ไพศาล" เตือนรัฐบาลกู้เงินมาแจกคนละครึ่ง ระวังปมซุกหนี้สาธารณะกว่า 1 ล้านล้านบาท

กระทู้คำถาม
วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2565 นายไพศาล พืชมงคล อดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก paisal puechmongkol เรื่องประชาชนค้านการกู้เงินมาแจกมีรายละเอียดดังนี้ ด่วนมาก ประชาชนค้านการกู้เงินมาแจก!!!! การกู้มาแจกในโครงการคนละครึ่ง ก่อความฉิuหาย 2 สถาน
1.หนี้สาธารณะของประเทศเพิ่มขึ้น นับถึงขณะนี้มีจำนวนถึง 10 ล้านล้านบาทแล้ว ต้องใช้หนี้ไม่รู้ว่ากี่ภพชาติ ที่สำคัญคือการกู้มาแจกนั้น ไม่สร้างผลผลิต ไม่เกิดผลทางเศรษฐกิจ และไม่ก่อให้เกิดการปริวรรตของเงิน เพราะเงินจะไหลไปรวมศูนย์อยู่ที่ทุนชาติไม่กี่คน
2.ประชาชนต้องออกเงินอีกครึ่งหนึ่ง เพื่อเป็นค่าซื้อสินค้าหรือไม่ก็ค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยว ซึ่งไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่ประชาชนมิหนำซ้ำต้องเอาเงินที่เก็บไว้เอามาใช้จ่ายโดยไม่เกิดประโยชน์ และจำนวนมากต้องไปกู้ยืมมาใช้ เพื่อหวังว่า จ่ายเงินเพียงครึ่งเดียวจึงทำให้หนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้น สูงสุดในประวัติศาสตร์คือ 14 .5 ล้านล้านบาท และทำให้คนยากจนเพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคนความยิ้มเหล่านี้ ไม่มีทางได้คะแนนนิยม เพราะมีแต่เสียงสาปแช่ง
ผลโพลล่าสุดปรากฏว่า ประชาชนคัดค้านกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ 
นายไพศาล ยังได้โพสต์อีกว่า " ด่วนเคราะห์ซ้ำกรรมซัดวิบัติเป็น!!! ข่าวไม่ใหญ่ แต่จะเป็นเรื่องใหญ่น่าใจหาย คือเรื่องการซุกหนี้สาธารณะกว่า 1 ล้านล้านบาท
1. มีการแถลงว่า หนี้ดังกล่าวเป็นการกู้ยืมเงินมาจากธนาคารและสถาบันการเงิน มาใช้จ่ายโครงการคนละครึ่ง และใช้จ่ายค่าประกันราคาพืชผล ซึ่งราคาต่ำกว่าราคาที่ประกันไว้ รัฐบาลจึงต้องชดใช้ตามที่ประกันนั้น ตัวเลขที่ได้ชดใช้ไปแล้วมีกว่า 500,000ล้านบาท
2. การไม่นำเงินกู้หลังดังกล่าวลงบัญชีหนี้สาธารณะ เป็นความผิดทางกฎหมายหลายกะทง และหลายกรรม คือทุกจำนวนครั้ง ที่มีการรับและจ่ายเงิน เป็นความผิดทางอาญา ที่สักวันหนึ่งจะติดคุกตลอดชีวิต ความผิดที่สำคัญคือ!!!
~ เงินที่ไปกู้มาเป็นรายได้แผ่นดินตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายเงินคงคลัง ต้องนำเข้าบัญชีเงินคงคลัง ต้องลงบัญชีหนี้สาธารณะ
เมื่อไม่ทำก็มีความผิด ทุกครั้งที่มีการกระทำนั้น
~ เมื่อเงินกู้เป็นรายได้แผ่นดินตามกฎหมาย จะนำไปใช้จ่ายได้ก็ต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ คือ ต้องทำเป็นกฎหมายงบประมาณ ตามกฎหมายวิธีการงบประมาณ
การนำไปใช้จ่าย โดยไม่เป็นไปตามกฎหมายจึงเป็นความผิดตามกฎหมาย ทุกกรรมความผิดที่ได้เบิกเงินไปจ่าย
ติดตามเรื่องนี้กันให้ดีก็แล้วกัน เพราะน่าห่วงว่าผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องที่ต้องรับผิดชอบจะไม่มีทางที่จะมีชีวิต ที่เป็นสุขในบั้นปลาย อีกแล้ว"
ขณะที่เพจพรรคก้าวไกล - Move Forward Party ได้โพสต์ว่า  หนี้ 1 ล้านล้านบาท แม้ไม่นับเป็นหนี้สาธารณะ ก็ต้องเปิดต่อสาธารณะ 
 
กระทรวงการคลังชี้แจงว่า มีหนี้ที่ติดค้างหน่วยงานรัฐต่างๆ อยู่ 1.06 ล้านล้านบาทไม่ได้ถูกบันทึกเป็นหนี้สาธารณะตามนิยามของหนี้สาธารณะตามกฎหมาย เพราะเป็นรายจ่ายที่รัฐบาลต้องตั้งงบประมาณชดเชยทุกปีอยู่แล้ว และคลังก็ไม่ได้พยายามซุกหนี้ เพราะมีการเปิดเผยต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) แม้จะเป็นเรื่องจริงที่ข้อมูลนี้ไม่ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะอยู่แล้ว แต่ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาก็มีความพยายามบ่ายเยี่ยงไม่เปิดเผยข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องด้วย
 
Sirikanya Tansakun - ศิริกัญญา ตันสกุล  ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ติดตามหนี้ที่รัฐบาลติดค้างหน่วยงานรัฐต่างๆ มาตลอด แม้กระทรวงการคลังอ้างว่าได้เปิดเผยไว้ในรายงานความเสี่ยงทางการคลัง แต่กลับพบว่าปัจจุบันไม่ได้มีการเอารายงานนี้ขึ้นเว็บเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมา 2 ปีแล้ว ทั้งที่ปกติจะนำขึ้นเว็บทุกปี
 
ก่อนหน้านี้ คณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ เคยเรียก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง มาชี้แจง แต่กลับให้ข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบัน บอกแค่สัดส่วนคร่าวๆ เมื่อสอบถามข้อมูลล่าสุด กลับอ้างว่าเป็นข้อมูลลับ ที่จะเปิดเผยต่อคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังแห่งรัฐเท่านั้น
 
ไม่นานนี้ เพิ่งมีการขยายกรอบเพดานให้รัฐบาลสามารถกู้ได้เพิ่มเป็น 35% ของงบประมาณรายจ่าย จากเดิม 30% เพื่อให้มีงบไปใช้ในโครงการประกันรายได้เพียงพอ ซึ่งปัจจุบัน มีการกู้ไปจนถึง 34.2% ของงบประมาณแล้ว เรียกได้ว่าขยายเพดานปุ๊บ ก็กู้จนปริ่มเพดานอีกแล้ว
 
ศิริกัญญาอธิบายว่า หนี้ที่ติดค้างหน่วยงานรัฐ 1.06 ล้านล้านบาทนี้ คืองบที่เอามาใช้ประกันรายได้ จำนำข้าวอุดหนุนดอกเบี้ยธนาคารรัฐประมาณแสนกว่าล้านบาทในแต่ละปี เมื่อใช้เงินนอกงบประมาณ โครงการพวกนี้ก็จะไม่อยู่ในเอกสารงบประมาณประจำปี ไม่ถูกตรวจสอบจากสภา จะมาเห็นอีกทีเมื่อตั้งงบประมาณประจำปีเพื่อใช้หนี้ในอดีต
 
เจ้าหนี้รายใหญ่ คือ ธกส. ยอดหนี้รวมเกือบ 9 แสนล้าน ในปีงบ 65 มีการตั้งงบใช้หนี้ ธกส. 69,000 ล้านบาท ส่วนในปีงบ 66 ตั้งงบส่วนนี้ไว้สูงถึง 84,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าใช้หนี้น้อยเกินไป ก็จะขอกู้ ธกส.เพิ่มไม่ได้แล้วเพราะติดกรอบเพดานที่ 35%
 
“ต้องมาลุ้นกันดูค่ะว่า รัฐบาลจะใช้วิธีขยายกรอบเพดานไปเรื่อยๆ หรือจะผลักความเสี่ยงไปให้เกษตรกรที่รอเงินจากโครงการประกันรายได้แทน และถึงแม้จะไม่อยากให้สภาตรวจสอบ อย่างน้อยก็ควรเคารพเจ้าของภาษีอย่างประชาชนคนไทย โดยการเปิดเผยข้อมูลหนี้ส่วนนี้ให้เป็นสาธารณะก็ยังดี” ศิริกัญญา กล่าวทิ้งท้าย  https://www.banmuang.co.th/mobile/news/politic/277420
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่