเองพร้อมที่จะทำงานเพื่อความเจริญของพื้นที่เขต3 ทุกปัญหาจะได้รับการแก้ไข
ด้านประชาชนที่มารอต้อนรับโดยมีผู้ที่เดินทางมาจากภาคอีสาน กรุงเทพ และ จังหวัดต่างๆ ที่ทราบข่าวว่า”พิธา”จะลงพื้นที่หาเสียง จึงเดินทางข้ามจังหวัดมารอ โดยบอกว่า “ไกล แค่ไหนก็จะมา เพื่อให้ได้พบกับพิธา”
หลังจากนั้น นายพิธา และ นายพงศธร พร้อมทีมงาน ได้เดินทางไปหาเสียงในพื้นที่ ต.น้ำเป็น อ.เขาชะเมา และ จะเดินทางลงพื้นที่ตลาด อ.แกลง ก่อนจะยุติหาเสียง
นายกฯนิด ตระเวนชิม เหมาแผงข้าวจี่ ตลาดร่มเขียว อุดรฯ เจอชาวบ้านท้าทำรัฐสวัสดิการ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4171620
‘นายกฯ’ เดินตลาดร่มเขียวอุดรฯ เจอชาวบ้านท้า! ต้องทำประเทศให้เป็นรัฐสวัสดิการ แล้วจะยอมรับ เจ้าตัวอุดหนุน-ชิมสินค้าเกษตร
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 9 กันยายน ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ จ.อุดรธานี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อมด้วยนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการคมนาคม, นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ , นายเกรียง กัลป์ตินันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย , นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และคณะ ลงพื้นที่ตลาดร่มเขียวอุดรธานี โดยบรรยากาศเป็นไปด้วยความคึกคัก มีประชาชนมาให้การต้อนรับอย่างเนืองแน่น และรุมกรี๊ดเมื่อเจอนายกรัฐมนตรีตัวจริง ก่อนพูดว่า “ตัวจริงสูงและหล่อกว่าในทีวี”
โดยนายกรัฐมนตรี ได้ยกมือไหว้ทักทายประชาชนตลอดเส้นทาง ซึ่งทุกร้านค้าได้พยายามนำเสนอสินค้าของตนเองให้นายกรัฐมนตรีได้ชิม ทั้งข้าวจี่ ปลาร้าบอง ถั่วคั่ว กล้วย และก๋วยเตี๋ยวหลอด ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ทดลองชิมเพียงบางอย่าง เพราะบางอย่างทานไม่เป็น ขณะที่นายกรัฐมนตรียังอุดหนุนสินค้าการเกษตร อาทิ ผักสวนครัว ข้าวไรซ์เบอรี่ และถั่วคั่วทราย ซึ่งเป็นของขึ้นชื่อของจ.อุดรธานี และนายกรัฐมนตรียังถือโอกาสเหมาร้านข้าวจี่ด้วย นอกจากนายกรัฐมนตรีจะเดินตลาดแล้ว ยังให้คำแนะนำกับพ่อค้าแม่ค้าพัฒนาแพกเกจจิ้งเพื่อส่งออก รวมถึงอยากใส่รายละเอียดเพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า เพราะสินค้าบางอย่างของไทยเป็นที่ต้องการในต่างประเทศ
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ช่วงหนึ่งระหว่างเดินในตลาดมีคุณลุงได้เดินมา ท้านายกรัฐมนตรีว่า “นายกรัฐมนตรีต้องทำให้ประเทศนี้เป็นรัฐสวัสดิการให้ได้ แล้วผมจะยอมรับ” ซึ่งนายกรัฐมนตรีตอบกลับไปทันทีว่า “พูดแบบนี้คนอาจจะไม่เข้าใจรัฐสวัสดิการคือ รัฐดูแลประชาชน ย้ำว่ารัฐดูแลประชาชน”
ห่วงแจกเงิน 10,000 บาท กระทบการคลัง ฟิทช์จับตาหนี้สาธารณะไทย
https://www.prachachat.net/finance/news-1389441
ถอดรหัสนโยบายเศรษฐา 1 ธปท.-นักเศรษฐศาสตร์ห่วงนโยบายแจกเงิน 10,000 บาท ใช้เงินกว่า 5.6 แสนล้านบาทกระทบเสถียรภาพการคลัง “ฟิทช์ เรทติ้งส์” จับตานโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ หวั่นหนี้สาธารณะไทยเพิ่มขึ้น นายกฯเดินหน้ารับฟังความเห็น ผู้ว่าการแบงก์ชาติ-สศค. เพื่อให้การดำเนินนโยบายทั้ง “แจกเงิน-พักหนี้” ไม่กระทบเสถียรภาพการเงินการคลัง “กฤษฎา” เตรียมแผนเร่งรื้องบฯปี’67 ยอมรับแอป “เป๋าตัง” เป็นช่องทางที่ดี วงในเผย “เป๋าตัง” หลังบ้านเชื่อมต่อเทคโนโลยีบล็อกเชนอยู่แล้ว
รมช.คลังเร่งรื้องบฯปี’67
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ความคืบหน้าการดำเนินนโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเลต 10,000 บาท ได้มีการหารือกันไปในระดับหนึ่งแล้ว ซึ่งค่อนข้างมีความหลากหลาย แต่คงจะต้องมีการหารือกันอีกในเร็ว ๆ นี้ เพราะท้ายที่สุดแล้วต้องเลือกเพียงวิธีการเดียว
จากเดิมทีแนวคิด CBDC ของแบงก์ชาติก็เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่ปัจจุบันอาจจะเปลี่ยนไปบ้าง ส่วนช่องทางการแจกเงินผ่านแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ก็ถือเป็นช่องทางที่ดี อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีข้อยุติ หากมีความชัดเจนแล้วจะแจ้งให้ทราบ ไม่อยากทำให้ประชาชนสับสน รับรองว่าจะได้ข้อยุติในไม่ช้า
นายกฤษฎากล่าวว่า ส่วนเรื่องงบประมาณหรือแหล่งเงินที่จะนำมาใช้ก็มีหลายส่วน แต่ยืนยันว่าจะไม่มีการออก พ.ร.ก.กู้เงิน ทั้งนี้ ตามกรอบวงเงินที่ใช้ได้ ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มีอยู่หลายส่วน และก็มีหลายโครงการที่ไม่ทำแล้ว อาจจะใช้วงเงินตรงนั้นมาไฟแนนซ์ในส่วนนี้ได้ อย่างไรก็ตาม คงจะต้องไปศึกษาเรื่องการจัดสรรงบประมาณก่อน
โดยวงเงินตามมาตรา 28 ตามกรอบของปีงบประมาณ 2566 ก็จะเหลือแค่ประมาณ 18,000 ล้านบาท แต่พอสิ้นปีงบประมาณก็จะมีการชำระหนี้บางส่วน และเงินจากโครงการต่าง ๆ ที่ไม่ทำแล้วมา น่าจะมีการตั้งงบฯคืนประมาณ 1 แสนล้านบาท
ส่วนเรื่อง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 กำลังจะมีการนัดหารือกันใหม่ โดยสำนักงบประมาณได้ออกตารางงบประมาณมาแล้ว คาดว่าน่าจะเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในครั้งแรกหรือไม่ก็ครั้งที่สองได้ ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อรัฐบาลมีการดำเนินนโยบายต่าง ๆ คาดว่าจะช่วยกระตุ้น GDP ปีหน้าเติบโตได้ตามเป้าหมายใหม่ของสภาพัฒน์ ที่ประมาณ 2.8%
ขยายกรอบมาตรา 28
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เนื่องจาก พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ล่าช้า ซึ่งทางสำนักงบฯคาดว่าประมาณเดือน พ.ค. 2567 ถึงจะใช้ได้ ดังนั้นในการที่จะดำนินนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทผ่านดิจิทัลวอลเลต ให้ทันวันที่ 1 ก.พ. 2567 หรือภายในไตรมาสแรก ตามที่นายกฯเศรษฐาให้สัมภาษณ์ ก็จะต้องใช้มาตรการกึ่งการคลัง โดยยืมเงินรัฐวิสาหกิจ หรือสถาบันการเงินของรัฐ ซึ่งถือเป็นรัฐวิสาหกิจมาใช้ไปก่อน โดยที่รัฐบาลจะตั้งงบฯชดเชยคืนให้ในภายหลัง ซึ่งจะมีกรอบวงเงินที่ใช้ได้
อย่างไรก็ดี ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดว่า ยอดคงค้าง หรือภาระที่รัฐต้องรับชดเชยค่าใช้จ่าย หรือการสูญเสียรายได้ในการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ ต้องไม่เกิน 32% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งตามที่ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รมช.คลัง ระบุว่าจะเหลือวงเงินใช้ได้ประมาณ 118,000 ล้านบาท ดังนั้นก็อาจจำเป็นต้องมีการขอขยายกรอบวงเงินของมาตรา 28 ซึ่งสามารถทำได้
ห่วงสร้างภาระการคลัง 5 แสน ล.
ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย กล่าวว่า จากร่างนโยบายของรัฐบาลที่เตรียมแถลงต่อรัฐสภา มีเพียงเรื่องแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทเท่านั้นที่ยังค่อนข้างน่ากังวล เพราะจะเป็นภาระทางการคลังถึงกว่า 5 แสนล้านบาท ซึ่งหากรอใช้เงินงบประมาณ โครงการจะเริ่มได้ ก็คงเป็นช่วงไตรมาส 2 ปีหน้า แต่หากใช้มาตรการกึ่งการคลัง ยืมเงินรัฐวิสาหกิจ หรือแบงก์รัฐมาใช้ก่อน ตามมาตรา 28 พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง แล้วจ่ายชดเชยภายหลัง ก็ต้องบอกว่าคงไม่ใช่วินัยการคลังที่ดี อย่างไรก็ดี ในช่วงที่งบประมาณปกติล่าช้า ยังใช้ไม่ได้ ก็สามารถใช้มาตรการกึ่งการคลังได้ ซึ่งขึ้นกับว่าตีโจทย์ภาวะเศรษฐกิจช่วงนี้อย่างไร
“เศรษฐกิจไทยตอนนี้ ผมตีความว่า ไม่ต้องไปกระตุ้นใหญ่ แต่ควรเน้นให้เกิดการกระจายตัว เพราะตอนนี้การเติบโตอยู่แค่ธุรกิจขนาดใหญ่ พวกธุรกิจต่างจังหวัด ธุรกิจเอสเอ็มอียังอ่อนแอมาก ดังนั้นอาจจะต้องมีนโยบายกระตุ้นกลุ่มเหล่านี้เร่งด่วนมากกว่า หรือออกแบบนโยบายให้เงินหมุนไปสู่ต่างจังหวัดให้มากที่สุด”
ฟิทช์ฯจับตาหนี้สาธารณะไทย
ดร.อมรเทพกล่าวอีกว่า ในเรื่องภาระทางการคลังนั้น ล่าสุดทางฟิทช์ เรทติ้งส์ ก็เป็นห่วงว่า หนี้สาธารณะของไทยเริ่มขยับขึ้นมาก เมื่อเทียบกับประเทศที่มีเครดิตเรตติ้งระดับเดียวกัน แม้ว่าตอนนี้ระหนี้สาธารณะจะยังไม่สูงมากก็ตาม ซึ่งระยะต่อไปก็ขึ้นกับว่ารัฐบาลมีแนวทางเก็บรายได้เพิ่ม หรือขยายฐานภาษีอย่างไร
“ผมเสียดายว่าที่ผ่านมา ไม่มีการลงทุนที่จะยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทยในระยะยาว เพราะเน้นแจกกันมาโดยตลอด การลงทุนพวกรถไฟฟ้าก็กระจุกอยู่ในกรุงเทพฯ ไม่ค่อยเห็นการลงทุนในต่างจังหวัดที่จะช่วยยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ผมมองว่าถ้าเราทุ่มเงินไปกับการกระตุ้นหมด ก็จะไม่เห็นการลงทุน” ดร.อมรเทพกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 นักวิเคราะห์ของฟิทช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) กล่าวถึงประเทศไทยว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอาจถูกจำกัดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลผสมชุดใหม่อาจส่งผลให้หนี้สาธารณะของประเทศสูงขึ้น
การจัดตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรคอาจจะสามารถผลักดันนโยบายตามฉันทามติได้ แต่มุมมองที่แตกต่างหลากหลายในพรรคร่วมรัฐบาลจะทำให้กระบวนการจัดทำงบประมาณประจำปี 2567 ยุ่งยากและล่าช้า ขณะที่การจะเพิ่มศักยภาพทางการคลังหรือการรัดเข็มขัดทางการคลัง ก็มีข้อจำกัดจากคำมั่นสัญญาที่หาเสียงไว้ว่าจะเพิ่มการใช้จ่ายงบประมาณด้านสวัสดิการสังคม ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่อาจจะสร้างแรงกดดันให้สัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อจีดีพีสูงขึ้น เว้นแต่ว่าจะสามารถรักษาการเติบโตของเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อไปได้
รายงานข่าวระบุว่า ตัวหนี้สาธารณะของประเทศไทย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2566 อยู่ที่ 10.97 ล้านล้านบาท คิดเป็น 61.69% ของจีดีพี