KEY POINTS
รัฐบาลปรับแผนการคลังระยะปานกลาง 2568 - 2571 เป็นครั้งที่ 2 เพื่อรองรับการตั้งงบฯกลางปี 67 เพิ่ม 1.22 แสนล้านบาท โดยเพิ่มการกู้ขาดดุลอีก 1.12 แสนล้านบาท
การปรับแผนการคลังทั้งสองครั้งเป็นการตั้งงบฯเพิ่มเติมสำหรับการทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
การขาดดุลงบประมาณเพิ่มรวมทั้งการตั้งงบฯเพิ่มเติม ยิ่งทำให้ระดับหนี้สาธารณะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2571 หนี้สาธารณะไทยจะขยับไปสูงกว่า 68% ซึ่งทำให้พื้นที่การคลังไทยเหลือไม่ถึง 2% หากวัดจากเพดานที่ 70% ซึ่งไม่เพียงพอหากเกิดวิกฤติขนาดใหญ่ที่กระทบกับเศรษฐกิจในวงกว้าง
ตามกฎหมายพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กำหนดไว้เป็นกฎหมายว่าให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่ง รวมทั้งมีคณะกรรมการจากหน่วยงานเศรษฐกิจ 4 หน่วยงานหลักได้แก่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องจัดทำแผนการคลังระยะปานกลาง เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทหลักในการวางแผนการเงินการคลัง และงบประมาณของรัฐ
รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทหลักสำหรับการวางแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี และแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งการทำแผนการคลังระยะปานกลางต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีเพื่อให้เห็นถึงทิศทางการบริหาร “การคลัง” ของประเทศที่มีความต่อเนื่องไปอย่างน้อย 3 ปีงบประมาณ
ปรับแผนการคลังปานกลางแล้ว 2 ครั้ง
ตลอดระยะเวลาการบริหารประเทศของ “รัฐบาลเศรษฐา” ประมาณ 10 เดือน มีการแก้ไขแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ไปแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกที่มีการแก้ไขแผนการคลังระยะปานกลางเนื่องจากรัฐบาลมีการเพิ่มการขาดดุลงบประมาณในปี 2568 วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท จากเดิมที่ตั้งงบประมาณขาดดุลฯไว้ 7.13 แสนล้านบาท รวมเป็นการขาดดุลงบประมาณปี 2568 วงเงิน 8.6 แสนล้านบาทเศษ ซึ่งเป็นการขาดดุลฯเพื่อรองรับการทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
ขณะที่การแก้ไขแผนการคลังระยะปานกลางครั้งที่ 2 มาจากสาเหตุหลักคือการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2567 (งบฯกลางปี 67)วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท โดยเป็นการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 1 หมื่นล้านบาท ที่เหลืออีก 1.12 แสนล้านบาท เป็นการกู้ขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติม โดยการจัดทำงบฯกลางปี 2567 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)แล้วและมีกำหนดที่จะนำ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีเพิ่มเติมปี 2567 เข้าสภาฯวาระที่ 17 – 18 ก.ค.นี้
ตั้งงบฯกลางปี 67 ขาดดุลงบฯเพิ่มปี 68
ทั้งนี้จะเห็นว่าทั้งการตั้งงบประมาณขาดดุลเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2568 และการทำงบฯกลางปี 2567 เพิ่มเติมรวมกันกว่า 2.72 แสนล้านบาทเพื่อนำเม็ดเงินที่ได้ในส่วนนี้มาใช้เพื่อรองรับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยแจกเงิน 1 หมื่นบาทในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล จากวงเงินโครงการนี้ทั้งหมด 5 แสนล้านบาท
แม้ว่าในการดำเนินนโยบายการคลังระยะปานกลางในส่วนของแนวนโยบายภาครัฐยังคงเน้นในเรื่องของการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลัง โดยยังคงยึดหลักแนวคิด “Revival” ที่มุ่งเน้นสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสังคมของประเทศเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องคำนึงถึง “การรักษาวินัยการเงินการคลัง” (Fiscal Discipline) อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal Consolidation ) ผ่านการสร้างความเข้มแข็งด้านการคลังในด้านต่าง ๆ ทั้งในส่วนของการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็น ความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และความครอบคลุมจากทุกแหล่งเงินในการใช้จ่ายภาครัฐ ควบคู่ไปกับการทบทวนและยกเลิกมาตรการลดและยกเว้นภาษีให้มีเพียงเท่าที่จำเป็นการปฏิรูปโครงสร้าง และการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้รวมถึงการบริหารจัดการหนี้สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดขนาดการขาดดุลการคลังและสร้างกันชนทางการคลัง (Fiscal Buffer) ในการบริหารจัดการพื้นที่สำหรับการดำเนินนโยบายที่จำเป็น ( Policy Space) ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไป
จีดีพีไทยโตไม่ถึง 5%
ทั้งนี้ในการจัดทำแผนการคลังระยะปานกลางระหว่างปี 2568 – 2571 รัฐบาลยังใช้งบประมาณแบบขาดดุลเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ซึ่งเมื่อรวมกับการตั้งงบประมาณกลางปีเพิ่มเติมทำให้การขาดดุลงบประมาณปรับเพิ่มขึ้นทุกปีซึ่งปกติแล้วการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ควรมีการปรับเพิ่มจีดีพีเพิ่ม แต่ในแผนการคลังฉบับนี้ได้มีการปรับลดจีดีพีใหม่โดยปรับลดลงจากเดิมทุกปี และจากประมาณการเศรษฐกิจ
ในส่วนนี้จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจไทยจะยังขยายตัวไม่ถึง 5% และ ยังขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพเศรษฐกิจที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง มองว่าเศรษฐกิจไทยควรขยายตัวได้ 3.5 – 4%
โดยการคาดการณ์จีดีพีตามแผนนี้ ได้แก่
ปี 2567 เดิมอยู่ที่ 2.7% ลดลงเหลือ 2.5%
ปี 2568 เดิมอยู่ที่ 3.3% ลดลงเหลือ 3.0%
ปี 2569 - 2570 เดิมอยู่ที่ 3.3% ลดลงเหลือ 3.2% ปี 2571 - 2572 เดิมอยู่ที่ 3.2% ลดลงเหลือ 3%
ในส่วนของการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณพบว่ายังสูงกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดว่าควรจะอยู่ต่ำกว่า 3%ต่อจีดีพี โดยข้อมูลการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปีของแผนการคลังระยะปานกลางได้แก่
ปี 2567 ขาดดุลงบประมาณ เพิ่มขึ้นอีก 112,000 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ 805,000 ล้านบาท (จากเดิมขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ 6.93 แสนล้านบาท) หรือคิดเป็น 4.3% ต่อจีดีพี
ปี 2568 ขาดดุลงบประมาณ อยู่ที่ 865,700 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.5% ต่อจีดีพี
ปี 2569 ขาดดุลงบประมาณ อยู่ที่ 703,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.5% ต่อจีดีพี
ปี 2570 ขาดดุลงบประมาณ อยู่ที่ 693,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.3 % ต่อจีดีพี
ปี 2571 ขาดดุลงบประมาณ อยู่ที่ 683,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.1% ต่อจีดีพี
ในส่วนของรายได้และรายจ่ายภาครัฐตลอดแผนการคลังระยะปานกลาง มีรายละเอียดดังนี้
ปี 2567 ประมาณการรายได้ 2,797,000 ล้านบาท รายจ่าย 3,602,000 ล้านบาท
ปี 2568 ประมาณการรายได้ 2,887,000 ล้านบาท รายจ่าย 3,752,700 ล้านบาท
ปี 2569 ประมาณการรายได้ 3,040,000 ล้านบาท รายจ่าย 3,743,000 ล้านบาท
ปี 2570 ประมาณการรายได้ 3,204,000 ล้านบาท รายจ่าย 3,897,000 ล้านบาท
ปี 2571 ประมาณการรายได้ 3,394,000 ล้านบาท รายจ่าย 4,077,000 ล้านบาท
หนี้สาธารณะทะลุ 68% ในปี 71 ปริ่มเพดานหนี้
ขณะที่ข้อมูลหนี้สาธารณะและระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในแผนการคลังระยะปานกลางฉบับนี้จะเห็นได้ว่าเพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับที่น่ากังวลเพราะใกล้กับระดับเพดานที่กำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 70% ของจีดีพี โดยระดับหนี้สาธารณะในแต่ละปี ดังนี้
ปี 2567 หนี้สาธารณะคงค้าง อยู่ที่ 18,513,465 ล้านบาท คิดเป็น 65.7% ต่อจีดีพี
ปี 2568 หนี้สาธารณะคงค้าง อยู่ที่ 19,289,179 ล้านบาท คิดเป็น 67.9% ต่อจีดีพี
ปี 2569 หนี้สาธารณะคงค้าง อยู่ที่ 20,178,411 ล้านบาท คิดเป็น 68.8% ต่อจีดีพี
ปี 2570 หนี้สาธารณะคงค้าง อยู่ที่ 21,154,239 ล้านบาท คิดเป็น 68.9% ต่อจีดีพี
ปี 2571 หนี้สาธารณะคงค้าง อยู่ที่ 22,175,989 ล้านบาท คิดเป็น 68.6% ต่อจีดีพี
ทั้งนี้ระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่เพิ่มขึ้นทุกปี ถือว่าเป็นความท้าทายสำคัญต่อกรอบความยั่งยืนทางการคลัง เนื่องจากระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีใกล้กับระดับ 70% อย่างมาก ต่างจากก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ที่ประเทศไทยในขณะนั้นมีหนี้สาธารณะต่ำมากแค่เพียง 40% ต่อจีดีพีเท่านั้น
พื้นที่การคลังเหลือน้อยจนน่ากังวล
ในสถานการณ์ปัจจุบันหากรัฐบาลยังไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้มากขึ้น จีดีพีโตขึ้น หรือลดรายจ่ายภาครัฐเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณาลง ก็มีความเสี่ยงที่ไทยต้องขยับเพดานหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น จากระดับ 70% ในปัจจุบันเนื่องจากหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงจนเกือบชนเพดาน
ประเทศไทยจึงอยู่ในภาะความเสี่ยงที่พื้นที่ทางการคลังเหลือน้อยมาก และอาจไม่เพียงพอที่จะรองรับวิกฤติและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งหากระดับหนี้สาธารณะของประเทศสูงเกินไปก็จะส่งผลต่อต้นทุนในการระดมทุน กู้ยืมเงินโดยการออกพันธบัตรทั้งของภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
Cr.
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1129086
‘แผนการคลังใหม่’ เดิมพัน ‘เศรษฐกิจไทย’ กู้เพิ่ม – หั่น GDP - หนี้สาธารณะพุ่ง
รัฐบาลปรับแผนการคลังระยะปานกลาง 2568 - 2571 เป็นครั้งที่ 2 เพื่อรองรับการตั้งงบฯกลางปี 67 เพิ่ม 1.22 แสนล้านบาท โดยเพิ่มการกู้ขาดดุลอีก 1.12 แสนล้านบาท
การปรับแผนการคลังทั้งสองครั้งเป็นการตั้งงบฯเพิ่มเติมสำหรับการทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
การขาดดุลงบประมาณเพิ่มรวมทั้งการตั้งงบฯเพิ่มเติม ยิ่งทำให้ระดับหนี้สาธารณะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยในปี 2571 หนี้สาธารณะไทยจะขยับไปสูงกว่า 68% ซึ่งทำให้พื้นที่การคลังไทยเหลือไม่ถึง 2% หากวัดจากเพดานที่ 70% ซึ่งไม่เพียงพอหากเกิดวิกฤติขนาดใหญ่ที่กระทบกับเศรษฐกิจในวงกว้าง
ตามกฎหมายพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กำหนดไว้เป็นกฎหมายว่าให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยตำแหน่ง รวมทั้งมีคณะกรรมการจากหน่วยงานเศรษฐกิจ 4 หน่วยงานหลักได้แก่ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องจัดทำแผนการคลังระยะปานกลาง เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทหลักในการวางแผนการเงินการคลัง และงบประมาณของรัฐ
รวมทั้งจัดทำแผนแม่บทหลักสำหรับการวางแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี และแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งการทำแผนการคลังระยะปานกลางต้องมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีเพื่อให้เห็นถึงทิศทางการบริหาร “การคลัง” ของประเทศที่มีความต่อเนื่องไปอย่างน้อย 3 ปีงบประมาณ
ปรับแผนการคลังปานกลางแล้ว 2 ครั้ง
ตลอดระยะเวลาการบริหารประเทศของ “รัฐบาลเศรษฐา” ประมาณ 10 เดือน มีการแก้ไขแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ไปแล้ว 2 ครั้ง โดยครั้งแรกที่มีการแก้ไขแผนการคลังระยะปานกลางเนื่องจากรัฐบาลมีการเพิ่มการขาดดุลงบประมาณในปี 2568 วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท จากเดิมที่ตั้งงบประมาณขาดดุลฯไว้ 7.13 แสนล้านบาท รวมเป็นการขาดดุลงบประมาณปี 2568 วงเงิน 8.6 แสนล้านบาทเศษ ซึ่งเป็นการขาดดุลฯเพื่อรองรับการทำโครงการดิจิทัลวอลเล็ต
ขณะที่การแก้ไขแผนการคลังระยะปานกลางครั้งที่ 2 มาจากสาเหตุหลักคือการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมปี 2567 (งบฯกลางปี 67)วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท โดยเป็นการจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น 1 หมื่นล้านบาท ที่เหลืออีก 1.12 แสนล้านบาท เป็นการกู้ขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติม โดยการจัดทำงบฯกลางปี 2567 ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)แล้วและมีกำหนดที่จะนำ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีเพิ่มเติมปี 2567 เข้าสภาฯวาระที่ 17 – 18 ก.ค.นี้
ตั้งงบฯกลางปี 67 ขาดดุลงบฯเพิ่มปี 68
ทั้งนี้จะเห็นว่าทั้งการตั้งงบประมาณขาดดุลเพิ่มเติมในปีงบประมาณ 2568 และการทำงบฯกลางปี 2567 เพิ่มเติมรวมกันกว่า 2.72 แสนล้านบาทเพื่อนำเม็ดเงินที่ได้ในส่วนนี้มาใช้เพื่อรองรับโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยแจกเงิน 1 หมื่นบาทในโครงการดิจิทัลวอลเล็ตของรัฐบาล จากวงเงินโครงการนี้ทั้งหมด 5 แสนล้านบาท
แม้ว่าในการดำเนินนโยบายการคลังระยะปานกลางในส่วนของแนวนโยบายภาครัฐยังคงเน้นในเรื่องของการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลัง โดยยังคงยึดหลักแนวคิด “Revival” ที่มุ่งเน้นสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสังคมของประเทศเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยต้องคำนึงถึง “การรักษาวินัยการเงินการคลัง” (Fiscal Discipline) อย่างเคร่งครัด
รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal Consolidation ) ผ่านการสร้างความเข้มแข็งด้านการคลังในด้านต่าง ๆ ทั้งในส่วนของการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็น ความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และความครอบคลุมจากทุกแหล่งเงินในการใช้จ่ายภาครัฐ ควบคู่ไปกับการทบทวนและยกเลิกมาตรการลดและยกเว้นภาษีให้มีเพียงเท่าที่จำเป็นการปฏิรูปโครงสร้าง และการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้รวมถึงการบริหารจัดการหนี้สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดขนาดการขาดดุลการคลังและสร้างกันชนทางการคลัง (Fiscal Buffer) ในการบริหารจัดการพื้นที่สำหรับการดำเนินนโยบายที่จำเป็น ( Policy Space) ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไป
จีดีพีไทยโตไม่ถึง 5%
ทั้งนี้ในการจัดทำแผนการคลังระยะปานกลางระหว่างปี 2568 – 2571 รัฐบาลยังใช้งบประมาณแบบขาดดุลเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ซึ่งเมื่อรวมกับการตั้งงบประมาณกลางปีเพิ่มเติมทำให้การขาดดุลงบประมาณปรับเพิ่มขึ้นทุกปีซึ่งปกติแล้วการขาดดุลงบประมาณเพิ่มเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ควรมีการปรับเพิ่มจีดีพีเพิ่ม แต่ในแผนการคลังฉบับนี้ได้มีการปรับลดจีดีพีใหม่โดยปรับลดลงจากเดิมทุกปี และจากประมาณการเศรษฐกิจ
ในส่วนนี้จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจไทยจะยังขยายตัวไม่ถึง 5% และ ยังขยายตัวต่ำกว่าศักยภาพเศรษฐกิจที่นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง มองว่าเศรษฐกิจไทยควรขยายตัวได้ 3.5 – 4% โดยการคาดการณ์จีดีพีตามแผนนี้ ได้แก่
ปี 2567 เดิมอยู่ที่ 2.7% ลดลงเหลือ 2.5%
ปี 2568 เดิมอยู่ที่ 3.3% ลดลงเหลือ 3.0%
ปี 2569 - 2570 เดิมอยู่ที่ 3.3% ลดลงเหลือ 3.2% ปี 2571 - 2572 เดิมอยู่ที่ 3.2% ลดลงเหลือ 3%
ในส่วนของการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปีงบประมาณพบว่ายังสูงกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดว่าควรจะอยู่ต่ำกว่า 3%ต่อจีดีพี โดยข้อมูลการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปีของแผนการคลังระยะปานกลางได้แก่
ปี 2567 ขาดดุลงบประมาณ เพิ่มขึ้นอีก 112,000 ล้านบาท ทำให้ขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ 805,000 ล้านบาท (จากเดิมขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ 6.93 แสนล้านบาท) หรือคิดเป็น 4.3% ต่อจีดีพี
ปี 2568 ขาดดุลงบประมาณ อยู่ที่ 865,700 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.5% ต่อจีดีพี
ปี 2569 ขาดดุลงบประมาณ อยู่ที่ 703,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.5% ต่อจีดีพี
ปี 2570 ขาดดุลงบประมาณ อยู่ที่ 693,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.3 % ต่อจีดีพี
ปี 2571 ขาดดุลงบประมาณ อยู่ที่ 683,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.1% ต่อจีดีพี
ในส่วนของรายได้และรายจ่ายภาครัฐตลอดแผนการคลังระยะปานกลาง มีรายละเอียดดังนี้
ปี 2567 ประมาณการรายได้ 2,797,000 ล้านบาท รายจ่าย 3,602,000 ล้านบาท
ปี 2568 ประมาณการรายได้ 2,887,000 ล้านบาท รายจ่าย 3,752,700 ล้านบาท
ปี 2569 ประมาณการรายได้ 3,040,000 ล้านบาท รายจ่าย 3,743,000 ล้านบาท
ปี 2570 ประมาณการรายได้ 3,204,000 ล้านบาท รายจ่าย 3,897,000 ล้านบาท
ปี 2571 ประมาณการรายได้ 3,394,000 ล้านบาท รายจ่าย 4,077,000 ล้านบาท
หนี้สาธารณะทะลุ 68% ในปี 71 ปริ่มเพดานหนี้
ขณะที่ข้อมูลหนี้สาธารณะและระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีในแผนการคลังระยะปานกลางฉบับนี้จะเห็นได้ว่าเพิ่มขึ้นจนอยู่ในระดับที่น่ากังวลเพราะใกล้กับระดับเพดานที่กำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 70% ของจีดีพี โดยระดับหนี้สาธารณะในแต่ละปี ดังนี้
ปี 2567 หนี้สาธารณะคงค้าง อยู่ที่ 18,513,465 ล้านบาท คิดเป็น 65.7% ต่อจีดีพี
ปี 2568 หนี้สาธารณะคงค้าง อยู่ที่ 19,289,179 ล้านบาท คิดเป็น 67.9% ต่อจีดีพี
ปี 2569 หนี้สาธารณะคงค้าง อยู่ที่ 20,178,411 ล้านบาท คิดเป็น 68.8% ต่อจีดีพี
ปี 2570 หนี้สาธารณะคงค้าง อยู่ที่ 21,154,239 ล้านบาท คิดเป็น 68.9% ต่อจีดีพี
ปี 2571 หนี้สาธารณะคงค้าง อยู่ที่ 22,175,989 ล้านบาท คิดเป็น 68.6% ต่อจีดีพี
ทั้งนี้ระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่เพิ่มขึ้นทุกปี ถือว่าเป็นความท้าทายสำคัญต่อกรอบความยั่งยืนทางการคลัง เนื่องจากระดับหนี้สาธารณะต่อจีดีพีใกล้กับระดับ 70% อย่างมาก ต่างจากก่อนเกิดวิกฤติโควิด-19 ที่ประเทศไทยในขณะนั้นมีหนี้สาธารณะต่ำมากแค่เพียง 40% ต่อจีดีพีเท่านั้น
พื้นที่การคลังเหลือน้อยจนน่ากังวล
ในสถานการณ์ปัจจุบันหากรัฐบาลยังไม่สามารถทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้มากขึ้น จีดีพีโตขึ้น หรือลดรายจ่ายภาครัฐเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณาลง ก็มีความเสี่ยงที่ไทยต้องขยับเพดานหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น จากระดับ 70% ในปัจจุบันเนื่องจากหนี้สาธารณะต่อจีดีพีสูงจนเกือบชนเพดาน
ประเทศไทยจึงอยู่ในภาะความเสี่ยงที่พื้นที่ทางการคลังเหลือน้อยมาก และอาจไม่เพียงพอที่จะรองรับวิกฤติและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งหากระดับหนี้สาธารณะของประเทศสูงเกินไปก็จะส่งผลต่อต้นทุนในการระดมทุน กู้ยืมเงินโดยการออกพันธบัตรทั้งของภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
Cr. https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1129086