จากเพจ โบราณนานมา
“พันท้ายนรสิงห์” เรื่องจริงหรือนิทาน ?
.
เมื่อสักครู่แอดมินได้ดูละครเรื่อง #พรหมลิขิตep3 เป็นฉากที่แม่พุดตาน ย้อนเวลามาในอดีต สมัยอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ ฉากนั้นแม่พุดตานถามคนในยุคสมัยนั้นประมาณว่า “...รู้จักพันท้ายนรสิงห์ไหม ที่ถูกพระเจ้าเสือสั่งประหารชีวิต...” คนในสมัยนั้นก็ทำหน้าตกใจแล้วบอกไม่เคยได้ยิน นำมาสู่ข้อถกเถียงที่ว่า “พันท้ายนรสิงห์” เรื่องจริงหรือนิทาน ?
.
“พันท้ายนรสิงห์” เป็นชื่อของนายท้ายเรือในรัชสมัยพระเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ตอนปลายอาณาจักรอยุธยา โดย “พันท้ายนรสิงห์” เป็นผู้มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์
.
ตำแหน่ง “พันท้าย” เป็นตำแหน่งที่มีอยู่จริงในอดีต มีหน้าที่ควบคุมทิศทางอยู่ท้ายเรือ คู่กับพันหัวอยู่หัวเรือ ถือศักดินา ๑๐๐ ไร่ แต่เรื่องของ “พันท้ายนรสิงห์” ไม่มีหลักฐานในเอกสารคำให้การ แม้เรื่องจะดูเป็นตำนานมากกว่าประวัติศาสตร์ แต่ก็กลับปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับชำระสมัยต้นรัตนโกสินทร์แล้ว ไม่มีเรื่องในพระราชพงศาวดารฉบับสมัยอยุธยา
.
เรื่องของ “พันท้ายนรสิงห์” ปรากฏครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม ซึ่งชำระสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยกล่าวว่า
.
“...พ.ศ. ๒๒๔๗ พระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกไชย ประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในครั้งแรก พระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัย ครั้งที่สองก็รับสั่งให้สร้างรูปปั้นปลอมแล้วตัดหัวรูปปั้นนั้นแทน แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลเพียงตา นำศีรษะของพันท้ายนรสิงห์และโขนเรือเอกไชยขึ้นตั้งบนศาลไว้บูชาพร้อมกัน แล้วเสด็จออกไปทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อกลับกรุงศรีอยุธยา โปรดให้นำศพของพันท้ายนรสิงห์มาพระราชทานเพลิงศพ พระราชทานเงินทองสิ่งของจำนวนมากแก่ภรรยาลูกเมียพันท้ายนรสิงห์ ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้สมุหนายกเกณฑ์ไพร่พลจำนวน ๓๐,๐๐๐ คน ให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กอง ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง ๕ วา ลึก ๖ ศอก ขุดเสร็จในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. ๒๒๕๒ ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่า “คลองสนามไชย” ต่อมาเรียกเป็นคลองมหาชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่า"คลองถ่าน" ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า คลองด่าน...”
.
ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเก่ากว่าฉบับบริติชมิวเซียม กล่าวถึงการขุดคลองโคกขามในสมัยพระเจ้าท้ายสระ พ.ศ. ๒๒๖๔ โดยไม่ได้มีการกล่าวถึงการขุดคลองโคกขามในสมัยพระเจ้าเสือหรือเหตุการณ์ “พันท้ายนรสิงห์” แต่อย่างใด ในกฎมณเฑียรบาลก็ไม่มีการระบุโทษของพันท้ายเรือพระที่นั่งดังที่พงศาวดารบันทึกไว้ โทษส่วนใหญ่เป็นการรับผิดชอบของคนทั้งเรือพระที่นั่ง และพันท้ายเรือพระที่นั่งมี ๒ คน แต่พระราชพงศาวดารกลับระบุถึงการประหารพันท้ายนรสิงห์เพียงผู้เดียว
.
นายสุเนตร ชุตินธรานนท์ นักประวัติศาสตร์ ก็วิเคราะห์ว่าพันท้ายนรสิงห์เป็นเรื่องที่ถูกแต่งเสริมขึ้นมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เพื่ออธิบายสาเหตุของการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาว่ามาจากผู้ปกครองไม่ดี โดยใช้พันท้ายนรสิงห์เป็นคนวิจารณ์พระเจ้าเสือว่าไม่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมกฎหมาย และเล่าที่มาของคลองมหาชัย
.
นายสุจิตต์ วงษ์เทศ นักค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ มองว่า พันท้ายนรสิงห์เป็นเพียงตัวเอกของ “นิทาน” แทรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาแผ่นดินพระเจ้าเสือ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๔๕-๒๒๕๑) นายสุจิตต์ บอกว่า พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (ร.๔) ไม่ได้ระบุว่าพันท้ายนรสิงห์ชื่อจริงอะไร อายุเท่าไร เป็นลูกเต้าเหล่าใคร บ้านอยู่ไหน เมียชื่ออะไร มีลูกหรือยัง? ฯลฯ สรุปว่า แทบไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับพันท้ายนรสิงห์เลย
.
ส่วนเรื่องที่ว่าพันท้ายนรสิงห์ มีชื่อเดิมว่า “สิน” เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบัน คือ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง) มีภรรยาชื่อ “นวล” หรือ “ศรีนวล” ได้รู้จักกับพระเจ้าเสือด้วยการแข่งขันชกมวยไทยกัน เมื่อพระองค์แปลงองค์มาเป็นชาวบ้านธรรมดาและทรงโปรดในอุปนิสัยใจคอ ต่อมาได้กลายมาเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือ ในบรรดาศักดิ์พันนั้น เป็นเรื่องราวจากบทละครเวทีที่ประพันธ์โดย “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล”
“พันท้ายนรสิงห์” เรื่องจริงหรือนิทาน ?
“พันท้ายนรสิงห์” เรื่องจริงหรือนิทาน ?
.
เมื่อสักครู่แอดมินได้ดูละครเรื่อง #พรหมลิขิตep3 เป็นฉากที่แม่พุดตาน ย้อนเวลามาในอดีต สมัยอยุธยา รัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งท้ายสระ ฉากนั้นแม่พุดตานถามคนในยุคสมัยนั้นประมาณว่า “...รู้จักพันท้ายนรสิงห์ไหม ที่ถูกพระเจ้าเสือสั่งประหารชีวิต...” คนในสมัยนั้นก็ทำหน้าตกใจแล้วบอกไม่เคยได้ยิน นำมาสู่ข้อถกเถียงที่ว่า “พันท้ายนรสิงห์” เรื่องจริงหรือนิทาน ?
.
“พันท้ายนรสิงห์” เป็นชื่อของนายท้ายเรือในรัชสมัยพระเจ้าเสือ พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๒ แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ตอนปลายอาณาจักรอยุธยา โดย “พันท้ายนรสิงห์” เป็นผู้มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์
.
ตำแหน่ง “พันท้าย” เป็นตำแหน่งที่มีอยู่จริงในอดีต มีหน้าที่ควบคุมทิศทางอยู่ท้ายเรือ คู่กับพันหัวอยู่หัวเรือ ถือศักดินา ๑๐๐ ไร่ แต่เรื่องของ “พันท้ายนรสิงห์” ไม่มีหลักฐานในเอกสารคำให้การ แม้เรื่องจะดูเป็นตำนานมากกว่าประวัติศาสตร์ แต่ก็กลับปรากฏในพระราชพงศาวดาร ฉบับชำระสมัยต้นรัตนโกสินทร์แล้ว ไม่มีเรื่องในพระราชพงศาวดารฉบับสมัยอยุธยา
.
เรื่องของ “พันท้ายนรสิงห์” ปรากฏครั้งแรกในพระราชพงศาวดารกรุงสยาม จากต้นฉบับของบริติชมิวเซียม ซึ่งชำระสมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดยกล่าวว่า
.
“...พ.ศ. ๒๒๔๗ พระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกไชย ประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในครั้งแรก พระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัย ครั้งที่สองก็รับสั่งให้สร้างรูปปั้นปลอมแล้วตัดหัวรูปปั้นนั้นแทน แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ แล้วสร้างศาลเพียงตา นำศีรษะของพันท้ายนรสิงห์และโขนเรือเอกไชยขึ้นตั้งบนศาลไว้บูชาพร้อมกัน แล้วเสด็จออกไปทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อกลับกรุงศรีอยุธยา โปรดให้นำศพของพันท้ายนรสิงห์มาพระราชทานเพลิงศพ พระราชทานเงินทองสิ่งของจำนวนมากแก่ภรรยาลูกเมียพันท้ายนรสิงห์ ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้สมุหนายกเกณฑ์ไพร่พลจำนวน ๓๐,๐๐๐ คน ให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กอง ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง ๕ วา ลึก ๖ ศอก ขุดเสร็จในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. ๒๒๕๒ ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่า “คลองสนามไชย” ต่อมาเรียกเป็นคลองมหาชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่า"คลองถ่าน" ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า คลองด่าน...”
.
ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ซึ่งเก่ากว่าฉบับบริติชมิวเซียม กล่าวถึงการขุดคลองโคกขามในสมัยพระเจ้าท้ายสระ พ.ศ. ๒๒๖๔ โดยไม่ได้มีการกล่าวถึงการขุดคลองโคกขามในสมัยพระเจ้าเสือหรือเหตุการณ์ “พันท้ายนรสิงห์” แต่อย่างใด ในกฎมณเฑียรบาลก็ไม่มีการระบุโทษของพันท้ายเรือพระที่นั่งดังที่พงศาวดารบันทึกไว้ โทษส่วนใหญ่เป็นการรับผิดชอบของคนทั้งเรือพระที่นั่ง และพันท้ายเรือพระที่นั่งมี ๒ คน แต่พระราชพงศาวดารกลับระบุถึงการประหารพันท้ายนรสิงห์เพียงผู้เดียว
.
นายสุเนตร ชุตินธรานนท์ นักประวัติศาสตร์ ก็วิเคราะห์ว่าพันท้ายนรสิงห์เป็นเรื่องที่ถูกแต่งเสริมขึ้นมาในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เพื่ออธิบายสาเหตุของการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาว่ามาจากผู้ปกครองไม่ดี โดยใช้พันท้ายนรสิงห์เป็นคนวิจารณ์พระเจ้าเสือว่าไม่ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมกฎหมาย และเล่าที่มาของคลองมหาชัย
.
นายสุจิตต์ วงษ์เทศ นักค้นคว้าด้านประวัติศาสตร์ มองว่า พันท้ายนรสิงห์เป็นเพียงตัวเอกของ “นิทาน” แทรกในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาแผ่นดินพระเจ้าเสือ (ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๔๕-๒๒๕๑) นายสุจิตต์ บอกว่า พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา (ร.๔) ไม่ได้ระบุว่าพันท้ายนรสิงห์ชื่อจริงอะไร อายุเท่าไร เป็นลูกเต้าเหล่าใคร บ้านอยู่ไหน เมียชื่ออะไร มีลูกหรือยัง? ฯลฯ สรุปว่า แทบไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับพันท้ายนรสิงห์เลย
.
ส่วนเรื่องที่ว่าพันท้ายนรสิงห์ มีชื่อเดิมว่า “สิน” เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบัน คือ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง) มีภรรยาชื่อ “นวล” หรือ “ศรีนวล” ได้รู้จักกับพระเจ้าเสือด้วยการแข่งขันชกมวยไทยกัน เมื่อพระองค์แปลงองค์มาเป็นชาวบ้านธรรมดาและทรงโปรดในอุปนิสัยใจคอ ต่อมาได้กลายมาเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือ ในบรรดาศักดิ์พันนั้น เป็นเรื่องราวจากบทละครเวทีที่ประพันธ์โดย “พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล”