เจ้านครอินทร์ เป็นกษัตริย์ครองแคว้นสุพรรณภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ.1916 ถึงปี พ.ศ.1938 นาน 22 ปี ขณะนั้นแคว้นสุโขทัยอยู่ภายใต้อำนาจของสุพรรณภูมิแล้วกล่าวอีกนัยยะหนึ่งก็เสมือนพระองค์ได้ครองแคว้นสุโขทัยไปด้วยในคราวเดียว พระองค์มีเชื้อสายของสุโขทัยมีมารดาเป็นองค์หญิงของราชวงศ์พระร่วงแคว้นสุโขทัย ตำนานพงศาวดารเหนือเรื่องพระรวงไปเมืองจีนนั้นหมายถึงเจ้านครอินทร์ไม่ใช่พ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์ที่นำความรู้การทำเครื่องถ้วยของชาวจีนมาทำในสวรรคโลกจำหน่ายจนโด่งดังคือพระองค์ท่าน ต่อมา พ.ศ.1938 เจ้านครอินทร์จึงได้ไปครองกรุงศรีอยุธยาต่อจากขุนหลวงพระงั่ว เจ้านครอินทร์ครองกรุงศรีอยุธยาจนถึงปี พ.ศ.1967 รวมครองราชนาน 29 ปี แต่พงศาวดารไทยบอกว่าพระองค์ครองราชแค่ 6 ปีบ้าง 8 ปีบ้าง หากยึดตามพงศาวดารไทยจะขัดกับหลักฐานที่ปรากฏในวัดราชบูรณะที่พบเครื่องใช้ของกษัตริยฺทำจากทองคำน้ำหนักรวมกันมากกว่าร้อยกิโลกรัม ยังมีพระพุทรูปพระเครื่องข้าวของเครื่องใช้ชั้นสูงอื่นๆ อีกมากมายกว่ากษัตริย์องค์ใดๆ ของไทย หลักฐานเหล่านี้บ่งบอกว่าเจ้านครอินทร์เป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่เหนือกว่ากษัตริย์ทุกพระองค์แต่ประวัติศาตร์ไทยกลับไม่กล่าวถึง
เนื่องจากพงศาวดารส่วนใหญ่ที่เล่าถึงประวัติศาตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฉบับที่เก่าแก่ที่สุดคือพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต ของชาวฮอลันดาที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ขณะที่ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (วันวลิต) เขียนบันทึกตามคำบอกเล่าของคนกรุงศรีอยุธยาห่างจากสมัยของพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) ถึง 250 ปีจึงได้ข้อมูลที่ผิดเพี้ยน แม้พงศาวดารของวันวลิตจะผิดเพี้ยนแต่มีหลายเรื่องที่ตรงกับเอกสารจีน เช่น เจ้านครอินทร์ เป็นลูกของขุนหลวงพระงั่วไม่ใช่หลานประเด็นนี้ขัดแย้งกับพงศาวดารไทยฉบับอื่น ประการที่สองปีที่เจ้านครอินทร์ครองราชคือปี พ.ศ.1938 ไม่ใช่ พ.ศ.1952 หรือปี พ.ศ.1958 ในพงศาวดารไทยทุกฉบับบอกว่าเจ้านครอินทร์เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 6 ของกรุงศรีอยุธยา แต่เอกสารจีนบอกว่าเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 3 ไม่มีพระเจ้าทองลัน ไม่มีพระราเมศวรครั้งที่ 2 และไม่มีพระรามราชา ตำราเรียนนำมาจากพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐซึ่งถือว่าแม่นยำที่สุดของพงศาวดารไทย แต่เห็นได้ชัดว่าพงศาวดารฉบับนี้ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้นนั้นมั่วขัดกับหลักฐานอื่นๆ แต่ก็ยังถูกนำมาสอนวิชาประวัติศาสตร์ให้นักเรียนไทยเรียนประวัติศาสตร์ที่ผิดเพี้ยนไม่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักฐานที่ปรากฏ
เจ้านครอินทร์ กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ประวัติศาตร์ไทยด้อยค่า
เนื่องจากพงศาวดารส่วนใหญ่ที่เล่าถึงประวัติศาตร์สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นเขียนขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ฉบับที่เก่าแก่ที่สุดคือพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต ของชาวฮอลันดาที่เข้ามากรุงศรีอยุธยาในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ขณะที่ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (วันวลิต) เขียนบันทึกตามคำบอกเล่าของคนกรุงศรีอยุธยาห่างจากสมัยของพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) ถึง 250 ปีจึงได้ข้อมูลที่ผิดเพี้ยน แม้พงศาวดารของวันวลิตจะผิดเพี้ยนแต่มีหลายเรื่องที่ตรงกับเอกสารจีน เช่น เจ้านครอินทร์ เป็นลูกของขุนหลวงพระงั่วไม่ใช่หลานประเด็นนี้ขัดแย้งกับพงศาวดารไทยฉบับอื่น ประการที่สองปีที่เจ้านครอินทร์ครองราชคือปี พ.ศ.1938 ไม่ใช่ พ.ศ.1952 หรือปี พ.ศ.1958 ในพงศาวดารไทยทุกฉบับบอกว่าเจ้านครอินทร์เป็นกษัตริย์ลำดับที่ 6 ของกรุงศรีอยุธยา แต่เอกสารจีนบอกว่าเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 3 ไม่มีพระเจ้าทองลัน ไม่มีพระราเมศวรครั้งที่ 2 และไม่มีพระรามราชา ตำราเรียนนำมาจากพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐซึ่งถือว่าแม่นยำที่สุดของพงศาวดารไทย แต่เห็นได้ชัดว่าพงศาวดารฉบับนี้ในยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้นนั้นมั่วขัดกับหลักฐานอื่นๆ แต่ก็ยังถูกนำมาสอนวิชาประวัติศาสตร์ให้นักเรียนไทยเรียนประวัติศาสตร์ที่ผิดเพี้ยนไม่มีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับหลักฐานที่ปรากฏ