ครั้งนึงกรุงศรีอยุธยาเคยเป็นราชธานี ใครๆก็รู้
ครั้งนึงกรุงศรีอยุธยาเคยตกเป็นเมืองขึ้น ใครๆก็รู้
แต่จะมีซักกี่คน ที่ร่ายยาวเล่าประวัติให้ฟังได้ ตลอด 5 ราชวงศ์ 33 กษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา
ว่าแล้ว ก็เดินหน้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หาเรื่องราวมาเล่าให้ฟังกันดีกว่า
ถ้าร่ายกันยาว อยุธยา ก็มีต้นกำเนิดมาจาก สุพรรณภูมิ ละโว้ โน้นเลย
แต่ไม่เอาดีกว่า ไปท้าวความไกล ปวดหัว เอาใกล้ๆนี่แหละ ย้อนกลับไปปี พ.ศ.1893 พอ เหอะๆๆๆ
เริ่มกันที่พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยากันเลย
คือ พระเจ้าอู่ทอง แห่งราชวงศ์อู่ทอง
หรือพระนามเต็มก็คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
ที่มาของพระเจ้าอู่ทอง มีหลายแนวคิดมากกกกก เห็นแล้วปวดหัว
ก็อย่างว่า.... เราไม่มีไทม์แมชชีน ที่จะย้อนเวลากลับไปฟันธง โช๊ะๆๆๆ ว่าท่านทรงมีที่มาที่ไปยังไง
เอิ่มมมม.... ลืมไป ขอเกริ่นก่อนนะครับ ผมขอเล่าแบบ ชาวบ้านๆ ฟังกันง่ายๆ ไม่ค่อยมีคำราชาศัพท์อะไร
ก็แบบ ไม่เก่งทางนี้อ่ะนะ.... ถ้าใครแอนนนตี้ ก็ต้องขออภัยด้วยเน้อ
และเรื่องราวที่ผมจะเล่า ไม่ได้มาเล่าประวัติโช๊ะๆ แต่จะมาเล่าหาความสอดคล้อง
ระหว่างพระมหากษัตริย์ไทยกับ วัดวาอารามต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยาซะมากกว่า
อ่ะ มาต่อๆๆๆ
ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทรงเคยนำเจ้าแก้ว ซึ่งเป็นรัชทายาทของเจ้าเขมร มาเป็นองค์ประกัน
ซึ่งต่อมาเจ้าแก้วได้ทรงทิวงคง (ตาย) ด้วยอหิวาตกโรค
เลยทรงให้ขุดขึ้นมาเผา และที่ปลงศพให้สถาปนาเป็นพระอาราม
ชื่อว่า วัดป่าแก้ว หรือ วัดใหญ่ชัยมงคล ในปัจจุบันนั้นเอง
(เมื่อเจ้าแก้ว สิ้น ก็เป็นที่มาของ "ขอมแปรพักตร์" น่าจะเคยได้ยินกันบ้างนะ)
และนี่คือที่มาของวัดใหญ่ชัยมงคล
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์ที่ 2 คือ พระราเมศวร
เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ ของพระเจ้าอู่ทอง
แต่พระองค์ทรงครองราช ไม่ถึงปี ก็สละราชสมบัติให้กับผู้เป็นน้า ซึ่งนำกองทัพมาจากสุพรรณบุรี
มาประชิดกรุงศรีอยุธยา แล้วพระราเมศวรก็ทรงกลับไปครองเมืองลพบุรีตามเดิม
และในช่วงที่ครองราชย์นี้เอง ทรงสร้างวัดพระรามขึ้น
ซึ่งที่ตั้งของวัด เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงของพระเจ้าอู่ทอง นั่นเอง
และมาถึงพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ก็ถูกเปลี่ยนราชวงศ์จาก อู่ทอง มาเป็น สุพรรณภูมิ
คือขุนหลวงพะงั่ว หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
พระองค์เป็นพระเชษฐา หรือพี่ชาย ของพระมเหสี ของพระเจ้าอู่ทอง โอ๊ย...งงงงงง
ซึ่งตอนที่พระราเมศวร ขึ้นครองราช พระองค์ยังทรงครองราชสมบัติอยู่ที่สุพรรณบุรี
จนปี 1913 หรือไม่ถึงปีจากที่พระราเมศวรขึ้นครองราชย์
ก็ได้เสด็จมายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระราเมศวรทรงทราบ
จึงเสร็จออกไปอัญเชิญเสด็จพระมาตุลาเข้าสู่พระนคร.....
โอ้ยยยย ราชาศัพท์ มึนๆๆๆๆๆ เหอะๆๆ
หลายคนอาจสงสัยว่า เอ๊ะ ทำไม ขุนหลวงพะงั่ว จึงยกทัพมาชิงพระราชบัลลังก์
เรื่องมีอยู่ว่า ย้อนไปสมัยพระเจ้าอู่ทอง มีเหตุการณ์ขอมแปรพักตร์ ไปเข้ากับสุโขทัย
พระเจ้าอู่ทอง จึงทรงให้ พระราเมศวร นำทัพไปตีขอม และไม่สำเร็จ
พระเจ้าอู่ทอง จึงทรงให้ ขุนหลวงพะงั่ว ไปตีขอม และก็สำเร็จ
ด้วยเหตุการณ์นี้ ทำให้ขุนหลวงพะวั่ง ทรงเล็งเห็นว่า
พระราเมศวร ยังมีวุฒิภาวะและประสบการณ์ในการปกครองประเทศไม่เพียงพอ
เมื่อพระราเมศวร ได้ขึ้นครองราช จึงทรงยกทัพมาชิงราชบัลลังก์
ในรัชสมัยของพระองค์ ทรงสถาปนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดมหาธาตุในปัจจุบัน
ซึ่งความเป็นมาของวัดมหาธาตุ ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า สร้างมาตั้งแต่ปีไหน
แต่ได้ถูกสถาปนาขึ้นในสมัยของ สมเด็จพระราชาธิราชที่ 1 ขุนหลวงพะงั่ว
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 คือ เจ้าทองจันทร์ หรือสมเด็จพระเจ้าทองลัน
ซึ่งเป็นพระราชโอรส (ลูก) ของขุนหลวงพะงั่ว
ซึ่งเจ้าทองจันทร์ ทรงได้ขึ้นครองราชย์ หลังจากที่ขุนหลวงพะงั่วทรงเสด็จสวรรคต
ขณะที่ยกทัพไปตี เมืองชากังราว
แต่ด้วยขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา
พระราเมศวร จึงยกทัพลงมาจากลพบุรี เข้ายึดกรุงศรีอยุธยา
แล้วจับตัวพระเจ้าทองลัน ไปประหารชีวิตที่ วัดโคกพระยา
จึงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์น้อยที่สุด เพียง 7 วัน
หลังจากนั้นสมเด็จพระราเมศวร ก็เป็นพระมหากษัตริย์องค์แรก ที่ครองราชย์ 2 สมัย
และเป็นการขึ้นเป็นใหญ่ของราชวงศ์อู่ทองอีกครั้ง
ในสมัยพระองค์ บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีใครมารุกราน
และในช่วงเวลานี้ พระองค์ทรงสร้างพระศรีมหาธาตุเพิ่มเติมจนเสร็จบริบูรณ์
หลังจากที่ในรัชสมัยของขุนหลวงพะงั่ว ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ
แล้วขนานนามว่า "วัดมหาธาตุ"
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 คือ
เจ้าพระยาราม หรือ สมเด็จพระรามราชาธิราช
ทรงเป็นพระราชโอรส (ลูก) ของสมเด็จพระราเมศวร ในช่วงที่ครองราชย์บ้านเมืองก็เป็นปกติสุขดี
จนถึงปลายรัชสมัย พระองค์มีข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี
แล้วทางเจ้าพระยามหาเสนาบดี ได้หนีไปอยู่กับฟากปทาคูจาม
แล้วได้ร่วมมือกับเจ้านครอินทร์ ซึ่งเป็นพระราชนัดดา (หลาน) ของขุนหลวงพะงั่ว
ยกทัพจากสุพรรณบุรี มายึด กรุงศรีอยุธยา
และทางเจ้าพระยารามก็ได้รับโปรดเกล้าฯให้ไปครองเมืองปทาคูจาม
ยอมรับเลย ว่าหาวัดที่สอดคล้องกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามราชาธิราช ไม่เจอจริงๆครับ
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 6 แห่งกรุงศรีอยุธยา
ถูกเปลี่ยนราชวงศ์อีกครั้ง จากราชวงศ์อู่ทอง ไปสู่ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
นั่นคือ เจ้านครอินทร์ หรือ สมเด็จพระอินทราชา
ทรงเป็นพระราชนัดดา (หลาน) ในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)
ในสมัยเจ้าพระยาราม เมื่อเจ้าพระยามหาเสนาบดีซึ่งมีข้อพิพาทกับเจ้าพระยาราม
ยกทัพมายึดกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ ก็ได้ทูลเชิญเจ้านครอินทร์ ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์ 15 ปี ในช่วงนี้ หาความสอดคล้องกับวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่เจอ อีกแล้วครับท่าน
สงสัยจะ นานเกิน งั้นไปต่อที่รัชสมัยต่อไป
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งกรุงศรีอยุธยา
คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ เจ้าสามพระยา
เมื่อครั้งสมเด็จพระอินทราชา เสด็จสวรรคต พระราชโอรส (ลูก) 2 พระองค์
คือเจ้าอ้ายพระยา (ครองเมืองสุพรรณบุรี) กับ เจ้ายี่พระยา (ครองเมืองแพรกศรีราชา, แถวชัยนาท)
ทรงยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติ และกระทำยุทธหัตถี ที่เชิงสะพานป่าถ่าน แล้วสิ้นพระชนม์ทั้งคู่
ก็เลยเป็น เจ้าสามพระยา (น้องคนที่ 3) ที่ครองเมืองชัยนาทอยู่
ที่ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แทน
และพระองค์ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้น 2 องค์
ที่ซึ่งเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา ทรงชนช้างจนสิ้นพระชนม์
ปัจจุบันเจดีย์นี้ เหลือแต่ฐาน ใครไม่เคยรู้ประวัติ ก็ได้แค่ผ่านไปผ่านมาเท่านั้น
และได้ทรงสถาปนาวัดราชบูรณะขึ้น ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิงศพของเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา
และสร้างพระปรางค์ใหญ่เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลแก่ เจ้านครอินทร์ พระราชบิดา ในวาระเดียวกัน
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยา
คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ซึ่งเป็นพระราชโอรถ (ลูก) ในเจ้าสามพระยา
พระองค์เกิดที่อยุธยา แต่ไปโตที่พิษณุโลก
พอขึ้นครองราชย์ตลอดรัชสมัย 40 ปี จึงอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา 20 ปี และตลอดระยะเวลาที่เหลือ
พระองค์ทรงประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก
ในรัชสมัยของพระองค์ทรงมีการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค
มีกำหนดศักดินา แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ต่าง ขึ้นในรัชสมัยของพระองค์
ศักดินาก็คือ เจ้านาย ไพร่ ทาส อะไรพวกนี้นะ เผื่อใครยังไม่เข้าใจ
บรรดาศักดิ์ ก็ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง ประเภทนี้ เข้าใจตรงกันนะ
ความเกี่ยวเนื่องกับวัดที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์
ก็เห็นจะเป็นการบูรณะฟื้นฟูวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่จังหวัดพิษณุโลก
อันเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช
และทรงได้เคยหล่อพระพุทธรูปยืน สูง 8 วา หนัก 5 หมื่นชั่ง ทองคำหุ้มหนัก 200 กว่าชั่ง
ถวายพระนามว่าพระศรีสรรเพชญ์ ประดิษฐานไว้ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์
แต่ถูกทำลายไปในสมัยเสียกรุงครั้งที่ 2
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 9 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
เป็นพระราชโอรส (ลูก) ในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
จริงๆแล้ว ในช่วงที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นพระมหากษัตริย์
และไปเสวยราชสมบัติอยู่ที่พิษณุโลก เมืองพิษณุโลกจึงกลายเป็นราชธานีในสมัยนั้น
และทรงโปรดฯให้พระราชโอรส คือพระบรมราชาขึ้นครองราชสมบัติ
ช่วงเวลานั้นจึงทำให้มีพระมหากษัตริย์พร้อมกัน 2 พระองค์
และเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคต
พระบรมราชาหรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ซึ่งครองเมืองกรุงศรีอยุธยาอยู่ขณะนั้น
จึงย้ายราชธานีกลับมาสู่ กรุงศรีอยุธยา ตามเดิม
พระองค์ทรงครองราชย์ได้เพียง 3 ปี ก็สวรรคต
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 10 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
ทรงเป็นน้องชายต่างมารดาของ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ก่อนขึ้นครองราชสมบัติ ทรงตำแหน่งเป็นพระมหาอุปราชแห่งเมืองพิษณุโลก
ตั้งแต่พระชนมายุ 13 พรรษา ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เสด็จสวรรคต
พระองค์จึงเสด็จจากพิษณุโลกมาเสวยราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยา
และพระองค์ทรงสร้างเจดีย์ใหญ่
เพื่อประดิษฐานพระบรมอัฐิของ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระเชษฐา)
และพระบรมอัฐิของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระบิดา) ไว้คู่กัน
ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระบรมหาราชวัง
และทรงโปรดเกล้าให้สร้างวิหาร ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ด้วย
พระองค์ทรงครองราชย์อยู่ 38 ปี ก็เสด็จสวรรคต ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ดาวหางฮัลเลย์โคจรมาใกล้โลก
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 11 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูร)
เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
หน่อพุทธางกูร เป็นตำแหน่งของพระราชโอรสที่ประสูติจากอัครมเหสี
ซึ่งก็คือตำแหน่งสูงสุดของพระราชโอรสนั่นเอง
ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์ ทรงเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก
เมื่อสิ้นพระราชบิดา พระองค์ก็ได้ขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
แต่พระองค์เสวยราชสมบัติเพียงแค่ 4 ปี และสิ้นพระชนม์ด้วยไข้ทรพิษ
จึงทำให้ข้อมูลของท่าน มีน้อยมากกกกกก
ว่าแล้วก็ ไปพระองค์อื่นต่อดีกว่า
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 12 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
คือ พระรัษฎาธิราช
เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูร)
และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีประชนมายุน้อยที่สุดเพียง 5 พรรษา
แต่เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ แล้วทางข้าราชการอัญเชิญพระรัษฎาธิราชขึ้นครองราช
ด้วยพระชนมายุที่น้อย จึงทำให้ไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้
จึงทำให้หน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตกเป็นหน้าที่ของ สมุหนายก และ สมุหพระกลาโหม
บ้านเมืองจึงระส่ำระส่าย
เมื่อความไปถึงพระไชยราชา ซึ่งเป็นพระปิตุลา (ลุง) ซึ่งครองเมืองพิษณุโลกอยู่นั้น
จึงทำให้พระไชยราชาต้องยกกองทัพ มายึดเมืองกรุงศรีอยุธยา
และสำเร็จโทษแก่พระรัษฎาธิราช
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 13 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
คือ สมเด็จพระไชยราชา
ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ที่ประสูติแต่สนม
จะว่ากันเข้าใจง่ายๆก็คือ เป็น พี่น้องต่างมารดา กับ สมเด็จหน่อพุทธางกูร นั่นเอง
และเป็นลุงของ พระรัษฎาธิราช
หลังจากสำเร็จโทษพระรัษฎาธิราช แล้วปราบดาภิเษกขึ้นครองราช
ในรัชสมัยของพระองค์ทรงมีการทำศึกสงครามหลายครั้ง ทั้งกับพม่า ทั้งกับล้านนา
ซึ่งในปลายรัชสมัย ได้ไปทำศึกกับทางล้านนา แต่เมื่อถึงเชียงใหม่เจ้าครองเมืองนครเชียงใหม่ขณะนั้น
คือพระนางจิระประภามหาเทวี ได้ยอมอ่อนน้อมต่อสมเด็จพระไชยราชา
และขณะที่ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาเสด็จสวรรคตระหว่างทาง
แต่อีกแหล่งที่มา (บันทึกพ่อค้าชาวโปรตุเกส) ได้กล่าวถึงการสวรรคตของสมเด็จพระไชยราชา ว่ามาจาก
แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ พระมเหสี ซึ่งลักลอบมีสัมพันธ์กับพันบุตรศรีเทพ พราหม์ผู้คุมหอพระ
ได้คิดคบลักลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษ
หาวัดในประวัติไม่เจออีกแล้ว.... เหอะๆๆๆๆ
ราชธานีเก่า เรื่องเล่ากรุงศรีอยุธยา
ครั้งนึงกรุงศรีอยุธยาเคยตกเป็นเมืองขึ้น ใครๆก็รู้
แต่จะมีซักกี่คน ที่ร่ายยาวเล่าประวัติให้ฟังได้ ตลอด 5 ราชวงศ์ 33 กษัตริย์ไทยสมัยอยุธยา
ว่าแล้ว ก็เดินหน้าสู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หาเรื่องราวมาเล่าให้ฟังกันดีกว่า
ถ้าร่ายกันยาว อยุธยา ก็มีต้นกำเนิดมาจาก สุพรรณภูมิ ละโว้ โน้นเลย
แต่ไม่เอาดีกว่า ไปท้าวความไกล ปวดหัว เอาใกล้ๆนี่แหละ ย้อนกลับไปปี พ.ศ.1893 พอ เหอะๆๆๆ
เริ่มกันที่พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยากันเลย
คือ พระเจ้าอู่ทอง แห่งราชวงศ์อู่ทอง
หรือพระนามเต็มก็คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
ที่มาของพระเจ้าอู่ทอง มีหลายแนวคิดมากกกกก เห็นแล้วปวดหัว
ก็อย่างว่า.... เราไม่มีไทม์แมชชีน ที่จะย้อนเวลากลับไปฟันธง โช๊ะๆๆๆ ว่าท่านทรงมีที่มาที่ไปยังไง
เอิ่มมมม.... ลืมไป ขอเกริ่นก่อนนะครับ ผมขอเล่าแบบ ชาวบ้านๆ ฟังกันง่ายๆ ไม่ค่อยมีคำราชาศัพท์อะไร
ก็แบบ ไม่เก่งทางนี้อ่ะนะ.... ถ้าใครแอนนนตี้ ก็ต้องขออภัยด้วยเน้อ
และเรื่องราวที่ผมจะเล่า ไม่ได้มาเล่าประวัติโช๊ะๆ แต่จะมาเล่าหาความสอดคล้อง
ระหว่างพระมหากษัตริย์ไทยกับ วัดวาอารามต่างๆ ในกรุงศรีอยุธยาซะมากกว่า
อ่ะ มาต่อๆๆๆ
ในสมัยพระเจ้าอู่ทอง ทรงเคยนำเจ้าแก้ว ซึ่งเป็นรัชทายาทของเจ้าเขมร มาเป็นองค์ประกัน
ซึ่งต่อมาเจ้าแก้วได้ทรงทิวงคง (ตาย) ด้วยอหิวาตกโรค
เลยทรงให้ขุดขึ้นมาเผา และที่ปลงศพให้สถาปนาเป็นพระอาราม
ชื่อว่า วัดป่าแก้ว หรือ วัดใหญ่ชัยมงคล ในปัจจุบันนั้นเอง
(เมื่อเจ้าแก้ว สิ้น ก็เป็นที่มาของ "ขอมแปรพักตร์" น่าจะเคยได้ยินกันบ้างนะ)
และนี่คือที่มาของวัดใหญ่ชัยมงคล
พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา พระองค์ที่ 2 คือ พระราเมศวร
เป็นพระโอรสองค์ใหญ่ ของพระเจ้าอู่ทอง
แต่พระองค์ทรงครองราช ไม่ถึงปี ก็สละราชสมบัติให้กับผู้เป็นน้า ซึ่งนำกองทัพมาจากสุพรรณบุรี
มาประชิดกรุงศรีอยุธยา แล้วพระราเมศวรก็ทรงกลับไปครองเมืองลพบุรีตามเดิม
และในช่วงที่ครองราชย์นี้เอง ทรงสร้างวัดพระรามขึ้น
ซึ่งที่ตั้งของวัด เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงของพระเจ้าอู่ทอง นั่นเอง
และมาถึงพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ก็ถูกเปลี่ยนราชวงศ์จาก อู่ทอง มาเป็น สุพรรณภูมิ
คือขุนหลวงพะงั่ว หรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
พระองค์เป็นพระเชษฐา หรือพี่ชาย ของพระมเหสี ของพระเจ้าอู่ทอง โอ๊ย...งงงงงง
ซึ่งตอนที่พระราเมศวร ขึ้นครองราช พระองค์ยังทรงครองราชสมบัติอยู่ที่สุพรรณบุรี
จนปี 1913 หรือไม่ถึงปีจากที่พระราเมศวรขึ้นครองราชย์
ก็ได้เสด็จมายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อพระราเมศวรทรงทราบ
จึงเสร็จออกไปอัญเชิญเสด็จพระมาตุลาเข้าสู่พระนคร.....
โอ้ยยยย ราชาศัพท์ มึนๆๆๆๆๆ เหอะๆๆ
หลายคนอาจสงสัยว่า เอ๊ะ ทำไม ขุนหลวงพะงั่ว จึงยกทัพมาชิงพระราชบัลลังก์
เรื่องมีอยู่ว่า ย้อนไปสมัยพระเจ้าอู่ทอง มีเหตุการณ์ขอมแปรพักตร์ ไปเข้ากับสุโขทัย
พระเจ้าอู่ทอง จึงทรงให้ พระราเมศวร นำทัพไปตีขอม และไม่สำเร็จ
พระเจ้าอู่ทอง จึงทรงให้ ขุนหลวงพะงั่ว ไปตีขอม และก็สำเร็จ
ด้วยเหตุการณ์นี้ ทำให้ขุนหลวงพะวั่ง ทรงเล็งเห็นว่า
พระราเมศวร ยังมีวุฒิภาวะและประสบการณ์ในการปกครองประเทศไม่เพียงพอ
เมื่อพระราเมศวร ได้ขึ้นครองราช จึงทรงยกทัพมาชิงราชบัลลังก์
ในรัชสมัยของพระองค์ ทรงสถาปนาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดมหาธาตุในปัจจุบัน
ซึ่งความเป็นมาของวัดมหาธาตุ ไม่เป็นที่แน่ชัดว่า สร้างมาตั้งแต่ปีไหน
แต่ได้ถูกสถาปนาขึ้นในสมัยของ สมเด็จพระราชาธิราชที่ 1 ขุนหลวงพะงั่ว
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 4 คือ เจ้าทองจันทร์ หรือสมเด็จพระเจ้าทองลัน
ซึ่งเป็นพระราชโอรส (ลูก) ของขุนหลวงพะงั่ว
ซึ่งเจ้าทองจันทร์ ทรงได้ขึ้นครองราชย์ หลังจากที่ขุนหลวงพะงั่วทรงเสด็จสวรรคต
ขณะที่ยกทัพไปตี เมืองชากังราว
แต่ด้วยขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา
พระราเมศวร จึงยกทัพลงมาจากลพบุรี เข้ายึดกรุงศรีอยุธยา
แล้วจับตัวพระเจ้าทองลัน ไปประหารชีวิตที่ วัดโคกพระยา
จึงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์น้อยที่สุด เพียง 7 วัน
หลังจากนั้นสมเด็จพระราเมศวร ก็เป็นพระมหากษัตริย์องค์แรก ที่ครองราชย์ 2 สมัย
และเป็นการขึ้นเป็นใหญ่ของราชวงศ์อู่ทองอีกครั้ง
ในสมัยพระองค์ บ้านเมืองอยู่เย็นเป็นสุข ไม่มีใครมารุกราน
และในช่วงเวลานี้ พระองค์ทรงสร้างพระศรีมหาธาตุเพิ่มเติมจนเสร็จบริบูรณ์
หลังจากที่ในรัชสมัยของขุนหลวงพะงั่ว ยังสร้างไม่แล้วเสร็จ
แล้วขนานนามว่า "วัดมหาธาตุ"
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 คือ
เจ้าพระยาราม หรือ สมเด็จพระรามราชาธิราช
ทรงเป็นพระราชโอรส (ลูก) ของสมเด็จพระราเมศวร ในช่วงที่ครองราชย์บ้านเมืองก็เป็นปกติสุขดี
จนถึงปลายรัชสมัย พระองค์มีข้อพิพาทกับเจ้าพระยามหาเสนาบดี
แล้วทางเจ้าพระยามหาเสนาบดี ได้หนีไปอยู่กับฟากปทาคูจาม
แล้วได้ร่วมมือกับเจ้านครอินทร์ ซึ่งเป็นพระราชนัดดา (หลาน) ของขุนหลวงพะงั่ว
ยกทัพจากสุพรรณบุรี มายึด กรุงศรีอยุธยา
และทางเจ้าพระยารามก็ได้รับโปรดเกล้าฯให้ไปครองเมืองปทาคูจาม
ยอมรับเลย ว่าหาวัดที่สอดคล้องกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามราชาธิราช ไม่เจอจริงๆครับ
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 6 แห่งกรุงศรีอยุธยา
ถูกเปลี่ยนราชวงศ์อีกครั้ง จากราชวงศ์อู่ทอง ไปสู่ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
นั่นคือ เจ้านครอินทร์ หรือ สมเด็จพระอินทราชา
ทรงเป็นพระราชนัดดา (หลาน) ในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว)
ในสมัยเจ้าพระยาราม เมื่อเจ้าพระยามหาเสนาบดีซึ่งมีข้อพิพาทกับเจ้าพระยาราม
ยกทัพมายึดกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จ ก็ได้ทูลเชิญเจ้านครอินทร์ ขึ้นครองกรุงศรีอยุธยา
ครองราชย์ 15 ปี ในช่วงนี้ หาความสอดคล้องกับวัดในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่เจอ อีกแล้วครับท่าน
สงสัยจะ นานเกิน งั้นไปต่อที่รัชสมัยต่อไป
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 7 แห่งกรุงศรีอยุธยา
คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือ เจ้าสามพระยา
เมื่อครั้งสมเด็จพระอินทราชา เสด็จสวรรคต พระราชโอรส (ลูก) 2 พระองค์
คือเจ้าอ้ายพระยา (ครองเมืองสุพรรณบุรี) กับ เจ้ายี่พระยา (ครองเมืองแพรกศรีราชา, แถวชัยนาท)
ทรงยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติ และกระทำยุทธหัตถี ที่เชิงสะพานป่าถ่าน แล้วสิ้นพระชนม์ทั้งคู่
ก็เลยเป็น เจ้าสามพระยา (น้องคนที่ 3) ที่ครองเมืองชัยนาทอยู่
ที่ได้ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์แทน
และพระองค์ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้น 2 องค์
ที่ซึ่งเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา ทรงชนช้างจนสิ้นพระชนม์
ปัจจุบันเจดีย์นี้ เหลือแต่ฐาน ใครไม่เคยรู้ประวัติ ก็ได้แค่ผ่านไปผ่านมาเท่านั้น
และได้ทรงสถาปนาวัดราชบูรณะขึ้น ณ บริเวณที่ถวายพระเพลิงศพของเจ้าอ้ายพระยา และเจ้ายี่พระยา
และสร้างพระปรางค์ใหญ่เพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลแก่ เจ้านครอินทร์ พระราชบิดา ในวาระเดียวกัน
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 8 แห่งกรุงศรีอยุธยา
คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ซึ่งเป็นพระราชโอรถ (ลูก) ในเจ้าสามพระยา
พระองค์เกิดที่อยุธยา แต่ไปโตที่พิษณุโลก
พอขึ้นครองราชย์ตลอดรัชสมัย 40 ปี จึงอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา 20 ปี และตลอดระยะเวลาที่เหลือ
พระองค์ทรงประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก
ในรัชสมัยของพระองค์ทรงมีการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค
มีกำหนดศักดินา แต่งตั้งบรรดาศักดิ์ต่าง ขึ้นในรัชสมัยของพระองค์
ศักดินาก็คือ เจ้านาย ไพร่ ทาส อะไรพวกนี้นะ เผื่อใครยังไม่เข้าใจ
บรรดาศักดิ์ ก็ ทนาย พัน หมื่น ขุน หลวง ประเภทนี้ เข้าใจตรงกันนะ
ความเกี่ยวเนื่องกับวัดที่สำคัญในรัชสมัยของพระองค์
ก็เห็นจะเป็นการบูรณะฟื้นฟูวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ที่จังหวัดพิษณุโลก
อันเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช
และทรงได้เคยหล่อพระพุทธรูปยืน สูง 8 วา หนัก 5 หมื่นชั่ง ทองคำหุ้มหนัก 200 กว่าชั่ง
ถวายพระนามว่าพระศรีสรรเพชญ์ ประดิษฐานไว้ ณ วัดพระศรีสรรเพชญ์
แต่ถูกทำลายไปในสมัยเสียกรุงครั้งที่ 2
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 9 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
เป็นพระราชโอรส (ลูก) ในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
จริงๆแล้ว ในช่วงที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเป็นพระมหากษัตริย์
และไปเสวยราชสมบัติอยู่ที่พิษณุโลก เมืองพิษณุโลกจึงกลายเป็นราชธานีในสมัยนั้น
และทรงโปรดฯให้พระราชโอรส คือพระบรมราชาขึ้นครองราชสมบัติ
ช่วงเวลานั้นจึงทำให้มีพระมหากษัตริย์พร้อมกัน 2 พระองค์
และเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคต
พระบรมราชาหรือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ซึ่งครองเมืองกรุงศรีอยุธยาอยู่ขณะนั้น
จึงย้ายราชธานีกลับมาสู่ กรุงศรีอยุธยา ตามเดิม
พระองค์ทรงครองราชย์ได้เพียง 3 ปี ก็สวรรคต
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 10 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
ทรงเป็นน้องชายต่างมารดาของ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
พระราชโอรสในสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ก่อนขึ้นครองราชสมบัติ ทรงตำแหน่งเป็นพระมหาอุปราชแห่งเมืองพิษณุโลก
ตั้งแต่พระชนมายุ 13 พรรษา ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เสด็จสวรรคต
พระองค์จึงเสด็จจากพิษณุโลกมาเสวยราชสมบัติที่กรุงศรีอยุธยา
และพระองค์ทรงสร้างเจดีย์ใหญ่
เพื่อประดิษฐานพระบรมอัฐิของ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระเชษฐา)
และพระบรมอัฐิของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระบิดา) ไว้คู่กัน
ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ในพระบรมหาราชวัง
และทรงโปรดเกล้าให้สร้างวิหาร ในวัดพระศรีสรรเพชญ์ด้วย
พระองค์ทรงครองราชย์อยู่ 38 ปี ก็เสด็จสวรรคต ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ดาวหางฮัลเลย์โคจรมาใกล้โลก
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 11 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูร)
เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
หน่อพุทธางกูร เป็นตำแหน่งของพระราชโอรสที่ประสูติจากอัครมเหสี
ซึ่งก็คือตำแหน่งสูงสุดของพระราชโอรสนั่นเอง
ก่อนที่จะขึ้นครองราชย์ ทรงเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก
เมื่อสิ้นพระราชบิดา พระองค์ก็ได้ขึ้นมาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา
แต่พระองค์เสวยราชสมบัติเพียงแค่ 4 ปี และสิ้นพระชนม์ด้วยไข้ทรพิษ
จึงทำให้ข้อมูลของท่าน มีน้อยมากกกกกก
ว่าแล้วก็ ไปพระองค์อื่นต่อดีกว่า
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 12 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
คือ พระรัษฎาธิราช
เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (หน่อพุทธางกูร)
และทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีประชนมายุน้อยที่สุดเพียง 5 พรรษา
แต่เมื่อพระราชบิดาสิ้นพระชนม์ แล้วทางข้าราชการอัญเชิญพระรัษฎาธิราชขึ้นครองราช
ด้วยพระชนมายุที่น้อย จึงทำให้ไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินได้
จึงทำให้หน้าที่บริหารราชการแผ่นดินตกเป็นหน้าที่ของ สมุหนายก และ สมุหพระกลาโหม
บ้านเมืองจึงระส่ำระส่าย
เมื่อความไปถึงพระไชยราชา ซึ่งเป็นพระปิตุลา (ลุง) ซึ่งครองเมืองพิษณุโลกอยู่นั้น
จึงทำให้พระไชยราชาต้องยกกองทัพ มายึดเมืองกรุงศรีอยุธยา
และสำเร็จโทษแก่พระรัษฎาธิราช
พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 13 ในสมัยกรุงศรีอยุธยา
คือ สมเด็จพระไชยราชา
ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ที่ประสูติแต่สนม
จะว่ากันเข้าใจง่ายๆก็คือ เป็น พี่น้องต่างมารดา กับ สมเด็จหน่อพุทธางกูร นั่นเอง
และเป็นลุงของ พระรัษฎาธิราช
หลังจากสำเร็จโทษพระรัษฎาธิราช แล้วปราบดาภิเษกขึ้นครองราช
ในรัชสมัยของพระองค์ทรงมีการทำศึกสงครามหลายครั้ง ทั้งกับพม่า ทั้งกับล้านนา
ซึ่งในปลายรัชสมัย ได้ไปทำศึกกับทางล้านนา แต่เมื่อถึงเชียงใหม่เจ้าครองเมืองนครเชียงใหม่ขณะนั้น
คือพระนางจิระประภามหาเทวี ได้ยอมอ่อนน้อมต่อสมเด็จพระไชยราชา
และขณะที่ยกทัพกลับกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระไชยราชาเสด็จสวรรคตระหว่างทาง
แต่อีกแหล่งที่มา (บันทึกพ่อค้าชาวโปรตุเกส) ได้กล่าวถึงการสวรรคตของสมเด็จพระไชยราชา ว่ามาจาก
แม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ พระมเหสี ซึ่งลักลอบมีสัมพันธ์กับพันบุตรศรีเทพ พราหม์ผู้คุมหอพระ
ได้คิดคบลักลอบปลงพระชนม์ด้วยยาพิษ
หาวัดในประวัติไม่เจออีกแล้ว.... เหอะๆๆๆๆ