ฟิตซ์ เรตติ้ง คงอันดับความน่าเชื่อถือสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของไทยที่ BBB+ แนวโน้มมีเสถียรภาพ ปีหน้าท่องเที่ยวฟื้นเต็มที่ ดันเศรษฐกิจเร่งตัวสู่ระดับ 3.1%
เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ฟิตซ์ เรตติ้งคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยเนื่องจากไทยรักษาสมดุลระหว่างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนด้านการเงินภายนอกและกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคกับโครงสร้างที่อ่อนแอกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม BBB เช่น รายได้ต่อหัวประชากรหรือคะแนนตัวชี้วัดของธนาคารโลกที่ต่ำกว่า
ฟิตซ์คาดการณ์กว่า ตัวชี้วัดหนี้ของรัฐบาลไทยจะค่อยๆ มีเสถียรภาพในระดับใกล้เคียงค่าเฉลี่ยประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม หลังจากค่อนข้างถดถอยตลอดช่วงสี่ปีที่ผ่านมา อนุมานว่า รัฐบาลจะปฏิบัติตามแผนการปรับสมดุลทางการคลัง หลังปีงบประมาณนี้ที่สิ้นสุดลงในเดือน ก.ย.2568 การดำเนินตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปในหลายปีข้างหน้าอาจเสี่ยงต่อแนวโน้มการคลังระยะกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไทยเผชิญความเสี่ยงด้านประชากรอยู่แล้ว
ฟิตซ์คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะเร่งตัวสู่ระดับ 3.1% ในปี 2568 จากประมาณการณ์ 2.6% ในปี 2567 แนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งขึ้นได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่าย และการบริโภคภาคเอกชนดีขึ้น
ฟิตซ์คาดว่าในปี 2568 นักท่องเที่ยวจะกลับมาทำให้การท่องเที่ยวฟื้นตัวเต็มที่สู่ระดับก่อนโควิดระบาดการปรับเพิ่มรายจ่ายงบประมาณสำหรับปีงบประมาณ 2568และการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนให้เป็นปกติหลังจากเกิดความล่าช้าอย่างมากในปีงบประมาณ 2567 เป็นเค้าลางดีว่าอุปสงค์ภายในประเทศจะแข็งแกร่งขึ้น
ฟิตซ์คาดว่าเงินช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเสี่ยง 1.45 แสนล้านดอลลาร์ (0.8% ของจีดีพี) ลดความเสียหายจากน้ำท่วมภาคเหนือของไทยจะช่วยสร้างการเติบโต การที่นักท่องเที่ยวมาเยือนไทยมากขึ้น การลงทุนภาคเอกชนสูงกว่าข้อสมมุติฐานของฟิตซ์ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเป็นเพราะนักลงทุนเชื่อมั่นมากขึ้นอีกทั้งความผันผวนทางการเมืองลดน้อยลง อาจช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจได้
ความเสี่ยงขาลงของไทย ได้แก่ ความต้องการทั่วโลกอ่อนแอลง เช่น เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยดิ่งลงอย่างรุนแรง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มขึ้น และความไม่แน่นอนของยุทธศาสตร์การค้าหลังเลือกตั้งสหรัฐ
Cr.
https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1152779
ฟิตซ์ เรตติ้ง คงเครดิตไทย BBB+ คาดปีหน้าเศรษฐกิจโต 3.1%
เมื่อวันที่ 8 พ.ย.ฟิตซ์ เรตติ้งคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยเนื่องจากไทยรักษาสมดุลระหว่างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนด้านการเงินภายนอกและกรอบนโยบายเศรษฐกิจมหภาคกับโครงสร้างที่อ่อนแอกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม BBB เช่น รายได้ต่อหัวประชากรหรือคะแนนตัวชี้วัดของธนาคารโลกที่ต่ำกว่า
ฟิตซ์คาดการณ์กว่า ตัวชี้วัดหนี้ของรัฐบาลไทยจะค่อยๆ มีเสถียรภาพในระดับใกล้เคียงค่าเฉลี่ยประเทศอื่นๆ ในกลุ่ม หลังจากค่อนข้างถดถอยตลอดช่วงสี่ปีที่ผ่านมา อนุมานว่า รัฐบาลจะปฏิบัติตามแผนการปรับสมดุลทางการคลัง หลังปีงบประมาณนี้ที่สิ้นสุดลงในเดือน ก.ย.2568 การดำเนินตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปในหลายปีข้างหน้าอาจเสี่ยงต่อแนวโน้มการคลังระยะกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อไทยเผชิญความเสี่ยงด้านประชากรอยู่แล้ว
ฟิตซ์คาดการณ์เศรษฐกิจไทยจะเร่งตัวสู่ระดับ 3.1% ในปี 2568 จากประมาณการณ์ 2.6% ในปี 2567 แนวโน้มการเติบโตที่แข็งแกร่งขึ้นได้แรงหนุนจากการท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง รัฐบาลเพิ่มการใช้จ่าย และการบริโภคภาคเอกชนดีขึ้น
ฟิตซ์คาดว่าในปี 2568 นักท่องเที่ยวจะกลับมาทำให้การท่องเที่ยวฟื้นตัวเต็มที่สู่ระดับก่อนโควิดระบาดการปรับเพิ่มรายจ่ายงบประมาณสำหรับปีงบประมาณ 2568และการเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนให้เป็นปกติหลังจากเกิดความล่าช้าอย่างมากในปีงบประมาณ 2567 เป็นเค้าลางดีว่าอุปสงค์ภายในประเทศจะแข็งแกร่งขึ้น
ฟิตซ์คาดว่าเงินช่วยเหลือประชาชนกลุ่มเสี่ยง 1.45 แสนล้านดอลลาร์ (0.8% ของจีดีพี) ลดความเสียหายจากน้ำท่วมภาคเหนือของไทยจะช่วยสร้างการเติบโต การที่นักท่องเที่ยวมาเยือนไทยมากขึ้น การลงทุนภาคเอกชนสูงกว่าข้อสมมุติฐานของฟิตซ์ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจเป็นเพราะนักลงทุนเชื่อมั่นมากขึ้นอีกทั้งความผันผวนทางการเมืองลดน้อยลง อาจช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจได้
ความเสี่ยงขาลงของไทย ได้แก่ ความต้องการทั่วโลกอ่อนแอลง เช่น เศรษฐกิจคู่ค้าหลักของไทยดิ่งลงอย่างรุนแรง ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์เพิ่มขึ้น และความไม่แน่นอนของยุทธศาสตร์การค้าหลังเลือกตั้งสหรัฐ
Cr. https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1152779